ขั้นตอนการผลิต เศรษฐศาสตร์

วิดีโอ YouTube

การผลิตสินค้าและบริการ

        การผลิต หมายถึง การแปรสภาพทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด ให้เกิดประโยชน์เป็นสินค้าหรือบริการ เพื่อตอบสนองความต้องการมนุษย์

รูปแบบการผลิต : การผลิตสินค้าและบริการอาจมีรูปแบบต่างๆ ดังต่อไปนี้
        1. การเปลี่ยนแปลงภาพ คือ การนำวัตถุดิบหรือปัจจัยการผลิตมาแปรสภาพ เพื่อให้เกิดเป็นสินค้าและบริการชนิดใหม่
        2. การเปลี่ยนแปลงสถานที่ คือ การเคลื่อนย้ายสินค้าและวัตถุดิบจากสถานที่หนึ่งไปยังอีกสถานที่หนึ่งเพื่อให้เกิดประโยชน์ในการผลิตสินค้าและบริการ
        3. การเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ์ คือการก่อให้เกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจขึ้นโดยการโอนเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ์จากบุคคลหนึ่งไปยังอีกบุคคลหนึ่ง
        4. การเปลี่ยนแปลงเวลา คือ การสร้างความพอใจให้แก่ผู้บริโภคอันเนื่องมาจากการแปรรูปปัจจัยการผลิตให้เป็นสินค้า และบริการที่มีอายุการใช้งานนานขึ้น
        5. การให้บริการ คือ การสร้างประโยชน์ทางเศรษฐกิจ หรือการอำนวยความสะดวกหรือสร้างความพอใจ อันเนื่องมาจากการให้บริการโดยตรงแก่ผู้บริโภค

ปัจจัยการผลิต
        สิ่งจำเป็นขั้นพื้นฐานที่ผู้ผลิตนำมาผ่านกระบวนการผลิตนำมาผ่านกระบวนการผลิตจนเกิดเป็นสินค้าและบริการ เรียกว่า ปัจจัยการผลิต ซึ่งแบ่งเป็น 4 ประเภท ดังนี้
        1) ที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น ป่าไม้ แม่น้ำ แร่ธาตุ น้ำมัน ที่ดิน
        2) ทุน เป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งในการผลิตสินค้าและบริการ ทุนมี ๒ ประเภท คือ
            2.1 วัตถุทุน คือ เครื่องมือเครื่องใช้ประเภทต่าง ๆ ที่มนุษย์สร้างขึ้นมาเพื่อทุ่นแรงในการผลิตสินค้าและ บริการ เช่น เครื่องจักร อุปกรณ์การผลิต โรงงาน
            2.2 เงินทุน คือ จำนวนเงินที่นำไปซื้อหรือทำให้ได้มาซึ่งวัตถุทุนประเภทต่าง ๆ หรือจ่ายเป็นค่าจ้าง
        3) แรงงาน กำลังกายและกำลังสติปัญญาของมนุษย์ในการผลิต เช่น แรงงานทางสมองของมนุษย์ทำให้คิดประดิษฐ์เครื่องจักร เครื่องทุ่นต่าง ๆ ที่จะนำมาผลิตสินค้าและบริการ
        4) การประกอบการ การจัดตั้งองค์กรการผลิต เพื่อดำเนินการผลิตโดยนำทรัพยากรธรรมชาติ ทุน และแรงงาน มาผลิตเป็นสินค้าและบริการ

ขั้นตอนการผลิตสินค้า และบริการอย่างมีประสิทธิภาพ

        ปัจจุบันเราสามารถแบ่งลำดับขั้นในการผลิตออกเป็น 3 ประเภท คือ

        1. การผลิตขั้นแรกหรือขั้นปฐมภูมิ (primary production) เป็นการผลิตที่ใช้ประโยชน์จากธรรมชาติโดยตรง วิธีการผลิตง่ายไม่ยุ่งยากซับซ้อน

ใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ในการผลิตเพียงเล็กน้อย ผลผลิตที่ได้ส่วนใหญ่ไม่สามารถสนองความต้องการได้ทันที ต้องนำไปแปรสภาพก่อนจึงจะสนองความต้องการได้ ตัวอย่างของกิจกรรมที่จัดเป็นการผลิตขั้นปฐมภูมิหรือขั้นแรกคือการเกษตรกรรม ได้แก่ การเพาะปลูก ทำนา ทำไร่เลี้ยงสัตว์ ประมง ป่าไม้ ฯลฯ หรืออุตสาหกรรมการขุดแร่ การ ทำเหมืองโดยใช้เครื่องมือง่ายๆ

        2. การผลิตขั้นที่สองหรือขั้นทุติยภูมิ (secondary production) เป็นการผลิตที่ต้อง อาศัยผลผลิตอื่นมาเป็นวัตถุดิบในการผลิต กรรมวิธีการผลิตมีความยุ่งยากซับซ้อนมากขึ้นต้องใช้เครื่องมือ และอุปกรณ์เพื่อประกอบการผลิตมากขึ้น ส่วนใหญ่เป็นการผลิตในด้านอุตสาหกรรม เช่น การผลิต อาหารกระป๋องต่างๆ การผลิตเหล็กเส้น เหล็กแผ่นการต่อเรือ การสร้างอาคารที่อยู่อาศัย ฯลฯ กิจการบางอย่างจะให้ผลผลิตที่สามารถสนองความต้องการของผู้ใช้ได้ทันที เช่น โต๊ะ เก้าอี้ เตียง อาหารกระป๋องและกิจการบางอย่างจะให้ผลผลิตซึ่งต้องนำไปผ่านการผลิตขั้นอื่นก่อนจึงจะใช้ประโยชน์ได้ เช่น เหล็กเส้น และเหล็กแผ่น เป็นต้น

        3. การผลิตขั้นที่สามหรือขั้นตติยภูมิ (tertiary production) เป็นการผลิตในลักษณะการให้บริการด้านการขนส่ง การค้าส่ง การค้าปลีก การประกันภัยการธนาคาร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยให้ผลผลิตเคลื่อนย้ายจากการผลิตขั้นที่หนึ่งไปขั้นที่สอง และไปสู่ผู้บริโภคได้สะดวก รวดเร็ว มีคุณภาพ และมีประสิทธิภาพดีขึ้น

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการผลิตสินค้าและบริการ

        1. ราคาสินค้าและบริการ : ผู้ผลิตจะนำสินค้าออกมาขายมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับระดับราคาเสนอขายของสินค้าและบริการ 

        2. ราคาปัจจัยการผลิต : ปัจจัยการผลิตมีผลโดยตรงต่อการผลิตถ้าราคาปัจจัยการผลิตสูงขึ้นจำทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขั้นตามไปด้วย

        3. จำนวนผู้ผลิตหรือผู้ขาย : ปริมาณสินค้าที่ขายในตลาดจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับจำนวนผู้ผลิตหรือผู้ขายในตลาด

        4. ราคาของสินค้าอื่นที่ผลิตทดแทนกันได้ : ภายใต้ปัจจัยการผลิตชนิดเดียวกัน เมื่อสินค้าหนึ่งมีราคาสูงขึ้นย่อมจูงใจให้ผู้ผลิตผลิตสินค้าออกมามากขึ้น

        5. เทคโนโลยีการผลิต : การที่ผู้ลิตจะผลิตสินค้าได้ปริมาณคุณภาพมากน้อยเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับเทคโนโลยีที่นำมาใช้ในการผลิตสินค้าและบริการ

การผลิตสินค้าและบริการในท้องถิ่น มีผลต่อเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม

        1. ผลต่อเศรษฐกิจ หากท้องถิ่นสามารถผลิตสินค้าและบริการได้เพียงพอต่อความต้องการของคนในท้องถิ่นและในประเทศ

        2. ผลต่อสังคมในท้องถิ่น การผลิตสินค้าและบริการในท้องถิ่นที่สูงขึ้น ทำให้เกิดความเจริญในท้องถิ่น ซึ่งอาจก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง

ของสังคมชนบทกลายเป็นชุมชนเมือง

        3. ผลต่อสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น หากคนในท้องถิ่นมีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยผลิตสินค้าและบริการที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง