การบันทึกบัญชีเช่าซื้อแบบลิสซิ่ง

ลิสซิ่ง    มีลักษณะคล้ายกับสัญญาเช่าซื้อ คือเราต้องชำระเงินค่าเช่าเป็นงวดๆ ตามจำนวนเงินและเวลาที่กำหนดในสัญญาเช่า  ต่างกันตรงที่เมื่อสิ้นสุดสัญญาเช่า เราสามารถเลือกได้ว่าจะซื้อ ต่อสัญญาเช่า หรือว่าส่งคืนทรัพย์สินให้กับผู้ให้เช่า ผู้รับบริการส่วนใหญ่จะเป็นบริษัทหรือนิติบุคคลที่ต้องการเช่าทรัพย์สินที่มีราคาแพง เช่น เครื่องจักร  รถยนต์ หรือเช่าเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว  เช่น คอมพิวเตอร์ เป็นต้น

username/password ไม่ถูกต้อง กรุณาทำการกรอกใหม่

session ของการเข้าสู่ระบบได้สิ้นสุดแล้ว กรุณา reload หน้าเว็บอีกครั้งและเข้าสู่ระบบใหม่อีกครั้ง

ท่านได้เข้าสู่ระบบอยู่แล้ว กรุณาออกจากระบบก่อนหากท่านต้องการเปลี่ยน user

เรื่องปวดหัวของนักบัญชีที่ต้องพบเจออยู่เป็นประจำ คงหนี้ไม่พ้นเรื่องที่เราต้องเข้าใจในมาตรฐานการบัญชี ไม่หนำซ้ำยังต้องแยกสมองเพื่อทำความเข้าใจเรื่องภาษีอีกด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องสัญญาเช่า ไม่ว่าจะเป็นเช่าทั่วไป เช่าซื้อ หรือลิสซิ่ง ทั้ง 3 เรื่องนี้ทางบัญชีและภาษีแตกต่างกันเยอะพอสมควรเลยค่ะ ถ้าใครยังกังวลเพราะไม่เข้าใจเรื่องนี้ดีพอ CPD Academy ขออาสามาสรุปให้เพื่อนๆ ทุกคนอ่านในบทความนี้จ้า

เนื้อหา

1. สัญญาเช่าทางบัญชีคืออะไร?

ก่อนอื่นต้องขอเกริ่นก่อนว่า สัญญาเช่าในมุมมองบัญชี เราต้องเข้าใจเกี่ยวกับมาตรฐานการบัญชีเสียก่อนค่ะ ว่าเรากำลังใช้มาตรฐานบัญชีเล่มไหนในการทำงาน
สัญญาเช่าก็จะถูกกล่าวถึงในมาตรฐานรายงานทางการเงิน TFRS16 และ TFRS for NPAEs เพื่อนๆอาจจะสงสัยว่า TFRS16 และ TFRS for NPAES สอง อย่างนี้แตกต่างกันยังไง ขอสรุปคร่าวๆ ก็คือ

  • TFRS16 สัญญาเช่า คือ มาตรฐานการบัญชีชุดใหญ่สำหรับกิจการที่มีส่วนได้เสียสาธารณะ เช่น บริษัทมหาชนจำกัด บริษัทหลักทรัพย์ ธนาคาร กิจการเหล่านี้ต้องปฏิบัติตามมาตรฐานเล่มนี้ในกรณีที่มีสัญญาเช่าในธุรกิจค่ะ
  • TFRS for NPAES บทที่ 14 คือ มาตรฐานรายงานทางการเงินเกี่ยวกับสัญญาเช่า สำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ เช่น บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนที่ไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ นั้นเอง

ในบทความนี้เราจะขอเลือกอธิบายเกี่ยวกับ TFRS for NPAEs สำหรับสัญญาเช่า บทที่ 14 นะคะ

ไม่ว่าจะเป็นเช่า เช่าซื้อ หรือลีสซิ่ง คำเหล่านี้ไม่มีนิยามทางบัญชีค่ะ แต่ทางบัญชีจะแบ่งเป็น 2 สัญญาหลักๆ ก็คือ สัญญาเช่าทางการเงิน และสัญญาเช่าดำเนินงาน

1.1 สัญญาเช่าทางการเงิน

สัญญาเช่าทางการเงิน (Finance Lease) เป็นประเภทสัญญาที่โอนความเสี่ยงและผลตอบแทนทั้งหมดหรือเกือบทั้งหมดให้ผู้เช่า แม้ว่าสุดท้ายการโอนกรรมสิทธิ์จะเกิดขึ้นหรือไม่ก็ตามนะคะ

ให้คิดอย่างนี้ไปเลยก็ได้ค่ะว่า การทำสัญญาครั้งนี้ก็เหมือนเราเป็นเจ้าของสินทรัพย์ไปแล้ว แต่แค่ผ่อนจ่าย หรือ ยังไงพอหมดค่างวดที่ต้องส่ง เราได้เป็นเจ้าของแน่ๆ ชัวร์ๆ

1.2 สัญญาเช่าดำเนินงาน

สัญญาเช่าดำเนินงาน (Operating Lease) เป็นประเภทสัญญาที่ไม่โอนความเสี่ยงและผลตอบแทนทั้งหมดหรือเกือบทั้งหมดให้ผู้เช่า

สัญญาแบบนี้มันจะไม่มีอะไรซับซ้อนเลยค่ะ มันคือ การเช่ากันแบบไม่ได้โอนกรรมสิทธิ์ ผู้เช่าก็คือ คนเช่า ทั่วไปแบบที่พวกเราเข้าใจนะคะ

สัญญาเช่า ทางบัญชี

พอเราทราบเกี่ยวกับประเภทสัญญาเช่าทางบัญชีแล้ว ทีนี่เรามาลองนำ สัญญาเช่า สัญญาเช่าซื้อ สัญญาลีสซิ่ง มาแยกประเภททางบัญชีดูค่ะว่าอะไรอยู่ตรงไหน

หลักการพิจารณาสัญญาเช่า

หลักเกณฑ์การพิจารณานะคะ ทางบัญชีให้พิจารณาจากเงื่อนไขเช่าการเงิน 4 ข้อ ที่ดูเรื่องความเสี่ยงและผลตอบแทนอยู่กับใครเป็นส่วนใหญ่

ถ้าเราจะจำง่ายๆ ก็คือ ความเสี่ยงและผลประโยชน์เป็นของผู้เช่า = สัญญาเช่าการเงิน และในทางกลับกัน ความเสี่ยงและผลประโยชน์เป็นของผู้ให้เช่า = สัญญาเช่าดำเนินงาน

ส่วนใหญ่แล้ว ทั้ง 3 สัญญาสรุปตามตารางง่ายๆ เพื่อความเข้าใจ ได้ดังนี้ค่ะ

ความเสี่ยงและผลประโยชน์ประเภทสัญญาทางบัญชีการเช่าผู้ให้เช่าสัญญาเช่าดำเนินงานเช่าซื้อผู้เช่าสัญญาเช่าทางการเงินลิสซิ่งผู้เช่าสัญญาเช่าทางการเงิน

2. เช่า เช่าซื้อ ลิสซิ่ง ทางภาษี

ในด้านของภาษีเกี่ยวกับสัญญาเช่าเราจะมองต่างกับบัญชีเลยค่ะ โดยต้องเริ่มต้นเรียนรู้ก่อนว่าคำว่า สัญญาเช่าทางภาษี นั้นมีนิยามยังไงบ้าง

สัญญาเช่าทางภาษีจะแบ่งเป็น 2 สัญญาหลักๆก่อน ก็คือ สัญญาเช่าซื้อ และสัญญาเช่าทรัพย์

2.1 สัญญาเช่าซื้อ

ตามประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 572 สรุปได้ใจความดังนี้ สัญญาที่ระบุถึงว่า เมื่อเจ้าของเอาทรัพย์สินออกให้เช่า และให้คำมั่นว่าจะขายทรัพย์สินนั้น หรือว่าจะให้ทรัพย์สินนั้นตกเป็นสิทธิแก่ผู้เช่า โดยเงื่อนไขที่ผู้เช่าได้ใช้เงินเป็นจำนวนตามที่ตกลงกันตามสัญญา

2.2 สัญญาเช่าทรัพย์

ตามประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 537 สรุปได้ใจความดังนี้ สัญญาซึ่งผู้ให้เช่าตกลงให้ผู้เช่า ได้ใช้หรือได้รับประโยชน์ในทรัพย์สินอย่างใดอย่างหนึ่งชั่วระยะเวลาอันมีจำกัด (ไม่ได้ขายหรือให้) และผู้เช่าตกลงให้ค่าเช่า เพื่อการใช้ทรัพย์สินตามตกลง

พอเราทราบแล้วว่า สัญญาเช่าซื้อและสัญญาเช่าทรัพย์ หมายถึง สัญญาแบบไหนบ้างทีนี้เราก็มาจำแนกกันค่ะ คำว่าสัญญาเช่า เช่าซื้อ ลิสซิ่ง จะเป็นสัญญาประเภทไหนของทางภาษี

ทางภาษีให้มองแบบนี้นะคะ สัญญาใดที่ระบุว่า จะขายหรือให้ทรัพย์สินแก่ผู้เช่า ถือว่าเป็นสัญญาเช่าซื้อโดยปริยาย

หลักการพิจารณาสัญญาเช่า

เราลองมาดูตามตารางนี้เพื่อประกอบความเข้าใจกันค่ะ

สัญญาระบุว่าขายหรือให้ประเภทสัญญาทางภาษีการเช่าไม่สัญญาเช่าทรัพย์เช่าซื้อใช่สัญญาเช่าซื้อลิสซิ่งไม่ เพราะมี Option ให้เลือกซื้อสัญญาเช่าทรัพย์

3. สรุปข้อแตกต่างเช่า เช่าซื้อ ลิสซิ่ง

เราสรุปเป็นภาพให้เห็นชัดเจนตามนี้เลยค่ะ

ความต่างบัญชีภาษีสัญญาเช่าเช่าเช่าซื้อลิสซิ่งบัญชีสัญญาเช่าดำเนินงานสัญญาเช่าทางการเงินสัญญาเช่าทางการเงินภาษีสัญญาเช่าทรัพย์สัญญาเช่าซื้อสัญญาเช่าทรัพย์สินทรัพย์/ค่าใช้จ่ายค่าใชจ่ายสินทรัพย์สินทรัพย์/ค่าใช้จ่ายแตกต่างในมุมมองการเป็นเจ้าของไม่แตกต่างไม่แตกต่างแตกต่าง

4. วิธีการปรับปรุงรายการทั้ง 3 แบบ

CPD Academy ขอแนะนำหลักการง่ายๆ ในการปรับปรุงระหว่างบัญชีและภาษีนะคะ เริ่มต้นถ้ามีข้อแตกต่างทางบัญชีและภาษีเมื่อไหร่ ให้บวกกลับค่าใช้จ่ายทางบัญชีให้หมด แล้วค่อยปรับปรุงรายการทางภาษีเข้าไปทั้งจำนวนเลยค่ะ เพื่อป้องกันการคำนวณผิดและสับสน แต่ว่าเนื่องจากสัญญาเป็นสัญญาที่มีอายุมากกว่า 1 ปีแน่ๆ ก็ขอให้เพื่อนๆ จัดทำข้อมูลซัพพอร์ตไว้เพื่อที่เราจะใช้ปรับปรุงในปีถัดๆ ไปค่ะ

ต่อไปเราไปดูการปรับปรุงทางภาษีของทั้ง 3 สัญญากันนะคะ

4.1 ผู้เช่าตามสัญญาเช่าซื้อ

ในด้านของผู้เช่าตามสัญญาเช่าซื้อ ทางภาษีระบุไว้ว่า ค่าใช้จ่ายที่สามารถนำมาหักออกตอนที่คำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลได้นั้น ก็คือ

ค่าเสื่อมราคา+ดอกเบี้ย ทั้ง 2 อย่างรวมกันต้องไม่เกินค่าเช่าซื้อในรอบบัญชี

เราจะปรับปรุงอย่างไร ก็ตามภาพเลยนะคะ คือ อะไรที่เคยบันทึกบัญชีไว้ให้บวกกลับ และให้คำนวณแบบของภาษี เป็นรายการหักออกทางภาษีค่ะ

ผู้เช่าตามสัญญาเช่าซื้อค่าใช้จ่ายทางบัญชีค่าใช้จ่ายทางภาษีเปรียบเทียบปรับปรุงอย่างไรค่าเสื่อมราคา (ราคาเงินสด) + ดอกเบี้ยค่าเสื่อมราคา โดยใช้ราคารวมดอกเบี้ย และต้องไม่เกินค่าเช่าซื้อในรอบบัญชีนั้นมีความแตกต่างในเรื่องของค่าเสื่อมราคากลับรายการที่บันทึกทางบัญชีออก
และทำการปรับปรุงเป็นยอดทางภาษี

แต่เพื่อนๆ ก็อย่าลืมประเด็นเกี่ยวกับรถยนต์นั่งนะคะ ทางภาษีค่าเสื่อมราคาของรถยนต์นั่งจะคิดมูลค่าคงเหลือของรถยนต์นั่งได้ไม่เกิน 1,000,000 บาท เท่ากับว่า ค่าเสื่อมราคา 1 ปี จะได้สูงสุดเพียง 200,000 บาทนะคะ

4.2 ผู้เช่าตามสัญญาลิสซิ่ง

ต่อมาเป็นสัญญาประเภทลิสซิ่ง (Leasing) ที่มีข้อแตกต่างทางบัญชีและภาษีที่ชัดเจนที่สุด เนื่องจากตอนที่เรารับรู้ทางบัญชี รับรู้ค่าใช้จ่ายเป็นค่าเสื่อมราคา และดอกเบี้ย แต่ในการรับรู้ค่าใช้จ่ายทางภาษีถือว่าเป็นการเช่าทรัพย์ ให้คิดเป็นรายจ่ายค่าเช่าตามค่าใช้จ่ายทั้งหมด/งวดที่ได้จ่ายไป

ผู้เช่าตามสัญญาลีสซื่งค่าใช้จ่ายทางบัญชีค่าใช้จ่ายทางภาษีเปรียบเทียบปรับปรุงอย่างไรค่าเสื่อมราคา + ดอกเบี้ยรายจ่ายค่าเช่าที่เกิดขึ้นในแต่ละงวดมีความแตกต่างกลับรายการที่บันทึกทางบัญชีออก
และทำการปรับปรุงเป็นยอดทางภาษี

และเน้นย้ำเกี่ยวกับเรื่องของรถยนต์นั่งอีกรอบค่ะ ค่าเช่าของรถยนต์นั่งสรรพากรก็กำหนดมาให้ว่าให้เป็นค่าเช่าได้ไม่เกิน 36,000 บาทต่อเดือนนะคะ

4.3 ผู้เช่าตามสัญญาเช่าดำเนินงาน

สัญญาดำเนินงาน อันนี้ง่ายที่สุดเลย เพราะว่า ทางบัญชีและทางภาษี มุมมองตรงกันค่ะ แต่มี 1 รายการที่เป็นข้อยกเว้น คือรถยนต์นั่งเจ้าปัญหา อย่าลืมนะคะว่าเป็นค่าใช้ทางภาษีได้เพียงเดือนละ 36,000 บาทเท่านั้น หากมีส่วนที่เกิน ก็อย่าลืมบวกกลับกันด้วยนะคะ

ผู้เช่าตามสัญญาเช่าดำเนินงานค่าใช้จ่ายทางบัญชีค่าใช้จ่ายทางภาษีเปรียบเทียบปรับปรุงอย่างไรรายจ่ายค่าเช่าที่เกิดขึ้นในแต่ละงวดรายจ่ายค่าเช่าที่เกิดขึ้นในแต่ละงวดไม่มีความแตกต่างไม่ต้องปรับปรุง ยกเว้นรถยนต์นั่งค่าเช่าเกิน 36,000 บาทต่อเดือน

เพื่อนๆพอจะมองออกหรือยังคะ เกี่ยวกับข้อแตกต่างของทั้งสัญญา 3 แบบ ในทางบัญชีและภาษี ที่มันเป็นเรื่องยาก เพราะว่าเราต้องเรียนรู้ทั้งบัญชีและภาษี แล้วต้องมาคิดเกี่ยวกับรายการปรับปรุงอีก แต่ว่าพอผ่านการทำครั้งแรกไปแล้ว เชื่อว่า ครั้งต่อไปเพื่อนๆคงแค่อ่านสัญญาไม่กี่บรรทัดก็รู้แล้ว สัญญานี้คือประเภทอะไร ทางบัญชีคิดอย่างไร ทางภาษีคิดอย่างไร และต้องปรับปรุงอย่างไรบ้างค่ะ

อบรมบัญชีเก็บชั่วโมง CPD ออนไลน์ง่ายๆ ได้ที่บ้าน

Line: @cpdacademy

  • Facebook iconFacebook
  • Twitter iconTwitter
  • LINE iconLine

สัญญาเช่า

CPD Academy

ถูกก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ปี 2017 ด้วยความตั้งใจเต็มเปี่ยมในการส่งต่อความรู้ดีๆ ให้กับนักบัญชีและผู้สอบบัญชีในรูปแบบ e-learning ที่ช่วยให้การเก็บชั่วโมง CPD เป็นเรื่องง่ายๆ ทำได้เองที่บ้าน

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง