เจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล คือ

พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562

พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล คือกฎหมายคุ้มครองข้อมูลที่บ่งบอกความเป็นตัวตน ไม่ว่าจะเป็นภาพ ชื่อ สำเนาบัตรประชาชน ใบขับขี่ อีเมล เบอร์โทรศัพท์ และยังครอบคลุมไปถึงไปถึงข้อมูลการใช้งานบนโลกออนไลน์ทุกประเภท

  • หากมีการนำข้อมูลไปเก็บ ใช้ หรือเปิดเผย ต้องได้รับการยินยอมจากเจ้าของข้อมูล
  • เจ้าของข้อมูลมีสิทธิ์ลบหรือทำลายข้อมูลออกจากระบบได้
  • มีคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งเป็นหน่วยงานรัฐที่มีความเชี่ยวชาญพิเศษ ที่ช่วยดูแลประชาชนจากการถูกละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล

มีองค์ประกอบสำคัญดังนี้

  1. ข้อมูลส่วนบุคคล (Personal Data) หมายความว่า ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลซึ่งทำให้สามารถระบุตัวตนบุคคลนั้นได้ ไม่ว่าจะเป็นทางตรงหรือทางอ้อม
  2. ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล (Data Controller) หมายความว่า บุคคลหรือนิติบุคคลซึ่งมีอำนาจหน้าที่ในการตัดสินใจเกี่ยวกับการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล
  3. ผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล (Data Processor) หมายความว่าบุคคลหรือนิติบุคคลซึ่งดำเนินการเกี่ยวกับการเก็บรวบรวม ใช้ หรือ เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลตามคำสั่งหรือในนามผู้ควบคุมข้อมูล บุคคลหรือนิติบุคคลซึ่งดำเนินการดังกล่าวไม่ถือว่าเป็นผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล
  4. เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล (Data Subject) หมายความว่า บุคคลที่เป็นเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล
  5. เจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Data Protection Officer หรือ DPO) หมายความว่า ตัวแทนผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลและผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล ที่ทำหน้าที่ให้คำแนะนำและตรวจสอบในการปฏิบัติตาม พ.ร.บ. ฉบับนี้

ถ้าพบว่ามีผู้ละเมิดนำข้อมูลที่ไม่ได้อนุญาตไปใช้ประโยชน์ หรือไม่ยอมลบตามที่ถูกร้องขอ หรือสร้างความเสียหาย มีโทษสูงสุด จำคุก 1 ปี ปรับ 5 ล้านบาท

กฎหมายมีผลบังคับใช้ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

Download พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562

แหล่งที่มา

//www.mratchakitcha.soc.go.th

โดย นายกุลางกูร พัฒนเมธาดา

ร่วมแสดงความคิดเห็น




พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 หรือ PDPA เป็นกฎหมายที่สร้างความตื่นตัวอย่างมาก โดยหลาย ๆ องค์กรหันมาศึกษาและพยายามดำเนินการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลตามข้อกำหนดของกฎหมายอย่างจริงจังกันแล้ว เพราะกำหนดการบังคับใช้ พ.ร.บ. อย่างเต็มรูปแบบกำลังใกล้เข้ามาทุกขณะ (มิถุนายน 2564)

ผู้บริหารขององค์กรในฐานะผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลก็คงเคยได้ยินเรื่องราวเกี่ยวกับ Data Protection Officer (เจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล) หรือที่เรียกกันติดปากอย่างย่อ ๆ ว่า DPO (ดีพีโอ) กันมาบ้าง เพราะทั้งใน PDPA และ GDPR ซึ่งเป็นกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของสหภาพยุโรป ที่ได้ชื่อว่าเป็นแม่แบบของกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของไทย ต่างมีบทบัญญัติที่กล่าวถึงความจำเป็นและบทบาทหน้าที่ของตำแหน่งงานนี้

DPO คือใคร?

เจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือ Data Protection Officer เป็นตำแหน่งงานใหม่ที่เกิดขึ้นมาพร้อมกับกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล โดยเป็น “ผู้รับผิดชอบ” ให้แน่ใจว่าการประมวลผลข้อมูลขององค์กรดำเนินการอย่างสอดคล้องกับกฎหมายและราบรื่นมากที่สุด และมีหน้าที่ (ตาม PDPA มาตรา 42 และเอกสารประกอบอื่น) ดังต่อไปนี้

  • ให้คำแนะนำแก่ผู้ควบคุมข้อมูล/ผู้ประมวลผลข้อมูล และบุคคลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เกี่ยวกับการปฏิบัติตาม พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 ตลอดจนกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลฉบับอื่น
  • ดูแลการเก็บรวบรวม ใช้ และเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลขององค์กรและบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ให้สอดคล้องตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และนโยบายคุ้มครองข้อมูลขององค์กร รวมถึงจัดการกิจกรรมคุ้มครองข้อมูลภายในองค์กร เช่น การสร้างความตระหนักถึงประเด็นและกระบวนการคุ้มครองข้อมูล การฝึกอบรมบุคลากร การประเมินความเสี่ยงของข้อมูล การตรวจสอบการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลภายในองค์กร และการรับมือกับคำร้องด้านการประมวลผลข้อมูลจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลหรือหน่วยงานที่มีส่วนได้ส่วนเสีย เป็นต้น
  • ประสานงานและร่วมมือกับสำนักงานคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง) ในกรณีที่มีปัญหาในการประมวลผลข้อมูล
  • บันทึกและเก็บรักษารายการกิจกรรมการประมวลผลข้อมูลขององค์กร
  • รักษาความลับของข้อมูลส่วนบุคคลจากการปฏิบัติหน้าที่

*ผู้ควบคุมข้อมูลและผู้ประมวลผลข้อมูลเป็นผู้รับผิดชอบต่อการแสดงออกและการดำเนินการตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลขององค์กรเสมอ เจ้าหน้าที่คุ้มครองครองข้อมูลส่วนบุคคลมิใช่ผู้ที่รับผิดชอบโดยส่วนตัว

เจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลจะต้องได้รับความสะดวกจากผู้ควบคุมข้อมูล/ผู้ประมวลผลข้อมูลในการปฏิบัติหน้าที่ มีอิสระในการปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ขึ้นอยู่กับหน่วยงานหรือแผนกอื่น ๆ ในองค์กร มีอำนาจ และจะต้องสามารถรายงานไปยังบรรดาผู้บริหารสูงสุด (Top Management) อย่างเช่น บอร์ดบริหาร ของผู้ควบคุมข้อมูล/ผู้ประมวลข้อมูลได้โดยตรงในกรณีที่เกิดปัญหาขึ้น

การกำหนดตำแหน่ง DPO ขององค์กร กล่าวได้ว่าเป็นการดำเนินการตาม “หลักความรับผิดชอบ” (Accountability) ซึ่งเป็นหนึ่งในหลักการสำคัญของกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลอย่าง GDPR ที่ระบุว่าคุณต้องรับผิดชอบดำเนินการตามกฎหมาย และมีหลักฐาน/ข้อพิสูจน์ที่แสดงให้เห็นถึงการดำเนินการตามกฎหมายด้วย

กฎหมายบัญญัติไว้ องค์กรของคุณต้องมี DPO หรือไม่?

สำหรับผู้ควบคุมข้อมูล/ผู้ประมวลผลข้อมูลหลาย ๆ คนที่กำลังรู้สึกสับสน อาจมีความเชื่อว่า “ขนาดขององค์กร” คือตัวแปรสำคัญที่ใช้พิจารณา และ “องค์กรขนาดใหญ่” คือองค์กรที่จำเป็นต้องมีเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลเอาไว้คอยสอดส่องดูแลกิจกรรมการประมวลผลข้อมูล…ซึ่งในความเป็นจริงแล้วไม่แน่เสมอไปครับ

กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลทั้งสองฉบับ (GDPR มาตรา 37 และ PDPA มาตรา 41) มีบทบัญญัติที่คล้ายคลึงกันเกี่ยวกับประเด็นนี้ว่า ผู้ควบคุมข้อมูลและผู้ประมวลผลข้อมูลจะต้องกำหนดให้มีเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลประจำ ในกรณีที่:

  • เป็นองค์กรสาธารณะหรือหน่วยงานรัฐตามที่คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลประกาศกำหนด ยกเว้นศาลที่ประมวลผลข้อมูลเพื่อดำเนินการตามขอบเขตของอำนาจศาล
  • มีกิจกรรมการประมวลผลข้อมูลของบุคคลจำนวนมาก ซึ่งต้องมีการสอดส่องดูแล/ตรวจสอบข้อมูลอย่างเป็นระบบและสม่ำเสมอ (เช่น การติดตามพฤติกรรมบุคคลออนไลน์)
  • มีกิจกรรมการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลจำนวนมาก ที่เข้าข่ายเป็นข้อมูลส่วนบุคคลอ่อนไหว หรือเป็นข้อมูลที่สัมพันธ์การตัดสินคดีความหรือข้อกล่าวหา

กล่าวอย่างสรุป กฎหมายบัญญัติว่าองค์กรที่จำเป็นต้องมีเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล คือ องค์กรรัฐ/หน่วยงานสาธารณะ องค์กรที่ประมวลผลข้อมูลของบุคคลจำนวนมากเป็นกิจกรรมหลักที่ต้องการการดูแลอย่างสม่ำเสมอ เช่น โซเชียลมีเดีย แอปพลิเคชันบริการขนส่งเดลิเวอรี่ บริษัทจัดหางาน ห้างสรรพสินค้าที่มีระบบสมาชิก บริษัทรักษาความปลอดภัยข้อมูล ฯลฯ และองค์กรที่ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลอ่อนไหวเป็นจำนวนมาก เช่น โรงพยาบาล และบริษัทประกันภัย เป็นต้น ไม่ได้มีส่วนที่ระบุถึงขนาดขององค์กรแต่อย่างใด เพียงแต่ scale ของการประมวลผลข้อมูลจำนวนมากมักเกิดขึ้นภายในองค์ขนาดใหญ่ที่มีบุคลากรดูแลเป็นจำนวนมากเช่นเดียวกันนั่นเอง

หากองค์กรของคุณไม่ได้มีกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลสักเท่าไหร่ แม้เป็นองค์กรขนาดใหญ่ก็ไม่จำเป็นต้องมี DPO

ตัวผู้บริหารเองจะต้องลองประเมินว่าองค์กรของคุณเข้าข่ายตามข้อบัญญัติของกฎหมายข้างต้นหรือไม่ ถ้าใช่ คุณควรต้องมีเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล แต่ถ้าองค์กรของคุณประมวลข้อมูล (ส่วนบุคคล) จำนวนไม่มากนัก ก็ไม่มีความจำเป็นครับ เพียงแต่ต้องดูแลให้มีมาตรการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่จำเป็นและสอดคล้องตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

คุณสมบัติของคนเป็นเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

หลังจากที่ประเมินได้แล้วว่า องค์กรของคุณจำเป็นต้องมีเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลหรือไม่ คราวนี้เรามาดูกันที่การสรรหากันดีกว่าครับ ว่าในมุมมองของผู้บริหารหรือฝ่ายทรัพยากรบุคคลอาวุโส คุณจะมีเกณฑ์การเลือกผู้ที่มีคุณสมบัติอย่างไรเพื่อมาเป็นเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลขององค์กร เพราะหน่วยงานกลางไม่ได้มีการกำหนดคุณสมบัติอย่างเป็นทางการของผู้ที่สามารถดำรงตำแหน่งนี้ได้ออกมา

เจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลเป็นตำแหน่งงานที่ต้องอาศัยทั้งการศึกษา ประสบการณ์ ตลอดจนมีสายอาชีพ และ/หรือวุฒิบัตรรับรองความสามารถในแขนงต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง มีรายการคุณสมบัติของผู้ที่เหมาะสมจะดำรงตำแหน่งนี้ ดังนี้

  • มีความรู้ความเข้าใจและประสบการณ์เกี่ยวกับกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล โดยเฉพาะ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 ในระดับเชี่ยวชาญ
  • จบการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไปในสาขาความมั่นคงทางสารสนเทศ วิทยาการคอมพิวเตอร์ หรือสาขาใกล้เคียง หรือจบการศึกษาระดับปริญญาตรี/นิติศาสตร์บัณฑิต และมีประสบการณ์การทำงานเกี่ยวข้องกับด้านความเป็นส่วนตัว การปฏิบัติให้สอดคล้องตามกฎหมาย ความมั่นคงทางสารสนเทศ การตรวจสอบการดำเนินงาน หรือด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น
  • ควรมีประสบการณ์การทำงาน (มากกว่า 5 ปี) ในตำแหน่งเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัว และ/หรือ การจัดการความเสี่ยงของการปฏิบัติตามข้อกำหนดกฎหมาย
  • อาจจำเป็นต้องมีวุฒิบัตรรับรองจาก International Association of Privacy Professionals (IAPP) ซึ่งเป็นหน่วยงานด้านความเป็นส่วนตัว/การคุ้มครองข้อมูล/การจัดการความเสี่ยงของข้อมูล ที่ได้รับการยอมรับทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็น CIPP หรือ CIPM ส่วนจะมีวุฒิบัตรใดอีกบ้างที่สามารถใช้เป็นมาตรฐานรับรองความรู้ความสามารถของผู้ที่มีความสามารถเป็นเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลได้ จำเป็นต้องรอประกาศจากคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลอีกครั้งหนึ่ง

ตามข้อกำหนดของกฎหมาย เจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลอาจเป็นบุคลากรในองค์กร หรือบุคลากร Third-Party ภายนอกองค์กรที่เป็น Outsource ก็ย่อมได้ โดยถ้าหากเป็นบุคลากรในองค์กรจะต้องไม่มีอำนาจหน้าที่การทำงานที่ขัดแย้งกับการปฏิบัติหน้าที่เป็น DPO อย่างไรก็ตาม ตามธรรมชาติแล้ว gdpr.eu สนับสนุนให้พยายามแต่งตั้งบุคลากรภายในองค์กรเป็นเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลเนื่องจากบุคคลนี้เป็นผู้ที่มองเห็นโครงสร้างการไหลเวียนของข้อมูลองค์กรได้อย่างชัดเจน และมักจะเข้าใจความต้องการของการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลในวงการเฉพาะมากกว่าบุคคลภายนอกนั่นเอง

โดยคุณสมบัติอย่างเป็นทางการของ “เจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล” ยังคงต้องรอคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (ของไทย) ประกาศอีกครั้งเช่นกัน ซึ่งน่าจะเป็นในเร็ว ๆ นี้ ก่อน PDPA บังคับใช้อย่างเต็มรูปแบบอย่างแน่นอน

สรุป เจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (DPO) เป็นตำแหน่งที่เกิดขึ้นมาพร้อมกับกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล โดยหลาย ๆ องค์กรจำเป็นต้องมีตำแหน่งนี้ประจำเพื่อ Facilitate – อำนวยความสะดวกให้การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลเป็นไปอย่างราบรื่นและดำเนินการได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย คุณต้องพิจารณาว่าองค์กรของคุณเข้าข่ายต้องมีเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลหรือไม่ โดยแนะนำให้สรรหาจากบุคลากรภายในองค์กรเพื่อความเข้าใจที่มีต่อ Data Flow และความต้องการขององค์กร

ในมุมกลับกัน ใครอ่านบทความนี้แล้วรู้สึกอยากทำงานเป็น DPO ก็อย่าลืมสำรวจวุฒิของตนเอง ฝึกอบรมหาประสบการณ์ และสอบวุฒิบัตรรับรองความสามารถเตรียมเอาไว้เลย เพราะตำแหน่งนี้มี รายได้เฉลี่ยสูงถึง 130,000+ / เดือน (06/11/2563) เลยทีเดียวครับ!

เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล กับหลักสูตร Personal Data Protection Certificate: PDPC เนื้อหาครอบคลุม กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของสหภาพยุโรป พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 และแนวทางการปฏิบัติเพื่อคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

หากผู้บริหารองค์กรหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบเกี่ยวกับด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลขององค์กรท่านใด ได้อ่านบทความเกี่ยวกับ Data Protection Officer ตามข้างต้น และมีความกังวลเกี่ยวกับแนวทางการคุ้มครองข้อมุลส่วนบุคคล หรือการจ้างงานเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลประจำองค์กร บริษัท ดิจิทัล บิสิเนส คอนซัลท์ จำกัด (Digital Business Consult: DBC) ยินดีรับให้คำปรึกษา พร้อมบริการอบรมแบบ In-house Training ภายในองค์กรและอบรมออนไลน์หลักสูตร Personal Data Protection Certificate ครบวงจร เพื่อเป็น Solution ให้กับองค์กรที่ต้องการดำเนินการตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของไทย (PDPA)

Our Consultation Service <<< คลิกเพื่อศึกษารายละเอียดบริการที่ปรึกษาด้าน PDPA
PDPA Thailand <<< หรือคลิกเพื่อสอบถามข้อมูลผ่านทาง Facebook Messenger

เจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล คือใคร

DPO หรือเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Data Protection Officer) คือบุคคลที่ทำหน้าที่ในการดูแลรักษาข้อมูลส่วนบุคคลทั้งหมดภายในองค์กร ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลภายในหรือภายนอกองค์กรก็ตาม โดยเจ้าหน้าที่ DPO นั้นจะทำหน้าที่ให้คำปรึกษา ตรวจสอบ กำกับดูแลการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลให้เป็นไปตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งองค์กรจะ ...

พรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หมายถึงอะไร

พ.ร.. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือ PDPA ย่อมาจาก Personal Data Protection Act. บทบัญญัติที่ให้ความคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของ “บุคคลธรรมดา” ให้สิทธิในการแก้ไข, เข้าถึง หรือแจ้งลบข้อมูลที่ให้ไว้กับองค์กรเป็นต้น และกำหนดบทบาทหน้าที่และบทลงโทษหากองค์กรไม่ปฏิบัติตาม

Dpo ต้องเป็นใคร

DPO ต้องเป็นคนภายในองค์กรเท่านั้นหรือไม่? คำตอบคือไม่จำเป็น เจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลสามารถเป็นคนภายในองค์กร หรือคนภายนอกองค์กรก็ได้ ขอแค่เป็นบุคคลที่มีคุณสมบัติครบถ้วน ก็สามารถทำหน้าที่เป็นเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลตามที่กฎหมายกำหนดได้

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง