เฉลย วิทยาศาสตร์ ป. 5 การเปลี่ยนแปลงทางเคมี

เมื่อ :

วันพฤหัสบดี, 26 กันยายน 2562

การเปลี่ยนสถานะของสาร

           เนื่องจากนักวิทยาศาสตร์ได้แบ่งสมบัติของสารออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ สมบัติทางกายภาพ และสมบัติทางเคมี ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงของสารจึงแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่

          การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ ( Physical Change ) เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ทำให้ลักษณะของสารเปลี่ยนแต่องค์ประกอบของสารยังคงเดิม นั่นคือ สารที่เปลี่ยนแปลงนั้นยังคงเป็นสารเดิมไม่ได้เปลี่ยนเป็นสารใหม่ และการเปลี่ยนแปลงนี้สามารถเปลี่ยนกลับสภาพเดิมได้โดยวิธีง่าย ๆ เช่น น้ำเปลี่ยนสถานะจากของเหลวกลายเป็นไอน้ำ องค์ประกอบก็ยังเป็น H2O และไอน้ำก็ควบแน่นกลายเป็นน้ำได้โดยวิธีง่าย ๆ

          การเปลี่ยนแปลงทางเคมี ( Chemical Change ) เป็นการเปลี่ยนแปลงที่มีสารใหม่เกิดขึ้น ซึ่งสารใหม่จะมีสมบัติต่างไปจากสารเดิมและการทำสารใหม่ให้กลับไปเป็นสารเดิมทำได้ยาก เช่น การเผาแก๊สไฮโดรเจนในอากาศ แก๊สไฮโดรเจนจะทำปฏิกิริยากับแก๊สออกซิเจนเกิดเป็นน้ำซึ่งมีสมบัติต่างจากแก๊สไฮโดรเจนและแก๊สออกซิเจน และเมื่อต้องการทำให้น้ำเปลี่ยนไปเป็นแก๊สไฮโดรเจนและแก๊สออกซิเจนก็ทำได้ยาก ซึ่งการเปลี่ยนแปลงทางเคมีสามารถเขียนแทนด้วยสมการเคมีดังเช่นตัวอย่าง

                             2H2  +  O2  - >  2H2O

          จากตัวอย่างจะเห็นว่าสมการเคมีประกอบด้วยสารตั้งต้นอยู่ทางซ้ายมือแล้วตามด้วยลูกศร ซึ่งหมายถึงเกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมีได้เป็นผลิตภัณฑ์ซึ่งเป็นสารใหม่ทางขวามือ

          บทเรียนนี้จะกล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ นั่นก็คือ การเปลี่ยนสถานะของสสารซึ่งเป็นเรื่องที่เป็นพื้นฐานที่นักเรียนต้องทำความเข้าใจ เพื่อเป็นพื้นฐานสำคัญในการเรียนในขั้นต่อไป และสามารถอธิบายปรากฏการณ์ต่าง ๆ ของสสารรอบตัวได้

ภาพที่ 1 แผนภาพแสดงการเปลี่ยนสถานะของสาร
ที่มา: //www.sittichok2890.wordpress.com

การหลอมเหลว ( Melting )

        กระบวนการที่เกิดขึ้นเมื่อเพิ่มความร้อนให้กับของแข็ง อนุภาคภายในของแข็ง จะมีพลังงานจลน์เพิ่มขึ้น อนุภาคเกิดการสั่นมากขึ้นและมีการถ่ายเทพลังงานให้กับอนุภาคข้างเคียงอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งบางอนุภาคเหล่านั้นมีพลังงานสูงกว่าแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาค อนุภาคของของแข็งจึงเคลื่อนที่และอยู่ห่างกันมากขึ้น ของแข็งจึงเปลี่ยนสถานะเป็นของเหลว


ภาพที่ 2 น้ำแข็งกำลังหลอมเหลว
ที่มา: //pixabay.com, wolfBlur

การกลายเป็นไอ (Evaporation)

        เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นเมื่อเพิ่มความร้อนให้กับของเหลว ทำให้อนุภาคของของเหลวมีพลังงานเพิ่มขึ้น เมื่ออนุภาคเหล่านั้นมีพลังงานสูงกว่าแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาค จะทำให้อนุภาคของของเหลวแยกออกจากกัน ของเหลวจะเปลี่ยนเป็นแก๊สในที่สุด กระบวนการนี้เรียกว่า การกลายเป็นไอ

เรียกอุณหภูมิที่ทำให้อนุภาคชนะแรงยึดเหนี่ยวของของเหลวได้ว่า จุดเดือด ( boiling point )


ภาพที่ 3 ของเหลวกำลังกลายเป็นไอ
ที่มา: //sites.google.com/site/karpeliynepelng/

การควบแน่น ( Condensation )

        เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นเมื่อลดความอุณหภูมิ และเพิ่มความดันของแก๊ส จนถึงระดับหนึ่ง อนุภาคของแก๊สจะมีพลังงานจลน์น้อยลง ทำให้อนุภาคเคลื่อนที่ช้าลงและเคลื่อนที่เข้าใกล้กันมากขึ้น ทำให้เกิดแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลมากขึ้น และในที่สุดจะสามารถทำให้โมเลกุลรวมกันเป็นสารในสถานะของเหลว

การแข็งตัว ( Fleezing ) 

        เป็นกระบวนการการเปลี่ยนแปลงสถานะของสสาร จากของเหลวเปลี่ยนสถานะเป็นของแข็ง ซึ่งจำเป็นต้องถ่ายเทพลังงานภายในออกมาในรูปของการคายความร้อน เช่น น้ำ เปลี่ยนสถานะเป็น น้ำแข็ง มีการคายความร้อนเพื่อลดแรงสั่นสะเทือนของโมเลกุล เพื่อให้พันธะไฮโดรเจนสามารถยึดเหนี่ยวโมเลกุลให้จับตัวกันเป็นโครงสร้างผลึก 

การระเหิด ( Sublimation )

        เป็นกระบวนการที่ของแข็งมีการดูดความร้อนเข้าไปถึงระดับหนึ่งแล้วมีเปลี่ยนสถานะไปเป็นแก๊สโดยไม่ผ่านการเป็นของเหลวก่อน เรียกว่า การระเหิด  ซึ่งสารดังกล่าวต้องเป็นสารประกอบที่มีความดันไอสูง สมบัติเฉพาะตัวของสารนี้สามารถนำไปใช้แยกสารเนื้อผสมที่เป็นของแข็งออกจากกัน โดยของแข็งชนิดหนึ่งมีสมบัติระเหิดได้ เช่น การบูรกับเกลือแกง เมื่อให้ความร้อนการบูรจะกลายเป็นไอแยกออกจากเกลือแกง เมื่อดักไอของการบูรด้วยภาชนะที่เย็นจะได้การบูรเป็นของแข็งแยกออกมา


ภาพที่ 4 การระเหิดของน้ำแข็งแห้ง
ที่มา: //sites.google.com/site/krufonkuiwit/home/bth-thi-1-kar-canaek-sar/

การระเหิดกลับ ( Deposition )

       เป็นกระบวนการการเปลี่ยนแปลงสถานะของสสาร จากแก๊ส กลายเป็นของแข็ง โดยไม่ผ่านสถานะของเหลว ใช้ความเย็นในการก่อตัว


ภาพที่ 5 การเปลี่ยนสถานะของน้ำ
ที่มา: //www.lesa.biz/earth/atmosphere/state-of-water

        จากความรู้ที่กล่าวมาทั้งหมด ขอยกตัวอย่างการเปลี่ยนสถานะของน้ำ เพื่อให้นักเรียนได้เข้าใจชัดเจนยิ่งขึ้น ดังนี้

        จากภาพที่ 5 เมื่อเพิ่มพลังงานความร้อนให้แก้วซึ่งบรรจุน้ำแข็ง น้ำแข็งจะดูดกลืนความร้อนนี้ไว้     โดยยังคงรักษาอุณหภูมิ 0 °C คงที่ไม่เปลี่ยนแปลง จนกว่าน้ำแข็งจะละลายหมดก้อน ความร้อนที่ถูกดูดกลืนเข้าไปจะทำลายพันธะไฮโดรเจนในโครงสร้างผลึกน้ำแข็ง  ทำให้น้ำแข็งเปลี่ยนสถานะเป็นของเหลว โดยมีอัตราการดูดกลืนความร้อนแฝง 80 แคลอรี/กรัม และเมื่อเพิ่มพลังงานความร้อนให้แก้วซึ่งบรรจุน้ำ น้ำจะดูดกลืนความร้อนนี้ไว้ โดยยังคงรักษาอุณหภูมิ 100°C คงที่ไม่เปลี่ยนแปลง จนกว่าน้ำจะระเหยกลายเป็นไอน้ำหมดแก้ว โดยใช้อัตราการดูดกลืนความร้อนแฝง 600 แคลอรี/กรัม เรียกว่า การกลายเป็นไอ หรือการระเหย แต่เมื่อลดความร้อนลงถึงระดับหนึ่ง แก๊สจะเปลี่ยนสถานะเป็นของเหลว เรียกว่า การควบแน่นซึ่งน้ำจำเป็นต้องถ่ายเทพลังงานภายในออกมาในรูปของการคายความร้อนแฝง 600 แคลอรี/กรัม เพื่อลดแรงดันของระหว่างโมเลกุล 

         และถ้าลดความร้อนต่อไปอีกจนถึงระดับหนึ่ง ของเหลวจะเปลี่ยนสถานะเป็นของแข็ง เรียกว่า       การแข็งตัว ซึ่งน้ำจำเป็นต้องถ่ายเทพลังงานภายในออกมาในรูปของการคายความร้อนแฝง 80 แคลอรี/กรัม เพื่อลดแรงสั่นสะเทือนของโมเลกุล เพื่อให้พันธะไฮโดรเจนสามารถยึดเหนี่ยวโมเลกุลให้จับตัวกันเป็นโครงสร้างผลึก การที่น้ำเปลี่ยนจากสถานะจากของแข็งเป็นแก๊สโดยตรง  โดยไม่ผ่านการเป็นของเหลวก่อน เรียกว่า การระเหิด  ซึ่งต้องการดูดกลืนความร้อนแฝง 680 แคลอรี/กรัม การที่น้ำเปลี่ยนจากสถานะแก๊สเป็นของแข็ง  โดยไม่ผ่านการเป็นของเหลวก่อน เรียกว่า การระเหิดกลับ ซึ่งน้ำจำเป็นต้องถ่ายเทพลังงานภายในออกมาในรูปของการคายความร้อนแฝง 680 แคลอรี/กรัม

แหล่งที่มา

กระทรวงศึกษาธิการ. บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์วิทยาศาสตร์ ป.6 เทอม 1. สืบค้นเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2561. จาก //www.mcp.ac.th/e-learning456.php

สิทธิโชค ศิริ. สารและการเปลี่ยนแปลง. สืบค้นเมื่อ 19 สิงหาคม 2561. จาก //sittichok2890.wordpress.com/

ศูนย์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์โลกและดาราศาสตร์. การเปลี่ยนแปลงสถานะของน้ำ. สืบค้นเมื่อ 19 สิงหาคม 2561. จาก //www.lesa.biz/earth/atmosphere/state-of-water

หัวเรื่อง และคำสำคัญ

การเปลี่ยนสถานะ, การหลอมเหลว, การกลายเป็นไอ, การควบแน่น, การแข็งตัว, การระเหิด, การระเหิดกลับ,สสาร,สถานะ

รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.

สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล

ลิขสิทธิ์

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)

วันที่เสร็จ

วันอาทิตย์, 19 สิงหาคม 2561

สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา

เคมี

ช่วงชั้น

ประถมศึกษาตอนปลาย

กลุ่มเป้าหมาย

ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป

ดูเพิ่มเติม

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง