ลาออกจากกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ

ช่วงปี 2020 ถือว่าเป็นช่วงเวลาวิกฤตอีกครั้งหนึ่งของโลก จากการระบาดของ COVID-19 จนทำให้เกิดการชะลอตัวทางเศรษฐกิจอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ถ้าหากเราย้อนดูตัวเลขการเติบโตของเศรษฐกิจโดยเฉพาะของไทย ปี 2020 น่าจะเป็นอีกช่วงเวลาที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจติดลบสูงติดอันดับต้น ๆ อย่างแน่นอน

เมื่อเกิดการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ สิ่งหนึ่งที่ตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้เลยก็คือ 'การจ้างงาน' ที่ลดลง ซึ่งหมายความว่าจะต้องมีคนบางกลุ่มที่ตกงาน หรือมีการถูกหักโอที ปรับลดลงเงินเดือน ซึ่งปัญหาที่ตามมาก็คือ การขาด 'สภาพคล่อง' ในการดำรงชีวิต เนื่องจากเมื่อรายได้หดหายไปแต่รายจ่ายไม่ได้ลดตามไปด้วย ทำให้บางคนมีกระแสเงินสดติดลบได้

เมื่อเวลาที่เราประสบกับเหตุการณ์ที่ขาดสภาพคล่องหลายคนมักจะมองหาแหล่งเงินทุนเพื่อเพิ่ม 'สภาพคล่อง' และ 'กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund)' ก็เป็นแหล่งที่ถูกหมายตามากที่สุดแหล่งหนึ่ง เนื่องจากมีจำนวนเงินที่ค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับแหล่งเก็บเงินอื่น ๆ แต่รู้กันหรือไม่ว่าการถอนเงินออกจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพก่อนอายุเกษียณนั้นมี 'ค่าใช้จ่ายแฝง' ที่ตามมา

ก่อนอื่นเราต้องเข้าใจก่อนว่าวัตถุประสงค์หลักที่นายจ้างจัดตั้ง 'กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund)' นั้น เพื่อให้สมาชิกมีเงินเก็บไว้ใช้เมื่อเกษียณอายุ โดยต้องเป็นสมาชิกอย่างน้อย 5 ปีและสามารถถอนได้เมื่ออายุครบ 55 ปีบริบูรณ์เท่านั้น แต่ถ้าสมาชิกถอนเงินออกจากกองทุนก่อน 2 เงื่อนไขข้างต้น สมาชิกอาจไม่ได้รับเงินทั้งหมดที่เห็นในรายงาน เนื่องจากจะมีค่าใช้จ่ายเรื่องของภาษีเพิ่มเติม ซึ่งโดยทั่วไปกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของเรานั้นจะประกอบด้วยเงิน 4 ส่วน
1. เงินสะสม คือ เงินของสมาชิกที่ออม 2-15% ของรายได้เข้ากองทุนทุกเดือน
2. เงินสมทบ คือ เงินที่นายจ้างออมเพิ่มเติมให้ลูกจ้างตามเงื่อนไขของแต่ละบริษัท
3. ผลประโยชน์ของเงินสะสม คือ กำไรที่ได้จากการบริหารกองทุนสำรองเลี้ยงชีพในส่วนของเงินสะสม 
4. ผลประโยชน์ของเงินสมทบ คือ กำไรที่ได้จากการบริหารกองทุนสำรองเลี้ยงชีพในส่วนของเงินสมทบ

ซึ่งการถอนเงิน 'กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund)' แล้วจะต้องมีการคำนวณเพื่อเสียภาษีเพิ่มเติมจะแบ่งออกเป็น 2 กรณี 

กรณีที่ 1: ถอนเงินจากกองทุนโดยไม่ออกจากงานหรือออกจากงานโดยที่อายุงานน้อยกว่า 5 ปี สำหรับกรณีนี้จะต้องนำเงินส่วนที่ 2 ส่วนที่ 3 และ ส่วนที่ 4 ไปคิดรวมกับเงินได้ในปีที่เราถอนเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพออกตามอัตราของภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

กรณีที่ 2: ออกจากงานที่อายุงาน 5 ปีขึ้นไป แต่อายุไม่ครบ 55 ปีบริบูรณ์ 
สำหรับกรณีนี้ จะต้องนำเงินส่วนที่ 2 ส่วนที่ 3 และ ส่วนที่ 4 มาบวกรวมกัน จากนั้นให้นำ "7,000 x จำนวนปีที่ทำงาน" หักลบออกไป และให้หารด้วย 2 อีกครั้ง สุดท้ายให้เรานำเงินที่ได้จากคำนวณแล้วไปรวมกับเงินได้อื่น ๆ เพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือสามารถยื่นแยกกับภาษีเงินได้ประเภทอื่น ๆ ได้

สมมติว่าทำงานมา 15 ปี แต่อายุไม่ครบ 55 ปีบริบูรณ์ และเมื่อเรานำเงินส่วนที่ 2 ส่วนที่ 3 และ ส่วนที่ 4 มาบวกรวมกันได้ 300,000 บาท จากนั้นให้นำ 7,000 มาคูณกับ 15 ปีที่เป็นจำนวนปีที่ทำงานจะได้เท่ากับ 105,000 บาท และเมื่อนำไปลบกับ 300,000 บาทจะได้ 195,000 บาท สุดท้ายให้เราหารด้วย 2 อีกครั้งจะคิดเป็นเงินเท่ากับ 97,500 บาท เงินจำนวน 97,500 บาทนี้ คือจำนวนเงินที่ไปรวมกับเงินได้อื่น ๆ เพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือเราสามารถเลือกนำเงินจำนวนนี้ไปแยกยื่นเพื่อให้เสียภาษีเงินได้น้อยลงได้อีกด้วยนั่นเอง 

แต่สำหรับกรณีที่ลาออกจากงานเมื่อมีอายุ 55 ปีขึ้นไปและเป็นสมาชิกมาไม่น้อยกว่า 5 ปี เงินที่เรานำออกจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจะได้รับยกเว้นภาษีทั้งจำนวน  ซึ่งนอกจากเรื่องของภาษีที่เราต้องคำนวณให้ดีก่อนถอนเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพแล้ว ยังมีประเด็นเรื่องอัตรา 'เงินสมทบ' ที่เราอาจจะไม่ได้รับเต็มจำนวนสำหรับกรณีที่เราถอนออกก่อนด้วย ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแต่ละบริษัท ซึ่งโดยทั่วไปจะมีเรื่องของ 'อายุงาน' เป็นตัวกำหนดว่าจะต้องทำงานอย่างน้อยกี่ปีถึงจะได้ 'เงินสมทบ' เต็มจำนวน ซึ่งถ้าถอนก่อนหน้าเวลาที่กำหนดจะได้อัตราเงินสมทบตามอายุงานตามที่แต่ละบริษัทกำหนด 

'กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund)' คือ แหล่งเก็บเงินเพื่อการเกษียณที่ดีที่สุดตัวหนึ่งที่จะช่วยการันตีให้กับเราได้ว่าในยามที่เราเกษียณตัวเองแล้ว จะสามารถรักษามาตรฐานการดำรงชีวิตให้เหมือนกับตอนที่เรายังทำงานได้ ซึ่งการถอนเงิน 'กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund)' ออกก่อนกำหนด นอกจากจะมีค่าใช้จ่ายแฝงต่าง ๆ ที่เราต้องจ่ายแล้ว ยังมีโอกาสที่เราจะนำเงินไปใช้จ่ายผิดประเภท เนื่องจากโดยปกติแล้วคนเรามักมีแนวโน้มจ่ายเงินมากขึ้นเมื่อมีเงินสดถืออยู่ในมือจำนวนมาก ทำให้เรามีความเสี่ยงที่อาจจะมีเงินไม่พอกับการเกษียณก็เป็นไปได้เช่นกัน

คำเตือน: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า (กองทุน) เงื่อนไข ผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน/ ผลตอบแทนในอดีตมิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต

ติดต่อเรา

อ่านเพิ่มเติม

คลังความรู้

อ่านเพิ่มเติม

กองทุนรวม

  • กองทุนรวมคืออะไร
  • มูลค่าหน่วยลงทุน
  • ผลการดำเนินงาน

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

  • รู้จักกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

กองทุนส่วนบุคคล

  • กองทุนส่วนบุคคลคืออะไร

เกี่ยวกับเรา

  • เกี่ยวกับบริษัท
  • คณะผู้บริหาร
  • ข่าวสารต่างๆ
  • ร่วมงานกับเรา
  • ติดต่อเรา

เวปไซด์ที่เกี่ยวข้อง

  • Principal Financial Group
  • Principal Indonesia
  • Principal Islamic
  • Principal Malaysia
  • Principal Singapore

อื่นๆ

  • ดาวน์โหลด
  • ดาวน์โหลดเอกสารกองทุน
  • พันธมิตรทางธุรกิจ
  • การกำกับดูแลกิจการ
  • การใช้สิทธิออกเสียงในที่ประชุมผู้ถือหุ้น
  • คำประกาศนโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ข้อตกลงการใช้บริการ
  • ความเสี่ยงในการใช้อินเทอร์เน็ต
  • การบริหารความเสี่ยง
  • คู่มือผู้ลงทุน
  • ตารางวันหยุดกองต่างประเทศ
  • คู่มือการลงทุน SSF/RMF
  • แบบฟอร์มต่างๆ
  • นโยบายเกี่ยวกับคุกกี้

© 2022 Principal Asset Management Co.,Ltd

เว็บไซต์ของเราใช้คุกกี้ในการให้บริการและปรับปรุงเนื้อหา เพื่อเข้าใจความต้องการและมอบประสบการณ์ที่ดีสำหรับคุณ สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับคำประกาศนโยบายความเป็นส่วนตัว และ คุกกี้

กองทุนสํารองเลี้ยงชีพควรทำยังไงเมื่อลาออก

จัดการเงินสำรองเลี้ยงชีพอย่างไรเมื่อลาออกจากงาน? ตามขั้นตอนแล้วสมาชิกจะได้รับเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพคืน เมื่อสิ้นสมาชิกภาพ คือ ออกจากงาน เกษียณอายุ โอนย้ายกองทุน และเสียชีวิต โดยจะได้รับส่วนของเงินสะสมเต็มจำนวน พร้อมผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากเงินสะสม

ลาออกจากงานแต่ไม่ลาออกจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้ไหม

แม้ว่าตัวคุณจะลาออกจากบริษัทแล้ว แต่คุณก็ยังสามารถเลือกที่จะเก็บเงินของคุณไว้ในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเดิมได้ถ้าคุณยังถูกใจกับนโยบายของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของบริษัทเดิม แต่คุณจะต้องเสียค่าธรรมเนียมการคงเงินไว้จำนวน 500 บาทต่อปี

ลาออกจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กี่วัน ได้

สมาชิกจะได้รับเงินภายใน 30 วันนับแต่วันที่สิ้นสมาชิกภาพ ตามวิธีการรับเงินที่ระบุไว้ ดังนั้น หากพ้นระยะเวลาดังกล่าวแล้วยังไม่ได้รับเงิน สมาชิกควรทวงถามไปยังคณะกรรมการกองทุนหรือบริษัทจัดการ ทั้งนี้ หากมีเจ้าหนี้ขอรับเงินแทนสมาชิกหรือมีบุคคลใดขอยึดหรือหน่วงเหนี่ยวเช็คไว้ จะไม่สามารถกระทำได้ เนื่องจากกฎหมายกำหนดว่า เงินที่ ...

ถอนเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้ไหม

ก่อนอื่นเราต้องเข้าใจก่อนว่าวัตถุประสงค์หลักที่นายจ้างจัดตั้ง 'กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund)' นั้น เพื่อให้สมาชิกมีเงินเก็บไว้ใช้เมื่อเกษียณอายุ โดยต้องเป็นสมาชิกอย่างน้อย 5 ปีและสามารถถอนได้เมื่ออายุครบ 55 ปีบริบูรณ์เท่านั้น แต่ถ้าสมาชิกถอนเงินออกจากกองทุนก่อน 2 เงื่อนไขข้างต้น สมาชิกอาจไม่ได้รับเงินทั้งหมดที่ ...

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง