มาตรา 40 4 ข เงินได้จากเงินปันผล/เงินส่วนแบ่งกําไรจากกองทุนรวม

พี่หนอมครับ ผมอยากได้สรุป
เรื่องภาษีที่เกี่ยวข้องกับกองทุนรวม

แฟนเพจ TAXBugnoms ท่านหนึ่ง

ถ้าพูดถึงคำว่า “เงินปันผลจากกองทุนรวม” และ “กำไรจากการขายกองทุนรวม” ขึ้นมา ผมเชื่อว่าทั้ง 2 ตัวนี้ เป็นสิ่งที่ใครหลายคนที่ตัดสินใจลงทุนในกองทุนรวมคาดหวังว่าจะได้รับ หรือเรามักจะเรียกรวม ๆ ว่า “ผลตอบแทนจากการลงทุน” นั่นเอง

“เงินปันผล” และ “กำไรจากการขาย”
ที่นักลงทุนได้รับจากกองทุนรวม

แต่ก่อนที่จะอธิบายในประเด็นที่เกี่ยวข้องในเรื่องภาษีที่เกี่ยวข้องกับกองทุนรวม ผมขอชวนทุกคนมาเริ่มต้นจากนิยามผลตอบแทนจากการลงทุนทั้ง 2 ตัวที่ว่านี้ให้ชัดเจนกันก่อนครับ นั่นคือ

เงินปันผลที่ได้รับจากกองทุนรวม หมายถึง ส่วนแบ่งกำไรที่เกิดขึ้นจากความสามารถในการดำเนินงานของกองทุนรวมนั้น ๆ โดยแบ่งจ่ายให้กับนักลงทุนในแต่ละคราวตามนโยบายการจ่ายปันผลของกองทุนรวม ซึ่งจะต้องมีการระบุนโยบายการจ่ายเงินปันผลนี้ไว้ในหนังสือชี้ชวนครับ

กำไรจากการขายกองทุนรวม หรือ กำไรจากการขายหน่วยลงทุน หมายถึง ส่วนเกินที่เราได้รับจากการลงทุนในกองทุนรวม โดยจะเกิดขึ้นเมื่อกองทุนรวมมีมูลค่าสินทรัพย์สุทธิมากขึ้น ก็จะทำให้มูลค่าหน่วยลงทุนของเรามากขึ้นตามไปด้วยครับ

ยกตัวอย่างเช่นนายบักหนอมซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวม TAXBugnoms (ที่มีนโยบายจ่ายเงินปันผล) ไว้จำนวน 10,000 บาท ในราคา 10 บาทต่อหน่วย (คิดเป็นหน่วยลงทุนทั้งสิ้น 1,000 หน่วย) เมื่อเวลาผ่านไปมูลค่าของกองทุนรวมเพิ่มขึ้นเป็น 11 บาทต่อหน่วย (คิดเป็นมูลค่า 11,000 บาท) ถ้าหากนายบักหนอมตัดสินใจขายหน่วยลงทุนทั้งหมดทันที แบบนี้เท่ากับว่านายบักหนอมจะมีกำไรจากการขายหน่วยลงทุนในกองทุนรวมจำนวน 1,000 บาท หรือ กำไร 1 บาทต่อหน่วยนั่นเอง

แต่ถ้าหากนายบักหนอมตัดสินใจถือต่อไปโดยที่ไม่ขาย แต่รอจนกว่ากองทุนรวม TAXBugnoms ประกาศจ่ายเงินปันผลจำนวน 0.5 บาทต่อหน่วยลงทุนแทน แบบนี้นายบักหนอมจะได้รับเงินปันผลจากกองทุนรวมจำนวน 500 บาทนั่นเองครับ

อย่างไรก็ดี ถ้าหากกองทุนรวม TAXBugnoms เป็นกองทุนที่ไม่มีนโยบายจ่ายเงินปันผล ย่อมแปลว่านายบักหนอมจะมีโอกาสได้รับผลตอบแทนทางเดียว คือ กำไรจากการขายหน่วยลงทุน นั่นเองครับ

นี่คือความหมายเบื้องต้นของผลตอบแทนที่ได้รับ ซึ่งแน่นอนว่าผลตอบแทนจากการลงทุนแบบนี้ ย่อมถือเป็นเงินได้ของนายบักหนอม แต่จะเสียภาษีหรือไม่และจะเสียแบบไหนยังไงนั้น ย่อมอยู่ที่หลักการของกฎหมายในการคิดภาษีที่เกี่ยวข้องกับกองทุนรวมนี่แหละครับ

ภาษีที่เกี่ยวข้องกับกองทุนรวม

เมื่อเราแยกผลตอบแทนที่ได้รับจากกองทุนรวมออกเป็น 2 ประเภทเรียบร้อยแล้ว เราจะมาพิจารณาในส่วนของภาษีกันบ้างครับ โดยผมขอย้ำหลักการที่สำคัญของเงินได้ที่ใช้คำนวณภาษีสั้นๆ อีกทีหนึ่งว่า เงินได้จะต้องเสียภาษีก็ต่อเมื่อกฎหมายไม่ได้ให้สิทธิยกเว้นไว้ ซึ่งแต่ละตัวนั้นมีแนวทางดังนี้ครับ

เงินปันผลที่ได้รับจากกองทุนรวม

โดยปกติแล้วเมื่อได้รับเงินปันผลจากกองทุนรวม เราจะถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 10 ของเงินปันผลที่กองทุนจ่ายทันที อย่างเช่นตัวอย่างก่อนหน้านี้ ถ้าหากนายบักหนอมได้รับเงินปันผลจากกองทุนรวม TAXBugnoms จำนวน 0.5 บาทต่อหน่วยลงทุน แปลว่านายบักหนอมจะได้รับเงินปันผลจากกองทุนรวมจำนวน 500 บาท แต่จะถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายไว้ 50 บาท และได้เงินสุทธิ คือ 450 บาท

ทางเลือกในการเสียภาษี
เมื่อได้รับเงินปันผลจากกองทุนรวม

เมื่อได้รับเงินปันผลจากกองทุนรวม นักลงทุนจะมีทางเลือก 2 ทางครับ นั่นคือ เลือกหักภาษี ณ ที่จ่ายแล้วจบไว้ (เรียกว่า Final TAX) และไม่ต้องนำมายื่นคำนวณภาษีเงินได้ประจำปี หรือ นำมายื่นคำนวณภาษีเงินได้ประจำปีและนำภาษีเงินได้ที่ถูกหักไว้มาหักออกจากภาษีที่คำนวณได้

อย่างเช่นตัวอย่างเมื่อกี้ (อีกแล้ว) นายบักหนอมจะเลือกเสียภาษี 50 บาทและได้เงินสุทธิ 450 บาทแล้วไม่ต้องทำอะไรเพิ่มเติม หรือจะเลือกนำเงินปันผลจำนวน 500 บาทไปยื่นคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปี เมื่อได้จำนวนภาษีเท่าไรก็ให้เอา 50 บาทที่ถูกหักไว้มาหักออกแล้วจ่ายเพิ่มหรือขอคืนส่วนที่เหลือนั่นเอง ซึ่งในแต่ละทางเลือกนั้น ต้องพิจารณาจาก ประเภทของกองทุนรวม ที่มีการจ่ายเงินปันผลนั่นเองครับ

ประเภทกองทุนรวม
กับสิทธิในการเลือกเสียภาษี

เนื่องจากกฎหมายมีกำหนดสิทธิประโยชน์ให้กับกองทุนรวมแต่ละประเภทแตกต่างกัน และในปัจจุบัน พระราชบัญญัติแก้ไขประมวลรัษฏากรฉบับที่ 52 ได้แก้ไขให้กองทุนรวมเกือบทั้งหมดในประเทศไทยมีสภาพเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย ดังนั้น เมื่อมีการจ่ายเงินปันผลจากกองทุนรวม ผู้ที่ได้รับเงินปันผลจะต้องถือเป็นเงินได้ประเภท 40(4)(ข) แทนประเภท 40(8) โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 20 กรกฎาคม 2562 เป็นต้นไป

จากการแก้ไขกฎหมายฉบับนี้ ส่งผลให้สิทธิในการเลือกเสียภาษีของกองทุนรวมนั้นมีสถานะเทียบเท่ากับการเป็นไปตามมาตรา 48(3) วรรคท้ายที่ให้สิทธิในการเลือกจ่ายแล้วจบแบบ Final TAX เหมือนกับเงินปันผลที่ได้รับจากหุ้นนั่นเองครับ

ผู้มีเงินได้ซึ่งเป็นผู้อยู่ในประเทศไทยจะเลือกเสียภาษีในอัตราร้อยละ 10.0 ของเงินได้ โดยไม่ต้องนำไปรวมคำนวณภาษีตาม (1) และ (2) ก็ได้สำหรับเงินได้ตามมาตรา 40 (4) (ข) ที่ได้รับ จากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย หรือสถาบันการเงินที่มีกฎหมายโดยเฉพาะ ของประเทศไทยจัดตั้งขึ้นสำหรับให้กู้ยืมเงินเพื่อส่งเสริมเกษตรกรรม พาณิชยกรรม หรืออุตสาหกรรม

แต่อย่างไรก็ดี ยังมีกองทุนรวมอีกประเภทหนึ่งที่นักลงทุนได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเมื่อได้รับเงินปันผล นั่นคือ กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure Fund หรือ IF) ที่ได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินปันผลเป็นเวลา 10 ปีภาษี นับตั้งแต่ปีภาษีที่มีการจดทะเบียนตั้งกองทุนรวม และค่อยกลับมาหักภาษี ณ ที่จ่าย 10% เหมือนกับกองทุนรวมตามปกติเมื่อเข้าสู่ปีที่ 11 เป็นต้นไป

ถ้าอ่านมาถึงตรงนี้ ใครที่เริ่มงง ผมมีสรุปให้ดูตามตารางด้านล่างนี้ครับ

ตารางสรุปทางเลือกเงินปันผลที่ได้รับ
จากกองทุนรวมแต่ละประเภท

สำหรับใครที่ไม่แน่ใจ หรืออยากรู้ว่าเงินปันผลจากกองทุนรวมที่เราได้รับนั้นเป็นเงินได้ประเภทไหนตามกฎหมาย ผมแนะนำให้สังเกตที่เอกสารการหักภาษี ณ ที่จ่ายที่ได้รับเมื่อมีการจ่ายปันผลนี่แหละครับ เพราะจะระบุไว้ชัดเจนแน่นอนว่าเป็นเงินได้ประเภทไหน ตามมาตราอะไร และหักภาษีไว้กี่ % เพื่อที่เราจะได้เอามายื่นภาษีได้อย่างถูกต้องครับ

ทางเลือกสำหรับนักลงทุน
ที่ได้รับเงินปันผลจากหุ้นและกองทุนรวม

จากการบังคับใช้กฎหมาย พระราชบัญญัติแก้ไขประมวลรัษฏากรฉบับที่ 52 ทำให้เงินปันผลจากหุ้นและกองทุนรวมถือเป็นเงินได้ประเภทเดียวกัน หรือ เงินได้ตามมาตรา 40(4)(ข) ดังนั้นเราจึงไม่สามารถเลือกยื่นเงินปันผลประเภทใดประเภทหนึ่งได้เหมือนเมื่อก่อน

ยกตัวอย่างเช่น บางคนอาจจะได้รับคำแนะนำว่าเลือกยื่นเฉพาะเงินปันผลที่เราได้รับจากหุ้นเพียงอย่างเดียว เพราะได้รับสิทธิ เครดิตภาษีเงินปันผล แต่เมื่อมีกฎหมายใหม่ฉบับนี้ จะกลายเป็นว่าถ้าเราเลือกยื่นเงินปันผลจากหุ้น เราต้องนำเงินปันผลจากกองทุนรวมมาถือเป็นรายได้เพื่อยื่นภาษีรวมกันด้วย ซึ่งเงินปันผลกองทุนรวมจะไม่ได้รับสิทธิเครดิตภาษีเงินปันผล

//www.facebook.com/TaxBugnoms/posts/4013461888679197

ดังนั้น แนวทางในการพิจารณาว่า ควรจะยื่นเงินปันผลจากหุ้นหรือกองทุนรวมดีไหม? หรือควรจะเลือกใช้สิทธิแบบ Final TAX ดี อันนี้ต้องบอกตรง ๆ เลยครับว่า คำแนะนำของผม คือ เราทำอะไรไม่ได้นอกจากลองคำนวณดูก่อนว่าแบบไหนคุ้มค่าครับ

ถ้าหากใครที่ต้องการจะยื่นภาษีตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นไป โดยมีเงินปันผลจากหุ้นและกองทุนรวมทั้งคู่ ผมอยากให้ลองกรอกรายการให้ครบถ้วน (เลือกใช้สิทธิคำนวณภาษี) แล้วดูว่ายอดภาษีที่เสียมันลดลงไหมหรือว่าได้คืนหรือเปล่า เมื่อเปรียบเทียบกับการใช้สิทธิหัก ณ ที่จ่ายแล้วจบอย่าง Final TAX ถ้าเราพบคำตอบว่าแบบไหนที่ได้รับสิทธิคุ้มค่ากว่า ก็ให้เลือกแบบนั้น น่าจะง่ายที่สุดครับ

//youtu.be/hLdBRlRdjxc

กำไรที่ได้รับจากการขายหน่วยลงทุน

สำหรับเรื่องนี้ พระราชบัญญัติแก้ไขประมวลรัษฏากรฉบับที่ 52 ได้ออกกฎหมายเพิ่มเติมในส่วนนี้เพิ่มขึ้นมาครับ โดยกำหนดให้ เงินได้จากการขายคืนหน่วยลงทุนให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เป็นกองทุนรวมเฉพาะซึ่งตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าที่ลงทุน ถือเป็นเงินได้ตามมาตรา 40(4)(ช) โดยยกเลิกส่วนที่เคยให้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้จากการขายหน่วยลงทุนในกองทุนรวมตามมาตรา 42 (23)

หรือพูดง่ายๆคือ กำหนดให้ กำไรจากการขาย (หน่วยลงทุน) กองทุนรวมถือเป็นเงินได้ตามกฎหมายที่มีประเภทของเงินได้รองรับไว้อย่างชัดเจน แตกต่างจากเดิมที่เคยตีความว่าเป็นเงินได้ประเภทอื่น (หรือเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 8)

แต่การกำหนดให้กำไรจากการขายหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเป็นรายได้ตามกฎหมายฉบับนี้ ไม่ได้แปลว่าทุกคนที่มีกำไรจากการขายหน่วยลงทุนในกองทุนรวมจะเสียภาษีทันทีนะครับ เพราะว่าเราต้องมาดูกันต่อว่า กำไรจากการขายกองทุนรวมที่ว่านั้นมีกฎหมายยกเว้นไว้อยู่หรือเปล่า โดยพิจารณาว่าผู้ที่ลงทุนในกองทุนรวมนั้นเป็นใคร บุคคลธรรมดา หรือ นิติบุคคล และกฎหมายที่ยกเว้นไว้แต่เดิมนั้น มันมีอะไรบ้าง

ในกรณีของบุคคลธรรมดาที่เป็นนักลงทุนอย่างเรา ถ้าลองดูข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องจะพบว่า ในกรณีที่เป็น กองทุนรวมที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ จะได้รับสิทธิยกเว้นเงินได้ไว้ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 126 ข้อ (32) ข้อ (65) และข้อ (67) ที่ครอบคลุมกองทุนทุกประเภทซึ่งรวมถึง LTF SSF และ RMF ด้วย ดังนี้

(32) เงินได้จากการขายหน่วยลงทุนในกองทุนรวมที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ แต่ไม่รวมถึงเงินหรือผลประโยชน์ใด ๆ ที่ได้รับเนื่องจากการขายหน่วยลงทุนคืนให้แก่กองทุนรวมหุ้นระยะยาว สำหรับหน่วยลงทุนที่ได้ซื้อมาก่อนวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2563 หรือกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ หรือกองทุนรวมเพื่อการออมที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์”(65) เงินหรือผลประโยชน์ใด ๆ ที่ได้รับเนื่องจากการขายหน่วยลงทุนคืนให้แก่กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์เฉพาะกรณีที่ผู้มีเงินได้ถือหน่วยลงทุนดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปีนับตั้งแต่วันซื้อหน่วยลงทุนครั้งแรก ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด(67) เงินหรือผลประโยชน์ใด ๆ ที่ได้รับเนื่องจากการขายหน่วยลงทุนคืนให้แก่กองทุนรวมหุ้นระยะยาวตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ทั้งนี้ เฉพาะกรณีที่เงินหรือ ผลประโยชน์ดังกล่าวคำนวณมาจากเงินได้พึงประเมินที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ ตาม (66) และผู้มีเงินได้ถือหน่วยลงทุนดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่าเจ็ดปีปฏิทิน แต่ไม่รวมถึงกรณีทุพพลภาพหรือตาย

ดังนั้น สำหรับนักลงทุนทุกคน ในกรณีกำไรจากการขายหน่วยลงทุนนี้ สบายใจได้หายห่วงครับ เพราะถ้าหากเราเป็นนักลงทุนที่เป็นบุคคลธรรมดา กำไรจากการขายของเรายังมีสิทธิยกเว้นตามกฎหมายอยู่ ในกรณีลงทุนในกองทุนรวมที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์นันเองครับ

สรุป

โดยสรุปแล้ว เราจะเห็นว่ากรณีที่เป็นนักลงทุนที่ลงทุนในกองทุนรวมนั้น จะไม่ต้องห่วงในเรืองกำไรจากการขายหน่วยลงทุนในกองทุนรวมสักเท่าไร เพราะถ้าหากเป็นกองทุนรวมทั่วไปที่จัดขึ้นตาม พรบ. ตลาดหลักทรัพย์แล้วล่ะก็ ยังไงก็ได้รับสิทธิยกเว้นภาษี (เว้นแต่กรณีที่เป็นกองทุนลดหย่อนภาษี ย่อมมีเงื่อนไขที่ต้องถือให้ครบตามระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้)

แต่ในกรณีของเงินปันผลที่ได้รับจากกองทุนรวม ทางเลือกของนักลงทุนนั้นจะมีหลายรูปแบบ ตั้งแต่สามารถเลือกใช้วิธีที่ง่าย ๆ โดยยอมให้หักภาษี ณ ที่จ่ายแล้วจบ (Final TAX) ไปเลย หรือถ้ามองว่าไม่อยากเสียผลประโยชน์ 10% ของเงินปันผลที่ได้รับ ก็อาจจะใช้วิธีเลือกกองทุนรวมที่ไม่มีการจ่ายเงินปันผล แล้วใช้วิธีขายหน่วยลงทุนบางส่วนออกมาแทน แบบนี้ก็ทำได้เช่นเดียวกันครับ ขึ้นอยุ่กับความพอใจของแต่ละบุคคล

ท้ายที่สุดแล้ว ผมอยากย้ำอีกทีว่า สิ่งที่สำคัญจริง ๆ ไม่ใช่เรื่องของภาษีที่เราต้องพิจารณาเพียงอย่างเดียว แต่ควรพิจารณาถึงผลการดำเนินงานของกองทุนที่เราเลือกด้วยว่า สามารถทำผลตอบแทนได้ดีอย่างที่เราต้องการหรือเปล่า

เพราะการลงทุนที่ดีที่สุดนั้น
มันวัดที่ผลตอบแทนที่เราได้รับ

TAXBugnoms

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

คือ นามปากกาของพรี่หนอม (ถนอม เกตุเอม) ผู้มีความเชื่อว่าภาษีเป็นเรื่องยาก แต่กลับชื่นชอบในการทำให้ภาษีกลายเป็นเรื่องเรียบง่าย และกลายเป็นส่วนหนึ่งของความเข้าใจในการใช้ชีวิต

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง