หลักธรรมแก้ปัญหาความรุนแรง

หลายคนคงเคยอมยิ้มกับความน่ารัก ความผูกพันระหว่างยายกับหลาน ที่ยายคอยเฝ้าปกป้องดูแลหาทางล่อหลอกไม่ให้หลานร้องไห้เสียน้ำตา

แม้นี่จะเป็นเรื่องเล็กน้อยมากเมื่อเทียบกับความยากลำบากอีกมาก กว่าจะเลี้ยงเด็กคนหนึ่งให้เติบโตขึ้นมาเป็นคนดีในสังคม แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้เช่นกันว่าการสอนเจ้าตัวน้อยด้วยวิธีการแบบนี้เอง เป็นหนึ่งในหลายๆ ปัจจัยที่เรากำลังบ่มเพาะถ่ายทอดวิธีการแก้ปัญหาโดยใช้ความรุนแรงไปยังคนรุ่นต่อไป และไปยังสังคมที่พวกเขาต้องใช้ชีวิตอยู่ในอนาคตด้วย

พุทธศาสนามีหลักการและท่าทีที่ชัดเจนมากในการไม่เบียดเบียน ไม่ใช้ความรุนแรงต่อผู้อื่น ซึ่งท่านไม่ได้หมายเอาเฉพาะความรุนแรงที่กระทำต่อมนุษย์เท่านั้น แต่รวมถึงต่อสิ่งมีชีวิตอื่นและสิ่งแวดล้อมด้วย

ในพุทธศาสนาไม่มีคำสอนหรือเรื่องราวชวนให้เรามุ่งมั่นในการแก้แค้นหรือใช้ความรุนแรงแก้ปัญหาอยู่เลย คติที่ว่าแค้นนี้ต้องชำระ ตาต่อตาฟันต่อฟัน หรือฆ่าคนเลวไม่บาป เหล่านี้ไม่ใช่คำสอนของพุทธศาสนา

การลงโทษคนชั่วคนเลวนั้นเป็นเรื่องของกฎเกณฑ์ทางธรรมชาติ และเรื่องของสังคมที่จะสร้างระเบียบกำหนดกติกาขึ้นมาใช้ร่วมกัน ไม่ใช่เรื่องของแต่ละคนที่จะไปลงมือหาทางโต้ตอบกันเองด้วยความรุนแรง

หลักคิดนี้ไม่ได้มีอยู่เฉพาะในพุทธภาษิตที่เรายกขึ้นมาอ้างกันเสมอว่า เวรย่อมไม่ระงับด้วยการจองเวร แต่เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร เท่านั้น แต่ทั้งหมดของพุทธศาสนาไม่ว่าจะเป็นหลักการหรือวิธีปฏิบัติ หรือจะมองในแง่เป็นส่วนของพระธรรมหรือพระวินัย ทั้งหมดล้วนยืนยันถึงหลักไม่เบียดเบียนและไม่ใช้ความรุนแรงทั้งสิ้น

เริ่มตั้งแต่การให้รักษาศีลอันเป็นข้อปฏิบัติเพื่อการไม่เบียดเบียดผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นเบียดเบียนชีวิต เบียดเบียนสิ่งของ คู่ครอง หรือเบียดเบียนต่อความจริงที่ผู้อื่นควรได้รับรู้

ในขั้นสมาธิท่านก็แนะนำให้ฝึกจิตใจให้สงบเย็น เจริญเมตตาภาวนาส่งความปรารถนาดีให้แก่สรรพชีวิตที่มองว่าเป็นเพื่อนเกิดแก่เจ็บตายด้วยกันทั้งหมด

ส่วนขั้นปัญญาก็ต้องพัฒนาไปจนมีสัมมาทิฏฐิ คือความเห็นที่ถูกต้องชัดเจนในใจตนเองว่าความรุนแรงหรือการเบียดเบียนนั้นเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง จนตรึกคิดไปในทางที่จะไม่เบียดเบียนใครเป็นพื้นฐานของจิตใจอยู่เสมอ (อวิหิงสาสังกัปโป อวิหิงสาวิตก) ไม่ใช่เพียงเพราะถูกห้ามไว้ด้วยศีลหรือกฎหมายเท่านั้น

การไม่ใช้ความรุนแรงไม่เบียดเบียนใคร จึงใช้เป็นมาตรวัดความเข้าใจในหลักธรรมและความก้าวหน้าในการปฏิบัติธรรมของชาวพุทธเราได้ดีมากอย่างหนึ่ง

ถ้าใครที่ปฏิบัติธรรมแล้วยังคงดำเนินชีวิตด้วยการเบียดเบียน ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน หรือชอบใช้วิธีการที่เต็มไปด้วยความรุนแรง ปฏิบัติต่อผู้อื่นด้วยความหยาบคาย ชอบยั่วยุให้เกิดความโกรธเกลียดกัน นั่นคงต้องมาทบทวนแนวทางการปฏิบัติของตนเองใหม่แล้วว่ามีความผิดพลาดบกพร่องอยู่ที่จุดใดบ้าง

การปฏิบัติธรรมในพุทธศาสนา ยิ่งมีความก้าวหน้าในการปฏิบัติ ก็จะยิ่งมีจิตใจที่ละเอียดอ่อนในการสัมผัสถึงความทุกข์ความเดือดร้อนของผู้อื่นได้มากยิ่งขึ้น แม้จะในเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ก็ตาม

ความเปลี่ยนแปลงในเบื้องต้นอาจพบว่า ความชื่นชอบในกีฬาหรืออาชีพที่มีการฆ่าหรือทารุณสัตว์ เช่น การล่าสัตว์ป่า ชนวัวกระทิง ไปกระทั่งถึง ชกมวย ตีไก่ ยิงนก ตกปลา ฯลฯ ที่เคยมีก็จะเริ่มลดลง สัมผัสได้ถึงความโหดร้ายทารุณ และรู้สึกสงสารมากกว่าจะตื่นเต้นสนุกสนานไปกับเกมกีฬาเหล่านั้น

จากที่เคยรู้สึกเฉยๆ ในการฆ่าไก่ ทุบหัวปลา ก็จะเริ่มทำไม่ได้ ไปจนกระทั่งแม้เห็นสัตว์มีพิษ งู ตะขาบ แมงป่อง ถ้าเลี่ยงได้ก็จะพยายามไล่ หรือหลีกออกห่าง มากกว่าที่จะไปไล่ล่าฆ่าทิ้ง ทั้งๆ ที่เขาแทบไม่มีโอกาสเข้ามาทำร้ายรบกวนเราเลย ต่อไปแม้แต่มด ยุง ก็ไม่อยากไปทำลายทำร้ายชีวิตเขา

ความรู้สึกที่ละเอียดอ่อนขึ้นนี้จะทำให้รับรู้ถึงความทุกข์ของคนที่สูญเสียสิ่งของ จึงไม่แม้แต่จะคิดขโมยของใคร หรือนำของส่วนกลางไปเป็นของส่วนตัว ส่วนของที่ใช้ร่วมกันเป็นสาธารณะก็จะใช้อย่างทะนุถนอมและประหยัด เพราะไม่อยากให้ผู้รับผิดชอบดูแลต้องลำบากหรือสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายมาก

พฤติกรรมที่ส่อถึงความเห็นแก่ตัวต่างๆ รวมทั้งกิริยาที่ก้าวร้าวต่อผู้อื่นสิ่งอื่นก็จะค่อยๆ ลดลงไป เพราะสัมผัสได้ถึงความทุกข์ความเดือดร้อนที่จะเกิดขึ้นกับผู้อื่น ไม่ว่าการทิ้งขยะไม่เลือกที่ การแซงคิว จอดรถขวางทาง ขับปาดหน้า ก่นด่าลูกน้อง ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ฯลฯ

นอกจากนี้ชาวพุทธเราต้องชัดเจนในหลักการที่ว่า สิ่งที่เราควรเกลียดควรขจัดทำลายทิ้งไปนั้นคือกิเลส ซึ่งเป็นต้นตอของปัญหาและความทุกข์ทั้งหลาย ไม่ว่าทุจริตคอรัปชัน การใช้อำนาจโดยมิชอบ กระทำรุนแรงต่อชีวิต ทรัพย์สิน หรือแม้แต่จิตใจผู้อื่น ไม่ใช่ยุยงให้ไปเกลียดไปทำร้ายทำลายคนที่ถูกกิเลสเหล่านั้นครอบงำจิตใจ

ชาวพุทธควรมีความกรุณาเข้าไปช่วยเหลือคนเหล่านั้นให้พ้นจากกิเลสความทุกข์ใจ เช่นเดียวกับที่แพทย์ดูแลรักษาผู้ป่วยด้วยการขจัดเชื้อโรคหรือความผิดปกติให้หมดไป มิใช่ไปฆ่าผู้ป่วยเพื่อให้โรคหมดไป

พุทธศาสนามีหลักการและท่าทีที่ชัดเจนมากในการไม่เบียดเบียน ไม่ใช้ความรุนแรงต่อผู้อื่น รวมถึงสิ่งมีชีวิตอื่นและสิ่งแวดล้อมด้วย

การร่วมกันขจัดกิเลสความชั่วร้ายให้หมดสิ้นไปจากสังคมเป็นสิ่งที่ควรสรรเสริญ เป็นหน้าที่ของชาวพุทธทั้งหลายที่ต้องร่วมแรงร่วมใจกันทำเพื่อรักษาธรรมและจรรโลงสังคมที่ดีงามเอาไว้  แต่กระบวนการขจัดความชั่วร้ายนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเป็นไปบนพื้นฐานของความถูกต้องและสอดคล้องกับหลักธรรมด้วย

การลงมือขจัดความชั่วร้าย ด้วยวิธีคิดวิธีการที่ชั่วร้ายหยาบคายไม่แพ้กัน ย่อมแสดงถึงความพ่ายแพ้ตั้งแต่ต้น เพราะเป็นการน้อมรับเอาต้นเหตุแห่งความชั่วร้ายที่ต้องการทำลายนั้นเข้ามาไว้ในตนตั้งแต่แรก โอกาสที่คุณธรรมความดีจะกลับมาสู่สังคมจึงเกิดขึ้นไม่ได้เลยด้วยวิธีการเหล่านี้

แม้การกำจัดความเลวร้ายในสังคมด้วยครรลองแห่งธรรมนั้นจะต้องใช้เวลายาวนานมาก แต่นั่นเป็นเพราะเราเองที่ละเลยปล่อยให้กิเลสบ่มเพาะงอกงามอยู่ในจิตใจและสังคมมานาน จนความเลวร้ายปรากฏให้เห็นอย่างออกหน้าออกตาแล้วจึงค่อยออกมาวิ่งหาทางแก้ไข

ตราบใดที่เรายังไม่เห็นว่าการที่ยายตีโต๊ะเพื่อปลอบหลานเป็นหนึ่งในวิถีบ่มเพาะกิเลสและความรุนแรง เมื่อใดที่เรายังเห็นว่าการเปิดน้ำให้ล้นทิ้ง หรือดึงกระดาษชำระในห้องน้ำสาธารณะใช้อย่างไม่บันยะบันยังนั้นเป็นเรื่องเล็กน้อย  ตัวเราเองนั่นแหละที่ควรเป็นจุดแรกที่จะต้องแก้ไขแล้วจึงค่อยๆ ขยายออกสู่สังคมโดยรวม

หากเริ่มต้นที่ตัวเราทุกคนก่อน พร้อมๆ กันนั้นก็จัดกติกาสังคมให้เหมาะสม สังคมที่น่าอยู่มีคุณธรรมปราศจากความรุนแรงก็อยู่แค่เอื้อมนี่เอง

ธรรมข้อใดที่สามารถแก้ปัญหาความรุนแรงได้ดีที่สุด

การแก้ปัญหาชีวิตด้วยหลักศีลคือ เอาศีล ๕ มาช่วยตัดสินปัญหา ไม่ใช้ความรุนแรงตัดสินปัญหา ยามโกรธยามทะเลาะกับคนอื่นก็ไม่ทำร้ายเขา พยายามแก้ปัญหาด้วยสันติวิธี ยามยากจนก็ไม่ลักขโมยสิ่งของคนอื่นมาเลี้ยงชีพ หรือไม่โกหกหลอกลวงคนอื่น ที่สำคัญคือ ไม่แก้ปัญหาชีวิตด้วยการดื่มสุรา ซึ่งมีหลายท่านชอบแก้ปัญหาชีวิตด้วยสุรา เสียใจดื่ม ...

หลักธรรมใดช่วยแก้ปัญหาความขัดแย้ง

หลักพรหมวิหาร เป็นหลักสำาคัญที่เป็นมาตรฐานในการประคับประคองการยุติข้อขัดแย้ง กล่าวคือ สามารถใช้เป็น หลักพิจารณาระดับความดี ซึ่งตรงกันข้ามกับความชั่วของตนและผู้อื่นได้ เพราะพรหมวิหารคือ ความรู้สึกที่มีต่อการกระทำา ของตน และผู้อื่น เมื่อมีการพิจารณาตัดสินบุคคลสามารถบ่งชี้ได้อย่างเที่ยงธรรมว่า อะไรถูก อะไรผิด นอกจากนี้ ...

กระบวนการแก้ไขปัญหาเปรียบเสมือนหลักธรรมใด

หลักธรรมที่นํามาใช้ในการแก้ปญหา คือ หลักธรรมอริยสัจ ั 4 เป็นหลักธรรมสําคัญที่ใช้ในการ แก้ปญหาร่วมกับการใช้หลักวิธีคิดแบบโยนิโสมนสิการ โดยที่กระบวนการแก้ปญหาจะเริ่มจาก ั ั 1) รับรู้ถึงปญหาที่เกิดขึ้น นั่นคือ รับรู้ถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นกับตนเอง และที่เ ั กิดขึ้นกับครอบครัวหรือ

ธรรม 5 ประการ มีอะไรบ้าง

องค์ประกอบ.
เมตตากรุณา คือ ความรัก ความปรารถนาดี.
สัมมาอาชีวะ คือ การประกอบสัมมาอาชีวะ การประกอบอาชีพสุจริต.
กามสังวร คือ การสำรวมในกาม.
สัจจะ คือ การพูดความจริง ไม่หักรานประโยชน์ผู้อื่น.
สติสัมปชัญญะ คือ ความระลึกได้และความรู้ตัว.

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง