ทฤษฎีการเห็นคุณค่าในตนเอง self-esteem

ความรู้

What is self esteem
การเห็นคุณค่าในตนเองคืออะไร

ในวันนี้มีเรื่องของ Self esteem หรือ การเห็นคุณค่าในตนเองมาฝากผู้อ่านทุกคน หลายคนอาจจะคุ้นเคยกับคำนี้ หรือไม่เคยรู้จัก จึงอยากให้ทุกคนได้เข้าใจและเรียนรู้ไปพร้อม ๆ กัน โดยในบทความเรื่องนี้เราจะมารู้จักกันว่าการเห็นคุณค่าในตนเองคืออะไร เกี่ยวข้องกับเราอย่างไรบ้าง

What is self estee


Self esteem หรือการเห็นคุณค่าในตนเอง ในเชิงวิชาการ ได้มีแนวคิดทฤษฎีอยู่หลายคน ที่มาให้ความหมายของคำนี้ เช่น คูลเปอร์สมิท (Coopersmith, 1981) ให้ความหมายว่า บุคคลที่รู้สึกว่าตนเองมีคุณค่ามากจะมีความสุขและตอบสนองต่อความต้องการด้านสิ่งแวดล้อมได้ดีกว่าบุคคลที่รู้สึกว่าตนเองมีคุณค่าต่ำ

Self esteem แบบเข้าใจง่าย ๆ
สำหรับความหมายที่เข้าใจได้ง่าย คือ การที่เราเห็นถึงความสำคัญของตัวเอง เชื่อในตนเองว่าถ้าเจอปัญหาหรืออุปสรรคที่เข้ามา เราจะสามารถผ่านมันไปได้ หรือจะเป็นคำดูถูก คำพูดที่ไม่ดี ทำให้เรารู้สึกแย่ เราจะสามารถปล่อยผ่าน ซึ่งมันคือการเชื่อตัวเอง ว่าเรามีคุณค่ามากพอ มากกว่าคำพูดเหล่านั้น

หลังจากรู้ความหมายแล้ว เราจะมารู้จักกันว่า self esteem ประกอบด้วยอะไรบ้าง ที่สามารถบ่งบอกได้ว่าเรามีคุณค่าในตัวเองหรือไม่

องค์ประกอบการเห็นคุณค่าในตนเองงจากแนวคิดของ Coopersmith (1981b)

1. การรับรู้ว่าตนมีความสามารถ (Competence) เมื่อบุคคลรับรู้ว่าตนสามารถทำงานได้ สำเร็จตามเป้าหมาย สามารถเผชิญอุปสรรคและปัญหาต่างๆ ที่ผ่านเข้ามาในชีวิตด้วยความมั่นใจ ปรับตัวได้ดี และสามารถดำรงชีวิตร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ


2. การรับรู้ว่าตนมีความสำคัญ (Significance) เมื่อบุคคลได้รับการยอมรับอย่างเหมาะสม รู้สึกว่าตนเป็นที่รักของบุคคลอื่น มีประโยชน์และเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัวและสังคม


3. การรับรู้ว่าตนมีอำนาจ (Power) เมื่อบุคคลรู้สึกว่าตนมีอิทธิพลในการควบคุมชีวิตของตนเองและต่อเหตุการณ์ต่างๆ รอบตัว มีความเชื่อมั่นในอำนาจการกระทำของตนว่าจะก่อให้เกิดผลตามที่ต้องการ และมีความสามารถในการกระทำสิ่งต่างๆ ให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ได้ด้วยตนเอง


4. การรับรู้ว่าตนมีคุณความดี (Virtue) เมื่อบุคคลมีการปฏิบัติตัวสอดคล้องกับศีลธรรม จริยธรรม ค่านิยมและวัฒนธรรมประเพณี มองโลกในแง่ดี พอใจในชีวิตที่เป็นอยู่ มีการแสดงออกของความคิดและถูกต้องตามทำนองคลองธรรม

ผู้อ่านสามารถติดตามบทความเรื่อง Self esteem มีความสำคัญอย่างไร ได้ใน Part 2

//cities.trueid.net/post/150749

ข้อมูลศึกษาโดยผู้เขียน

รูปภาพออกแบบโดยผู้เขียน

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์

เพื่อน ๆ เคยรู้สึกตัวเล็กลงอย่างไม่มีสาเหตุในบางสถานการณ์หรือเปล่า? หลายครั้งที่ไม่ได้รับความสนใจ หรือไม่ได้รับความสำคัญเท่าที่เราต้องการ บางทีก็รู้สึกว่าตัวเราไม่มีความสามารถพอที่จะทำอะไรได้เลย แถมพอยิ่งเปรียบเทียบกับคนอื่นก็ยิ่งรู้สึกน้อยใจขึ้นมาซะอย่างนั้น

เรื่องเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่ หลายคนอาจเคยรู้สึกแบบนี้จากสถานการณ์ที่เลี่ยงไม่ได้ แต่ไม่ต้องกลัวไปเพราะเราสามารถรับมือกับความรู้สึกเหล่านี้ได้หากมีภูมิคุ้มกันทางใจดี ๆ ที่ชื่อว่า “Self-esteem” หรือความพึงพอใจในตนเอง แต่ความพึงพอใจในตัวเองคืออะไร วันนี้เราจะพาเพื่อน ๆ ไปทำความรู้จักให้มากขึ้น

ส่วนเพื่อน ๆ คนไหนที่อยากเรียนกับแอปพลิเคชัน StartDee ก็สามารถคลิกที่แบนเนอร์ด้านล่างได้เลยนะ นอกจากบทเรียนตามหลักสูตรกระทรวง เรายังมีบทเรียนนอกห้องเรียนสนุก ๆ ที่ช่วยให้เพื่อน ๆ เข้าใจตัวเองมากขึ้นอีกด้วยนะ

Self-esteem คือความพึงพอใจในตนเอง ความเห็นคุณค่าในตัวเอง การเชื่อว่าตนเองมีค่าโดยไม่ปล่อยให้ผู้อื่นมานิยามคุณค่าของตนเองได้ง่าย ๆ โดยความรู้สึกและความคิดเหล่านี้จะส่งผลให้เรามีความมั่นคงทางอารมณ์ที่มากขึ้น มีความเชื่อมั่นในตัวเองและมีความกล้าที่จะทำสิ่งใหม่ ๆ มากขึ้น 

อาการแบบไหนที่เรียกว่า Self-esteem ต่ำ (Low self-esteem) 

1. อ่อนไหวต่อคำวิพากษ์วิจารณ์มาก

อารมณ์อ่อนไหวง่ายเป็นพิเศษเมื่อได้รับคำวิจารณ์ในแง่ลบ เก็บคำวิจารณ์เหล่านั้นมาคิดทบทวนซ้ำแล้วซ้ำเล่าและคิดมาก อาจมีการแสดงออกทางอารมณ์ เช่น จิตตกได้ง่าย เศร้า เสียใจง่าย น้อยใจง่าย หรือโกรธ โมโห หงุดหงิดง่ายเมื่อได้รับการวิพากษ์วิจารณ์

2. กลัวการเข้าสังคม

ไม่กล้าพูดคุยหรือแสดงความคิดเห็นเพราะกลัวถูกปฏิเสธ กลัวความผิดพลาด บางคนอาจเก็บตัว ไม่อยากพบเจอใคร หรือบางคนอาจตั้งตนเป็นปฏิปักษ์กับคนอื่น มีพฤติกรรมขวางโลกและมองผู้อื่นในแง่ลบ

3. มักเรียกร้องความสนใจ

การแสวงหาความยอมรับ ความสนใจ และความรักจากผู้อื่นเป็นเรื่องปกติของมนุษย์ที่เป็นสัตว์สังคม แต่ถ้าหมกมุ่นเกินไป อาจหมายความว่าเพื่อน ๆ กำลังขาดความมั่นใจและไม่เห็นคุณค่าในตนเอง จึงต้องแสวงหาจากการยอมรับจากคนรอบข้างมาชดเชย

4. กังวลกับภาพลักษณ์ของตัวเองมาก ๆ 

แคร์สายตาผู้อื่น ห่วงภาพลักษณ์ของตัวเองมาก วิตกกังวลว่าผู้อื่นจะมองเราอย่างไร บางคนอาจถึงขั้นประเมินว่าคนอื่นจะให้คะแนนเราเท่าไหร่ อย่างไร จริง ๆ แล้วการแคร์ผู้อื่นบ้างเป็นเรื่องที่ดี เพราะแสดงถึงความใส่ใจและเห็นอกเห็นใจผู้อื่น แต่ถ้ามากเกินไปก็อาจทำให้เรารู้สึกขาดความมั่นคง หรือขาดความภูมิใจในตนเองได้ 

5. ลังเล ไม่ค่อยกล้าตัดสินใจ 

บางครั้งเราอาจรู้สึกกลัว ลังเล ไม่เชื่อมั่นในการตัดสินใจของตัวเอง รวมไปถึงกังวลกับผลที่จะตามมาจนไม่กล้าตัดสินใจลงมือทำอะไร

6. รู้สึกโดดเดี่ยว 

รู้สึกว่าตนเองไม่เป็นที่ยอมรับ เข้ากับผู้อื่นไม่ได้ ทำให้เหงาและโดดเดี่ยว บางครั้งแสดงออกผ่านการเก็บตัวหรือความต้องการอยู่ใกล้ชิดกับเพื่อนตลอดเวลา เพราะไม่สามารถเป็นเพื่อนที่ดีให้กับตัวเองได้

7. กลัวความผิดพลาด ย้ำคิดย้ำทำ

กังวล ทบทวนและทำสิ่งเดิมอยู่ซ้ำ ๆ ตรวจสอบแล้วตรวจสอบอีกเพราะกลัวความผิดพลาด กลัวความไม่สมบูรณ์แบบ กลัวว่าความผิดพลาดจะทำให้ตนเองเสียความมั่นใจไปกว่าเดิม สิ่งเหล่านี้อาจนำไปสู่การหลีกเลี่ยงปัญหา ทำให้ปัญหาพอกพูนไปเรื่อย ๆ และนำไปสู่ความเครียดได้

8. พยายามเอาใจคนอื่นมากเกินไปและไม่กล้าปฏิเสธ

บางคนอาจยอมเป็นผู้ตามผู้อื่นมากเกินไป ไม่กล้าปฏิเสธคำขอ ไม่กล้าบอกความต้องการของตนเองตรง ๆ จนสูญเสียความเป็นตัวของตัวเองไป สาเหตุเพราะกลัวว่าจะแปลกแยกและไม่ได้รับการยอมรับจากผู้อื่น จนนำไปสู่การขาดความภูมิใจตนเองและไม่รู้ว่าตนเองต้องการอะไร

9. ยึดติดกับความสำเร็จมาก

ต้องการเป็นที่รู้จัก ต้องการชื่อเสียง เกียรติยศและความสำเร็จเพื่อให้ได้รับการยอมรับและรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่าในสายตาผู้อื่น ซึ่งเกิดจากการไม่เห็นคุณค่าภายในตนเอง จึงต้องเสริมความเชื่อมั่นโดยอาศัยความสำเร็จต่าง ๆ เป็นตัวการันตีคุณค่าของเรา

10. ไม่ยอมรับข้อบกพร่องของตนเอง

หลีกเลี่ยงและไม่ยอมรับข้อบกพร่องของตัวเอง พยายามปลอบใจตัวเองด้วยข้อดีต่าง ๆ นานาจนบางครั้งอาจนำไปสู่อาการหลงตัวเองเพื่อให้ตัวเองรู้สึกดีอยู่ตลอด 

จริง ๆ แล้วสิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องธรรมชาติ ใคร ๆ ก็มีอาการเหล่านี้ได้ แต่ถ้าเพื่อน ๆ รู้สึกว่าตนเองมีอาการเหล่านี้มากเกินไป อาจต้องกลับมาทบทวนตนเองว่าเราเห็นคุณค่าและพึงพอใจในตนเองมากน้อยแค่ไหน แล้วลองกลับมาดูแลตนเอง รักตนเองให้มากขึ้น

ทริคง่าย ๆ เพิ่ม Self-esteem ให้กับตัวเอง

1. ไม่จำเป็นต้องประสบความสำเร็จเหมือนใคร ๆ ก็มีคุณค่าได้

การแข่งขันในสังคมปัจจุบันอาจทำให้ทุกคนต้องเผชิญกับความกดดันที่มากขึ้น ความรู้สึกเปรียบเทียบตนเองกับผู้อื่นอยู่เสมอจึงเกิดขึ้นบ่อย ๆ โดยที่บางครั้งเราก็ไม่รู้ตัว นอกจากนี้ยังมีค่านิยมและบรรทัดฐานของสังคมที่นิยามรูปร่างหน้าตาของความดีงามเอาไว้ให้เราเดินตามเป็นสูตรสำเร็จ แต่อย่าลืมว่าเราทุกคนล้วนมีความแตกต่างและมีความพิเศษในแบบของตนเองอยู่แล้ว และความแตกต่างนี้ก็ทำให้เราเป็นเราในแบบที่ไม่มีใครเหมือน ไม่จำเป็นต้องประสบความสำเร็จเหมือนใครก็ได้ เพราะความแตกต่างและมีเส้นทางเป็นของตัวเองก็เป็นอะไรที่ดีไม่แพ้กันเลย อ่านมาถึงตรงนี้เพื่อน ๆ เริ่มรู้สึกหรือยังว่าตัวเองพิเศษมากแค่ไหน?

2. หาจุดแข็งของตัวเอง ยอมรับจุดด้อย

ยอมรับว่าเรามีทั้งเรื่องที่เก่งและไม่เก่ง ลองค้นหาความเก่งของเรา สิ่งที่เราชอบทำและสามารถทำได้ดี อาจจะต้องใช้เวลานิดหน่อยแต่รับประกันเลยว่าผลลัพธ์ที่ได้นั้นคุ้มค่ามาก ๆ 

3. เรื่องเล็ก ๆ ที่ฉันภูมิใจ ลองเล่าสิ่งนี้ให้คนอื่นฟังดูบ้าง

เรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่เรามองข้ามไปอาจพิเศษมากก็ได้ในสายตาคนอื่น ลองเล่าให้คนที่เราไว้ใจฟังดูบ้าง นอกจากจะเป็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ยังทำให้เรารู้จักผู้อื่นมากขึ้นแบบคาดไม่ถึง

4. ใจดีกับตัวเองขึ้นอีกนิด

อย่ากดดันตัวเองจนเกินไปว่าต้องประสบความสำเร็จ และอย่าลืมให้อภัยตัวเองหรือผู้อื่นเมื่อทำผิดพลาด การยอมรับและเรียนรู้จากความผิดพลาดของตัวเองก็เป็นสิ่งสำคัญ ลองคิดว่าความผิดพลาดคือการเรียนรู้และเป็นส่วนหนึ่งในการเติบโตของเรา ลองคิดแบบนี้ก็จะทำให้รู้สึกดีขึ้นได้นิดหน่อยนะ 

5. เคารพความต้องการของตัวเองด้วยการ ‘ฝึกปฏิเสธ’

การไม่ยอมรับข้อเสนอบางอย่างจากผู้อื่นบางครั้งก็เป็นสิ่งที่ควรทำและดีต่อตัวเราด้วย ไม่ต้องกลัวว่าปฏิเสธไปแล้วจะไม่เป็นที่รัก ฟังเสียงหัวใจตัวเองให้มากขึ้น เคารพความต้องการของตัวเองให้มากขึ้น แต่ต้องระมัดระวังไม่ให้เลยเถิดถึงขั้นเอาตัวเองเป็นศูนย์กลางของทุกเรื่องและกลายเป็นความเห็นแก่ตัวนะ ใช้หลักง่าย ๆ ว่าถ้าไม่ทำให้ใครเดือดร้อน ลองตามใจตัวเองดูบ้างก็ดี

6. เพิ่มคุณค่าในตัวเองด้วยการเป็นผู้ให้

บางครั้งเราอาจรู้สึกว่าตัวเองไร้ประโยชน์และไม่มีค่า แต่เพื่อน ๆ อาจไม่รู้ว่าการให้ความช่วยเหลือของเรามีความสำคัญต่อผู้อื่นมากแค่ไหน ลองเริ่มต้นจากสิ่งง่าย ๆ เช่น บริจาคสิ่งของเหลือใช้ ไปบริจาคเลือด หรือทำกิจกรรมเพื่อสังคมอื่น ๆ ไม่แน่การเสียสละเล็ก ๆ ของเราอาจต่อชีวิตให้ผู้อื่นก็ได้ ใครจะไปรู้

7. กล้าหาญ กล้าเผชิญกับปัญหาด้วยความเข้าใจ

อย่าเก็บปัญหาไว้จนเรื้อรัง ลองใช้ความกล้าหาทางแก้ปัญหาเหล่านั้นดูตั้งแต่เนิ่น ๆ ถึงจะได้ผลบ้างไม่ได้ผลบ้างแต่ก็ทำให้เราเกิดการเรียนรู้ และทำให้เราแก้ไขปัญหาครั้งต่อ ๆ ไปได้ดียิ่งขึ้น

8. รับฟังและเปิดใจเมื่อได้รับคำวิจารณ์

คำวิจารณ์จากผู้หวังดีนั้นมีค่ามาก ๆ ลองเก็บคำวิจารณ์นี้มาปรับปรุงและพัฒนาตนเองให้ดียิ่งขึ้นก็เป็นเรื่องที่ดี แต่ถ้าเป็นคำวิจารณ์ที่รุนแรงหรือความเห็นที่บั่นทอนจิตใจก็พยายามจับประเด็นสำคัญให้ได้ แต่อย่าเก็บอารมณ์หรือคำพูดรุนแรงไปคิดมากจนสูญเสียความมั่นใจในตนเอง ลองฟังหูไว้หูบ้างก็จะทำให้ไม่รู้สึกแย่จนเกินไปด้วย

9. เคารพตัวเองและเคารพผู้อื่น

นอกจากเชื่อมั่นและเคารพตัวเองแล้วก็ควรเคารพผู้อื่นด้วย ฝึกยอมรับว่าทุกคนมีความแตกต่างกันทั้งด้านความคิดและความรู้สึก รวมไปถึงความแตกต่างด้านรูปลักษณ์ภายนอก ไม่ดูถูกดูแคลนใคร ไม่ด่วนตัดสินตัวเองและผู้อื่น สิ่งเหล่านี้จะทำให้เราเป็นที่รักและอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุขมากขึ้น

10. คำชมเล็ก ๆ น้อย ๆ ทำให้โลกสดใสขึ้น

ถ้าการรอให้ผู้อื่นเอ่ยชมเรานั้นยากเกินไป ลองชมตัวเองเล็ก ๆ น้อย ๆ บ้างก็ทำให้โลกดูสดใสขึ้นได้นะ และถ้าไม่ยากเกินไปก็ลองกล่าวชมผู้อื่นดูบ้าง คำพูดดี ๆ เพียงเล็กน้อยของเราอาจเป็นเรื่องดี ๆ ของเขาไปทั้งวันเลยก็ได้

เพราะการอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมเราอาจควบคุมสถานการณ์หลาย ๆ อย่างให้เป็นดั่งใจเราไม่ได้ทั้งหมด บางครั้งอาจมีการกระทำหรือคำพูดที่มากระทบจิตใจจนทำให้เรารู้สึกแย่ แต่ถ้าเราเห็นคุณค่าในตัวเองอยู่เสมอ มีความมั่นคงทางจิตใจที่มากพอ มีภูมิคุ้มกันทางใจที่ดี สิ่งเหล่านี้ก็จะส่งผลกระทบกับใจเราน้อยมาก ๆ มาเริ่มรักตัวเองให้มากขึ้นตั้งแต่วันนี้กันเถอะ!

สำหรับคนที่อยากพัฒนาตัวเองด้านการเรียนลองอ่านบทความ ใช้สองชั่วโมงให้คุ้มค่า ด้วยการบริหารเวลาแบบมะเขือเทศ หรือเรียนรู้การเติบโตเป็นผู้ใหญ่ไปกับ Howl's Moving Castle

Reference:

Miller, P., Kreitman, N., Ingham, J., & Sashidharan, S. (1989). Self-esteem, life stress and psychiatric disorder. Journal of Affective Disorders, 17(1), 65–75. doi: 10.1016/0165-0327(89)90025-6

Slater, L. (2002, February 3). The Trouble With Self-Esteem. Retrieved February 6, 2020, from //www.nytimes.com/2002/02/03/magazine/the-trouble-with-self-esteem.html

สมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย. (2015, December 13). Retrieved February 6, 2020, from //www.facebook.com/ThaiPsychiatricAssociation/posts/760593724044646/

Self Esteem การเห็นคุณค่าในตัวเองที่สร้างได้. (2018, July 23). Retrieved February 6, 2020, from //www.pobpad.com/self-esteem-การเห็นคุณค่าในตัวเอ

Rate Your Self Esteem. (2016, December 16). Retrieved February 6, 2020, from //healthyselfesteem.org/rate-your-self-esteem/

การเห็นคุณค่าในตนเองคืออะไร

การเห็นคุณค่าในตนเองมีความเกี่ยวข้องกับการรับรู้อัตมโนทัศน์ กล่าวคือ หากคนเรารับรู้ว่าตนเองมีจุดเด่นและเป็นการรับรู้ที่สอดคล้องกับความเป็นจริง ก็จะส่งผลให้เขารับรู้ตนเองเป็นไปในทางด้านบวก มีความรู้สึกที่ดีกับตนเอง มีความภาคภูมิใจ พร้อมทั้งมีการแสดงออกอย่างเหมาะสม

การเห็นคุณค่าในตนเองมีความสำคัญกับการดำเนินชีวิตของบุคคลอย่างไร

การเห็นคุณค่าในตนเองเป็นปัจจัย ภายในที่สำาคัญ ซึ่งทำาให้เกิดความสุขที่ยั่งยืน มากกว่าปัจจัยภายนอก เพราะการเห็นคุณค่า ในตนเองจะทำาให้บุคคลเกิดความรู้สึกดีต่อ ตนเอง มั่นใจ (ในระดับจิตใต้สำานึก) ว่า “ฉันมีค่า ฉันใช้ได้ ฉันมีข้อดี ฉันมั่นใจว่าฉันสามารถรับมือ กับปัญหาที่เกิดขึ้นในชีวิตของฉันได้” ตัวอย่าง เช่น คนพิการ ที่ ...

พฤติกรรมการเห็นคุณค่าในตนเองมีอะไรบ้าง

ดูแลจิตใจ เติมความสุขให้ตัวเอง ชื่นชมยินดีกับเรื่องเล็กน้อยรอบตัว ปล่อยวางเรื่องที่ทำให้ไม่สบายใจ อยู่กับปัจจุบันอย่างมีสติ พูดคุยกับคนที่มองโลกในแง่ดี วางแผนการเงิน มีเป้าหมายที่ชัดเจนในการใช้จ่ายอย่างเหมาะสมและรู้จักเก็บออม

การเห็นคุณค่าในตนเองตามแนวคิดของ Maslow ได้ให้ความคิดเห็นแบบใด

เวลาระหว่าง ค.ศ.1970-1996 ความคิดเห็นปรากฏ ออกมาค่อนข้างจะต่อเนื่องกันมากพอสมควร เช่น มาส โลว์ (Maslow, 1970) เห็นว่าการเห็นคุณค่าในตนเอง เป็นความรู้สึกของบุคคลที่มีความเชื่อมั่นในตนเองและ เห็นว่าตนเองมีความเข้มแข็ง มีคุณค่า มีความสามารถ มีความเชี่ยวชาญในการกระทำภารกิจต่าง ๆ โปลิโต

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง