พันธุ์ปาล์ม เท เนอ ร่า ราคา

1. ใช้พันธุ์ปาล์มน้ำมันลูกผสมเทเนอรา ซึ่งเป็นพันธุ์ลูกผสมที่ได้จากการผสมระหว่าง แม่ดูรา กับ พ่อฟิสิเฟอรา มาปลูกเพราะจะทำให้ได้ปริมาณผลผลิตทะลายสด และน้ำมันสูง ถ้าใช้ต้นกล้าจากแหล่งปลูกหรือแหล่งพันธุ์ที่ไม่ทราบที่มา หรือเก็บเมล็ดจากใต้ต้นมาเพาะ จะทำให้ผลผลิตต่ำหรือไม่ได้ผลผลิตเลย ซึ่งในปัจจุบันมีแหล่งผลิตเมล็ดพันธุ์ลูกผสมเทเนอราที่เชื่อถือได้ทั้งในประเทศ และนำเข้าจากต่างประเทศ เช่น กรมวิชาการเกษตร และบริษัทเอกชน

การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมของปาล์มน้ำมัน

ระหว่างดูรา x พิสิเฟอรา ได้ลูกผสมเทเนอรา

ผลปาล์มน้ำมันลูกผสมเทเนอรา

เมล็ดงอกปาล์มน้ำมันคุณภาพสูง

ภาพเปรียบเทียบความสูงของปาล์มน้ำมันสายพันธุ์ทั่วไป (ซ้าย)

กับสายพันธุ์คอมแพ็คท์(ขวา)


ปาล์มน้ำมันสายพันธุ์ เดลีคอมแพ็คท์ อายุ 5 ปี

2. อายุของต้นกล้าที่ใช้ปลูก ควรมีอายุ 10-18 เดือน และต้องผ่าน การคัดต้นกล้าที่ผิดปกติทิ้งไปในอัตรา 20-30% ในระยะ pre และ main nursery เช่น ต้นเตี้ย และแคระแกรน ทางใบทำมุมที่แคบกว่าปกติ ทางใบสั้น ต้นผอมชะลูด ซึ่งการดูแลรักษาต้นกล้าปาล์มน้ำมันในแปลงเพาะมีความสำคัญมากในการผลิตปาล์มน้ำมัน ทั้งนี้เพราะถ้ามีการนำต้นกล้าปาล์มที่ไม่แข็งแรงและไม่สมบูรณ์ไปปลูกจะทำให้เริ่มได้ผลผลิตล่าช้า และผลผลิตที่ได้จะต่ำในระยะยาว ดังนั้นการพิจารณาแหล่งพันธุ์ และแหล่งเพาะกล้าจึงเป็นปัจจัยที่สำคัญยิ่งในการทำสวนปาล์มน้ำมันให้ประสบความสำเร็จ

ดิน และน้ำ สมบูรณ์ คือ สวรรค์ของปาล์มน้ำมัน ภาคใต้จึงประสบความสำเร็จกับการปลูกพืชน้ำมันตัวนี้มาหลายสิบปี


แต่ระยะหลังๆ ความได้เปรียบของภาคใต้ ค่อยๆ ลดน้อยถอยลง เมื่อต้องเผชิญกับภัยแล้งยาวนานทุกปี บางปีแล้งถึง 8 เดือน จนกลายเป็นปัญหาใหญ่ระดับ “ภูเขา” ของชาวสวนปาล์ม นับประสาอะไรกับภูมิภาคอื่นๆ


ภัยแล้งจึง เป็นเชือกฉุดรั้งคุณภาพปาล์มน้ำมันไทยให้ตามหลังเพื่อนบ้านอย่าง มาเลเซียและอินโดนีเซีย เป็นต้น


จึงมีความพยายามพัฒนาสายพันธุ์ปาล์มน้ำมันให้เหมาะสมกับภูมิอากาศของเมืองไทย และให้ผลผลิตสูง ที่สำคัญคือ ต้องทนแล้ง


“โกลด์เด้นเทเนอร่า” คือ ผลผลิตของการพัฒนาสายพันธุ์ปาล์มน้ำมัน ในประเทศไทย โดยฝีมือคนไทย มีคุณสมบัติครบ ทั้งในแง่ ผลผลิต/ไร่ เปอร์เซ็นต์น้ำมันสูงแบบไม่อายเพื่อนบ้าน และที่สำคัญ ท้าท้าย ความแห้งแล้งได้นานถึง 3 เดือน ทีมงานยาง&ปาล์มออนไลน์ จะนำท่านไปรู้จักปาล์มน้ำมันพันธุ์นี้อย่างละเอียด


ปาล์มน้ำมันพันธุ์ โกลด์เด้นเทเนอร่า พัฒนาพันธุ์โดย นายเอนก ลิ่มศรีวิไล นักอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม และนักพัฒนาพันธุ์ปาล์มน้ำมัน สัญชาติไทย


นายเอนก ตั้งโจทย์กับพันธุ์ปาล์มมาตั้งแต่เมื่อ 40 ปีที่แล้ว ว่าทำอย่างไรให้ปาล์มน้ำมันมีสายพันธุ์ที่ดี เหมาะสมกับประเทศไทย เพื่อจะให้เกษตรกรได้รับประโยชน์จากพันธุ์ปาล์มที่นำไปปลูกมากที่สุด 

ผมตั้งใจพัฒนาพันธุ์ปาล์มน้ำมันลูกผสมของไทย เพื่อให้ได้ผลผลิตสูงสุดเมื่อเทียบกับพันธุ์การค้าอื่นทั่วโลก” นี่คือความตั้งใจของเขา 

แต่กว่าจะทำการพัฒนาพันธุ์ได้ต้องเตรียมการตั้งแต่คัดเลือกพันธุ์รุ่นพ่อ รุ่นแม่ และรุ่นลูก ต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 20 ปี


ทั้งนี้ การพัฒนาพันธุ์ปาล์มน้ำมัน จะใช้ต้นแม่พันธุ์ดูร่า (Dura)  ซึ่งมีคุณสมบัติ ลูกใหญ่ ทะลายใหญ่ แต่ เปลือกบาง กะลาหนา เปอร์เซ็นต์น้ำมันต่ำ ส่วนต้นพ่อพันธุ์พิสิเฟอร่า (Pisifera) มีลักษณะเปลือกหนา กะลาบาง เปอร์เซ็นต์น้ำมันสูง แต่ขนาดทะลายเล็ก เนื่องจากช่อดอกตัวเมียมักเป็นหมัน



ในการพัฒนาพันธุ์นายเอนกได้คัดเลือกต้นพ่อแม่พันธุ์ (เนื้อเยื่อ) มาทดลองปลูกในประเทศไทย ก่อนจะคัดต้นพ่อแม่ที่มีคุณสมบัติดี เติบโตได้ดีในภูมิอากาศของไทย เพื่อนำมาผสมกัน เป็นลูกผสมเทเนอร่า (Tenera) D x P ที่รวมคุณสมบัติที่ดีของพ่อแม่ไว้อย่างครบถ้วน คือ เปลือกหนา กะลาบาง เปอร์เซ็นต์น้ำมันสูง ลูกใหญ่ ทะลายใหญ่ เป็นต้น


พ่อแม่พันธุ์ที่ผ่านการคัดเลือกสําหรับผลิตพันธุ์ปาล์มน้ำมันลูกผสม เทเนอรา จะให้ผลผลิตผลปาล์มสด (Fresh Fruit Bunch ; FFB) สูงสุดต่อไร่ต่อปีและมี เปอร์เซ็นต์น้ำมันปาล์มดิบ (Crude Palm Oil) ที่หีบสกัด ณ โรงงานได้สูงสุด (% Oil Extraction Rate ; %OER) โดยเฉพาะมีความสามารถปรับตัวได้ดีให้ผลผลิตสม่ำเสมอในสภาพภูมิอากาศและสภาพแวดล้อมที่มีช่วงฤดูแล้งนาน 60–90 วัน


โดยใช้ฐานพันธุกรรมจากปาล์มน้ำมันลูกผสมที่มีผลผลิตสูง 280-350 กิโลกรัม/ต้น/ปี มีเปอร์เซ็นต์น้ำมันต่อทะลายปาล์ม (%O/B) สูง 30%–32% และฐานพันธุกรรมที่มีลักษณะเตี้ย ผ่านขบวนการขยายพันธุ์โดยวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ (Cloning) จากประเทศมาเลเซียและได้นํามาปลูกทดสอบในประเทศไทยเมื่อปีพ.ศ.2535 ในสภาพที่มีฤดูแล้งนาน 60–90 วัน ใน จ.สุราษฎร์ธานี และจ.กระบี่ (พ.ศ.2542) จดบันทึกข้อมูลสถิติของผลผลิตเมื่ออายุ 3 ปี (พ.ศ.2538) จนถึงปัจจุบัน 

ต่อมาได้จดทะเบียนพ่อแม่พันธุ์กับกรมวิชาการเกษตร และตั้งชื่อพันธุ์ลูกผสมเทเนอร่า ว่า “โกลด์เด้นเทเนอร่า”



โกลด์เด้นเทเนอร่า เป็นลูกผสม DXP ที่มีคุณสมบัติดี คือ

1.ให้ผลผลิตมากกว่า 5 ตันต่อไร่ต่อปี (ในสภาพแวดล้อมเหมาะสมเมื่ออายุ 8 ปี)
2.เนื้อหนา กะลาบาง ให้เปอร์เซ็นต์น้ำมันสูง 26-28%

3.ต้นเตี้ย สูงช้าเก็บเกี่ยวสะดวก

4.ทนแล้งได้นานกว่า 90 วันและยังให้ผลผลิตได้ต่อเนื่อง

5.ผลปาล์มสุกรอบชั้นนอกหลุดร่วงช้าและให้ผลปาล์มชั้นในสุกสม่ำเสมอ มีผลทำให้เปอร์เซ็นต์น้ำมันสูงขึ้น
6.เป็นเอกชนรายแรกที่ได้รับการรับรองให้เป็นพันธุ์แนะนำจากกรมวิชาการเกษตร

7.มีงานวิจัยต่อเนื่อง ด้านการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เพื่อเพิ่มผลผลิตและเปอร์เซ็นต์น้ำมัน


ปาล์มน้ำมันพันธุ์โกลด์เด้นเทเนอร่า เป็นหนึ่งในพันธุ์ปาล์มน้ำมันสัญชาติไทย ที่ได้รับความนิยมจากเกษตรกรทั่วประเทศ และเป็นตัวเลือกหนึ่งที่มีความน่าสนใจอย่างยิ่งสำหรับชาวสวนปาล์ม 

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง