อาชีพที่ใช้เทคโนโลยี มาเกี่ยวข้อง

รูปแบบการทำงานของมนุษย์จากอดีตจนถึงปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมหาศาล จากที่ใช้แรงกายในการทำงานเป็นหลักก็ได้มีการพัฒนาเรื่อยมาจนมีเครื่องทุ่นแรงและเทคโนโลยีต่าง ๆ เข้ามาช่วยหนุนเสริมประสิทธิภาพในการทำงานมากขึ้น ทำให้แนวคิดด้านการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน (productivity) เป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่เปลี่ยนรูปแบบการทำงานของมนุษย์เสมอมา และด้วยการมุ่งเน้นด้าน productivity (เพิ่มปริมาณ/คุณภาพการผลิต ด้วยต้นทุนที่เท่าเดิมหรือลดลง) ที่ดูท่าจะไม่ผ่อนแรงลงเลย เราจึงค่อนข้างจะมั่นใจได้ว่าอาชีพที่จะเกิดขึ้นใหม่ในอนาคตก็จะเปลี่ยนแปลงไปเหมือนกัน

cr: www.freepik.com

เราคงเคยได้ยินกันมาแล้วว่าดิจิทัลเทคโนโลยี ระบบอัตโนมัติ รวมถึงปัญญาประดิษฐ์ (AI) สามารถก่อภัยเสี่ยงต่อความมั่นคงในหน้าที่การงานของคนจำนวนมาก ทั้งนี้ก็เป็นเพราะวิถีแห่ง productivity ดังกล่าวที่มัดมือให้ผู้ประกอบการต้องเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงาน เน้นสร้างกำไรให้มากที่สุด (profit maximization) เพื่อสะสมทุนให้กิจการเติบใหญ่ต่อไปเรื่อย ๆ ซึ่งเทคโนโลยีขั้นสูงบางอย่างสามารถทำงานแทนมนุษย์ได้แล้วด้วยต้นทุนในระยะยาวที่ถูกกว่า เช่น งานรูทีน (routine job) และงานประมวลผลต่าง ๆ 

แต่อีกด้านหนึ่ง digital disruption และความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีเหล่านี้ก็เป็นส่วนสำคัญในการผลิตสร้างอาชีพเกิดใหม่ในอนาคตเช่นกัน ขณะเดียวกันอาชีพที่เน้นทักษะด้านมนุษย์ (human skills) หรือ soft skills รวมไปถึงอาชีพที่เน้นความคิดสร้างสรรค์และการวางแผนเชิงกลยุทธ์ที่เทคโนโลยีไม่สามารถทำแทนมนุษย์ได้ก็มีแนวโน้มที่จะมีบทบาทสำคัญมากขึ้นในอนาคตด้วยเช่นกัน และเมื่อพิจารณาถึงพฤติกรรมมนุษย์ที่เปลี่ยนแปลงไปท่ามกลางสถานการณ์โควิด-19 ที่อาจกลายเป็นบรรทัดฐานใหม่ (new normal) หลังวิกฤตสิ้นสุดลง ก็สามารถคาดการณ์ได้ว่าจะมีอาชีพที่เข้ามาตอบสนองความต้องการของพฤติกรรมใหม่ ๆ อย่างแน่นอน

เราลองมาดูกันว่าจะมีอาชีพใหม่ ๆ ที่น่าสนใจ หรืออาชีพดัั้งเดิมที่อาจมีความสำคัญมากขึ้นในอนาคต อะไรกันบ้าง

1. นักพัฒนาซอฟต์แวร์ (software developer) 

ปัจจุบันไม่ว่าจะธุรกิจประเภทใดต่างก็พึ่งพาเทคโนโลยีด้วยกันหมดทั้งสิ้น งานด้านการพัฒนาซอฟต์แวร์จึงเป็นที่ต้องการในตลาด และด้วยแนวโน้มการพัฒนาระบบซอฟต์แวร์ใหม่ ๆ ออกมาอยู่เรื่อย ๆ โอกาสของอาชีพนี้จึงค่อนข้างสดใสและเป็นที่ต้องการมาก

cr: www.freepik.com

2. รักษาความปลอดภัยไซเบอร์ (cybersecurity) 

ด้วยการที่กิจกรรมหลายอย่างของมนุษย์ยุคปัจจุบันต้องทำผ่านระบบดิจิตอล ไม่ว่าจะเป็นธุรกรรมการเงิน การซื้อขายสินค้า การติดต่อสื่อสาร และเก็บบันทึกข้อมูลต่าง ๆ ฯลฯ การป้องกันการโจรกรรมข้อมูลดิจิตอลจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งทั้งในระดับปัจเจกและองค์กร

 

3. วิศวกรหุ่นยนต์ (robotics engineer) 

วิศวกรส่วนใหญ่จะยังเป็นอาชีพที่ไม่ตกเทรนด์ แต่วิศวกรหุ่นยนต์เป็นสาขาหนึ่งที่มีทิศทางสดใสมาก ๆ ในอนาคต เพราะกิจกรรมทางเศรษฐกิจแต่ละภาคส่วนตั้งแต่ระบบคลังสินค้า โลจิสติกส์ เกษตรอัจฉริยะ (smart farming) หรือภาคการผลิต (manufacturing) ฯลฯ ต่างก็มีแนวโน้มที่จะประยุกต์ใช้ระบบหุ่นยนต์อัตโนมัติด้วยกันทั้งสิ้น

 

4. ผู้จัดการโครงการ (project manager) 

เป็นหนึ่งในอาชีพที่นอกจากจะต้องใช้ทักษะด้าน hard skills แล้ว ยังต้องพึ่งพาทักษะด้าน soft skills อย่างยิ่ง เพราะนอกจากจะต้องรู้รายละเอียดของโครงการอย่างถ่องแท้แล้ว ยังต้องสื่อสาร ประสานงาน สร้างบรรยากาศแห่งทีมเวิร์ค และบริหารปัจจัยต่าง ๆ ภายในทีมเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของโครงการตามที่กำหนดเอาไว้ และถ้าหากการทำงานจากบ้าน (WFH) กลายมาเป็น new normal ความสามารถในการเป็นผู้จัดการโครงการที่ดีจะมีบทบาทที่สำคัญมากยิ่งขึ้นในสภาวะที่ทุกคนต่างทำงานกันจากทางไกล

5. นักการตลาด (marketer) 

แพลตฟอร์มการค้าออนไลน์ได้เอื้อให้ตลาดการค้ามีผู้เล่นมากหน้าหลายตามากขึ้น ซึ่งนำไปสู่การแข่งขันที่สูงขึ้น และหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่สามารถชี้ขาดถึงผลการแข่งขันคือความสามารถในการทำการตลาด ทำให้อาชีพนักการตลาดยังมีความสำคัญและไม่เอ้าท์

cr: www.freepik.com

6. ผู้เชี่ยวชาญด้าน e-commerce (e-commerce specialist) 

แม้อาจนับรวมเป็นสาขาย่อยของการตลาด แต่ผู้เชี่ยวชาญด้าน e-commerce ก็มีความโดดเด่นจนสามารถแยกออกมาเป็นการเฉพาะได้ เพราะระบบการค้าออนไลน์มีความสำคัญต่อทั้งผู้ประกอบการและผู้บริโภคมากขึ้น ทำให้ผู้เชี่ยวชาญในสาขาย่อยนี้มีความสำคัญอย่างมากในกระแสการเติบโตอย่างต่อเนื่องของตลาด e-commerce เพราะจะช่วยให้ผู้ประกอบการส่งสารไปยังผู้บริโภคได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น เวลาจัดแคมเปญการตลาดผ่านระบบ e-commerce ถ้าผู้ประกอบการไม่ชำนาญในการใช้ระบบ สารที่อยากจะส่งไปยังผู้บริโภคก็อาจไปไม่ถึงหรือมีประสิทธิภาพไม่มากพอจนทำให้ไม่สามารถปิดการขายได้ เป็นต้น

 

7. นักพัฒนาแอปพลิเคชัน (mobile application developer) 

ช่องทางหนึ่งในการเข้าถึงกลุ่มลูกค้าที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากคือแอปพลิเคชันบนมือถือ แท็บเล็ต และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เคลื่อนที่อื่น ๆ ด้วยความนิยมนี้เองที่ทำให้นักพัฒนาแอปพลิเคชันเนื้อหอมเป็นอย่างมาก เพราะจะทำให้ผู้ขายและผู้ซื้อมาเจอกันได้ง่ายขึ้น

 

8. ผู้ผลิตคอนเทนต์ (content creator)​ 

นอกจากการบริหารจัดการและการตลาดแล้ว เรื่องราวของผลิตภัณฑ์หรือแบรนด์ก็เป็นอีกปัจจัยที่สามารถมัดใจลูกค้าได้อยู่หมัด และให้ผลตรงข้ามหากเล่าเรื่องได้ไม่ดีพอ โดยตัวผู้ผลิตคอนเทนต์ที่มีทักษะรอบด้านไม่ว่าจะเป็นการเขียน ถ่ายภาพ/วิดีโอ ตัดต่อ และมีความชำชาญในการเล่าเรื่องบนแพลตฟอร์มที่หลากหลายโดยเฉพาะออนไลน์ จะโดดเด่นจากผู้ผลิตคอนเทนต์ที่มีความถนัดเพียงเฉพาะทาง

 

9. ผู้สร้างสรรค์งานด้าน VFX (VFX/CGI) 

ทักษะในการผลิตงานด้าน Visual Effects (VFX) เป็นที่ต้องการมากขึ้นในแวดวงการสื่อสาร โดยเฉพาะในวงการโฆษณา ละคร และภาพยนตร์ โดยมีแรงหนุนมาจากการแข่งขันด้านการตลาดที่ต้องพึ่งพาการโฆษณาที่ดึงดูดผู้ชมมากขึ้น และความนิยมชมภาพยนตร์ที่มี VFX อลังการมากขึ้นของผู้ชม

 

10. ผู้อำนวยการฝ่ายสร้างสรรค์ (creative director) 

หนึ่งในปัจจัยชี้ขาดว่าโครงการใด (ไม่ว่าจะเป็นโปรเจกต์โฆษณาหรือแคมเปญการตลาด) จะปังหรือไม่ปังคือความคิดสร้างสรรค์ โดยผู้อำนวยการฝ่ายสร้างสรรค์ที่ดีไม่ใช่แค่ต้องมีทักษะด้านความคิดสร้างสรรค์เท่านั้น แต่ยังต้องมีทักษะในการคัดกรองความคิดสร้างสรรค์ต่าง ๆ จากลูกทีม และสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับโปรเจกต์ของทีมได้อย่างเหมาะสม ทั้งยังต้องบริหารจัดการและควบคุมคุณภาพงานด้าน creative ให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย อาชีพนี้จึงมีบทบาทสำคัญต่อธุรกิจหรือโครงการที่ต้องเน้นงานด้าน creative

cr: www.freepik.com

11. นักวิจัยประสบการณ์ลูกค้า (user experience (UX) researcher) 

การที่จะมีกิจกรรมการตลาด แอปพลิเคชัน คอนเทนต์ และประยุกต์ใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการพัฒนาโปรเจกต์ แบรนด์หรือผลิตภัณฑ์ได้ตรงตามใจหรือเกินความคาดหมายของลูกค้าได้ก็ต้องพึ่งพาข้อมูลด้านลูกค้าทั้งในเชิงคุณภาพ (qualitative) และปริมาณ (quantitative) ที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งนักวิจัยด้านประสบการณ์ลูกค้าที่มีความสามารถในการค้นคว้าข้อมูล ประมวลผลข้อมูลดิบ และสามารถสื่อสารผลการศึกษาที่ได้มาอย่างเป็นระบบและเข้าใจง่ายจะเข้ามาเติมเต็มจิ๊กซอว์แห่งความสำเร็จนี้ได้

 

12. นักวิเคราะห์ (analyst) 

แม้จะคาบเกี่ยวกับนักวิจัยแต่บางครั้งผู้ที่สามารถวิเคราะห์ ตีความ และนำผลการวิจัยไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้นไม่ใช่คนเดียวกับนักวิจัยแต่เป็นนักวิเคราะห์ ขณะเดียวกัน แม้ว่าหุ่นยนต์หรือซอฟต์แวร์ขั้นสูงจะสามารถประมวลผลข้อมูลดิบบางด้านได้เก่งกว่ามนุษย์แล้ว โดยเฉพาะข้อมูลด้านการคำนวณตัวเลข แต่ทักษะในการตีความ วิเคราะห์สถานการณ์เป็นรายกรณี (scenario analysis) และการสื่อสารผลวิเคราะห์ยังเป็นงานที่มนุษย์ทำได้ดี และมีความสำคัญมากยิ่งขึ้นในยุคที่มีข้อมูลข่าวสารล้นเกินจนบางครั้งแทบจับต้นชนปลายไม่ถูก ซึ่งอาชีพนักวิเคราะห์สามารถเข้ามาเติมเต็มในส่วนนี้ได้

 

13. ที่ปรึกษาทางธุรกิจ (business consultants) 

การแข่งขันที่สูงขึ้น ข้อมูลที่ล้นเกิน รวมถึงปัจจัยเสี่ยงและอุปสรรคมากมายในการดำเนินธุรกิจ ทำให้การตัดสินใจของผู้ประกอบการทั้งมือใหม่และรุ่นเก๋าอาจผิดพลาดได้ การมีที่ปรึกษาทางธุรกิจที่มีข้อมูลแน่นและมองเกมขาดก็จะช่วยป้องกันความเสี่ยงและช่วยให้กิจการพิชิตเป้าหมายได้

 

14. ตัวแทนการขาย (sale representative) 

แม้จะมีเทคโนโลยีที่ล้ำยุค มีการวางแผน กำหนดกลยุทธ์ บริหารจัดการระดับเทพ แต่หลาย ๆ ธุรกิจยังต้องพึ่งพาตัวแทนการขายที่เพียบพร้อมไปด้วย soft skills ด้านการสื่อสาร เจรจา ดึงดูดลูกค้าเหมือนเดิม เพราะ AI ยังไม่สามารถทำหน้าที่สานสายสัมพันธ์กับลูกค้าได้ดีเท่ามนุษย์

 

15. นักบริบาล (care worker)

การที่สังคมในหลาย ๆ ประเทศโดยเฉพาะประเทศไทยมีสัดส่วนผู้สูงวัยต่อประชากรโดยรวมมากขึ้น งานด้านการดูแลบุคคล (care work) จะมีบทบาทที่สำคัญมากขึ้น และด้วยการที่ลูกหลานถูกรุมเร้าและบีบคั้นจากหน้าที่การงานมากขึ้นเรื่อย ๆ จนอาจไม่มีเวลามาดูแลผู้สูงวัยในครอบครัวด้วยตนเอง ทำให้ความต้องการในการใช้บริการจาก care worker สูงขึ้นหากแนวโน้มโดยรวมยังดำเนินต่อไป

 

16. ที่ปรึกษาสุขภาพจิต (mental health conselor) 

เพราะการแข่งขันที่สูงยิ่งขึ้น อาหารการกินที่ไม่ถูกสุขอนามัย และปัจจัยอื่น ๆ อีกมากมายที่พร้อมเข้ามารุมเร้าชีวิตผู้คนในยุคดิจิทัลที่มีอัตราเร่งของชีวิตสูงปรี๊ดเช่นนี้ ทำให้ผู้คนมีอาการป่วยทางจิตมากยิ่งขึ้น และด้วยความรู้และการเปิดรับโรคทางจิตมากขึ้น ทำให้อาชีพที่ปรึกษาสุขภาพจิตจึงเป็นอีกอาชีพที่น่าจับตามองมาก ๆ

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง