การแบ่งยุคของวรรณคดีสมัยสุโขทัย

��ó����� ������բ�鹵�������¡�ا��⢷�����Ҫ�ҹբͧ�� �Ҩ���ا�ѵ���Թ��� ��ó��������Դ��鹷ء�Ѫ��� ���Щй�����¢ͧ��ó������Ҩ���¡�����й���ͧ�����ҡ�ѵ����������ó����Դ��鹡��� ��㹷����������ԧ����ӴѺ���ҵ������ѵ���ʵ��ͧ�ҵ�������ѡ ��ѧ���仹��

การแบ่งสมัยของวรรณคดีมีอยู่หลายแบบ แต่สรุปได้โดยถือเอาเมืองหลวงเป็นจุดศูนย์กลาง   จึงแบ่งออกเป็น ๔ สมัย

        ๑. สมัยสุโขทัย พ.ศ. ๑๘๐๐-๑๙๒๐         ๒. สมัยกรุงศรีอยุธยา พ.ศ. ๑๘๙๓-๒๓๑๐         ๓. สมัยกรุงธนบุรี พ.ศ. ๒๓๑๐-๒๓๒๕

        ๔. สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พ.ศ. ๒๓๒๕- ๒๔๖๘


วรรณคดีสมัยสุโขทัย   สมัยสุโขทัย ระหว่างรัชกาลพ่อขุนรามคำแหงมหาราช จนถึงรัชกาลพญาลิไท หรือพระมหาธรรมราชาที่ ๑

(พ.ศ.๑๘๐๐ ถึง พ.ศ. ๑๙๒๐) กรุงสุโขทัยเป็นราชธานีของไทย ซึ่งพ่อขุนบางกลางหาวและชนชาวไทยได้ก่อตั้งขึ้น   เมื่อ พ.ศ.๑๘๐๐ และดำรงความเป็นเอกราชมาจนถึง พ.ศ.๑๙๒๐ ตลอดจนระยะเวลา ๑๒๐ ปีมีพระมหากษัตริย ปกครอง ๖ พระองค์ องค์ที่มีชื่อเสียงมากที่สุด คือ พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ซึ่งได้ทรงประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๑๘๒๖ และยังได้โปรดฯ ให้จารึกหลักศิลาจารึกหลักที่ ๑ ขึ้น

    วรรณคดีสมัยสุโขทัยที่มีอยู่ในปัจจุบัน มี ๔ เรื่อง คือ ๑. ศิลาจารึกหลักที่ ๑ (ศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหง) ๒. สุภาษิตพระร่วง (บัญญัติพระร่วง) ไม่ปรากฏนามผู้แต่ง ๓. เตรภูมิกถา (ไตรภูมิพระร่วง) ผู้แต่งคือพญาลิไท ๔. นางนพมาศ (ตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์) ผู้แต่งคือนางนพมาศ


การแบ่งยุคสมัยของวรรณคดี นิยมแบ่งตามช่วงระยะเวลาที่เกิดวรรณคดี โดยยึดราชธานีเป็นหลัก ดังนี้
1. สมัยกรุงสุโขทัย ประมาณ พ.ศ. 1800 -1920
เป็นเวลา 120 ปี ตั้งแต่การสร้างกรุงสุโขทัยจนถึงเสียอิสรภาพแก่กรุงศรีอยุธยา เมื่อ พ.ศ. 1920 มีหลักฐานทางวรรณคดีปรากฏอยู่เพียง 2 รัชสมัย คือ สมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช และสมัยพระมหาธรรมราชาที่ 1 (พระยาลิไท)
2. สมัยกรุงศรีอยุธยา แบ่งเป็น 3 ระยะ คือ
สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น ตั้งแต่สมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) จนถึงสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 (พระเชษฐา) พ.ศ. 1893 – 2072 เป็นระยะเวลา 179 ปี จากนั้นวรรณคดีว่างเว้นไป 90 ปี เพราะบ้านเมืองไม่ปกติสุข มีสงครามกับพม่า
สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนกลาง ตั้งแต่สมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม จนถึงสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พ.ศ. 2153 – 2231 เป็นเวลา 78 ปี จากนั้นวรรณคดีว่างเว้นไปอีก 44ปี
สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย สมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ จนถึงเสียกรุงศรีอยุธยา พ.ศ. 2275 – 2310 เป็นเวลา 35 ปี
3. สมัยกรุงธนบุรี พ.ศ. 2310 – 2325 เป็นเวลา 15 ปี
4. สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ แบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ
สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช จนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พ.ศ. 2325 – 2394 เป็นระยะเวลา 69 ปี
สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ปัจจุบัน หรือสมัยรับอิทธิพลตะวันตก ตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พ.ศ. 2394 ถึงปัจจุบัน เป็นสมัยที่วรรณคดีไทยได้รับอิทธิพลจากตะวันตก รูปแบบของวรรณคดี เนื้อเรื่อง ตลอดจนความคิดในการเขียนเริ่มมีการเปลี่ยนแปลง

   วรรณคดี  
หมายถึง  วรรณกรรมหรืองานเขียนที่ยกย่องกันว่าดี มีสาระ และมีคุณค่าทางวรรณศิลป์ การใช้คำว่าวรรณคดีเพื่อประเมินค่าของวรรณกรรมเกิดขึ้นในพระราชกฤษฎีกาตั้งวรรณคดีสโมสรในสมัยรัชกาลที่ 6

วรรณคดี เป็นวรรณกรรมที่ถูกยกย่องว่าเขียนดี มีคุณค่า สามารถทำให้ผู้อ่านเกิดอารมณ์สะเทือนใจ มีความคิดเป็นแบบแผน ใช้ภาษาที่ไพเราะ เหมาะแก่การให้ประชาชนได้รับรู้ เพราะสามารถยกระดับจิตใจให้สูงขึ้น รู้ว่าอะไรควรหรือไม่ควร   สำหรับในภาษาไทย วรรณคดี ปรากฏครั้งแรกในหนังสือพระราชกฤษฎีกาตั้งวรรณคดีสโมสร วันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2457 โดยมีความหมายคือ หนังสือที่ได้รับยกย่องว่าแต่งดี นั้นคือมีการใช้ภาษาอย่างดี มีศิลปะการแต่งที่ยอดเยี่ยมทั้งด้านศิลปะการใช้คำ ศิลปะการใช้โวหารและถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ และภาษานั้นให้ความหมายชัดเจน ทำให้เกิดการโน้มน้าวอารมณ์ผู้อ่านให้คล้องตามไปด้วย กล่าวง่าย ๆ คือ เมื่อผู้อ่าน ๆ แล้วทำให้เกิดความรู้สึกซาบซึ้ง ตื่นเต้นดื่มด่ำ หนังสือเล่มใดอ่านแล้วมีอารมณ์เฉย ๆ ไม่ซาบซึ้งตรึงใจและทำให้น่าเบื่อถือว่าไม่ใช่วรรณคดี หนังสือที่ทำให้เกิดความรู้สึกดื่มด่ำดังกล่าวนี้จะต้องเป็นความรู้สึกฝ่ายสูง คือทำให้เกิดอารมณ์ความนึกคิดในทางที่ดีงาม ไม่ชักจูงในทางที่ไม่ดี

หนังสือที่เป็นวรรณคดี  ต้องมีลักษณะครบถ้วน  4 ประการ ต่อไปนี้


1. เป็นหนังสือที่แต่งดีที่สุด  ใช้ถ้อยคำร้อยกรองสำนวนเกลี้ยงเกลา มีความไพเราะใช้เป็นแบบฉบับได้
2. เป็นหนังสือที่อ่านแล้วได้รับความเพลิดเพลิน  มีความซึ้งใจเกิดความพอใจหรือไม่พอใจตามท้องเรื่อง  ทำให้ผู้อ่านมีอารมณ์หวั่นไหวเปลี่ยนแปลงไปตามจังหวะของเรื่อง  หรือเรียกว่าเป็นหนังสือที่มีคุณค่าในทางสะเทือนอารมณ์
3. เป็นหนังสือที่ส่งเสริมความรอบรู้แก่สติปัญญาทำให้ผู้อ่านมีความเฉลียวฉลาด
4. เป็นหนังสือที่มีคุณค่าทางศีลธรรม  ชักจูงสังคมให้มีศีลธรรม มีวัฒนธรรมดีขึ้น

วรรณคดีแบ่งตามประวัติ จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1. วรรณคดีมุขปาฐะ  คือ วรรณคดี แบบที่เล่ากันมาปากต่อปาก ไม่ได้บันทึกไว้ เป็นลายลักษณ์อักษร เช่น เพลงพื้นบ้าน นิทานชาวบ้าน บทร้องเล่น

2. วรรณคดีราชสำนัก หรือ วรรณคดีลายลักษณ์  มีการบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร  เช่น ไตรภูมิพระร่วง พระอภัยมณี อิเหนา ลิลิตตะเลงพ่าย

วรรณคดียังแบ่งตามลักษณะ  ซึ่งมี 2 ประเภท  คือ


1. วรรณคดีบริสุทธิ์  คือ วรรณคดีที่ผู้แต่งมุ่งในด้านความบันเทิงและอักษรศิลป์โดยเฉพาะ ต้องการแสดงออกทางวรรณศิลป์  ไม่มีจุดมุ่งหมายเพื่อประโยชน์ทางอื่น  ต้องการให้ผู้อ่านได้อ่านอย่างเพลิดเพลินมากกว่า เช่น ขุนช้างขุนแผน  พระอภัยมณี  นิราศนรินทร์
2. วรรณคดีประยุกต์  คือ วรรณคดีที่แต่งขึ้นเพื่อประโยชน์ทางอื่น  มีความมุ่งหมายในการแต่งจำเพาะเจาะจงทางใดทางหนึ่ง  เช่น ต้องการสอนให้คนละความชั่วทำแต่ความดี  วรรณคดีประเภทนี้  เช่น ไตรภูมิพระร่วง

การศึกษาวรรณคดีโดยวิเคราะห์ตามเนื้อหาสามารถแบ่งได้เป็นประเภทต่าง ๆ ได้ดังต่อไปนี้ 

วรรณคดีศาสนา   วรรณคดีนิทาน   วรรณคดีลิลิต  วรรณคดีนิราศ   วรรณคดีเสภา  วรรณคดีบทละคร    วรรณคดีเพลงยาว   วรรณคดีคำฉันท์    วรรณคดียอพระเกียรติ    วรรณคดีคำหลวง   วรรณคดีปลุกใจ

คุณค่าของวรรณคดี


          วรรณคดีแต่ละเล่มต่างมีคุณค่าต่อสังคมแตกต่างกันไป  ผู้อ่านวรรณคดีนอกจากจะได้รับรสแห่งความไพเราะทางภาษา  ความสนุกเพลิดเพลินอันเป็นคุณค่าทางอารมณ์แล้ว  วรรณคดียังให้ความรู้และคุณค่าทางด้านสังคม  จนอาจกล่าวได้ว่าเป็นมรดกทางสังคมด้วย  คุณค่าทางสังคม ได้แก่
1. คุณค่าทางวัฒนธรรมและประเพณี  วัฒนธรรมเป็นวิถีชีวิตของมนุษย์ในสังคมเป็นระเบียบกฎเกณฑ์  ส่วนประเพณีเป็นความคิด ความเชื่อ จารีต ระเบียบแบบแผนตลอดจนพิธีกรรมต่าง ๆ  วรรณคดีจะสอดแทรกวัฒนธรรม ชีวิตความเป็นอยู่ ประเพณีต่าง ๆ ของสังคมไว้  เป็นการถ่ายทอดความคิดสู่ผู้อ่าน  ทำให้ผู้อ่านเกิดความสำนึกในความเป็นชาติอย่างซาบซึ้ง เช่น ขุนช้างขุนแผน
2. คุณค่าที่แสดงให้เห็นสภาพชีวิตความเป็นอยู่ของบรรพบุรุษ    กวีจะนำเนื้อหาหรือสภาพชีวิตที่พบเห็นในสมัยนั้นมากล่าวไว้ในบทประพันธ์ของตน  ทำให้ผู้อ่านได้ทราบสภาพชีวิตความเป็นอยู่ของบรรพบุรุษ  ทำให้เห็นสภาพสังคมในสมัยนั้น เช่น อิเหนา (รัชกาลที่ 2)
3. คุณค่าด้านปรัชญาและความเข้าใจธรรมชาติของมนุษย์   วรรณคดีเป็นที่รวมแห่งปรัชญาการดำเนินชีวิตของคนในสังคม  กวีจะสอดแทรกปรัชญาแง่คิด ศีลธรรม  ตลอดจนคติธรรมเพื่อการยกระดับจิตใจของผู้อ่านให้สูงขึ้น  และยังทำให้ผู้อ่านได้เข้าใจธรรมชาติของมนุษย์ เช่น  พระอภัยมณี
4. คุณค่าทางประวัติศาสตร์ การบันทึกทางประวัติศาสตร์ที่มุ่งจดแต่ข้อเท็จจริงไม่ช้าก็อาจจะเบื่อหน่ายหลงลืมได้ เช่น เรื่องราวเกี่ยวกับสงครามยุทธหัตถีระหว่างสมเด็จพระนเรศวรกับพระมหาอุปราช ในประวัติศาสตร์อาจจะจดบันทึกไว้เพียงไม่กี่บรรทัด ผู้อ่านก็อาจจะอ่านข้ามๆไปโดยไม่ทันสังเกตและจดจำ ถ้าได้อ่านลิลิตตะเลงพ่ายจะจำเรื่องยุทธหัตถีได้ดีขึ้นและยังเห็นความสำคัญของเหตุการณ์บ้านเมืองในตอนนั้นอีกด้วย ทั้งนี้เพราะผู้อ่านได้รับรสแห่งความสุขบันเทิงใจในขณะที่อ่านลิลิตตะเลงพ่ายอีกด้วย
5. คุณค่าทางจินตนาการ เป็นการสร้างความรู้สึกนึกคิดที่ลึกซึ้ง จินตนาการต่างกับอารมณ์ เพราะอารมณ์คือ ความรู้สึก ส่วนจินตนาการ คือ ความคิด เป็นการลับสมอง ทำให้เกิดความคิดริเริ่ม ประดิษฐกรรมใหม่ ขึ้นมาก็ได้ จินตนาการจะทำให้ผู้อ่านเป็นผู้มองเห็นการณ์ไกล จะทำสิ่งใดก็ได้ทำด้วยความรอบคอบ โอกาสจะผิดพลาดมีน้อย นอกจากนั้นจินตนาการเป็นความคิดฝันไปไกลจากสภาพที่เป็นอยู่ในขณะนั้น อาจจะเป็นความคิดถึงสิ่งที่ล่วงเลยมานานแล้วในอดีต หรือสิ่งที่ยังไม่เคยเกิดขึ้นเลย โดยหวังว่าอาจจะเกิดขึ้นในอนาคตก็ได้ เช่น พระอภัยมณี สุนทรภู่ผู้แต่งนั้นเป็นกวีที่มีจินตนาการกว้างไกลมาก ได้ใฝ่ฝันเห็นภาพการนำฟางมาผูกเป็นเรือสำเภาใช้ในการเดินทางในมหาสมุทรบนยอดคลื่น เป็นต้น ซึ่งในปัจจุบันนี้เรือที่ทำด้วยวัสดุน้ำหนักเบาอย่างฟางได้เกิดมีจริงขึ้นแล้วรวมทั้งเรือเร็วที่แล่นได้บนยอดคลื่นหรือบนผิวน้ำด้วย
6. คุณค่าทางการใช้ภาษา เพราะการเขียนเป็นการถ่ายทอดความคิด เป็นการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร เพื่อรสชาติทางภาษา เพื่อจูงใจเพื่อความติดใจและประทับใจ ทำให้ผู้อ่านสามารถสังเกต จดจำนำไปใช้ก่อให้เกิดการใช้ภาษาที่ดี เพราะการเห็นแบบอย่างทั้งที่ดี และบกพร่องทั้งการใช้คำ การใช้ประโยค การใช้โวหาร สิ่งเหล่านี้เป็นการเพิ่มพูนความรู้ทางภาษาให้แก่ผู้อ่านทั้งสิ ้น เช่น  เรื่องลิลิตตะเลงพ่าย เพียงเรื่องเดียวหากศึกษาถ้อยคำภาษาโดยละเอียดถ่องแท้ก็ทำให้เกิดความแตกฉานในเรื่องภาษาขึ้นได้มาก โดยเฉพาะทางด้านคำศัพท์แล้วนับว่ามีคุณค่าอเนกอนันต์
7. คุณค่าที่เป็นแรงบันดาลใจให้เกิดการสร้างวรรณกรรม และศิลปกรรมด้านต่าง ๆ วรรณกรรมที่ผู้เขียนเผยแพร่ออกไปบ่อยครั้งที่สร้างความประทับใจ และแรงบันดาลใจให้เกิดผลงานอื่นๆเพิ่มขึ้น   เช่น ภาพวาดของจักรพันธุ์ โปษยกฤต  ส่วนมากจะได้แรงบันดาลใจจากวรรณคดีไทย  เช่น เรื่องขุนช้าง ขุนแผน เป็นต้น  หรือผลงานเพลงด้านคำร้องของ แก้ว อัจฉริยะกุล  เช่น พรานล่อเนื้อ ยูงกระสันเมฆ ก็ได้แรงบันดาลใจมาจากบทกวีของศรีปราชญ์    เพลงยอยศพระลอ  เพลงผู้ชนะสิบทิศ  เป็นต้น 

การแบ่งยุคสมัยของวรรณคดีไทย 

การแบ่งยุคสมัยของวรรณคดี นิยมแบ่งตามช่วงระยะเวลาที่เกิดวรรณคดี โดยยึดราชธานีเป็นหลัก ดังนี้

1. สมัยกรุงสุโขทัย ประมาณ พ.ศ. 1800 -1920

เป็นเวลา 120 ปี ตั้งแต่การสร้างกรุงสุโขทัยจนถึงเสียอิสรภาพแก่กรุงศรีอยุธยา เมื่อ พ.ศ. 1920 มีหลักฐานทางวรรณคดีปรากฏอยู่เพียง 2 รัชสมัย คือ สมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช และสมัยพระมหาธรรมราชาที่ 1 (พระยาลิไท)

2. สมัยกรุงศรีอยุธยา แบ่งเป็น 3 ระยะ คือ

  1. สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น ตั้งแต่สมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) จนถึงสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 (พระเชษฐา) พ.ศ. 1893 – 2072 เป็นระยะเวลา 179 ปี จากนั้นวรรณคดีว่างเว้นไป 90 ปี เพราะบ้านเมืองไม่ปกติสุข มีสงครามกับพม่า
  2. สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนกลาง ตั้งแต่สมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม จนถึงสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พ.ศ. 2153 – 2231 เป็นเวลา 78 ปี จากนั้นวรรณคดีว่างเว้นไปอีก 44ปี
  3. สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย สมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ จนถึงเสียกรุงศรีอยุธยา พ.ศ. 2275 – 2310 เป็นเวลา 35 ปี

3. สมัยกรุงธนบุรี พ.ศ. 2310 – 2325 เป็นเวลา 15 ปี
4. สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ แบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ

  1. สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช จนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พ.ศ. 2325 – 2394 เป็นระยะเวลา 69 ปี
  2. สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ปัจจุบัน หรือสมัยรับอิทธิพลตะวันตก ตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พ.ศ. 2394 ถึงปัจจุบัน เป็นสมัยที่วรรณคดีไทยได้รับอิทธิพลจากตะวันตก รูปแบบของวรรณคดี เนื้อเรื่อง ตลอดจนความคิดในการเขียนเริ่มมีการเปลี่ยนแปลง

วรรณคดีสมัยกรุงสุโขทัย

วรรณคดีสมัยกรุงสุโขทัยเท่าที่ปรากฏหลักฐานมีอยู่เพียง 2 รัชสมัย คือ สมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช และสมัยพระมหาธรรมราชาที่ 1 (พระยาลิไท) มีกวีและวรรณคดีที่สำคัญ คือ

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง