การ นํา ส่ง ภาษีมูลค่าเพิ่ม

1. เป็นธุรกิจที่ได้รับการยกเว้นภาษี

กรณีที่จะได้รับการยกเว้นภาษีนั้นก็จะต้องเป็นกิจการที่มีรายได้ไม่เกิน 1.8 ล้านบาท/ปี ซึ่งคิดจากยอดขายสินค้าหรือบริการที่เรียกเก็บจากลูกค้า เป็นธุรกิจที่เกี่ยวกับการเกษตรภายในประเทศ (คำสั่งกรมสรรพากร ป.28/2535 ฯ) ค้าขายสัตว์ทั้งมีและไม่มีชีวิตในประเทศ (คำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.29/2535 ฯ) โรคพืชและสัตว์ การให้บริการห้องสมุน พิพิธภัณฑ์ สวนสัตว์ และการให้บริการรักษาพยาบาลทั้งแบบรัฐบาลและเอกชน แต่เพื่อความแน่ใจให้ตรวจสอบกับทางสรรพากรอีกครั้ง

2. รายได้ของกิจการเกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี

ง่าย ๆ เลยหากเกินแล้วก็คงต้องไปจด เฉลี่ยออกมาแต่ละเดือนก็จะอยู่ที่ 150,000 บาท ซึ่งรายได้นี้มาจาดยอดขายที่เกิดขึ้นจริงที่ไม่ใช่กำไรหลังหักค่าใช้จ่ายแล้ว ซึ่งพอรายได้เกินแล้วจะต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มภายใน 30 วันและยื่นเอกสาร ภ.พ. 30 ด้วย

3. ธุรกิจของคุณนั้นมี VAT เป็นต้นทุนหรือเปล่า ?

ธุรกิจของคุณนั้นเป็นพ่อค้าคนกลางไหม ? แบบซื้อมาขายไปหรือเป็นธุรกิจที่มีสินค้าต้นทางมีการคิด VAT ก็จำเป็นที่จะต้องมี VAT ด้วยเหมือนกัน เป็นการรักษาสิทธิประโยชน์ทางภาษี จะทำให้ลดต้นทุนของธุรกิจเราไปได้เยอะเลย

4. ลูกค้าหรือผู้ใช้บริการธุรกิจเราเข้าระบบ VAT ไหม ?

ก็เป็นอีกหนึ่งอย่างที่จะต้องเช็คเหมือนกัน ก็ต้องดูหน่อยว่าลูกค้าที่มาใช้บริการและซื้อสินค้านั้นอยู่ในระบบ VAT ไหม หากคำตอบคือ “ใช่” ก็ควรจะจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม แม้ว่ารายได้จะไม่ถึง 1.8 ล้านบาทต่อปีก็จดได้ 

เป็นการสร้างความน่าเชื่อถือและรักษาสิทธิประโยชน์ทางภาษีให้ลูกค้า หากลูกค้าเป็นธุรกิจขนาดใหญ่เขาจะให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มาก หากธุรกิจคุณไม่ได้จดทะเบียน ลูกค้าก็จะไม่มาใช้บริการและไม่มาซื้อสินค้ากับคุณเลยก็ได้ 

เพราะทางฝั่งลูกค้าเขาก็เป็นบริษัท มีการยื่นภาษี มีการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มและอาจจะต้องมีการยื่นเอกสาร ภ.พ. 30 ด้วย เวลาซื้อของก็ต้องซื้อกับร้านที่ออกใบกำกับภาษีให้ได้ ถ้าไม่มีก็นำไปทำบัญชีและภาษีต่อไม่ได้นั่นเอง ฉะนั้นถ้าคุณไม่อยากเสียลูกค้าก็จดไว้ก็ไม่เสียหายอะไร

เขียนโดย: purich.v | 27 ธันวาคม 2021

ภ.พ.30 คือเอกสารสรุปภาษีซื้อ-ภาษีขาย ที่เจ้าของธุรกิจต้องเอาไว้ใช้ยื่นแสดงภาษีมูลค่าเพิ่มแก่กรมสรรพากรทุกเดือน โดยต้องทำก่อนภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป โดยเจ้าของธุกกิจมีรายได้มากกว่า 1.8 ล้านบาท/ปีและขึ้นทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว

ภาษีซื้อ หมายถึง ภาษีที่เจ้าของธุรกิจต้องจ่ายเมื่อมีการซื้อสินค้า,วัตถุดิบ หรืออุปกรณ์ต่างๆ เพื่อมาทำเป็นสินค้าหรือบริการ ซื้ออุปกรณ์สำนักงาน หรือค่าใช้จ่ายต่าง ที่ใช้ในการดำเนินการของกิจการ โดยเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%

ภาษีขาย หมายถึง ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% ที่เรียกเก็บจากลูกค้าเมื่อขายสินค้าและบริการ แต่เงิน 7% นี้จะไม่ใช่ของกิจการ แต่เป็นของรัฐที่ต้องนำส่งให้กรมสรรพากร
** เอกสารที่แสดงในส่วนของภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%  คือเอกสารใบกำกับภาษี
โดยทุกๆสิ้นเดือนเจ้าของกิจการจะนำเอกสารใบกำกับภาษีมาสรุปยอดภาษีซื้อ-ภาษีขาย โดยนำ ภาษีขาย – ภาษีซื้อ = ภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่ต้องนำส่งให้กรมสรรพากรในแต่ละเดือน

หากต้องการปรึกษาการเลือกซื้อเครื่องปรับอากาศ หรือกล้องวงจรปิด ยี่ห้อไหนดี รุ่นไหนดี โทรปรึกษา DAS Inter Group ได้ทันทีค่ะ
ติดต่อ 02-050-8899 หรือ [email protected]: @dasintergroup

สนใจสั่งซื้อกล้องวงจรปิดหรือเครื่องปรับอากาศ คลิกที่นี่ได้เลย !! คลิก !!

บทความโดย: ลินดา ผาสิกา, Accountant

ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value Added Tax หรือ VAT) คือ ภาษี ประเภทหนึ่งตาม ประมวลรัษฎากร ซึ่งจัดเก็บจากมูลค่าของการซื้อขายสินค้าหรือการให้บริการในประเทศ และการนำเข้าสินค้า ซึ่งโดยปกติผู้ประกอบการจะเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตรา 7% จากผู้บริโภค แล้วนำส่งให้กรมสรรพากรซึ่งเป็นหน่วยงานรับผิดชอบในการจัดเก็บอีกที

คำนวณ ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)

โปรแกรมคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) และภาษีหัก ณ ที่จ่าย

กิจการที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม

โดยปกติ กฎหมายไทยกำหนดให้ 3 กิจการต่อไปนี้ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม

  1. การขายสินค้าในราชอาณาจักรโดยผู้ประกอบการ1
  2. การให้บริการในราชอาณาจักรโดยผู้ประกอบการ2 ซึ่งจะครอบคลุมถึงการให้บริการที่ทำในต่างประเทศและได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักร (เช่น การให้บริการแพลตฟอร์มโฆษณาออนไลน์จากบริษัทต่างประเทศที่ใช้ในไทย) และบริการที่ได้ทำในราชอาณาจักรแต่ใช้บริการจริงเกิดขึ้นในต่างประเทศ (เช่น รับจ้างเขียนซอฟต์แวร์ให้บริษัทต่างชาติไปใช้ในต่างประเทศ)
  3. การนำเข้าสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักรโดยผู้นำเข้า3

อัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม

โดยปกติ เราจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่มอยู่ในอัตราคงที่ 7% (ซึ่งคำนวณมาจากภาษีมูลค่าเพิ่ม 6.3% + ภาษีท้องถิ่น 0.7%)4

ผู้ประกอบการที่มียอดขายทั้งปีเกิน ฿1,800,000 (เฉลี่ยเดือนละ ฿150,000) โดยปกติจะถูกบังคับให้จดทะเบียน VAT ตามกฎหมายภายใน 30 วันนับแต่วันที่มีมูลค่าของฐานภาษีเกิน ฿1,800,0005 แต่ถ้าเป็นสินค้าที่ได้รับยกเว้น ก็จะไม่ต้องเสีย VAT6 เช่น ขายเนื้อสัตว์ ผักสด เป็นต้น

โดยทั่วไปผู้ประกอบการจะต้องยื่นภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นรายเดือน ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป7 และมีหน้าที่ต้องออกใบกำกับภาษี รวมถึงจัดทำรายงานภาษีซื้อ-ภาษีขาย8 ด้วย

ฐานภาษีมูลค่าเพิ่มและวิธีคำนวณภาษี

ภาษีมูลค่าเพิ่มจะใช้มูลค่าของสินค้าหรือบริการ (หลังหักส่วนลดแล้ว) เป็นฐานในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม9 

มูลค่าสินค้า/บริการ x อัตราภาษี = ค่าภาษี VAT

เช่น สินค้าตั้งราคาขาย ฿100 ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มอัตรา 7% จะคำนวณค่าภาษีมูลค่าเพิ่มได้ดังนี้

มูลค่าสินค้า/บริการ ฿100 x อัตราภาษี 7% = ค่าภาษี VAT ฿7

ดังนั้น เมื่อขายสินค้าจะต้องเรียกเก็บเงินจากลูกค้าเป็นจำนวนเงินรวมทั้งสิ้น 107 บาท (ค่าสินค้า 100 บาท + VAT 7 บาท) โดยค่าสินค้าจะทำไปคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ ส่วน VAT 7 บาท จะต้องนำส่งให้กรมสรรพากรในเดือนถัดไปโดยไม่ต้องนำไปคำนวณเป็นเงินได้ของกิจการ โดยภาษีที่เรียกเก็บจากตอนขายจะเรียกสั้นๆ ว่า ภาษีขาย10

ในทางกลับกัน ถ้าผู้ประกอบการจดทะเบียนซื้อสินค้ามาในราคา 107 บาท แสดงว่าสินค้านั้นจริงๆ ราคาเพียง 100 บาท แต่อีก 7 บาทนั้นคือ VAT ที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนต้องจ่ายตอนซื้อสินค้า ซึ่งค่าภาษี 7 บาทที่จ่ายไปตอนซื้อสินค้าเข้ามา เรียกสั้นๆ ว่า ภาษีซื้อ11

การยื่นภาษีมูลค่าเพิ่ม

ผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภาษีเพิ่มแล้วจะมีหน้าที่ต้องยื่นภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นรายเดือน (เดือนภาษี) ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป ไม่ว่าจะมีภาษีมูลค่าเพิ่มต้องนำส่งหรือไม่ก็ตาม12 ซึ่งในแต่ละเดือนอาจเกิดผลลัพธ์แตกต่างกันดังต่อไปนี้

1. ภาษีขาย มากกว่า ภาษีซื้อ

กรณีนี้เกิดขึ้นเนื่องจากผู้ประกอบการจดทะเบียนมียอดขายมากกว่ายอดซื้อ ดังนั้น จึงมีการเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภาษีขาย) มากกว่าภาษีมูลค่าเพิ่มที่ตนจ่ายออกไป (ภาษีซื้อ) ซึ่งผู้ประกอบการจดทะเบียนจะต้องนำส่วนต่างนี้มานำส่งให้กรมสรรพากรพร้อมกับการยื่นภาษีรายเดือน13

2. ภาษีขาย เท่ากับ ภาษีซื้อ

กรณีนี้เกิดขึ้นเนื่องจากผู้ประกอบการจดทะเบียนมียอดขายเท่ากับยอดซื้อ ดังนั้น จึงมีการเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มเท่ากับภาษีมูลค่าเพิ่มที่ตนจ่ายออกไป เช่นนี้ ผู้ประกอบการจึงไม่มีภาระต้องนำส่วนต่างนี้ แต่ก็ยังคงมีหน้าที่ต้องยื่นภาษีรายเดือนอยู่ดี

3. ภาษีขาย น้อยกว่า ภาษีซื้อ

กรณีนี้เกิดขึ้นเนื่องจากผู้ประกอบการจดทะเบียนมียอดขายน้อยยอดซื้อ ดังนั้น จึงมีการเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มน้อยกว่าภาษีมูลค่าเพิ่มที่ตนจ่ายออกไป เช่นนี้ ผู้ประกอบการมีหน้าที่ต้องยื่นแบบฯ แต่ไม่มีหน้าที่ต้องนำส่งภาษี เพราะตนจ่ายออกไปมากกว่าที่เรียกเก็บได้

ภาษีซื้อที่เหลืออยู่เนื่องจากหักออกจากภาษีขายไม่หมดนั้น ผู้ประกอบการจดทะเบียนสามารถเลือกใช้ประโยชน์เป็นเครดิตภาษีสำหรับการยื่นภาษีครั้งต่อไป หรือขอเงินคืนภาษีก็ได้14

ข้อสังเกตเกี่ยวกับการเข้าระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม

ในกรณีที่เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน VAT แล้ว จะได้ประโยชน์จากการซื้อขายสินค้าและบริการ คือ สามารถนำ VAT ที่ตัวเองจ่ายไปในฐานะภาษีซื้อมาหักกลบกับภาษีขาย ทำให้ภาระต้นทุนต่ำลงได้

เช่น จากเดิมต้นทุน 107 บาทจะเหลือเพียง 100 บาท เพราะลูกค้าของผู้ประกอบการจะเป็นผู้แบกรับภาระภาษีมูลค่าเพิ่ม 7 บาทให้แทน

อย่างไรก็ดี แม้ต้นทุนเรื่องสินค้าหรือบริการจะลดลง แต่การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มก็จะมีต้นทุนค่าทำบัญชีเพิ่มขึ้นด้วย ซึ่งจำเป็นต้องปฏิบัติตามให้ถูกต้องตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด

ผู้มีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม

ภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นภาษีทางอ้อม ผู้บริโภคเป็นผู้รับภาระเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยมีผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว (ผู้ประกอบการจดทะเบียน) เป็นผู้ทำหน้าที่เรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้บริโภค15 แล้วนำส่งให้กรมสรรพากรเป็นรายเดือน โดยต้องยื่นภาษีทุกวันที่ 15 ของเดือนถัดไปไม่ว่าผู้ประกอบการฯ จะมีภาษีต้องชำระหรือไม่ก็ตาม16 

ความหมายของ ‘ผู้ประกอบการ’

ผู้ประกอบการ หมายถึง บุคคลซึ่งขายสินค้าหรือให้บริการในทางธุรกิจหรือวิชาชีพ ไม่ว่าการกระทำดังกล่าวจะได้รับประโยชน์ หรือได้รับค่าตอบแทนหรือไม่ และไม่ว่าจะได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้วหรือไม่17 ซึ่งอาจเป็นผู้ประกอบการไทยหรือต่างชาติก็ได้

อย่างไรก็ดี หากผู้ขายสินค้าหรือให้บริการนั้นไม่ได้ทำในทางธุรกิจหรือวิชาชีพ ก็จะไม่ใช่ผู้ประกอบการ และไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มหรือเข้าระบบภาษีมูลค่าเพิ่มแม้จะมีการขายสินค้าหรือให้บริการเกิดขึ้นก็ตาม เช่น ขายรถยนต์มือสองที่ใช้ส่วนตัว ช่วยคนรู้จักทาสีบ้าน เป็นต้น

และเมื่อผู้ประกอบการจดทะเบียนเข้าระบบภาษีมูลค่าเพิ่มจะเรียกว่า “ผู้ประกอบการจดทะเบียน”18

การเข้าระบบภาษีมูลค่าเพิ่มของผู้ประกอบการจดทะเบียน

1. กิจการกลุ่มที่ถูกบังคับให้ต้องจดทะเบียน VAT

โดยทั่วไป การขายสินค้าหรือบริการในประเทศที่ไม่มีกฎหมายเขียนยกเว้นเอาไว้จะจัดอยู่ในกลุ่มนี้ ซึ่งถ้ายอดขายระหว่างปีเกิน 1,800,000 บาท (เฉลี่ยยอดขายเกินเดือนละ 150,000 บาท) กิจการจะถูกบังคับให้ต้องจดทะเบียน VAT ตามกฎหมาย ดังนั้น เมื่อยอดขายเกิน 1,800,000 บาท เมื่อใด ผู้ประกอบการจะมีหน้าที่ต้องรีบจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ฐานยอดขายเกิน19

อย่างไรก็ดี การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเพราะยอดขายเกิน 1,800,000 บาทนั้น แม้ผู้ประกอบการจะไม่มีหน้าที่ต้องนำส่งภาษีขายจากยอดขายที่เกิดขึ้นก่อนจดทะเบียนก็จริง แต่ผู้ประกอบการก็เสียสิทธินำภาษีซื้อที่เกิดขึ้นก่อนเวลาที่ตนจะเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนมาขอคืนหรือเครดิตได้ เพราะภาษีซื้อนั้นจ่ายก่อนจดทะเบียนเข้าระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม20

2. กิจการกลุ่มที่ถูกไม่บังคับให้ต้องจดทะเบียน VAT

ข้อยกเว้นกรณียอดขายไม่เกิน 1.8 ล้านบาท

กรณียอดขายตลอดทั้งปีไม่เกิน 1,800,000 บาท จะได้รับยกเว้นไม่บังคับให้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มก็ได้ เพราะกฎหมายจัดว่าเป็นกิจการขนาดย่อม21 (ถ้ายอดขายตลอดทั้งปี 1,800,000 บาท พอดี จะยังไม่ถูกบังคับให้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม)

แต่ถึงแม้ยอดขายตลอดทั้งปีจะไม่เกิน 1,800,000 บาท ผู้ประกอบการก็สามารถเลือกเข้าระบบภาษีมูลค่าเพิ่มด้วยความสมัครใจเมื่อไหร่ก็ได้

ข้อยกเว้นกรณีกิจการได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม

การขายสินค้าหรือบริการบางประเภท กฎหมายได้ยกเว้น VAT ให้อยู่แล้ว ดังนั้น แม้ยอดขายสินค้าหรือบริการเหล่านั้นตลอดปีจะเกิน 1,800,000 บาท ก็ไม่มีภาระต้องจดทะเบียน VAT แต่อย่างใด เช่น การขายสินค้าเกษตร หรือ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร หรือตำราเรียน การแพทย์ เป็นต้น22

จุดความรับผิดของภาษีมูลค่าเพิ่ม (Tax point) 

ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าจะมีความรับผิดต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือเรียกว่าเกิด “จุดความรับผิด” (Tax point) เพื่อเกิดกิจกรรมบางอย่างขึ้นในเดือนภาษีนั้นๆ โดยแบ่งตามลักษณะของกิจกรรมดังนี้

ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มที่เกิดจากการขายสินค้า

ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มที่เกิดจากการขายสินค้าจะเกิดขึ้นเมื่อมีเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งต่อไปนี้เกิดขึ้นในเดือนภาษีใดๆ23

  1. มีการส่งมอบสินค้า
  2. โอนกรรมสิทธิ์สินค้า
  3. ได้รับชำระราคาสินค้า หรือ
  4. ได้ออกใบกำกับภาษี

โดยให้ความรับผิดเกิดขึ้นตามส่วนของการกระทำนั้นๆ แล้วแต่กรณี

เทคนิคการตั้งตัวแทนกรณีฝากขาย เพื่อแก้ปัญหาจุดความรับผิดเกิดก่อนผู้ผลิตได้รับชำระเงิน

ในบางกรณี ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มซึ่งเป็นผู้ผลิตตกลงนำสินค้าไปฝากขายตามห้างสรรพสินค้า หรือร้านสะดวกซื้อ โดยยังไม่ได้รับชำระค่าสินค้าจนกว่าสินค้าดังกล่าวจะขายได้ ดังนั้น เมื่อผู้ผลิตสินค้าส่งมอบสินค้าให้แก่ห้างสรรพสินค้า หรือร้านสะดวกซื้อ จึงเข้าลักษณะเป็นการขายสินค้า24 ทำให้ผู้ผลิตสินค้ามีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม25 เพราะเกิดจุดความรับผิดแล้ว และผู้ผลิตสินค้ามีหน้าที่จัดทำใบกำกับภาษีในทันทีที่ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น26 และต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มก่อนที่ตนจะได้รับชำระเงิน

เพื่อบรรเทาปัญหากรณีฝากขายดังกล่าว ผู้ผลิตสามารถทำสัญญาแต่งตั้งให้ห้างสรรพสินค้าหรือร้านสะดวกซื้อเป็นตัวแทนของผู้ผลิตได้27 ซึ่งจะส่งผลให้เลื่อนจุดความรับผิดจากเดิมที่เกิดขึ้น ณ เวลาส่งมอบ เป็น ณ เวลาที่ตัวแทนได้รับชำระเงินได้ โดยการตั้งตัวแทนต้องเข้าหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้28

  1. ต้องเป็นสัญญาการตั้งตัวแทนเพื่อขายสินค้าโดยตัวแทนได้รับค่าตอบแทนหรือบำเหน็จจากตัวการตามที่ได้กำหนดไว้ในสัญญาตั้งตัวแทน
  2. สัญญาตามข้อ 1 ต้องจัดทำเป็นลายลักษณ์อักษร และเป็นสัญญาที่ตั้งตัวแทนเพื่อขายสินค้าประเภทใดประเภทหนึ่ง หรือทุกประเภทก็ได้
  3. ทั้งตัวการและตัวแทนต้องเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งต้องคำนวณเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
  4. ตัวการและตัวแทนต้องเก็บรักษาต้นฉบับสัญญาการตั้งตัวแทนไว้ ณ สถานประกอบการที่เป็นสำนักงานใหญ่ เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปีนับแต่วันสิ้นสุดสัญญา
  5. ตัวการต้องแจ้งสัญญาการตั้งตัวแทนต่อเจ้าพนักงานสรรพากรภายใน 15 วันนับแต่วันทำสัญญาตั้งตัวแทน ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่ หรือสำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาในเขตท้องที่ที่สถานประกอบการที่เป็นสำนักงานใหญ่ของตัวการตั้งอยู่“
  6. ตัวแทนต้องจัดทำรายงานสินค้าและวัตถุดิบ โดยให้จัดทำแยกต่างหากจากรายงานสินค้าและวัตถุดิบของตน

ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มที่เกิดจากการให้บริการ

ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มที่เกิดจากการให้บริการจะเกิดขึ้นเมื่อมีเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งต่อไปนี้เกิดขึ้นในเดือนภาษีใดๆ29

  1. ได้รับชำระราคาค่าบริการ
  2. มีการให้บริการ หรือ
  3. ได้ออกใบกำกับภาษี

โดยให้ความรับผิดเกิดขึ้นตามส่วนของการกระทำนั้นๆ แล้วแต่กรณี

เรื่องที่มักเข้าใจผิดบ่อย

  • อัตราภาษีมูลค่าเพิ่มจริงๆ แล้วกฎหมายบัญญัติไว้ที่ 10% แต่เนื่องจากประเทศไทยมีการออกกฎหมายพิเศษมาลดให้เหลือ 7% เป็นการชั่วคราวแบบปีต่อปี แล้วใช้วิธีต่ออายุเอาเรื่อยๆ มาหลายปี จึงทำให้หลายคนเข้าใจผิดว่าการกลับไปใช้อัตรา 10% เป็นการปรับขึ้นภาษี ทั้งที่จริงตามกฎหมายใช้อัตรา 10% ตั้งแต่แรกแล้ว

  • เวลาเห็นข่าวว่ารัฐบาลประกาศลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มเหลือ 6.3% คนมักเข้าใจผิดว่ารัฐบาลประกาศลด VAT จาก 7% เหลือ 6.3% ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง เพราะที่จริงแล้ว เรายังต้องเสียอัตราภาษีท้องถิ่นอีก 1/9 ของอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม30 อีกด้วย (VAT 6.3% × 1/9 = 0.7%) สรุป เราเสีย VAT 7% เหมือนเดิมนั่นเอง (ภาษีมูลค่าเพิ่ม 6.3% + ภาษีท้องถิ่น 0.7%) ไม่มีอะไรน่าตื่นเต้น

  • ในกรณีที่คุณไม่ได้จดทะเบียน VAT มาก่อนในปีนั้น แล้วต่อมาในช่วงปลายปีคุณมียอดขายเกิน ฿1,800,000 แบบคาดไม่ถึง หลายคนมักเข้าใจผิดว่าจะต้องย้อนหลังกลับมาเสีย VAT จากรายได้จำนวนที่เกิดขึ้นตลอดปีตั้งแต่บาทแรกเลย ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง เพราะที่จริงแล้วในเดือนที่คุณมียอดขายเกิน ฿1,800,000 แม้คุณมีหน้าที่จดทะเบียน VAT ภายใน 30 วันก็จริง แต่คุณก็มีเพียงหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มและชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม + เฉพาะส่วนที่เกินกว่า + ฿1,800,000 เท่านั้น31 โดยไม่ต้องย้อนกลับไปคำนวณ VAT ย้อนหลังไปตั้งแต่ต้นปีแล้ว

อ้างอิง

  1. ^

    มาตรา 77/2 (1) ประมวลรัษฎากร

  2. ^

    มาตรา 77/2 (1) ประมวลรัษฎากร

  3. ^

    มาตรา 77/2 (2) ประมวลรัษฎากร

  4. ^

    มาตรา 4 พระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 646) พ.ศ. 2560, มาตรา 12 ทวิ พ.ร.บ. รายได้เทศบาล พ.ศ. 2497, มาตรา 80 ประมวลรัษฎากร

  5. ^

    มาตรา 4 พระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 432) พ.ศ. 2548, มาตรา 81/1 และ 85/1 ประมวลรัษฎากร

  6. ^

    มาตรา 81/2 ประมวลรัษฎากร

  7. ^

    มาตรา 83 ประมวลรัษฎากร

  8. ^

    มาตรา 87 ประมวลรัษฎากร

  9. ^

    มาตรา 79 ประมวลรัษฎากร

  10. ^

    มาตรา 77/1 (17) ประมวลรัษฎากร

  11. ^

    มาตรา 77/1 (18) ประมวลรัษฎากร

  12. ^

    มาตรา 83 ประมวลรัษฎากร

  13. ^

    มาตรา 82/3 วรรคสอง ประมวลรัษฎากร

  14. ^

    มาตรา 82/3 วรรคสาม ประมวลรัษฎากร

  15. ^

    มาตรา 82/4 ประมวลรัษฎากร

  16. ^

    มาตรา 83 ประมวลรัษฎากร

  17. ^

    มาตรา 77/1 (5) ประมวลรัษฎากร

  18. ^

    มาตรา 77/1 (6) ประมวลรัษฎากร

  19. ^

    มาตรา 85/1(1) ประมวลรัษฎากร

  20. ^

    มาตรา 77/1(18) ประมวลรัษฎากร

  21. ^

    มาตรา 81/1 ประมวลรัษฎากร และมาตรา 4 พระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 432) พ.ศ. 2548

  22. ^

    มาตรา 81 ประมวลรัษฎากร

  23. ^

    มาตรา 78 (1) ประมวลรัษฎากร

  24. ^

    มาตรา 77/1 (8) (ข) ประมวลรัษฎากร

  25. ^

    มาตรา 77/2 (1) ประมวลรัษฎากร

  26. ^

    มาตรา 86 ประมวลรัษฎากร

  27. ^

    มาตรา 78(3) แห่งประมวลรัษฎากร

  28. ^

    ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 8) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ของสัญญาการตั้งตัวแทนเพื่อขายตามประเภทของสินค้า ตามมาตรา 78(3) แห่งประมวลรัษฎากร

  29. ^

    มาตรา 78/1 (1) ประมวลรัษฎากร

  30. ^

    มาตรา 12 ทวิ พ.ร.บ. รายได้เทศบาล พ.ศ. 2497

  31. ^

    ข้อหารือภาษีอากร เลขที่ กค 0702/3397 ลงวันที่ 19 มิถุนายน 2551

ภาษีมูลค่าเพิ่มนำส่งกี่วัน

ข้อ 5 ให้ขยายกำหนดเวลาการนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มและการยื่นรายการตามมาตรา 83/7 แห่งประมวลรัษฎากร โดยให้นำส่งและยื่นรายการภายในเจ็ดวันนับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่ครบกำหนดสามสิบวันที่ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น

กิจการต้องนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มอย่างไร

แบบ ภ.พ.30 คือแบบแสดงรายการสรุปภาษีซื้อ-ภาษีขาย เพื่อนำส่งกรมสรรพากร โดยผู้มีหน้าที่จัดทำคือ เจ้าของธุรกิจที่มีรายได้มากกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี และได้ทำการขึ้นทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว ต้องนำส่งให้กรมสรรพากรทุกเดือนภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป หรือสามารถยื่นผ่านทางอินเทอร์เน็ตก็ได้

แบบนําส่งภาษีมูลค่าเพิ่มคือแบบฟอร์มใด

ภ.พ.36. แบบนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามประมวลรัษฎากร

เอกสารที่ต้องจัดทําในระบบภาษีมูลค่าเพิ่มคือข้อใด 1 คะแนน

2. เอกสารที่ต้องใช้ในการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (1) คำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตามแบบ ภ.พ.01 จำนวน 3 ฉบับ (2) สำเนาทะเบียนบ้านหรือหลักฐานแสดงการอยู่อาศัยจริง พร้อมภาพถ่ายสำเนาดังกล่าว (3) บัตรประจำตัวประชาชนและบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากร พร้อมภาพถ่ายบัตรดังกล่าว

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง