สั่ง เดลิ เว อ รี่ อะไร ดี

Foodpanda เป็น Food Delivery อีกเจ้าที่ได้รับความนิยมสูงมาก จุดเด่นของแอพนี้คือมีพื้นที่ให้บริการถึง 62 จังหวัดทั่วประเทศไทย เรียกว่าครอบคลุมมากที่สุดในบรรดาแอพส่งอาหารทั้งหมด รวมร้านอาหารเด็ดๆโดนๆเอาไว้มากมายกว่า 1,000 ร้าน สั่งได้ตลอด 24 ชั่วโมง สั่งอาหารล่วงหน้าได้นานถึง 3 วัน ติดตามสถานการณ์สั่งซื้อได้แบบ Real-Time มีโปรโมชั่นเยอะตลอดทั้งเดือน การชำระเงินก็ทำได้หลากหลายช่องทาง จัดว่าเป็นแอพพลิเคชั่นสั่งอาหารอีกตัวที่ใช้งานได้สะดวกไม่แพ้กัน

Food Delivery หรือ ฟู้ดเดลิเวอรี่ คือทางเลือกที่ร้านอาหารและร้านเครื่องดื่มต่างเลี่ยงไม่ได้ในยุคนี้ เพราะเป็นอีกหนึ่งช่องทางรายได้สำคัญไม่ต่างจากยอดขายหน้าร้าน ถ้าอยากทำร้านให้ไปได้สวยและประสบความสำเร็จได้ก็ต้องขายทั้งหน้าร้านและเดลิเวอรี่ 

ถ้าคุณเป็นเจ้าของร้านอาหารที่อยากสมัคร Food Delivery แต่ไม่รู้เจ้าไหนดี หรือว่าไม่รู้ว่าแต่ละเจ้ามีค่าใช้จ่ายมากน้อยแค่ไหน ในบทความนี้เราจะพามาเทียบค่า GP หรือค่าคอมมิชชั่นของแอพสั่งอาหารเจ้าดังในไทย มาดูว่าเจ้าไหนน่าใช้ที่สุดในปี 2022 นี้!

เปิดร้านขายอาหารออนไลน์ที่ Zaapi ฟรี ไม่มีค่า GP!

1. GrabFood

GrabFood คือแอพสั่งอาหารเจ้าแรก ๆ ที่คนทำร้านอาหารและเครื่องดื่มนึกถึงเมื่ออยากทำเดลิเวอรี่ส่งอาหาร ค่า GP Grab อยู่ที่ 15%-30% ต่อออเดอร์ หากต้องการเข้าร่วมเป็นพาร์ทเนอร์กับ GrabFood ก็สามารถเข้าร่วมได้ฟรี ไม่มีค่าแรกเข้า และไม่ต้องเสียค่าสมัครแต่อย่างใด

ในส่วนของขั้นตอนการสมัครเข้าร่วม GrabFood ก็ไปที่เว็บไซต์และทิ้งข้อมูลไว้ได้เลย ใช้เวลาประมาณ 3-5 วันก็จะได้รับสัญญาการเป็นพาร์ทเนอร์แล้ว

2. foodpanda

Foodpanda แอพสั่งอาหารสีชมพูที่นิยมกันทั้งฝั่งร้านอาหารและลูกค้าที่มีพื้นที่บริการในจังหวัดและเมืองใหญ่ ๆ ทั่วไทย สมัครขายได้ทั้งร้านอาหารทั่วไปและ Home Kitchen หากสนใจแพลตฟอร์มนี้ ค่า GP foodpanda จะอยู่ที่ประมาณ 32% จากยอดขาย มีค่าแรกเข้า 399 บาท และต้องจ่ายรายเดือนเดือนละ 99 บาท ถ้าอยากขายอาหารบน foodpanda ก็สามารถสมัครใช้งานได้ที่นี่ 

3. LINE MAN

ข้อดีของการขายเดลิเอวี่กับ LINE MAN คือไม่มีหน้าร้านก็เปิดได้ สามารถใช้งานได้ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย ไม่มีค่าแรกเข้า แต่จะมีค่า GP หรือค่าคอมมิชชั่นอยู่ที่ราว ๆ 32% หากสนใจสมัครใช้งาน Food Delivery กับ LINE MAN ก็คลิกที่นี่ได้เลย มีพื้นที่บริการครอบคลุมในจังหวัดยอดนิยมและอื่น ๆ กว่า 45 จังหวัด ซึ่งถือว่าค่อนข้างสะดวกสบายและครอบคลุมสำหรับร้านและกลุ่มผู้ใช้งานอื่น ๆ นอกเหนือจากกรุงเทพเลยทีเดียว

เปิดร้านขายอาหารออนไลน์ที่ Zaapi ฟรี ไม่มีค่า GP แม้แต่บาทเดียว

4. Robinhood

Robinhood คือแอพสั่งอาหารออนไลน์ในดวงใจของร้านอาหารที่ธนาคารไทยพาณิชย์เปิดตัวในช่วงโควิดที่ผ่านมา ข้อดีคือ สมัครใช้งานได้ฟรี ไม่มีค่าคอมมิชชั่น เมื่อขายได้ก็รับเงินค่าอาหารภายใน 1 ชั่วโมง อีกอย่างแค่มีมือถือหรือแท็บเล็ตเครื่องเดียวก็ขายได้ตั้งแต่อาหาร เครื่องดื่ม ขนม ฯลฯ และใช้เวาเพียง 1 วันหลังจากส่งเอกสารก็ขาย Food Delivery ส่งอาหารให้ลูกค้าได้เลย สมัครใช้งาน Robin hood เลย!

5. airasia food

airasia food บริการส่งอาหารเดลิเวอรี่จากแอร์เอเชียที่มาในราคาเป็นธรรมต่อร้านและผู้บริโภค ครอบคลุม 4 พื้นที่ใหญ่ ๆ ของกรุงเทพฯ ได้แก่ ดินแดง, จตุจักร, ลาดพร้าว และห้วยขวาง ค่า GP airasia food จะอยู่ที่ 5%-10% ซึ่งถือว่าค่อนข้างถูกเมื่อเทียบกับ GrabFood หรือ foodpanda หากสนใจก็สามารถเช็ครายละเอียดเพิ่มเติมและสมัครใช้งาน Food Delivery ของ airasia food ได้เลย!

มาถึงตรงนี้ หวังว่าทุกคนจะได้คำตอบของคำถามที่ว่า “สมัคร Food Delivery เจ้าไหนดี?” เป็นที่เรียบร้อยแล้ว แต่สำหรับเราแล้วแนะนำให้มีหลาย ๆ เจ้าเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับลูกค้า แต่ก็ต้องเลือกแอพสั่งอาหารที่ไม่เก็บค่า GP สูงจนเกินไป ไม่อย่างนั้นร้านอาหารอย่างเรา ๆ ก็คงไม่เหลืออะไรให้ทำกำไร จริงไหม?

อย่างไรก็ตาม ถ้าอยากมีหน้าร้านอาหารออนไลน์เองแบบฟรี ๆ และกำหนดการจัดส่งอาหารได้ตามต้องการ สร้างร้านออนไลน์กับ Zaapi ได้เลย! เพราะที่นี่ฟรี 100% ไม่มีค่า GP แน่นอน! ที่สำคัญคุณยังสามารถกำหนดพื้นที่บริการและเวลาเปิด-ปิดร้านได้เองง่าย ๆ แถมยังมีระบบหลังบ้านคอยช่วยเรื่องการจัดการร้านอาหารอีกมากมาย ดังนั้นหายห่วงเรื่องการบริหารร้านและการจัดส่งอาหารได้เลย! อย่ารอช้า คลิกที่ปุ่มด้านล่างเพื่อเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับฟีเจอร์และเปิดร้านฟรีกับ Zaapi เลยตอนนี้!

วันนี้ MHA จะมาเปรียบเทียบแอปสั่งอาหารออนไลน์ 5 แอปดัง  Grab Food, foodpanda, Robinhood, LINE MAN และ Gojekในประเด็นต่างๆ ที่เจ้าของร้านอาหารควรรู้ก่อนเลือกใช้บริการ เพื่อเป็นข้อมูลในการตัดสินใจว่าจะเลือกใช้แอปใดดี หรือต้องมีทั้งหมด ในยุคที่การสั่งอาหารออนไลน์เป็นเรื่องที่ทุกร้านจำเป็นต้องมี 

เริ่มจากข้อมูลสำคัญของแต่ละแอปที่ร้านค้าจำเป็นต้องรู้กันซะก่อน

Grab Food : เบอร์ 1 ในวงการเดลิเวอรี่ไทย

  • มีผู้ใช้งานประมาณ 2 ล้านคน คนขับส่งของประมาณ 100,000 คน
  • ไม่มีค่าแรกเข้าและค่าสมัคร
  • คิดค่าคอมมิชชัน 35% (ก่อน VAT 7%) ของรายการอาหารที่ถูกสั่งผ่าน Grab ในระยะเวลาสัญญา 12 เดือน (นับจากวันที่ลงชื่อเอกสารสัญญา)
  • ร้านค้าต้องเตรียมมือถือหรือแท็บเลตระบบ Android เท่านั้น (ไม่รองรับเครื่อง Huawei ที่ลงแอป Google Play ไม่ได้)
  • ใช้อีเมลที่เป็น @gmail เพื่อดาวน์โหลดและลงทะเบียนเข้าแอป GrabMerchant เพื่อรับคำสั่งซื้อ
  • รูปภาพอาหารต้องไม่ใช้ซ้ำกับเว็บไซต์อาหารอื่น
  • ร้านค้าจะได้รับยอดขายสุทธิหลังหักค่าบริการต่างๆ ในวันถัดไป
  • ร้านค้าจะต้องมีบัญชีธนาคารกสิกรไทย (Kbank) หรือ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (Krungsi) เท่านั้น
  • สามารถศึกษาขั้นตอนและวิธีการใช้งานได้ที่นี่ คลิก

Foodpanda : มาแรง ขยายตัวเร็วมาก มุ่งสู่ร้านค้าท้องถิ่น

  • มีผู้ใช้งานประมาณ 7 ล้านคน คนขับส่งของประมาณ 100,000 คน
  • มีค่าแรกเข้า 399 บาท และค่าบริการรายเดือน 99 บาท ในการสมัคร
  • มีนโยบายการันตีราคา ร้านค้าจึงไม่สามารถเพิ่มราคาจากราคาปกติที่ลูกค้ารับประทานที่ร้านได้
  • คิดค่าคอมมิชชัน 32% จากมูลค่าของออเดอร์ทั้งหมดที่สั่งผ่าน Foodpanda และจะถูกหัก VAT 7% (สำหรับออเดอร์ที่ชำระบัตรเครคิต จะละเว้นค่าธรรมเนียม 3%)
  • ร้านค้าจะได้รับแท็บเล็ต โดยร้านค้าสามารถเปิด/ปิดร้านอาหาร ตรวจสอบยอดขายได้ด้วยตนเองผ่านทางแท็บเล็ต และยังสามารถส่งข้อความติดต่อกับทาง foodpanda ได้โดยตรงเมื่อท่านพบปัญหาหรือต้องการแก้ไขข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า
  • ได้รับ Gift Voucher ส่วนลด 50 บาท จำนวน 100 ใบ สำหรับนำไปแจกให้กับลูกค้าของทางร้านเพื่อเป็นการโปรโมทร้านค้า
  • ใช้ได้ทุกธนาคาร แนะนำ ธ.ไทยพาณิชย์ เพราะถ้าเป็นธนาคารอื่นจะได้รับเงิน 1-2 วันหลังจากวันที่จ่ายเงิน
  • สามารถศึกษาขั้นตอนและวิธีการใช้งานได้ที่นี่ คลิก

Robinhood : แอปไทย เพื่อคนไทย

  • ไม่เสียค่าธรรมเนียมการใช้แพลตฟอร์ม
  • ใช้ได้ทั้งระบบ iOS และ Android
  • จะเก็บเฉพาะค่า LS แค่ 8% เท่านั้น (LS คือส่วนลดค่าส่งอาหารจากร้านค้าที่ Robinhood จะส่งต่อให้ลูกค้า 100% และนำไปเป็นส่วนลดโดยตรงให้กับลูกค้าในออเดอร์นั้นๆ)
  • ต้องมีบัญชี SCB ออมทรัพย์หรือเงินสะพัด และมี SCB Easy App
  • ร้านค้าได้รับเงินเร็วภายใน 1 ชั่วโมง หลังจากมีการชำระค่าอาหาร
  • เจ้าของร้านเข้าถึงสินเชื่อของธนาคารเพื่อขยายธุรกิจได้ง่ายขึ้น
  • สามารถศึกษาขั้นตอนและวิธีการใช้งานได้ที่นี่ คลิก

LINE MAN : พันธมิตร “วงใน” ได้เปรียบเรื่องรีวิว และแยกหมวดหมู่อาหารชัดเจน

  • ไม่มีค่าใช้จ่ายในการสมัครและการให้บริการ
  • ร้านค้าไม่ถูกหักเปอร์เซ็นใดๆ จาก LINE MAN โดยคิดค่าส่งตามระยะทางในอัตราปกติ ค่าส่งเริ่มต้นที่ 55 บาท 
  • หากร้านเข้าร่วม LINE MAN GP ค่าส่งเริ่มต้น 0 บาท ร้านจะได้รับค่าส่งอาหารที่ถูกกว่า และได้รับการโปรโมทพิเศษ เพื่อช่วยให้ร้านได้รับออเดอร์ (Order) และดันยอดขายมากขึ้นกว่าเดิม
  • LINE MAN GP จะหัก 30% (ยังไม่รวม VAT)
  • ร้านที่ไม่ได้เข้าร่วมโครงการค่าส่ง 0 บาท จะได้รับเงินสดจากไรเดอร์ ส่วนร้านที่เข้าร่วมโครงการค่าส่ง 0 บาท (LINE MAN GP) จะไม่ต้องรับเงินสดจากไรเดอร์ ระบบโอนเงินให้ร้านค้าในวันถัดไป เมื่อยอดรวมหลังหักค่า GP และ VAT ครบ 500 บาท
  • ยอดขาย ต้องมียอดเงินสะสมหลังหัก GP และ VAT ถึง 500 บาท LINE MAN ถึงจะโอนเงินเข้า บช.ให้ในวันถัดไป จะมีการสรุปยอดและโอนเงินทั้งหมดที่อยู่ใน Wallet ให้ร้านค้าทุกวันที่ 1 ของเดือนถัดไป  
  • ร้านไม่ต้องชำระค่า GP เพิ่มเติม เนื่องจากระบบจะคำนวณค่า GP และ VAT และหักออกจากยอดขายของร้าน ก่อนโอนเข้า บช.ให้ร้าน เมื่อมียอดครบ 500 บาท
  • ใช้บัญชีได้ทุกธนาคาร ยกเว้น ธนาคารที่มีเลขบัญชีเกิน 13 หลัก (เช่น ธอส.,ธกส.,ธนาคารออมสิน,ธนาคารเกียรตินาคิน,​​ธนาคารดอยซ์แบงก์)
  • พื้นที่ให้บริการ 77 จังหวัดทั่วประเทศไทย

Gojek : รีแบรนด์มาจาก Get เดิม

  • การบริการของ gojek จะมีค่าคอมมิชชันที่ 30% (ไม่รวม VAT 7%)
  • ร้านค้าจะต้องมีสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตในระบบ Android เพื่อใช้สำหรับแอปพลิเคชัน GoBiz ในการจัดการร้านค้า
  • ทางร้านค้าจะได้รับรายงานยอดขายและรายงานยอดรับในแต่ละวันทางอีเมล ซึ่งประกอบไปด้วยรายงานจำนวนยอดขายรายวัน, รายรับที่ร้านค้าจะได้รับหลังหักค่าธรรมเนียม, รายละเอียดค่าบริการ
  • ร้านค้าสามารถดาวน์โหลดรายงานการขาย โดยการกดที่ปุ่ม “ดาวน์โหลดรายงาน” รูปแบบรายงานจะอยู่ในรูปแบบไฟล์ Excel
  • ใช้บัญชีธนาคารไทยพาณิชย์
  • สามารถศึกษาขั้นตอนและวิธีใช้งานได้ที่นี่ คลิก

แล้วจะสมัครแอปไหนดี? จากการสำรวจพบว่า แต่ละแอปมีกลุ่มลูกค้าที่ต่างกัน รวมถึงมีจุดเด่น-จุดอ่อนที่ต่างกันด้วย ดูจากข้อมูลเราจะพบว่า 

Foodpanda ครอบคลุมต่างจังหวัดมากที่สุด รองลงมาคือ Grab food ในขณะที่ Robinhood ยังคงน่าสนใจเพราะไม่มีการเรียกเก็บค่าบริการจากร้านค้า  และยังเป็นแอปที่จ่ายเงินให้ร้านค้าไวที่สุด ถ้าเป็นไปได้ MHA แนะนำว่า ควรมีไว้ทั้ง 5 แอป เพราะยอดสั่งของแต่ละแอปมีพอๆกัน โดยขึ้นอยู่กับโปรโมชั่นส่งฟรีหรือลดราคาค่าจัดส่งในช่วงนั้น ถ้าร้านอยู่ต่างจังหวัดขอแนะนำให้ใช้ Food Panda เป็นหลักในขณะที่ LINE MAN และ Grab Food จะเหมาะกับพื้นที่กรุงเทพและปริมณฑลมากกว่า แต่ถ้าร้านเปิดใหม่ ยังไม่มีกำไรมากนัก ให้ลองสมัคร Robinhood หรือ Line Man ดูก่อนเพราะยังไม่เก็บค่า GP หรือค่าธรรมเนียม แต่ถ้าอยากได้ลูกค้าที่ไกลขึ้น ให้ลองสมัคร LINE MAN GP จะช่วยได้มากเช่นกัน คลิกอ่านบทความเพิ่มเติม

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง