เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ตัวอย่าง

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ถือเป็นอุปกรณ์การทำแบบสอบถามที่นิยมใช้กันมากที่สุดอีกหนึ่งปัจจัย เพราะเครื่องมือในการวิจัยเป็นตัวสำคัญที่ช่วยทำให้การเก็บตัวอย่างจากกลุ่มเป้าหมายที่ได้ตั้งขอบเขตการศึกษาไว้ มาแปรผลข้อมูลระดับปฐมภูมิออกมาเป็นผลสรุปการทำแบบสอบถามที่มีเนื้อหาครบถ้วน และตอบโจทย์ความต้องการของผู้ทำมาต่อยอดการนำไปศึกษาต่อเพิ่มเติมได้  โดยเครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยแบ่งจำแนกได้ออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ ดังนี้ เครื่องมือในการดำเนินการวิจัย และ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล แล้วสองเครื่องมือในการวิจัยเหล่านี้มีหลักการใช้งานอย่างไรบ้าง ทาง Enable survey จะมาอธิบายให้หายข้อสงสัยกัน

เครื่องมือที่ใช้สำหรับการทดลอง (Treatment)

เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประเภท การทดลองเป็นหลัก ซึ่งหลักการดำเนินการของวิจัยชนิดนี้ มุ่งเน้นการวิจัยเชิงทดลองในขอบเขตพื้นที่นักออกแบบต้องการจะศึกษาผลลัพธ์ โดยมี ตัวแปรต้น ตัวแปรตาม และตัวแปรควบคุม มาช่วยแสดงผลประกอบการในระยะดำเนินการได้เสร็จสมบูรณ์ ยกตัวอย่างเช่น 2 ปัจจัยหลัก ๆ ได้แก่…

  • ตัวแปรต้น สิ่งที่นักวิจัยต้องการทราบความจริง หรือเรียกสั้น ๆว่าเป็นตัวต้นเหตุ เป็นสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิตได้ 
  • ตัวแปรตาม เป็นผลที่เกิดจากตัวต้นเหตุ สามารถผลลัพธ์ข้อสรุปของการทดลองได้

ยกตัวอย่างเช่น “เด็กทารกเพศชายและหญิง ถูกกำหนดสีประจำเพศเป็นสีน้ำเงินและสีชมพูอยู่เสมอ” โดย “เพศ” เป็น ตัวแปรต้น และ “สี” เป็น ตัวแปรตาม เป็นต้น

เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล (Data collection instruments)

แบบสอบถาม (Questionnaire)

แบบเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมาย ไม่ว่าจะเป็น ความรู้สึก , ความเชื่อ  , ทัศนคติ , ความสนใจ และรวมไปถึงการสอบถามข้อมูลส่วนตัวของผู้ทำอีกด้วย เป็นแบบสอบถาม ออนไลน์ และออฟไลน์ได้ ขึ้นอยู่กับผู้ออกแบบสามารถสร้างชุดแบบฟอร์มเป็นรูปแบบไหน และยังเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการเก็บเกี่ยวพื้นที่ที่ศึกษาอย่างได้ถูกต้อง แม่นยำ และบรรลุวัตถุประสงค์ในการสร้างแบบสอบถามการเก็บรวบรวมข้อมูลกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการเก็บเกี่ยวพื้นที่ที่ศึกษาอย่างได้ถูกต้อง แม่นยำ และบรรลุวัตถุประสงค์ในการสร้างแบบสอบถาม

ข้อดี

  • เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยแบบสอบถามกับจำนวนกลุ่มเป้าหมายได้เป็นจำนวนมาก
  • ผู้ออกแบบสามารถดีไซน์แบบฟอร์มเป็นแบบออนไลน์และออฟไลน์ ได้ตามถนัด เพื่อสอดคล้องและอำนวยความสะดวกแก่ผู้ทำ
  • เป็นแบบสอบถามที่หยืดหยุ่นแก่ผู้ทำเป็นอย่างมาก เพราะแบบสอบถาม ออนไลน์เป็นแบบฟอร์มที่ให้อิสระการให้เวลาแก่ผู้ตอบ สามารถกำหนดวันนัดหมายส่งได้ในภายหลัง  
  • เป็นชุดคำถามที่สามารถออกแบบคำถามปลายเปิดและปลายปิดได้หลากหลายการออกแบบ
  • เป็นแบบสอบถามที่สามารถใช้งานได้หลายประเภทไม่ว่าจะเป็นการทำวิจัยประเภทการศึกษากลไกลการตลาดของผู้บริโภค(Market research) หรือการวัดความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ

ข้อเสีย

  • ผู้ตอบอาจไม่ให้ความสำคัญกับการทำแบบสอบถาม อาจทำให้ตัวคำตอบไม่สามารถเป็นผลชี้วัดในการสรุปข้อมูลได้
  • เป็นชุดเครื่องมือที่ใช้ในวิจัยที่ต้องการผู้ชำนาญการใช้ภาษาและเขียนหนังสือเท่านั้น จึงจะสามารถทำชุดคำถามได้สมบูรณ์แบบที่สุด
  • ไม่สามารถรับข้อมูลจากผู้ตอบในเชิงลึกได้ เพราะการทำแบบสอบถามเป็นการรับรู้ข้อมูลเบื้องต้นของกลุ่มเป้าหมายเท่านั้น

แบบสัมภาษณ์ (Interview)

โดยนักวิจัยสามารถทำการนัดผู้สัมภาษณ์มาสื่อสารพูดคุยแลกเปลี่ยนข้อมูล และเก็บข้อมูลจากการสนทนาในรูปแบบตัวต่อตัวได้อย่างลึกซึ้ง เพราะเป็นรูปแบบการสอบถามที่ละเอียดถี่ถ้วนเพื่อให้ได้ข้อมูลดิบจากผู้สัมภาษณ์โดยตรงอย่างมีประสิทธิภาพสูง อีกทั้งผู้วิจัยสามารถเปิดประเด็นคำถามแก่ผู้ตอบได้โดยตรง

ข้อดี

  • ได้รับรู้มุมมองความคิดใหม่ ๆ จากผู้บริโภคอีกหนึ่งความคิดเห็น
  • เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยที่สามารถแก้ไขรูปแบบคำถามแก่กับผู้สัมภาษณ์ในระยะเวลาเรียลไทม์ได้
  • เป็นตัวอย่างเครื่องมือวิจัยแบบสอบถามผู้สัมภาษณ์ที่ให้โจทย์การทำแบบสอบถามรูปแบบอื่น ๆ ได้อิสระ สามารถวัดผลได้ อย่างการทำแบบสำรวจเชิงปฎิบัติ Blind test เป็นต้น

ข้อเสีย

  • ทุนค่าใช้จ่ายสูง ไม่ว่าจะเป็นทางด้านการเงิน เวลา และการเดินทาง
  • ในช่วงเวลาที่ผู้ตอบมีสภาพจิตใจที่ไม่มั่นคงกับการให้คำตอบ อาจทำให้ผลลัพธ์จากการสัมภาษณ์บิดเบือนและนำไปสู่ผลสรุปที่ไม่ถูกต้องได้

แบบสังเกต (Observation)

  แบบสังเกตเป็นการสำรวจวัดผลวิจัยแบบหลายประเภท เช่น แบบตรวจสอบรายการ  , แบบจัดอันดับคุณภาพ และอื่น ๆ จากกลุ่มเป้าหมาย  โดยใช้ใช้ประสาทสัมผัสของผู้สังเกต ตั้งแต่ตา และหู ในการติดตามข้อมูลขอบเขตที่เราต้องการศึกษาไว้ โดยตัวอย่างของกลุ่มผู้บริโภค ต้องเป็นตัวชี้วัดสำหรับการเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยที่ผู้วิจัยสามารถใช้ได้ตลอดเวลา

ข้อดี

  • เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้สะดวก และสามารถวัดผลได้ตลอดเวลา และทุกสถานการณ์
  • แบบสังเกตการณ์สามารถสอดส่องพฤติกรรมกลุ่มเป้าหมายได้ทุกอิริยาบท

ข้อเสีย

  • การเก็บข้อมูลแบบสังเกต ใช้ระยะเวลาการบันทึกที่นานมาก เพราะนักวิจัยต้องสังเกตพฤติกรรมของผู้ถูกถ่ายตลอดทุกช่วงเวลา เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่แน่นอน
  • หากกลุ่มเป้าหมายรู้สึกตัวว่ามีใครสังเกตพฤติกรรมของพวกเขาอยู่นั้น จะทำให้บุคคลเหล่านี้เกิดอาการระวังตัวและปกปิดพฤติกรรมที่ทางนักวิจัยต้องการศึกษาได้

แบบทดสอบ (Test)

เป็นแบบเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยสำหรับการวัดผลระดับความเข้าใจ ความจำ และพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมายแบบโดยตรง ซึ่งแบบทดสอบสามารถเป็นแบบฟอร์มสำหรับการวิจัยที่มีมาตรฐาน หากเนื้อหาในการทำแบบทดสอบมีเนื้อหาสอดคล้องกับการตั้งวัตถุประสงค์แก่กับกลุ่มเป้าหมายได้ตรงกลุ่ม

ข้อดี

  • เป็นเครื่องที่ใช้ในการวิจัยที่เหมาะสำหรับวัดพฤติกรรมทางด้านสติปัญญา
  • เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยแบบสอบถามกับจำนวนกลุ่มเป้าหมายได้เป็นจำนวนมาก และเก็บข้อมูลได้ในเวลาเรียลไทม์ หรือเวลาที่นักวิจัยกำหนดหรือสามารถควบคุมได้
  • ผู้ออกแบบสามารถดีไซน์แบบฟอร์มเป็นแบบออนไลน์และออฟไลน์ ได้ตามถนัด เพื่อสอดคล้องและอำนวยความสะดวกแก่ผู้ทำ

ข้อเสีย

  • แบบทดสอบเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยที่ใช้เวลาการสร้างผลงานเป็นระยะยาว เพื่อให้ตัวชี้วัดนี้ตอบโจทย์แก่ผู้ทำมากที่สุด
  • โจทย์ในแบบทดสอบมีความน่าจะเป็นที่ไม่แน่นอน เพราะตัวอย่างการตั้งคำถามของแบบทดสอบเป็นสิ่งที่นักวิจัยที่ตั้งสมมุติฐานขึ้นมาเท่านั้น
  • เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยที่สามารถแสดงผลลัพธ์ที่คลาดเคลื่อน โดยความไม่แน่นอนนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยสภาพแวดล้อมของผู้ทำแบบทดสอบด้วย

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยที่ดีควรเป็นอย่างไร

6 คุณสมบัติในการวัดเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยอยู่เสมอ ได้แก่

มีความเที่ยงตรง (Validity)

วัตถุประสงค์ของการหยิบเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยจะต้องสามารถวัดผลการดำเนินการทำแบบสอบถามได้จริง วัดผลลัพธ์ได้ และสรุปผลใจความสำคัญได้ตั้งแต่ต้นเหตุจนไปถึงปลายเหตุของขอบเขตการศึกษาที่นักวิจัยได้เลือกเอาไว้

มีความเชื่อถือได้ (Reliability)

ไม่ว่าจะใช้เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยสำหรับการทำแบบสอบถามประเภทต่าง ๆ จะต้องเป็นอุปกรณ์ที่สามารถวัดผลลัพธ์ซ้ำ ๆ กันได้คำตอบเหมือนเดิมทุกครั้ง เพื่อสร้างความมั่นใจได้ว่าเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยของคุณเป็นตัวชี้วัดการดำเนินกระบวนการได้แน่นอน คงเส้นคงวา และแสดงผลคลาดเคลื่อนได้น้อยที่สุด

มีประสิทธิภาพ (Efficiency)

การใช้เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยทุกชนิดของการทำแบบสอบถาม ควรคำนึงถึงคุณลักษณะประโยชน์ของตัวอุปกรณ์ว่าเป็นตัวแปรควบคุมที่สามารถจัดการตัวแปรต้น และตัวแปรตาม ไปตามลำดับได้อย่างเหมาะสม และมีประสิทธิภาพในขั้นตอนของการดำเนินงานอีกด้วย

สามารถจำแนก (Discrimination)

โดยตัวเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยจำเป็นต้องมีคุณสมบัติที่วัดระดับอำนาจจำแนกได้อย่างชัดเจน ยกตัวอย่างเช่น การทำแบบสอบถามประเภท ทดสอบ ควรมีความยากในระดับความรู้ของผู้ทำได้อย่างเหมาะสม ไม่มีการนำข้อมูลนอกเหนือจากขอบเขตการศึกษาของผู้ทำมาใช้ในแบบทดสอบ ซึ่งข้อมูลแบบสอบถามรูปแบบนี้ในภายหลังสามารถเอาไปขั้นตอนสรุปวัดผลได้

ใช้งานได้ (Practicality)

ต้องเป็นแบบเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยที่สามารถใช้งานได้ โดยผู้ออกแบบต้องทำการวินิจฉัยคุณสมบัติของตัวอุปกรณ์ที่เป็นตัวแปรควบคุมของแบบสอบถามอยู่สม่ำเสมอ หรือทำการทดลองแบบสอบถามก่อนเอาให้กลุ่มเป้าหมายทำตลอดทุกครั้ง เพื่อให้หลักการดำเนินการให้ผู้ทำนั้นไม่เกิดปัญหาในภายหลัง

วัดผลได้ (Measurability)

เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในขอบเขตของผู้ออกแบบ สามารถสรุปผลและวัดค่าข้อมูลดัชนีได้อย่างครอบคลุมพื้นที่ที่ต้องการศึกษา และเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยสำหรับการทำแบบสอบถามที่สามารถสรุปผลลัพธ์และชี้ผลตรงตามวัตถุประสงค์ได้อย่างเที่ยงตรง เชื่อถือได้ มีประสิทธิภาพ จำแนก และใช้งานได้ในทั้งภาคปฎิบัติและทฤษฎี

บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง