พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ 2560

พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ
ว่าด้วยพรรคการเมือง
พ.ศ. ๒๕๖๐

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร

ให้ไว้ ณ วันที่ ๓๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐

เป็นปีที่ ๒ ในรัชกาลปัจจุบัน

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า

โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง

พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๖ ประกอบกับมาตรา ๓๔ และมาตรา ๓๗ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย

เหตุผลและความจำเป็นในการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้ เพื่อให้การจัดตั้ง การบริหารงาน และการดำเนินกิจกรรมของพรรคการเมือง เป็นไปโดยเปิดเผยและตรวจสอบได้ เปิดโอกาสให้สมาชิกมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวางในการกำหนดนโยบายและการส่งผู้สมัครรับเลือกตั้ง รวมทั้งมีมาตรการกำกับให้พรรคการเมืองสามารถดำเนินการโดยอิสระไม่ถูกครอบงำ หรือชี้นำโดยบุคคลซึ่งมิใช่สมาชิกของพรรคการเมือง ซึ่งการตราพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้สอดคล้องกับเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๒๖ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแล้ว

จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญขึ้นไว้ โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ทำหน้าที่รัฐสภา ดังต่อไปนี้

  • ผู้รับสนองพระราชโองการ
  • พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
  • นายกรัฐมนตรี

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญฉบับนี้ คือ โดยที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้บุคคลมีเสรีภาพในการรวมกันจัดตั้งพรรคการเมืองตามวิถีทางการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามที่กฎหมายบัญญัติ ซึ่งอย่างน้อยต้องมีบทบัญญัติเกี่ยวกับการบริหารพรรคการเมืองที่ต้องกำหนดให้เป็นไปโดยเปิดเผยและตรวจสอบได้ เปิดโอกาสให้สมาชิกมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวางในการกำหนดนโยบายและการส่งผู้สมัครรับเลือกตั้ง และกำหนดมาตรการให้สามารถดำเนินการโดยอิสระไม่ถูกครอบงำหรือชี้นำโดยบุคคลซึ่งมิได้เป็นสมาชิกของพรรคการเมือง รวมทั้งจะต้องมีมาตรการกำกับดูแลมิให้สมาชิกของพรรคการเมืองกระทำการอันเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมายเกี่ยวกับการเลือกตั้ง กรณีจึงสมควรกำหนดวิธีการจัดตั้งพรรคการเมืองและการดำเนินกิจการของพรรคการเมืองให้สอดคล้องกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้

บรรณานุกรม[แก้ไข]

"พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560". (2560, 7 ตุลาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 134, ตอน 105 ก. หน้า 1–41.

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

กฎหมายไทย
รัฐธรรมนูญ
กฎมณเฑียรบาล
พระราชบัญญัติ
พระราชบัญญัติ
ประกอบรัฐธรรมนูญ
พระราชกำหนด
ประมวลกฎหมาย
พระราชกฤษฎีกา
กฎกระทรวง
บริหารบัญญัติ
องค์การบัญญัติ

พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (มีนักกฎหมายบางท่านเสนอให้ย่อว่า "พ.ร.ป.") ​เป็นกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญที่ตราขึ้นในรูปแบบพระราชบัญญัติ ซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยได้บัญญัติให้มีขึ้นอีกรูปแบบหนึ่งในระบบบทกฎหมายไทย พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนั้นจะมีเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดเนื้อหาสำคัญ ๆ บางประการ เช่น การเลือกตั้ง หรือจัดโครงสร้างองค์กรที่ทำหน้าที่ควบคุมตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ โดยการตรากฎหมายประเภทนี้ช่วยอำนวยมิให้ตัวบทรัฐธรรมนูญซึ่งแก้ไขได้ยากยืดยาวเกินไป ทั้งหากสังคมหนึ่ง ๆ มีสภาพแปรเปลี่ยนไป (เช่น รัฐอาจต้องเปลี่ยนรายละเอียดการออกเสียงลงคะแนนเลือกตั้ง เนื่องจากสังคมมีประชากรเพิ่มมากขึ้นหรือมีการคำนึงถึงสิทธิคนกลุ่มบุคคลบางกลุ่มเป็นพิเศษมากกว่าเคย) รัฐก็ทำเพียงแค่แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ไม่ได้ต้องถึงขั้นแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแต่อย่างใด

ลักษณะของพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ[แก้]

พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญมีลักษณะเหมือนกับพระราชบัญญัติธรรมดาทั่วไป แต่มีหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้เป็นพิเศษบางประการ ดังต่อไปนี้

  • การเรียกชื่อกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ ต้องเรียกว่า “พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย... พ.ศ. ...” เช่น พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2540
  • การตราพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ จะกระทำได้ก็แต่เฉพาะเรื่องที่รัฐธรรมนูญฯ บังคับไว้เท่านั้น จะตราขึ้นเพื่อใช้ในเรื่องอื่น ๆ ดังเช่นพระราชบัญญัติทั่วไปไม่ได้
  • พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 บังคับให้ตราขึ้นมี 10 ฉบับ ดังต่อไปนี้เท่านั้น ส่วนกฎหมายอื่น ๆ แม้รัฐธรรมนูญจะกำหนดให้ออกเพื่ออธิบายขยายความเพิ่มเติมได้ แต่รัฐธรรมนูญฯ ก็ไม่ถือว่าเป็นกฎหมายหรือพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ
  1. พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561 [1]
  2. พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2561[2]
  3. พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. 2560[3]
  4. พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560 [4] [5] [6] [7]
  5. พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2561 [8]
  6. พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ. 2560[9]
  7. พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดิน พ.ศ. 2560[10]
  8. พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561[11][12]
  9. พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. 2561[13]
  10. พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560[14]
  • การตราพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญทุกฉบับต้องทำให้แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลาที่รัฐธรรมนูญฯ บังคับไว้ในมาตรา 267 กล่าวคือ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญทุกฉบับต้องทำให้แล้วเสร็จภายใน 240 วันนับแต่วันที่ประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560
  • ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญใดที่มีการเสนอต่อรัฐสภา แล้วไม่ว่าโดยทางใดตาม มาตรา 132 ในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาต้องมีคะแนนเสียงเห็นชอบในการที่จะให้ออกใช้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญในวาระที่สามจำนวนมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ในสภา เมื่อสภาให้ความเห็นชอบแล้ว ก่อนนำขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเพื่อลงพระปรมาภิไธยนั้น จะต้องส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญในการพิจารณาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญซึ่งศาลรัฐธรรมนูญต้องทำให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวัน
  • การคัดค้านว่าร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญมีความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ อาจทำได้โดยศาลรัฐธรรมนูญ แต่ในการลงมติให้แก้ไขเพิ่มเติมหรือไม่ให้ความเห็นชอบ ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญสมาชิกของทั้งสองสภารวมกันมีจำนวนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกของแต่ละสภา ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยก่อนที่นายกรัฐมนตรีจะนำร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย แต่ถ้าเป็นร่างพระราชบัญญัติทั่วไป ผู้เข้าชื่อต้องมีจำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 10 ของจำนวนสมาชิกเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภาสซึ่งเป็นการแสดงว่ารัฐธรรมนูญต้องการให้การตรวจสอบ และควบคุมดูแลความถูกต้องของกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญทำได้ง่ายและคล่องตัวกว่าการตรวจสอบกฎหมายธรรมดา

ลักษณะที่แตกต่างจากพระราชบัญญัติธรรมดา[แก้]

กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญมีลักษณะพิเศษแตกต่างจากกฎหมายธรรมดาดังนี้

  1. การเรียกชื่อกฎหมาย ต้องเรียก "พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย............. พ.ศ....."
  2. การออกหรือตรากฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญทุกฉบับต้องทำให้เสร็จภายในเวลาที่กำหนด
  3. กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ 3 ฉบับแรก จำเป็นต่อการเลือกตั้ง จึงกำหนดกรอบเวลาให้จัดทำแล้วเสร็จภายใน 240 วัน และให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเสนอได้โดยไม่ต้องมีคำรับรองของนายกรัฐมนตรี
  4. ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญใดที่มีการเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎร หากไม่ได้รับความเห็นชอบ คณะรัฐมนตรีอาจขอให้รัฐสภาประชุมร่วมกันเพื่อมีมติอีกครั้งก็ได้
  5. การคัดค้านว่าร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญมีความขัดแย้งต่อรัฐธรรมนูญ อาจทำได้โดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา หรือสมาชิกของสองสภารวมกันจำนวนไม่น้อยกว่า 20 คน เข้าเสนอชื่อต่อประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานวุฒิสภา หรือประธานรัฐสภา แล้วแต่กรณี

ปัญหาเรื่องสถานะของพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ[แก้]

กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญมีมานานแล้วในต่างประเทศ โดยเฉพาะภาคพื้นยุโรป ซึ่งกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญของไทยมีครั้งแรกในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ซึ่งให้มีพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญรวม 8 ฉบับ ซึ่งปัญหาเรื่องลำดับศักดิ์ของพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญยังเป็นที่ถกเถียงกันเรื่อยมา เพราะหากพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ ในทางกฎหมายนั้นเมื่อรัฐธรรมนูญถูกยกเลิกก็ย่อมทำให้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ถูกยกเลิกด้วย แต่ปัญหาดังกล่าวก็ยังไม่คลี่คลายแม้ในช่วงรัฐประหารที่ผ่านมา

ซึ่งจุดที่ชี้ให้เห็นว่าระหว่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญกับ พระราชบัญญัติธรรมดานั้นต่างกัน ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540กระบวนการตราพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญเหมือนกับการตราพระราชบัญญัติธรรมดา ทำให้คณะตุลาการรัฐธรรมนูญในคำวินิจฉัยที่ 3-5/2550 เรื่องยุบพรรคไทยรักไทยวินิจฉัยว่าเมื่อกระบวนการตราพระราชบัญญัติและกระบวนการตราพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญเหมือนกัน พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญจึงมีศักดิ์เท่ากฎหมายธรรมดา

ต่อมาในรัฐธรรมนูญปี 2550 ให้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญทั้งหมด 9 ฉบับ โดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ซึ่งกำหนดไว้ในมาตรา 138 – 141 โดยแก้ไขใหม่ทั้งหมด อันเป็นข้อสังเกตว่าหากผู้ร่างประสงค์จะให้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญมีศักดิ์เท่าพระราชบัญญัติจริง จะไม่มีการแก้ไขในส่วนนี้ แต่เจตนารมณ์ของผู้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ก็เพื่อแก้ปัญหาข้อถกเถียงทั้งหมด เกี่ยวกับลำดับศักดิ์ของรัฐธรรมนูญ

สถานะในปัจจุบันของพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ[แก้]

ปัจจุบันหลักการเกี่ยวกับพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญของไทยได้เปลี่ยนไปแล้วเนื่องจากรัฐธรรมนูญฉบับนี้กำหนดกระบวนการ ตรากฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญไว้เป็นพิเศษต่างจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 อยู่ 4 ประการ ดังนี้

  1. ผู้มีอำนาจเสนอร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญอยู่ใน มาตรา 131 คือ คณะรัฐมนตรี โดยข้อเสนอแนะของศาลรัฐธรรมนูญ ศาลฎีกา หรือองค์กรอิสระที่เกี่ยวข้อง และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งต่างจากการตราพระราชบัญญัติธรรมดา คือ ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 10,000 คน เสนอได้แต่พระราชบัญญัติธรรมดา
  2. ร่างพระราชบัญญัติธรรมดา ถ้าเป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวกับการเงินจะเสนอได้ต่อเมื่อมีคำรับรองของนายกรัฐมนตรีตามมาตรา 142 วรรคสอง แต่ถ้าเป็นพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ แม้เป็นกฎหมายเกี่ยวกับการเงินก็เสนอได้โดยที่ไม่ต้องมีคำรับรองของนายกรัฐมนตรีตามมาตรา 140
  3. การลงมติให้ความเห็นชอบพระราชบัญญัติธรรมดาใช้คะแนนเสียงข้างมากธรรมดา แปลว่าว่าสภา 400 คน เข้าประชุม 200 เห็นชอบ 101 คนก็ใช้ได้ แต่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญตามมาตรา 140 วาระแรกและวาระที่สองใช้เสียงข้างมากธรรมดา แต่วาระที่สามใน 140 (2) ต้องใช้คะแนนมากกว่ากึ่งหนึ่งของสมาชิกเท่าที่มีอยู่ทั้งหมดของแต่ละสภา นั่นแปลว่า ถ้าสภา 400 คนต้องได้ 201 คนไม่ว่าจะเข้าประชุมกี่คนก็ตาม และถึงแม้ผ่านสภาผู้แทนฯ มาแล้ว วุฒิสภา 150 คนหากโหวตเห็นชอบแค่ 75 คน ก็อาจทำให้ร่างตกไปได้
  4. ถ้าเป็นร่างพระราชบัญญัตินั้น รัฐธรรมนูญไม่ได้บังคับให้ต้องส่งร่างให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย แต่อาจเสนอให้วินิจฉัยได้ ตามมาตรา 154 แต่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญมาตรา 141 บังคับให้ส่งร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญที่สภาเห็นชอบแล้วให้ศาลรัฐ ธรรมนูญพิจารณาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญใน 30 วัน

อ้างอิง[แก้]

  1. พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. ๒๕๖๑ ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม ๑๓๕ ตอนที่ ๖๘ ก หน้า ๔๐-๙๖ ๑๒ กันยายน ๒๕๖๑
  2. พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. ๒๕๖๑
  3. พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. ๒๕๖๐
  4. พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. ๒๕๖๐ ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๑๐๕ ก หน้า ๑-๔๑ ๗ ตุลาคม ๒๕๖๐
  5. คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ ๕๓/๒๕๖๐ เรื่อง การดำเนินการตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ พิเศษ ๓๑๗ ง หน้า ๗-๑๒ ๒๒ ธันวาคม ๒๕๖๐
  6. แก้ไขข้อความคลาดเคลื่อน คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 53/2560
  7. คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๑๓/๒๕๖๑ เรื่อง การดำเนินการตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง (เพิ่มเติม) ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕ ตอนพิเศษ ๒๒๕ ง หน้า ๒๔-๒๙ วันที่ ๑๔ กันยายน ๒๕๖๑
  8. พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๕๖๑ ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม ๑๓๕ ตอนที่ ๑๒ ก หน้า ๑-๓๑ ๒ มีนาคม ๒๕๖๑
  9. พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ. ๒๕๖๐ ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๙๙ ก หน้า ๑-๒๑ ๒๘ กันยายน ๒๕๖๐
  10. พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๖๐ ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๑๓๑ ก หน้า ๑-๒๓ ๒๗ ธันวาคม ๒๕๖๐
  11. พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยกาiป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๖๑ ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม ๑๓๕ ตอนที่ ๕๒ ก หน้า ๑-๘๐ ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๖๑
  12. คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ ๒๑/๒๕๖๑ เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม ๑๓๕ ตอนที่ ๓๑๔ ง หน้า ๔๒-๔๓ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๖๑
  13. พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๖๑ ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม ๑๓๕ ตอนที่ ๑๐ ก หน้า ๑-๔๑ ๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑
  14. พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๐ ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๑๒๓ ก หน้า ๑-๒๔ ๑๒ ธันวาคม ๒๕๖๐

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง