โครงสร้างองค์กร ธนาคารไทย พาณิชย์

กรุงเทพฯ--2 เม.ย.--ธนาคารไทยพาณิชย์
ธนาคารไทยพาณิชย์ปรับโครงสร้างองค์กรใหม่เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการบริหารและสอดคล้องกับกระบวนการทางด้านการตลาด มุ่งสู่การให้บริการที่มีคุณภาพตรงกับความต้องการของลูกค้าในแต่ละกลุ่ม(Customer Focus) เพิ่มประสิทธิผลการดำเนินงานและรองรับต่อสภาวะการแข่งขัน หลังจากที่ได้มีการปรับโครงสร้างครั้งล่าสุดเมื่อกลางปีที่ผ่านมา
คุณหญิงชฎา วัฒนศิริธรรม กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ธนาคารจะปรับโครงสร้างองค์กรในไตรมาสที่ 2 ของปีนี้ เพื่อนำสู่ระบบการบริหารจัดการที่กระชับยิ่งขึ้นและเสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขัน โดยเฉพาะในด้านการขายและการให้บริการแก่ลูกค้าแต่ละกลุ่ม พร้อมทั้งการพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า ลดต้นทุนทางด้านการบริหาร เพิ่มประสิทธิผลในการดำเนินงานของธนาคาร (Productivity Improvement) ซึ่งเป็นหนึ่งในนโยบายและแผนธุรกิจของธนาคารในปีนี้ หลังจากที่ธนาคารมีผลประกอบการเป็นกำไรมาอย่างต่อเนื่องและมีแนวโน้มดีขึ้นตามลำดับ โดยจะมีการเปลี่ยนแปลงทั้งในระดับผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่และระดับผู้จัดการฝ่าย แยกหน่วยงานดูแล ผลิตภัณฑ์ (Product Management) และการตลาด(Marketing Management) การบริหารช่องทางและเครือข่าย(Channel Management) และงานด้านปฏิบัติการ(Operation) ปรับระบบการทำงานที่ซ้ำซ้อนของฝ่ายต่างๆ การจัดตั้งฝ่ายใหม่และกำหนดบทบาทหน้าที่การทำงานให้มีความเหมาะสมและชัดเจนขึ้น ทั้งนี้ในการปรับโครงสร้างองค์กรธนาคารให้ความสำคัญกับองค์ประกอบหลัก 3 ด้าน ได้แก่
1.ด้านระบบการตรวจสอบภายใน เพิ่มตำแหน่งผู้บริหารระดับผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่เป็น Chief Audit Executive มีหน้าที่ดูแลงานตรวจสอบภายในทั้งหมดของธนาคาร ซึ่งปัจจุบันดำเนินงานโดย ฝ่ายตรวจสอบและฝ่ายตรวจสอบระบบสารสนเทศและขึ้นตรงต่อคณะกรรมการตรวจสอบของธนาคาร
2. ด้านการบริหารความเสี่ยง แยกงานพิจารณาความเสี่ยงสินเชื่อแต่ละรายออกจาก หน่วยงานที่มีหน้าที่ด้านการตลาดและอนุมัติสินเชื่อ เพื่อให้มีความเห็นที่เป็นอิสระในด้านความเสี่ยงของสินเชื่อ โดยธนาคารได้จัดตั้งฝ่ายบริหารความเสี่ยงสินเชื่อเพิ่มขึ้นนอกเหนือจากสำนักงานบริหารความเสี่ยงที่มีอยู่เดิม ทั้งนี้ฝ่ายบริหารความเสี่ยงสินเชื่อจะพิจารณาความเสี่ยงด้านสินเชื่อทุกประเภทขึ้นตรงต่อสายงานบริหารความเสี่ยงและวางแผน สำหรับสายงานธุรกิจขนาดย่อม มีการโอนงานเกี่ยวกับการแก้ไขหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้(NPLs)บางส่วนจากฝ่ายพัฒนาธุรกิจไปอยู่ที่ฝ่ายพัฒนาสินเชื่อซึ่งรับผิดชอบงานด้านติดตามและแก้ไขหนี้มีปัญหาของสินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่และธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(SME)
3. ด้านผลิตภัณฑ์และการตลาดลูกค้าบุคคล เสริมสร้างความสามารถในการพัฒนาและวางแผนการตลาดผลิตภัณฑ์สำหรับลูกค้าบุคคล โดยขยายบทบาทความรับผิดชอบของสายงานบัตรเครดิตเดิมเป็น สายงานการตลาดลูกค้าบุคคลและจัดตั้งฝ่ายการตลาดและผลิตภัณฑ์ลูกค้าบุคคลมีหน้าที่เป็นศูนย์กลางสำหรับพัฒนาระบบการบริหารลูกค้าบุคคลและทำการตลาดผลิตภัณฑ์ลูกค้าบุคคล รวมทั้งบริการใหม่ๆ ด้านเงินฝากด้วย เปลี่ยนสายงานเงินฝากและบริการเป็นสายงานบริหารเครือข่ายสาขา ประกอบด้วย ฝ่ายพัฒนาเครือข่ายสาขา 1 และ 2 ดูแลสาขาในเขตกรุงเทพและสาขาต่างจังหวัด ควบคุมคุณภาพการให้บริการของสาขา(Service Quality) และการบริหารทรัพยากรของสาขาให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด (Cost Efficiency) เปลี่ยนฝ่ายพัฒนา- ธนกิจ 4 เดิม เป็นฝ่ายธนบดีธนกิจดูแลลูกค้าเงินฝากขนาดใหญ่และสถาบัน รวมถึงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ เกี่ยวข้อง โอนฝ่ายธุรกิจแลกเปลี่ยนและเงินโอนต่างประเทศมาขึ้นกับสายงานต่างประเทศ เพื่อให้มีการบริหารระบบงาน Back Office ด้านธุรกิจแลกเปลี่ยน การค้าต่างประเทศ การบริหารการเงินและธุรกิจตลาดทุนอย่างมีเอกภาพ ยกระดับสำนักงานสนับสนุนระบบงานสาขาเป็นฝ่ายสนับสนุนระบบงานสาขา นอกจากนี้การพัฒนาระบบเครือข่ายสาขาด้วยการปรับปรุงระบบเทคโนโลยีที่ใช้กับสำนักงานสาขาของธนาคาร ทั่วประเทศได้มีการพัฒนาเพิ่มขึ้นตามลำดับ เพื่อให้สอดคล้องกับกระแสการเปลี่ยนแปลงทางสังคมในปัจจุบัน
ทั้งนี้เพื่อเป็นการเสริมสร้างศักยภาพทางธุรกิจ ประสิทธิผลในการดำเนินงาน และการให้บริการที่มี คุณภาพเหนือมาตรฐานและความต้องการของลูกค้า การพัฒนาระบบการบริหารที่มีความเป็นสากลมากขึ้นและมุ่งสู่การเป็นธนาคารที่มีการบริหารและการจัดการที่ดีที่สุดของประเทศ--จบ--
-สส-

คณะกรรมการสรรหา ค่าตอบแทน และบรรษัทภิบาล

1.นายกานต์ ตระกูลฮุน

ประธานกรรมการสรรหา ค่าตอบแทน และบรรษัทภิบาล

2.นายวีระวงค์ จิตต์มิตรภาพ

กรรมการ

3.นายทวีศักดิ์ กออนันตกูล

กรรมการ

หน้าที่และความรับผิดชอบ

คณะกรรมการสรรหา ค่าตอบแทน และบรรษัทภิบาล (“คณะกรรมการ NCCG”) มีหน้าที่รับผิดชอบกำกับดูแลการกำหนดนโยบาย หลักเกณฑ์ และวิธีการในด้านการสรรหาและการจ่ายค่าตอบแทนและผลประโยชน์อื่นใดแก่กรรมการและผู้มีอำนาจในการจัดการ ด้านนโยบายทรัพยากรบุคคลและวัฒนธรรมองค์กร รวมถึง ด้านการกำกับดูแลกิจการของบริษัทและบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินเอสซีบี เอกซ์ เพื่อให้ดำเนินงานอย่างเหมาะสม โปร่งใส เป็นไปตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี เพื่อสร้างความมั่นใจและความน่าเชื่อถือต่อผู้มีส่วนได้เสีย ตลอดจนการดำเนินการเรื่องอื่นใดตามที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัท เอสซีบี เอกซ์ จำกัด (มหาชน) (“คณะกรรมการบริษัท”) ซึ่งรวมถึงเรื่องดังต่อไปนี้

1. ด้านการสรรหา

1.1การสรรหากรรมการ

(1)กำหนดนโยบาย หลักเกณฑ์ และวิธีการในการสรรหากรรมการเพื่อเสนอให้คณะกรรมการบริษัทพิจารณาอนุมัติ

(2)คัดเลือกและเสนอชื่อบุคคลที่มีคุณสมบัติเหมาะสมและเป็นไปตามระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกำหนด ตลอดจนนโยบายของบริษัท เพื่อเสนอคณะกรรมการบริษัทพิจารณาแต่งตั้ง หรือเสนอต่อคณะกรรมการบริษัทเพื่อให้ที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทพิจารณาแต่งตั้ง (แล้วแต่กรณี) ให้ดำรงตำแหน่งกรรมการบริษัท และกรรมการในคณะกรรมการชุดย่อย

(3)ดูแลให้คณะกรรมการบริษัทและคณะกรรมการชุดย่อยมีขนาดและองค์ประกอบที่เหมาะสมกับองค์กร รวมถึง มีการปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป

ในการสรรหากรรมการ คณะกรรมการ NCCG ต้องดูแลให้มีกลไกหรือเครื่องมือ อาทิ Board Skill Matrix ที่ช่วยสนับสนุนกระบวนการคัดเลือกและเสนอชื่อบุคคลที่จะดำรงตำแหน่งกรรมการ เพื่อให้องค์ประกอบของคณะกรรมการบริษัทประกอบด้วยบุคคลที่มีพฤติกรรม ความรู้ความสามารถ และประสบการณ์ในด้านต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ และสอดคล้องกับกลยุทธ์และการดำเนินธุรกิจของบริษัท ทั้งในระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว โดยคณะกรรมการบริษัทและคณะกรรมการชุดย่อยจะต้องประกอบด้วยบุคคลที่มีความรู้ความสามารถ ทักษะ และประสบการณ์ในด้านต่าง ๆ ได้แก่ 1) ความรู้ ความชำนาญ หรือประสบการณ์ ในการบริหารจัดการเชิงมหภาค 2) ความรู้ ความชำนาญ หรือประสบการณ์เฉพาะด้าน เช่น กฎหมาย บัญชี การเงิน เศรษฐศาสตร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ และ 3) ความรู้ ความชำนาญ หรือประสบการณ์ด้านอื่น ๆ อาทิ ด้านบริหารความเสี่ยง ด้านการกำกับดูแลกิจการที่ดี ด้านความรับผิดชอบต่อสังคม ด้านความยั่งยืน เป็นต้น ตลอดจนดูแลให้คณะกรรมการมีความหลากหลาย ทั้งด้านเพศ สัญชาติ เชื้อชาติ อายุ ประวัติการศึกษา ประสบการณ์การทำงาน ทักษะ หรือความรู้ ตลอดจนความแตกต่างอื่น ๆ เพื่อให้มั่นใจว่าโครงสร้างของคณะกรรมการมีความเหมาะสมและหลากหลาย เพื่อสนับสนุนให้บริษัทมีการเติบโตอย่างยั่งยืน

1.2การสรรหาผู้มีอำนาจในการจัดการและที่ปรึกษาของบริษัท

(1) กำหนดนโยบาย หลักเกณฑ์ และวิธีการในการสรรหาผู้มีอำนาจในการจัดการ เพื่อเสนอให้คณะกรรมการบริษัทพิจารณาอนุมัติ

(2) คัดเลือกและเสนอชื่อบุคคลที่มีคุณสมบัติเหมาะสมและเป็นไปตามระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกำหนด เพื่อเสนอคณะกรรมการบริษัทพิจารณาแต่งตั้งผู้มีอำนาจในการจัดการ และที่ปรึกษาของบริษัท

1.3การสรรหากรรมการและมีอำนาจในการจัดการของบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินเอสซีบี เอกซ์

กำกับดูแล กำหนดนโยบาย หลักเกณฑ์ และวิธีการในการสรรหากรรมการและผู้มีอำนาจในการจัดการของบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินเอสซีบี เอกซ์ เพื่อให้ได้กรรมการและผู้มีอำนาจในการจัดการที่เหมาะสมกับหน้าที่ความรับผิดชอบและลักษณะงาน

นอกจากนี้ คณะกรรมการ NCCG ยังมีหน้าที่ดูแลให้มีการเปิดเผยนโยบายและรายละเอียดของกระบวนการสรรหากรรมการและผู้มีอำนาจในการจัดการในรายงานประจำปีหรือบนเว็บไซต์ของบริษัทแม่ โดยปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบันอย่างน้อยปีละครั้ง

2. ด้านค่าตอบแทน

2.1ค่าตอบแทนของกรรมการ

(1)กำหนดนโยบาย หลักเกณฑ์ และวิธีการในการจ่ายค่าตอบแทนและผลประโยชน์อื่น ซึ่งจ่ายให้กับกรรมการบริษัทและกรรมการชุดย่อย ที่ชัดเจนและโปร่งใส สะท้อนวัตถุประสงค์และเป้าหมายของบริษัท รวมถึงผลประโยชน์ของบริษัทในระยะยาว สอดคล้องกับความเสี่ยงที่สำคัญของกลุ่มธุรกิจทางการเงินเอสซีบี เอกซ์ และเหมาะสมกับหน้าที่ความรับผิดชอบและลักษณะงาน และนำเสนอให้คณะกรรมการบริษัทพิจารณาเห็นชอบ ก่อนเสนอให้ที่ประชุมผู้ถือหุ้นอนุมัติแล้วแต่กรณี และนำส่งนโยบายดังกล่าวให้กับธนาคารแห่งประเทศไทยหากมีการร้องขอ

(2)กำหนดแนวทางและจัดให้มีการประเมินผลการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการบริษัท (ซึ่งประกอบด้วยคณะกรรมการบริษัท ประธานกรรมการ กรรมการรายบุคคล และคณะกรรมการชุดย่อย) ด้วยวิธีการประเมินตนเองและ/หรือ การประเมินแบบไขว้เป็นประจำทุกปี รวมทั้งอาจพิจารณาจัดให้มีการประเมินผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการบริษัท โดยที่ปรึกษาภายนอกตามความเหมาะสม เพื่อพิจารณากำหนดค่าตอบแทนประจำปี โดยให้นำผลประเมินไปใช้ในการพัฒนาการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการบริษัท

2.2ค่าตอบแทนของผู้มีอำนาจในการจัดการ

(1)กำหนดนโยบาย หลักเกณฑ์ และวิธีการในการจ่ายค่าตอบแทนและผลประโยชน์อื่น รวมถึงจำนวนค่าตอบแทนและผลประโยชน์อื่น ซึ่งจ่ายให้กับประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และผู้มีอำนาจในการจัดการอื่น ที่ชัดเจนและโปร่งใส สะท้อนวัตถุประสงค์ และเป้าหมายของบริษัท รวมถึงผลประโยชน์ของบริษัทในระยะยาว สอดคล้องกับความเสี่ยงที่สำคัญ และเหมาะสมกับหน้าที่ความรับผิดชอบ และนำเสนอให้คณะกรรมการบริษัทพิจารณาอนุมัติ

(2)กำหนดแนวทางการประเมินผลการปฏิบัติงานของประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และผู้มีอำนาจในการจัดการอื่น เพื่อพิจารณากำหนดค่าตอบแทนประจำปี โดยจะต้องคำนึงถึงหน้าที่และความรับผิดชอบและความเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง รวมถึงให้ความสำคัญกับการเพิ่มมูลค่าของส่วนของผู้ถือหุ้นในระยะยาวประกอบการพิจารณาประเมินผลด้วย

(3)กลั่นกรองข้อเสนอของฝ่ายจัดการเรื่องนโยบายจ่ายค่าตอบแทน แผนการกำหนดค่าตอบแทนและผลประโยชน์พิเศษอื่นนอกเหนือจากเงินค่าจ้างสำหรับพนักงานบริษัท และเสนอต่อคณะกรรมการบริษัทเพื่อพิจารณาอนุมัติ

(4)ดูแลให้บริษัทเปิดเผยนโยบายการกำหนดค่าตอบแทนและค่าตอบแทนในรูปแบบต่าง ๆ ที่จ่ายให้กับกรรมการที่เป็นผู้มีอำนาจในการจัดการและผู้จัดการหรือผู้มีอำนาจในการจัดการที่ได้รับค่าตอบแทนในฐานะพนักงาน ซึ่งมีรายละเอียดเกี่ยวกับปัจจัยที่ใช้ในการพิจารณาการประเมินผลการดำเนินงานในภาพรวม เป้าหมายการดำเนินงาน พร้อมทั้งความเห็นของคณะกรรมการ NCCG รวมถึงวิธีและเครื่องมือในการจ่ายค่าตอบแทนที่สะท้อนความเสี่ยง (ถ้ามี) และเปิดเผยค่าตอบแทนที่จ่ายให้กับกรรมการที่เป็นผู้มีอำนาจในการจัดการและผู้จัดการหรือผู้มีอำนาจในการจัดการที่ได้รับค่าตอบแทนในฐานะพนักงานเป็นจำนวนรวมค่าตอบแทนไว้ในรายงานประจำปีหรือบนเว็บไซต์ของบริษัทแม่ โดยปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบันอย่างน้อยปีละครั้ง

2.3ค่าตอบแทนของกรรมการและผู้มีอำนาจในการจัดการของบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินเอสซีบี เอกซ์

กำกับดูแลการกำหนดนโยบาย หลักเกณฑ์ และวิธีการจ่ายค่าตอบแทนและผลประโยชน์อื่นใดแก่กรรมการและผู้มีอำนาจในการจัดการของบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินเอสซีบี เอกซ์ โดยมีหลักเกณฑ์การจ่ายค่าตอบแทนที่ชัดเจน โปร่งใส และสอดคล้องกับความเสี่ยงที่สำคัญของบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินเอสซีบี เอกซ์ และเหมาะสมกับหน้าที่ความรับผิดชอบและลักษณะงาน

นอกจากนี้ คณะกรรมการ NCCG ยังมีหน้าที่ดูแลให้บริษัทเปิดเผยข้อมูลด้านธรรมาภิบาลไว้ในรายงานประจำปีหรือบนเว็บไซต์ของบริษัทแม่ โดยปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบันอย่างน้อยปีละครั้ง

3. ด้านนโยบายทรัพยากรบุคคลและวัฒนธรรมองค์กร

3.1พิจารณาและให้ความเห็นเกี่ยวกับนโยบายด้านทรัพยากรบุคคลเพื่อให้สอดคล้องกับกลยุทธ์ในการทำธุรกิจของบริษัท ซึ่งรวมถึงการปรับปรุงและพัฒนาบุคลากรให้มีจำนวน ความรู้ทักษะ ประสบการณ์ และแรงจูงใจที่เหมาะสม รวมถึงให้ความสำคัญกับความหลากหลายของบุคลากรทั้งด้านเพศ อายุ เชื้อชาติ ฯลฯ

3.2กำหนดนโยบายและกำกับให้มีการจัดทำแผนสืบทอดตำแหน่งสำหรับตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และผู้มีอำนาจในการจัดการอื่น โดยระบุตัวบุคคลที่จะทำหน้าที่แทน พร้อมจัดให้มีระบบพัฒนาบุคลากรเพื่อเตรียมความพร้อม

3.3พิจารณาและให้ความเห็นเกี่ยวกับแผนการปลูกฝังและพัฒนาวัฒนธรรมองค์กร

4. ด้านการกำกับดูแลกิจการ

4.1กำหนดนโยบายด้านกำกับดูแลกิจการของบริษัทเพื่อเสนอต่อคณะกรรมการบริษัทพิจารณาให้ความเห็นชอบ และติดตามเพื่อให้มีการปฏิบัติตามนโยบายกำกับดูแลกิจการ รวมถึงทบทวนและปรับปรุงนโยบายให้มีความเหมาะสมอย่างสม่ำเสมอ

4.2กำกับดูแลการปฏิบัติงานของบริษัทให้สอดคล้องกับหลักกำกับดูแลกิจการของหน่วยงานที่มีอำนาจกำกับดูแลตามกฎหมาย รวมถึงหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีอื่นที่มีมาตรฐานระดับสากล

4.3กำกับดูแลให้บริษัทมีกลไกในการดูแลให้ผู้ถือหุ้นได้รับสิทธิที่พึงมีตามที่กฎหมายบัญญัติ ซึ่งรวมถึงกำหนดหลักเกณฑ์และเปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นเสนอคำถาม วาระการประชุม และชื่อบุคคลที่มีคุณสมบัติเหมาะสมสำหรับเสนอแต่งตั้งเป็นกรรมการบริษัทก่อนการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นและแจ้งเหตุผลให้ผู้ถือหุ้นทราบในกรณีที่ข้อเสนอของผู้ถือหุ้นไม่ได้รับการพิจารณา

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง