พระราชกฤษฎีกา ภาษี ที่ดิน และสิ่ง ปลูก สร้าง 2565

workpointTODAY สรุปอัตราภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ปีภาษี 2565 ของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างแต่ละประเภท ได้แก่ ที่อยู่อาศัย ที่ดินเกษตรกรรม ที่ดินใช้ประโยชน์อื่นๆ และที่ดินว่างเปล่า มาให้อ่านกันแบบง่ายๆ ในบทความเดียว

โดยอันดับแรก เราไปดูวิธีการคำนวณภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างกันก่อน

  1. มูลค่าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง (ราคาประเมิน) – ฐานภาษีที่ได้รับยกเว้น = ฐานภาษีของที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้าง
  2. ฐานภาษีของที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้าง x อัตราภาษี = ภาษีที่ต้องเสีย

ทั้งนี้ workpointTODAY ได้คำนวณเป็นตัวเลขกลมๆ มาให้ผู้อ่านแล้วด้านล่าง

ประเภทที่ 1 ที่อยู่อาศัย

1.1 ที่อยู่อาศัย หลังที่หนึ่ง : เป็นเจ้าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ใช้สำหรับอยู่อาศัย และต้องมีชื่อในทะเบียนบ้าน ในวันที่ 1 ม.ค. ของปีภาษีนั้น จะเสียภาษีตามอัตราด้านล่างนี้

1.2 ที่อยู่อาศัย หลังที่หนึ่ง : เป็นเจ้าของสิ่งปลูกสร้างอย่างเดียว และต้องมีชื่อในทะเบียนบ้าน ในวันที่ 1 ม.ค. ของปีภาษีนั้น จะเสียภาษีตามอัตราด้านล่างนี้

1.3 ที่อยู่อาศัย หลังที่สองขึ้นไป : เป็นเจ้าของที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ใช้สำหรับอยู่อาศัย

กรณี บ้านเช่า – ห้องเช่า หากปล่อยเช่าเป็นรายเดือนหรือรายปี ถือว่าเป็นการใช้เพื่ออยู่อาศัย เริ่มคำนวณภาษีที่อัตรา 0.02% เพื่อไม่ให้เป็นภาระแก่ผู้เช่ามากเกินไป แต่หากเป็นการเช่าแบบรายวัน ถือว่าเป็นการใช้ในเชิงพาณิชย์ จะเริ่มคำนวณภาษีที่อัตรา 0.30% (อ้างอิง ประกาศกระทรวงการคลังและกระทรวงมหาดไทย เรื่อง หลักเกณฑ์การใช้ประโยชน์เป็นที่อยู่อาศัย) โดยผู้มีหน้าที่เสียภาษีตามกฎหมายคือ เจ้าของบ้านเช่า – ห้องเช่านั้น ส่วนคนที่มาเช่าอยู่ไม่ได้มีหน้าที่เสียภาษีแต่อย่างใด

อย่างไรก็ตาม ในทางปฏิบัติเจ้าของบ้านเช่า – ห้องเช่า อาจผลักภาระให้ผู้เช่า เช่น เพิ่มค่าเช่า เป็นต้น

ประเภทที่ 2 ที่ดินเกษตรกรรม

2.1 ที่ดินเกษตรกรรม ของบุคคลธรรมดา : ต้องขึ้นทะเบียนเป็นเกษตรกร จะเสียภาษีตามอัตราด้านล่างนี้

แต่ในปี 2565 เจ้าของที่ดินประเภทดังกล่าว ยังไม่ต้องเสียภาษี เพราะ พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ.2562 ยกเว้นภาษี 3 ปีแรก ให้บุคคลธรรมดาที่ใช้ประโยชน์ที่ดินทำเกษตรกรรม ดังนั้น บุคคลธรรมดาซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างสำหรับใช้ทำเกษตรกรรมจะเริ่มเสียภาษีจริงๆ ในปี 2566

2.2 ที่ดินเกษตรกรรม ไม่ใช่ของบุคคลธรรมดา : เช่น บริษัท ต้องขึ้นทะเบียนเป็นบริษัทที่ทำเกษตรกรรม จะเสียภาษีตามอัตราด้านล่างนี้

ประเภทที่ 3 ที่ดินใช้ประโยชน์อื่นๆ

เช่น ใช้เชิงพาณิชย์ จะเสียภาษีตามอัตราด้านล่างนี้

ประเภทที่ 4 ที่ดินว่างเปล่า

ที่ดินที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ จะเสียภาษีตามอัตราด้านล่างนี้ และหากเจ้าของไม่ได้ใช้ประโยชน์จากที่ดินว่างเปล่านั้นติดต่อกันเป็นเวลา 3 ปี จะถูกเรียกเก็บภาษีในปีที่ 4 เพิ่มขึ้นจากอัตราเดิม 0.30% และเพิ่มขึ้นอีก 0.30% ทุกๆ 3 ปี หากยังไม่มีการใช้ประโยชน์ โดยอัตราภาษีสูงสุดไม่เกิน 3%

ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่พระราชกฤษฎีกากำหนดอัตราภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง สำหรับการจัดเก็บภาษีตั้งแต่ปี 2565 เป็นต้นไป

วันนี้ (14ธ.ค.64) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ พระราชกฤษฎีกากำหนดอัตราภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2564

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรกำหนดอัตราภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 175 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา 37 วรรคห้า แห่งพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 จึงทรง พระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้

มาตรา 1 พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกากำหนดอัตราภาษีที่ดินและ สิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2564”

มาตรา 2 พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

มาตรา 3 ให้ใช้อัตราภาษีตามประเภทการใช้ประโยชน์หรือเงื่อนไขดังต่อไปนี้ สำหรับ การจัดเก็บภาษีตั้งแต่ปีภาษี พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป

(1) ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์ในการประกอบเกษตรกรรม

(ก) มูลค่าของฐานภาษีไม่เกินเจ็ดสิบห้าล้านบาท ให้ใช้อัตราภาษีร้อยละศูนย์จุดศูนย์หนึ่ง

(ข) มูลค่าของฐานภาษีในส่วนที่เกินเจ็ดสิบห้าล้านบาท แต่ไม่เกินหนึ่งร้อยล้านบาทให้ใช้อัตราภาษีร้อยละศูนย์จุดศูนย์สาม

(ค) มูลค่าของฐานภาษีในส่วนที่เกินหนึ่งร้อยล้านบาท แต่ไม่เกินห้าร้อยล้านบาทให้ใช้อัตราภาษีร้อยละศูนย์จุดศูนย์ห้า

(ง) มูลค่าของฐานภาษีในส่วนที่เกินหนึ่งพันล้านบาท แต่ไม่เกินห้าพันล้านบาทให้ใช้อัตราภาษีร้อยละศูนย์จุดหก

กำหนดอัตราอัตราภาษีตามประเภทการใช้ประโยชน์หรือเงื่อนไขดังต่อไปนี้ สำหรับการจัดเก็บภาษีตั้งแต่ปีภาษี พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป

1 ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์ในการประกอบเกษตรกรรม

(ก) มูลค่าของฐานภาษีไม่เกินเจ็ดสิบห้าล้านบาท ให้ใช้อัตราภาษีร้อยละศูนย์จุดศูนย์หนึ่ง

(ข) มูลค่าของฐานภาษีในส่วนที่เกินเจ็ดสิบห้าล้านบาท แต่ไม่เกินหนึ่งร้อยล้านบาท ให้ใช้อัตราภาษีร้อยละศูนย์จุดศูนย์สาม

(ค) มูลค่าของฐานภาษีในส่วนที่เกินหนึ่งร้อยล้านบาท แต่ไม่เกินห้าร้อยล้านบาท ให้ใช้อัตราภาษีร้อยละศูนย์จุดศูนย์ห้า

(ง) มูลค่าของฐานภาษีในส่วนที่เกินห้าร้อยล้านบาท แต่ไม่เกินหนึ่งพันล้านบาท ให้ใช้อัตราภาษีร้อยละศูนย์จุดศูนย์เจ็ด

(จ) มูลค่าของฐานภาษีในส่วนที่เกินหนึ่งพันล้านบาทขึ้นไป ให้ใช้อัตราภาษีร้อยละศูนย์จุดหนึ่ง

2 ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์เป็นที่อยู่อาศัย

(ก) ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่เจ้าของซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาใช้เป็นที่อยู่อาศัยและมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร

        • 1) มูลค่าของฐานภาษีไม่เกินยี่สิบห้าล้านบาท ให้ใช้อัตราภาษีร้อยละศูนย์จุดศูนย์สาม
        • 2) มูลค่าของฐานภาษีในส่วนที่เกินยี่สิบห้าล้านบาท แต่ไม่เกินห้าสิบล้านบาท ให้ใช้อัตราภาษีร้อยละศูนย์จุดศูนย์ห้า
        • 3) มูลค่าของฐานภาษีในส่วนที่เกินห้าสิบล้านบาทขึ้นไป ให้ใช้อัตราภาษีร้อยละศูนย์จุดหนึ่ง

(ข) สิ่งปลูกสร้างที่เจ้าของซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาใช้เป็นที่อยู่อาศัยและมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร

        • 1) มูลค่าของฐานภาษีไม่เกินสี่สิบล้านบาท ให้ใช้อัตราภาษีร้อยละศูนย์จุดศูนย์สอง
        • 2) มูลค่าของฐานภาษีในส่วนที่เกินสี่สิบล้านบาท แต่ไม่เกินหกสิบห้าล้านบาท ให้ใช้อัตราภาษีร้อยละศูนย์จุดศูนย์สาม
        • 3) มูลค่าของฐานภาษีในส่วนที่เกินหกสิบห้าล้านบาท แต่ไม่เกินเก้าสิบล้านบาท ให้ใช้อัตราภาษีร้อยละศูนย์จุดศูนย์ห้า
        • 4) มูลค่าของฐานภาษีในส่วนที่เกินเก้าสิบล้านบาทขึ้นไป ให้ใช้อัตราภาษีร้อยละศูนย์จุดหนึ่ง

(ค) ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์เป็นที่อยู่อาศัยกรณีอื่นนอกจากการใช้ประโยชน์เป็นที่อยู่อาศัยตาม (ก) และ (ข)

        • 1) มูลค่าของฐานภาษีไม่เกินห้าสิบล้านบาท ให้ใช้อัตราภาษีร้อยละศูนย์จุดศูนย์สอง
        • 2) มูลค่าของฐานภาษีในส่วนที่เกินห้าสิบล้านบาท แต่ไม่เกินเจ็ดสิบห้าล้านบาท ให้ใช้อัตราภาษีร้อยละศูนย์จุดศูนย์สาม
        • 3) มูลค่าของฐานภาษีในส่วนที่เกินเจ็ดสิบห้าล้านบาท แต่ไม่เกินหนึ่งร้อยล้านบาท ให้ใช้อัตราภาษีร้อยละศูนย์จุดศูนย์ห้า
        • 4) มูลค่าของฐานภาษีในส่วนที่เกินหนึ่งร้อยล้านบาทขึ้นไป ให้ใช้อัตราภาษีร้อยละศูนย์จุดหนึ่ง

3 ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์อื่นนอกจาก 1 หรือ 2

(ก) มูลค่าของฐานภาษีไม่เกินห้าสิบล้านบาท ให้ใช้อัตราภาษีร้อยละศูนย์จุดสาม

(ข) มูลค่าของฐานภาษีในส่วนที่เกินห้าสิบล้านบาท แต่ไม่เกินสองร้อยล้านบาท ให้ใช้อัตราภาษีร้อยละศูนย์จุดสี่

(ค) มูลค่าของฐานภาษีในส่วนที่เกินสองร้อยล้านบาท แต่ไม่เกินหนึ่งพันล้านบาท ให้ใช้อัตราภาษีร้อยละศูนย์จุดห้า

(ง) มูลค่าของฐานภาษีในส่วนที่เกินหนึ่งพันล้านบาท แต่ไม่เกินห้าพันล้านบาท ให้ใช้อัตราภาษีร้อยละศูนย์จุดหก

(จ) มูลค่าของฐานภาษีในส่วนที่เกินห้าพันล้านบาทขึ้นไป ให้ใช้อัตราภาษีร้อยละศูนย์จุดเจ็ด

4) ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ทิ้งไว้ว่างเปล่าหรือไม่ได้ทำประโยชน์ตามควรแก่สภาพ

(ก) มูลค่าของฐานภาษีไม่เกินห้าสิบล้านบาท ให้ใช้อัตราภาษีร้อยละศูนย์จุดสาม

(ข) มูลค่าของฐานภาษีในส่วนที่เกินห้าสิบล้านบาท แต่ไม่เกินสองร้อยล้านบาท ให้ใช้อัตราภาษีร้อยละศูนย์จุดสี่

(ค) มูลค่าของฐานภาษีในส่วนที่เกินสองร้อยล้านบาท แต่ไม่เกินหนึ่งพันล้านบาท ให้ใช้อัตราภาษีร้อยละศูนย์จุดห้า

(ง) มูลค่าของฐานภาษีในส่วนที่เกินหนึ่งพันล้านบาท แต่ไม่เกินห้าพันล้านบาท ให้ใช้อัตราภาษีร้อยละศูนย์จุดหก

(จ) มูลค่าของฐานภาษีในส่วนที่เกินห้าพันล้านบาทขึ้นไป ให้ใช้อัตราภาษีร้อยละศูนย์จุดเจ็ด

คลิกอ่านประกาศราชกิจจานุเบกษา >>>กำหนดอัตราภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพ.ศ.2564

ทั้งนี้เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2565 คณะรัฐมนตรี(ครม.)มีมติเห็นชอบการคงอัตราภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างและเห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดอัตราภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. …. ตามพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 สำหรับการจัดเก็บภาษีตั้งแต่ปี 2565 ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว คลิกอ่านเพิ่มเติม ครม.ไฟเขียวคงจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างฯถึงปี’66 ลดผลกระทบโควิด-19

  • เรื่องราวเกี่ยวกับ
  • ข่าว
  • ข่าวภาษี
  • ข่าวภาษีที่ดิน
  • ข่าวอสังหาฯ
  • คำนวณภาษีที่ดิน
  • ที่ดิน
  • ภาษี
  • ภาษีที่ดิน
  • ภาษีที่ดินชำระเท่าไร
  • ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 2565
  • ราชกิจจาฯประกาศอัตราภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างปี 2565
  • สิ่งปลูกสร้าง
  • อัตราภาษี
  • อัตราภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 2565

แบ่งปัน

Facebook

LINE

Twitter

บทความก่อนหน้านี้NOBLE เปิดแผนธุรกิจปี’65 พร้อมลุยแนวราบ-ขยายการลงทุนอย่างต่อเนื่อง

บทความถัดไปORI แย้มแผนปี’65 เดินหน้าผนึกพันธมิตรต่อยอดธุรกิจ พร้อมรุกตลาดอสังหาฯกทม.-ปริมณฑล-หัวเมืองศักยภาพ

Thunwa Mainark

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมจากผู้เขียน

CAPTCHA Code *

Δ

เรื่องราวล่าสุด

ข่าว

AP-MEC เข้าร่วมประชุม “10 Years Strategic Partnership”

WASANA KLUNPRASERT - ธันวาคม 6, 2022 0

นายอนุพงษ์ อัศวโภคิน(ที่ 2 จากซ้าย) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร นายพิเชษฐ วิภวศุภกร(ซ้ายสุด) กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท เอพี (ไทยแลนด์)จำกัด(มหาชน) หรือ AP  พร้อมด้วย นายฮิโรทากะ สึกิยามะ (ที่ 2 จากขวา)ประธานคณะกรรมการ และ นายจูนิชิ โยชิดะ(ขวาสุด) กรรมการผู้จัดการใหญ่ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท มิตซูบิชิ เอสเตท จำกัด (มหาชน) หรือ MEC เข้าร่วมประชุม AP-MEC:...

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง