รัตนโกสินทร์ ตอน ต้น ต่างประเทศ

การดำเนินนโยบายต่างประเทศของไทยระหว่าง พ.ศ. 2325 – 2394 จะมุ่งเน้นไปที่การรักษาความมั่นคงของอาณาจักร และผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ โดยแบ่งเป็น

1)        ลักษณะความสัมพันธ์กับรัฐที่อยู่ใกล้เคียงในทวีปเอเชีย  มีทั้งการขยายอิทธิพลเข้าไปครอบครองเพื่อเป็นพันธมิตร การทำสงคราม และแบบรัฐบรรณาการ

1.1)              ความสัมพันธ์กับล้านนา  ในสมัยรัชกาลที่ 1 – รัชกาลที่ 3 เป็นพันธมิตรที่ดีต่อกัน เช่น รัชกาลที่ 1 ทรงส่งกองทัพไปช่วยล้านนาขับไล่พม่า ทั้งยังทรงสถาปนาพระยากาวิละที่รบชนะพม่าให้เป็นพระเจ้าเชียงใหม่ โดยปกครองดูแลหัวเมืองเหนือทั้งหมด เป็นต้น

1.2)              ความสัมพันธ์กับพม่า  อยู่ในลักษณะทำสงครามสู้รบกัน โดยไทยทำสงครามกับพม่ารวมทั้งสิ้น 10 ครั้ง สงครามครั้งที่มีความสำคัญที่สุด คือ สงครามเก้าทัพใน พ.ศ. 2328 แต่เมื่อพม่าเผชิญหน้ากับการคุกคามของลัทธิจักรวรรดินิยมตะวันตก คือ อังกฤษ ในเวลาต่อมาก็ไม่ได้ยกทัพมาสู้รบกับไทยอีก

1.3)              ความสัมพันธ์กับหัวเมืองมอญ  สมัยรัชกาลที่ 1 และรัชกาลที่ 2 ความสัมพันธ์จะอยู่ในลักษณะการผูกไมตรีและอุปถัมภ์พวกมอญ เช่น ในสมัยรัชกาลที่ 1 ได้ทรงส่งกำลังไปช่วยพระยาทวายรบกับพม่าที่เข้ามายึดครอง หลังจากปิดล้อมเมืองอยู่ได้ชั่วระยะเวลาหนึ่ง ก็โปรดเกล้าฯ ให้ยกทัพกลับ และพาครอบครัวชาวมอญมายังกรุงเทพฯ ด้วย หรือรัชกาลที่ 2 โปรดเกล้าฯ ให้ชาวมอญไปตั้งชุมชนอยู่ที่เมืองนนทบุรี ปทุมธานี และเมืองนครเขื่อนขันธุ์ (พระประแดง) ผลดีจากความสัมพันธ์ดังกล่าว นอกจากจะได้ผู้คนเพิ่มขึ้นและความจงรักภักดีแล้ว ไทยยังได้รับอิทธิพลทางด้านวัฒนธรรมบางประการจากชาวมอญด้วย อย่างไรก็ดี ในสมัยรัชกาลที่ 3 เมื่อเมืองมะริด ทวาย ตะนาวศรี ตกเป็นของอังกฤษ ไทยก็ไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับหัวเมืองมอญอีก

1.4)              ความสัมพันธ์กับเขมร  อยู่ในลักษณะการทำสงครามเพื่อขยายอำนาจเข้าครอบครอง เพราะไทยต้องการให้เขมรเป็นรัฐกันชนระหว่างไทยกับญวน โดยในสมัยรัชกาลที่ 1 ได้ทรงแต่งตั้งกษัตริย์ปกครองเขมร แต่ในสมัยรัชกาลที่ 2 เขมรได้เอาใจออกห่างไทยโดยหันไปฝักใฝ่กับญวนแทน จนกระทั่งในสมัยรัชกาลที่ 3 โปรดเกล้าฯ ให้ส่งกองทัพไปขับไล่ญวนออกจากเขมร แล้วให้ตีลงไปจนถึงไซ่ง่อน ในที่สุดไทยกับญวนก็ได้ร่วมกันแก้ไขข้อพิพาทร่วมกันโดยให้เขมรส่งบรรณาการแก่ไทยและญวนอย่างเท่าเทียมกัน ปัญหาระหว่างไทยกับญวนเรื่องเขมรจึงยุติลง

1.5)              ความสัมพันธ์กับล้านช้าง (ลาว) มีทั้งการขยายอิทธิพลเข้าไปครอบครอง การผูกมิตรไมตรี และบางครั้งก็ทำสงครามต่อกัน โดยในสมัยรัชกาลที่ 1 ล้านช้างเกิดความแตกแยกภายใน ทำให้ไทยขยายอิทธิพลเข้าไปได้ง่ายขึ้นผสมผสานกับการผูกมิตรไมตรีเพื่อให้เกิดความจงรักภักดี ครั้นในสมัยรัชกาลที่ 3 เจ้าอนุวงศ์แห่งเวียงจันทน์ได้คิดกบฏ ทางไทยจึงได้ยกกองทัพไปปราบ ลาวจึงตกเป็นประเทศราชของไทยเรื่อยมา จนกระทั่งต้องเสียให้แก่ฝรั่งเศสไปในภายหลังต่อมา

1.6)              ความสัมพันธ์กับญวน  ส่วนใหญ่จะเป็นการทำสงครามต่อกันเพื่อแย่งชิงเขมร โดยที่ไม่มีฝ่ายใดชนะเด็ดขาด ภายหลังเมื่อญวนเกิดข้อพิพาทกับฝรั่งเศส จึงได้เปิดเจรจากับไทย ทำให้ยุติสงครามระหว่างกันได้ และหลังจากญวนได้ตกเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศสแล้วความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับญวนก็ได้ยุติลงอย่างเป็นทางการ

1.7)              ความสัมพันธ์กับหัวเมืองมลายู   มีทั้งการขยายอิทธิพลเข้าไปครอบครอง การผูกมิตรไมตรี และบางครั้งก็ทำสงครามต่อกันโดยในสมัยรัชกาลที่ 1 – รัชกาลที่ 3 ได้มีการก่อกบฏหลายครั้งในหัวเมืองมลายู แต่ไทยก็สามารถปราบได้ทุกครั้ง หลังจากนั้นก็ดำเนินนโยบายลดอำนาจการปกครองของสุลต่านแต่ละเมืองให้น้อยลง พร้อมกันนั้นก็ทำนุบำรุงหัวเมืองไทยตอนบน เช่น สงขลา พัทลุง พังงา และตรังให้เข้มแข็ง เพื่อปราบการก่อกบฏของหัวเมืองมลายู

1.8)              ความสัมพันธ์กับจีน  เป็นไปในลักษณะแบบรัฐบรรณาการ ซึ่งนอกจากไทยจะได้ประโยชน์จากการค้าขายกับจีนแล้ว ยังได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจีนหลายประการด้วย

2)        ลักษณะความสัมพันธ์กับชาติตะวันตก ในช่วงแรกจะเป็นเรื่องของการติดต่อค้าขาย ในช่วงหลังจะเป็นด้านการเมือง พร้อมกับการเผยแผ่ศาสนาของคณะมิชชันนารี โดยชาติตะวันตกที่มีบทบาทสำคัญ มีดังนี้

2.1)   ความสัมพันธ์กับโปรตุเกส  โปรตุเกสเป็นชาติตะวันตกชาติแรกที่เดินทางมาเจริญสัมพันธไมตรีกับไทย โดยจะเป็นเรื่องการผูกไมตรีทางการทูตและการติดต่อค้าขาย

2.2)  ความสัมพันธ์กับอังกฤษ  ในช่วงแรกจะเป็นความสัมพันธ์ทางการทูตและการค้า แต่ช่วงหลังจะมีความสัมพันธ์ทางการเมืองด้วย  โดยในสมัยรัชกาลที่ 2 อังกฤษได้ส่งจอห์น  ครอว์เฟิร์ด เป็นทูตเข้ามาเจริญสัมพันธไมตรีกับไทยเรื่องการค้า แต่ไม่ประสบความสำเร็จ ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 3 อังกฤษได้ส่งร้อยเอกเฮนรี      เบอร์นีย์ เข้ามาทำสนธิสัญญาทางพระราชไมตรีและการพาณิชย์กับไทยเมื่อ พ.ศ. 2369 ผลของสนธิสัญญา ทำให้อังกฤษได้รับผลประโยชน์ทางการค้า เพราะไทยยอมเปลี่ยนแปลงระบบจัดเก็บภาษีให้เป็นการเก็บค่าปากเรืออย่างเดียวตามความต้องการของอังกฤษ และในช่วงปลายสมัยรัชกาลที่ 3 อังกฤษได้ส่งเซอร์เจมส์ บรูค เข้ามาแก้ไขสนธิสัญญาเบอร์นีย์กับไทย แต่ไม่ประสบความสำเร็จ

2.3)  ความสัมพันธ์กับสหรัฐอเมริกา  จะเป็นความสัมพันธ์ทางการค้าและความสัมพันธ์ทางด้านวัฒนธรรม โดยผ่านคณะมิชชันนารีที่เข้ามาเผยแผ่คริสต์ศาสนา ชาวอเมริกันเริ่มเข้ามาค้าขายกับไทยในสมัยรัชกาลที่ 2 และเพิ่มมากขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 ทำให้ไทยได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมด้วย เช่น การจัดทำหนังสือ เอกสาร หนังสือพิมพ์ ความรู้ทางการแพทย์สมัยใหม่ เช่น การฉีดวัคซีนป้องกันอหิวาตกโรค การปลูกฝีป้องกันไข้ทรพิษ       เป็นต้น

2.              ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของไทยสมัยปรับปรุงประเทศให้ทันสมัย ( พ.ศ. 2394 – 2453 )

นับตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 จนถึงสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นช่วงที่ไทยต้องเผชิญกับลัทธิล่าอาณานิคมของมหาอำนาจตะวันตก ดังนั้น ไทยจึงต้องอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเพื่อรักษาเอกราชและอธิปไตยของชาติมิให้ตกเป็นอาณานิคมของมหาอำนาจตะวันตก รวมทั้งเพื่อให้ได้ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ สำหรับลักษณะความสัมพันธ์มีอยู่หลายลักษณะ เช่น การยอมประนีประนอม การผูกมิตรไมตรี การเผชิญหน้าทางการทหาร การยอมเสียสละประโยชน์บางส่วน เป็นต้น โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1)        ลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในสมัยรัชกาลที่ 4 อยู่ในลักษณะการยอมประนีประนอมกับชาติยุโรป โดยเฉพาะอังกฤษกับฝรั่งเศส

1.1)       ความสัมพันธ์กับอังกฤษ  เมื่ออังกฤษส่งเซอร์จอห์น เบาว์ริง เป็นทูตเข้ามาเจรจาการค้ากับไทยใน พ.ศ. 2398 จนทั้งสองฝ่ายได้ลงนามในสนธิสัญญาทางพระราชไมตรีและการพาณิชย์ร่วมกัน ที่เรียกว่า “สนธิสัญญาเบาว์ริง” แม้ไทยจะรักษาเอกราชไว้ได้ รวมทั้งเศรษฐกิจมีความเจริญรุ่งเรือง แต่ไทยก็ต้องเสียสิทธิสภาพนอกอาณาเขตให้กับอังกฤษ

1.2)       ความสัมพันธ์กับฝรั่งเศส  ในสมัยรัชกาลที่ 4 ไทยต้องยอมผ่อนปรนกับฝรั่งเศสเกี่ยวกับเขมร เพื่อป้องกันมิให้ฝรั่งเศสใช้ปัญหาเขมรเป็นข้ออ้างในการเข้ามาโจมตีและยึดครองดินแดนไทย ในที่สุดไทยได้เจรจากับฝรั่งเศส ทำให้ไทยต้องเสียดินแดนเขมรส่วนในให้กับฝรั่งเศส และฝรั่งเศสยอมรับว่าไทยมีกรรมสิทธิ์เหนือเมือง    เสียมราฐและเมืองพระตะบอง

2)        ลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในสมัยรัชกาลที่ 5 มีอยู่หลายลักษณะเพื่อรักษาเอกราชของชาติเอาไว้ เช่น การเผชิญหน้าทางการทหาร ดังเช่น การทำสงครามป้องกันอาณาเขตกับฝรั่งเศส จนเกิดกรณี ร.ศ. 112 การใช้วิธีถ่วงดุลอำนาจ ดังเช่นรัชกาลที่ 5 ทรงเจรจากับอังกฤษเพื่อถ่วงดุลอำนาจกับฝรั่งเศส การผูกมิตรไมตรีกับชาติอื่นๆ ดังเช่น รัสเซีย รวมทั้งการสร้างเกียรติภูมิให้เป็นที่รู้จักและยอมรับจากนานาชาติ ด้วยการที่รัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสยุโรปถึง 2 ครั้ง เป็นต้น

3.              ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของไทยสมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 และสงครามโลกครั้งที่ 2

สงครามโลกครั้งที่ 1 ซึ่งเกิดขึ้นในทวีปยุโรปเป็นการสู้รบระหว่างฝ่ายมหาอำนาจกลางกับฝ่ายสัมพันธมิตร ช่วงแรกไทยวางตัวเป็นกลางแต่ภายหลังก็ได้เข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตร และเป็นฝ่ายได้รับชัยชนะ ไทยได้เรียกร้องกับชาติมหาอำนาจตะวันตกในการขอเจรจาแก้ไขสนธิสัญญาในเรื่องการศาลและภาษีอาการที่เสียเปรียบ ซึ่งก็ประสบความสำเร็จด้วยดี

ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ก็เช่นเดียวกัน ไทยได้ดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหลายลักษณะแล้วแต่สถานการณ์บีบบังคับ เช่น การดำเนินนโยบายเป็นกลาง การถ่วงดุลอำนาจ การผูกมิตรไมตรี การเจรจาประนีประนอม การทำสงคราม เป็นต้น โดยระยะแรก ไทยใช้นโยบายวางตัวเป็นกลาง แต่เมื่อญี่ปุ่นเปิดสงครามทางเอเชียบูรพาและขอยกพลขึ้นบกในประเทศไทยเพื่อจะผ่านไปโจมตีมลายู สิงคโปร์ พม่า และจีน ซึ่งเป็นอาณานิคมของอังกฤษ รัฐบาลไทยต้องยอมให้ญี่ปุ่นยกกองทัพผ่านประเทศไทยได้ และภายหลังไทยได้เข้าร่วมรบกับญี่ปุ่นด้วยการประกาศสงครามกับสหรัฐอเมริกาและอังกฤษ โดยหวังว่าญี่ปุ่นจะช่วยเหลือให้ไทยได้ดินแดนที่เคยเสียไปในสมัยรัชกาลที่ 5 กลับคืนมา

จากการตัดสินใจของรัฐบาลไทยในขณะนั้น ได้ทำให้คนไทยที่รักชาติในหลายแห่งซึ่งมิได้เห็นพ้องกับรัฐบาลได้ร่วมกันจัดตั้งขบวนการเสรีไทยขึ้นมา เพื่อปลดปล่อยประเทศไทยให้หลุดพ้นจากการครอบงำของญี่ปุ่น แต่เมื่อญี่ปุ่นเป็นฝ่ายแพ้สงคราม รัฐบาลไทยได้พยายามสร้างความสัมพันธ์กับประเทศต่างๆ ในลักษณะของการประนีประนอมและการเจรจาต่อรองทางการทูต ซึ่งทำให้ประเทศไทยสามารถรักษาเอกราชไว้ได้จนถึงทุกวันนี้

4.              ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของไทยสมัยสงครามเย็นจนถึงปัจจุบัน

ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง โลกได้ตกอยู่ในสภาวะสงครามเย็น ซึ่งเป็นสงครามอุดมการณ์ทางการเมืองและการปกครองระหว่างกลุ่มประเทศในโลกเสรีประชาธิปไตยและกลุ่มประเทศคอมมิวนิสต์ ซึ่งต่างฝ่ายก็แข่งขันกันขยายอิทธิพลไปยังทวีปต่างๆ ดังนั้นลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของไทยในช่วงนี้ จึงใช้การผูกมิตรไมตรีกับประเทศโลกเสรีต่างๆ โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา ขณะเดียวกันก็ต่อต้านคอมมิวนิสต์อย่างเปิดเผย โดยเฉพาะกับสหภาพโซเวียต สาธารณรัฐประชาชนจีน และเวียดนาม ดังเช่น การส่งทหารไทยไปเข้าร่วมรบกับสหรัฐอเมริกาและพันธมิตรในสงครามเวียดนาม แต่ต่อมาเมื่อสหรัฐอเมริกาหวนกลับไปสร้างความสัมพันธ์อันดีกับสาธารณรัฐประชาชนจีน ดังนั้น ไทยจึงได้เปลี่ยนแปลงลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเสียใหม่ ด้วยการผูกมิตรไมตรีกับประเทศคอมมิวนิสต์ เช่น การที่ไทยให้การับรองประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนแทนสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) หรือให้การรับรองรัฐบาลคอมมิวนิสต์เขมรแดงของนายเขียว สัมพัน ที่เข้ายึดกรุงพนมเปญใน พ.ศ. 2518 เป็นต้น ขณะเดียวกันก็อาศัยพึ่งพาสหรัฐอเมริกาทั้งทางด้านการทหาร เศรษฐกิจ และวิทยาการเทคโนโลยี

จนกระทั่งสิ้นสุดสงครามเย็น ไทยได้มุ่งพัฒนาประเทศด้วยการร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านและนานาประเทศ ทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม ดังเช่น ไทยได้ร่วมกับสมาชิกกลุ่มอาเซียนทำข้อตกลงเรื่องการจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียนหรืออาฟตา (Asian Free Trade Area – AFTA) เพื่อส่งเสริมการค้าระหว่างกันในกลุ่มเมื่อ พ.ศ. 2535 และใน พ.ศ. 2537 ไทยได้เข้าเป็นสมาชิกขององค์การการค้าโลก (World Trade Organization – WTO) รวมทั้งมีส่วนร่วมในการรักษาสันติภาพในติมอร์ตะวันออกและอิรักในนามขององค์การสหประชาชาติร่วมกับประเทศสมาชิกอื่นๆ ด้วย เป็นต้น

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง