การบริหารความ ปลอดภัย ในสถานศึกษา

โครงการสถานศึกษาปลอดภัย โรงเรียนวัดตรีทศเทพ สำนักงานเขตพระนคร กรุงเทพมหานคร

4.กระบวนการผลิตงานหรือขั้นตอนการดำเนินงาน(วิธีปฎิบัติที่เป็นเลิศ )

          การดำเนินงานสถานศึกษาปลอดภัยของโรงเรียนวัดตรีทศเทพ โดยใช้รูปแบบวิธีการ ปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) ได้ดำเนินการตามกระบวนการบริหารจัดการที่ปรับประยุกต์ขึ้น โดยใช้วงจร PDCA หรือ Deming Cycle เป็นกิจกรรมพื้นฐาน

ในการพัฒนาประสิทธิภาพและคุณภาพของการดำเนินงาน ซึ่งประกอบด้วย ขั้นตอน ๔ ขั้น คือ Plan (วางแผน) DO (ปฏิบัติ)Check (ตรวจสอบ) และ Action (การปรับปรุง) โดยมีขั้นตอนดังนี้

เป็นส่วนประกอบของวงจรที่มีความสำคัญ การวางแผนเป็นจุดเริ่มต้น ของ

งาน และเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้การทำงานในส่วนอื่นเป็นไปอย่างมีประสิทธิผล มีการดำเนินงานการดังนี้

 1. ผู้บริหาร สร้างความรู้ความเข้าใจและความตระหนักให้แก่คณะครู คณะกรรมการสถานศึกษา และผู้ปกครอง เพื่อรับทราบนโยบายเกี่ยวกับการดำเนินงานโครงการ สถานศึกษาปลอดภัย

 2. วิเคราะห์สภาพปัจจุบัน ปัญหา เพื่อสร้างความตระหนักร่วมกัน รวมทั้งผลการดำเนินโครงการสถานศึกษา

ปลอดภัยในปีการศึกษาที่ผ่านมา มาร่วมกันออกแบบนวัตกรรมหรือ วิธีการปฏิบัติที่เป็นเลิศ กำหนดนโยบายความปลอดภัยในสถานศึกษาเป็นลายลักษณ์อักษรและมีการประกาศนโยบายให้เห็นได้ชัดเจน

 3. จัดทำแผนงานและงบประมาณดำเนินการด้านความปลอดภัย ในสถานศึกษาที่ชัดเจน

 4. ผู้บริหารสถานศึกษา และครู เตรียมพร้อมสู่การนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติโดยแต่งตั้งผู้รับผิดชอบและ

คณะทำงาน

ขั้นตอนที่ 2 D : Do (ปฏิบัติ)

1. จัดทำกฎระเบียบหรือคู่มือ/แนวทางว่าด้วยความปลอดภัยในสถานศึกษาที่เหมาะสม

 2. อบรมบุคลากรทุกระดับ ทั้ง ผู้บริหาร ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา และลูกจ้าง ให้มีความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยในสถานศึกษาตามแผนงานที่กำหนด

3. อบรมเกี่ยวกับการปฐมพยาบาลเบื้องต้นแก่บุคลากรในสถานศึกษา

4. ดำเนินการเพื่อรักษาความสะอาด ความเป็นระเบียบเรียบร้อยในสถานศึกษา

5. สำรวจ หรือตรวจสอบความปลอดภัยในสถานศึกษา โดยกำหนดผู้รับผิดชอบที่ชัดเจน

6. ติดตั้งระบบป้องกันอันตรายจากไฟฟ้ารั่ว หรือการต่อสายดินในสถานศึกษา ที่มีประสิทธิภาพ

7. จัดทำระบบป้องกันและให้ความรู้เรื่องการป้องกันอัคคีภัยในสถานศึกษา เช่น สัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้

ถังดับเพลิง เป็นต้น รวมทั้งการตรวจสอบและบำรุงรักษาที่ชัดเจน

8. จัดทำโครงการความร่วมมือกับสถานีดับเพลิงและกู้ภัยภูเขาทอง ให้ความรู้แก่นักเรียนและบุคลากรในสถานศึกษา ฝึกอบรมการดับเพลิงขั้นต้นในสถานศึกษาทุกปีการศึกษา

9. การฝึกซ้อมดับเพลิงและการฝึกซ้อมหนีไฟในสถานศึกษาประจำปี

10. จัดให้มีห้องพยาบาล พื้นที่ ปลอดภัย (safe zone) และอุปกรณ์ในการปฐมพยาบาลเบื้องต้นในสถานศึกษา พร้อมผู้รับผิดชอบ

11. กำหนดมาตรการป้องกันการเกิดโรคระบาด โควิด-19 หรือโรคติดต่อให้กับบุคลากร และมีการเผยแพร่ให้ความรู้ เกี่ยวกับการป้องกันการเจ็บป่วย หรือโรคอันเนื่องจากการทำงานในสถานศึกษา

12. จัดให้มีห้องส้วมและอ่างล้างมือ สำหรับนักเรียนและบุคลากร แยกชาย – หญิง ที่พอเพียง

13. มีน้ำดื่มที่สะอาด ที่ล้างหน้า ล้างมือที่ถูกสุขลักษณะและพอเพียงเพื่อให้บุคลากรได้ใช้ก่อนการ

รับประทานอาหาร และหลังรับประทานอาหาร

14. จัดที่รับประทานอาหารและที่พักที่เหมาะสมและถูกสุขลักษณะ เช่น ระบบแสงสว่าง ระบบระบาย

อากาศ ระดับความดังของเสียง เป็นต้น

15. พัฒนา ปรับปรุงสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมปลอดภัยในสถานศึกษา

16. กำหนดมาตรการเพื่อความปลอดภัยสำหรับการเรียนการสอนเกี่ยวกับสารเคมี ในสถานศึกษาที่เหมาะสม

และปลอดภัย

17. จัดให้มีช่องทางในการรับฟังความคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะด้านความปลอดภัย ในสถานศึกษาจากครู

นักเรียน/ผู้ปกครองและมีการพัฒนาไปปรับปรุงแก้ไข

18. จัดเก็บข้อมูลสถิติเหตุหรือการเจ็บป่วยในสถานศึกษา และการวางแผนป้องกันที่เหมาะสม

19. การจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมและกระตุ้นจิตสำนึกด้านความปลอดภัยในสถานศึกษารูปแบบต่างๆ

ที่เหมาะสม

๒0. มีหนังสือ ตำรา หรือมาตรฐานเกี่ยวกับความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน

เพื่อใช้ในการศึกษาค้นคว้า และการเรียนรู้ของบุคลากรตามมาตรฐานของ ศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.)

๒1. กำหนดมาตรการดูแลเพื่อความปลอดภัยในการเดินทาง เช่น การจัดระบบจราจร การสวมหมวกกันน็อค

๒2. มีการสร้างความร่วมมือและกิจกรรมดำเนินการระหว่างชุมชน ผู้ปกครองและหน่วยงานภาครัฐ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในสถานศึกษา ตำรวจนครบาลชนะสงคราม มาให้ความรู้เกี่ยวกับกฎจราจร โทษของยาเสพติด ศูนย์บริการสาธารณสุข 9 (ประชาธิปไตย) มาให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันโรคติดต่อ  ไข้เลือดออก และการล้างมือ 7 ขั้นตอน

23. มีชมรมหรือกลุ่มนักเรียนเพื่อดำเนินการด้านปลอดภัยในสถานศึกษา

 ขั้นตอนที่ 3 C : Check (ตรวจสอบ) หมายถึง การตรวจสอบดูว่าเมื่อปฏิบัติงานตามแผน หรือการ แก้ปัญหางานตามแผนแล้ว ผลลัพธ์เป็นอย่างไร สภาพปัญหาได้รับการแก้ไขตรงตามเป้าหมายที่กลุ่มตั้งใจหรือไม่ มีขั้นตอนดังนี้

 1. ประเมินความพึงพอใจต่อการดำเนินงานสถานศึกษาปลอดภัยกับครู นักเรียน ผู้ปกครอง และผู้ที่เกี่ยวข้อง

 ขั้นตอนที่ 4 A: Action (การปรับปรุงการดำเนินการให้เหมาะสม) เป็นการกระทำภายหลังที่กระบวนการ ๓ ขั้นตอนตามวงจรได้ดำเนินการเสร็จแล้ว ทั้งนี้มีการดำเนินการดังนี้

 1. สรุปและรายงานผลการดำเนินงานสถานศึกษาปลอดภัย ต่อสาธารณชนและผู้เกี่ยวข้องทราบ

 2. ปรับปรุงแก้ไข และพัฒนาการดำเนินงานให้เหมาะสมยิ่งขึ้น โดยอาศัยความร่วมมือของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

 3. ประชาสัมพันธ์ให้ผู้เกี่ยวข้องได้รับทราบ

 4. เผยแพร่สู่สาธารณะ และผู้เกี่ยวข้องทราบ?


กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง