แนะ นํา ตัว ภาษาญี่ปุ่น สอบสัมภาษณ์ มหา ลัย

แนะนำตัวอย่างไรให้คนญี่ปุ่นสนใจ…การแนะนำตัวเองสำคัญต่อชื่อเสียงภาพลักษณ์การได้งานตลอดจนการได้คู่เป็นอย่างยิ่ง! แนะนำดีเป็นศรีแก่ตัว แนะนำมั่วซั่วคนจะลืมเลือน

บทความโดย : เกตุวดี www.marumura.com

“ไหน … ลองแนะนำตัวเป็นภาษาอังกฤษซิ”

ดิฉันบอกเด็กม.6 ที่มาสัมภาษณ์เข้ามหาวิทยาลัยดิฉัน

“My name is ???. My nickname is ???.  I came from Bangkok. I have one sister. Thank you.”

และไม่ใช่แค่รายเดียว … มากันเป็น Pattern

ดิฉันสงสัยอยู่นานว่าทำไมน้องๆ ถึงพูดกันมาได้เป็น pattern แบบนี้? ทำไมน้องๆ ถึงคิดว่ากรรมการสัมภาษณ์อยากรู้ว่าหนูเกิดที่ไหน มีพี่น้องกี่คน

ครุ่นคิดอยู่นาน 3 วัน …สุดท้ายก็เข้าใจว่า น้องๆ ไม่ค่อยมีโอกาสได้แนะนำตัวเอง (แบบเป็นทางการ) นั่นเอง แค่โอกาสที่จะแนะนำตัวเองเป็นภาษาไทยก็ไม่ค่อยมีแล้ว พอโดนบอกให้แนะนำตัวเป็นภาษาอังกฤษ น้องๆ หลายคนคงจะเกร็งในหัวนึกออกแต่ชุดประโยคที่ครูภาษาอังกฤษเคยบังคับให้เรา แต่งและท่องจำ

ขอบคุณภาพจาก: //matome.naver.jp/odai/2139237612297360901/2139238230901998003

เมื่อไปญี่ปุ่นสถานการณ์จะกลับตาลปัตรค่ะ ที่ญี่ปุ่นเราจะต้องแนะนำตัวต่อหน้ากลุ่มคนบ่อยมาก ขอย้ำว่า “กลุ่มคน” เช่น

เด็กโรงเรียนหรือเด็กมหาลัยก็ต้องแนะนำตัวกับเพื่อนและรุ่นพี่ในชมรม พนักงานใหม่ก็ต้องแนะนำตัวเองในปาร์ตี้เลี้ยงรับพนักงานใหม่ หรืองานปฐมนิเทศบริษัท ถ้าไปทำกิจกรรมอาสา ก่อนเริ่มทำกิจกรรม เขาก็จะให้แนะนำตัวกันนิดหนึ่ง เวลาสมัครงานกรรมการสัมภาษณ์ก็มักจะให้ผู้สมัครแนะนำตัวเองก่อนหรือถ้าจะไป หาแฟน ไปงาน “โก-คง” (ปาร์ตี้นัดบอด) เขาก็จะเริ่มด้วยการแนะนำตัวกันก่อน (ใครจะหาคู่ได้ไม่ได้นี่ ขึ้นอยู่กับการแนะนำตัวเองให้น่าสนใจด้วยนะคะ)

เพราะฉะนั้นสำหรับตัวเอง การแนะนำตัวเองจึงสำคัญต่อชื่อเสียงภาพลักษณ์การได้งานตลอดจนการได้คู่เป็น อย่างยิ่ง! แนะนำดีเป็นศรีแก่ตัว แนะนำมั่วซั่วคนจะลืมเลือน

สำหรับสถานที่และบรรยากาศส่วนใหญ่นั้นจะเป็นที่ร้านอาหารหรือร้านอิซากายะ (ร้านเหล้า) ค่ะ สมมติโต๊ะหนึ่งนั่งกัน 10 คน หลังชนแก้วและเริ่มทานอาหารไปได้สักพัก แม่งานหรือประธานในพิธีก็จะบอกว่า “เอาล่ะ…ทุกคนมาแนะนำตัวกันเถอะ” จากนั้น สมาชิกในโต๊ะก็จะลุกขึ้นยืนทีละคนๆ ทุกคนที่นั่งอยู่จะตั้งใจฟังมาก ไม่มีการแอบเม้าท์กับคนข้างๆ เลย

ดิฉันเคยไปงานเลี้ยงสมาคมคนโกเบในประเทศไทย (แอบเนียนไปเป็นคนโกเบกับเขาด้วย) คืนนั้นมีคนไปร่วมงานประมาณ 30 คน เขาก็ให้คนทั้ง 30 คนแนะนำตัวหมดเลยทั้งห้องค่ะ

ทำไมต้องแนะนำตัวเอง?

การแนะนำตัวเองทำให้คนอื่นรู้จักเราได้เร็วที่สุดง่ายที่สุด ทำให้เกิดการชวนคุยต่อในวงโต๊ะกินข้าวได้ง่ายขึ้น อย่าลืมว่าคนญี่ปุ่นไม่ค่อยถนัดพูดเรื่องตัวเอง เขาจะมัวแต่พยายามตั้งใจฟังเรื่องของฝ่ายตรงข้าม (ไม่เชื่อลองไปทานข้าวกับคนญี่ปุ่นดู เขาจะเงี่ยหูฟังเราอย่างตั้งอกตั้งใจมากๆ) ไม่ค่อยมีโมเม้นท์แย่งกันพูด

ยิ่งถ้าเป็นคนที่เพิ่งรู้จักกันใหม่ๆ คนญี่ปุ่นจะเกร็งและอึดอัดเป็นพิเศษ คือ … ในหัวมัวแต่คิดว่าจะพูดหรือจะถามอะไรดีเพื่อไม่ให้เป็นการเสียมารยาทนะ หรือจะทำอย่างไรให้ฝ่ายตรงข้ามเอนจอยกับการคุยกับเรานะ

นี่คือเหตุผลที่คนญี่ปุ่นมักจะสร้าง Section การแนะนำตัวไว้ในช่วงทานข้าวค่ะ การแนะนำตัวจะช่วยให้เรามีข้อมูลของคนที่นั่งร่วมโต๊ะกับเราเล็กน้อย เช่น รู้ว่าเขาชอบอะไร มีงานอดิเรกอะไร เราก็สามารถเชื่อมโยงบทสนทนาได้ง่ายขึ้น
เทคนิคการแนะนำตัว

โปรดนึกเสมอว่าการแนะนำตัว คือการทำให้คนอื่นชวนเราเม้าท์มอยได้ง่ายขึ้น หรือสนใจเรามากขึ้น เพราะฉะนั้นการแนะนำตัวเป็นแพทเทิร์นว่า “ดิฉันชื่อ….บ้านเกิด….พี่น้อง….คน” อาจจะทำให้คนชวนเราเม้าท์มอยต่อได้ยากหน่อย ลองดูวิธีแนะนำตัวต่างๆ ต่อไปนี้นะคะ

1. แบบเบสิค

ถ้า ภาษาญี่ปุ่นยังไม่ชำนาญ ลองฝึกแต่งประโยคแนะนำตัวแบบเบสิคก็ได้ค่ะ เพราะแค่เราเป็นคนไทย คนต่างชาติก็น่าสนใจพอแล้ว แนะนำตัวแค่ระดับเบๆ ไม่น่าเป็นอะไร

ข้อมูลที่ควรมีในการแนะนำตัวได้แก่

อายุ (ถ้ายินยอมบอกได้) บ้านเกิด กรุ๊ปเลือด เดือนเกิด งานอดิเรก ฯลฯ

จุดประสงค์ คือ ถ้าใครในโต๊ะนั้น เกิดบ้านเดียวกับเรา เลือดกรุ๊ปเดียวกัน หรือเกิดเดือนเดียวกัน จะได้คลิกกันได้ง่าย มีเรื่องถามคุยต่อ

แต่ครั้นจะให้แนะนำตัวตามแพทเทิร์นว่า “ชื่อเปิ้ลค่ะ เป็นคนระยองค่ะ เลือดกรุ๊ปโอค่ะ” อันนี้ก็จะดูน่าเบื่อเกินไป เราอาจทำให้การแนะนำตัวน่าสนใจมากขึ้น เช่น “ชื่อเปิ้ลค่ะ เป็นคนระยอง …จริงๆ เลือดกรุ๊ปโอ แต่ทุกคนที่คุยกับหนูจะนึกว่าหนูเลือดกรุ๊ปเอค่ะ” แนะนำตัวแบบนี้น่าสนใจ เพราะจะทำให้คนทั้งวงอยากถามหรืออยากฟังต่อว่า “ทำไมคนถึงคิดว่าเราเลือดกรุ๊ปเอ”

อย่างถ้าจะเล่าวันเกิด ก็บอกให้น่าสนใจมากขึ้น เช่น “เกิดวันที่ 16 สิงหา..เกิดวันเดียวกับมาดอนน่าค่ะ ไอดอลหนูมาก ตอนนี้เลยพยายามลดหุ่นให้เหมือนคุณป้าแกอยู่ค่ะ” ก็จะยังดูน่าสนใจขึ้นกว่าการบอกแค่วันเกิดเฉยๆ

อีกประเด็นหนึ่งที่คนญี่ปุ่นชอบพูดถึง คือ “งานอดิเรก” นั่นเอง คนญี่ปุ่นมักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ หาอะไรทำอยู่เสมอๆ ทุกคนเลยมีงานอดิเรกเป็นชิ้นเป็นอัน

เพราะฉะนั้นถ้าเราจะบอกว่า “งานอดิเรกหนูคือ การนอนกลิ้งเกลือกไปมา” หรือ “ชอบกินค่ะ กินเป็นงานอดิเรก” มันก็จะดูธรรมดาไปนี้ดส์นึง ไม่สามารถสร้างสีสันให้กับงานเลี้ยงได้ งานอดิเรกของเราที่จะเรียกเสียงฮือฮา ได้แก่ งานอดิเรกที่แปลกประหลาด หรืออะไรที่คนธรรมดาเขาไม่ค่อยจะทำกัน เช่น “เวลาว่าง ผมชอบลับมีดครับ เวลาลับมีด มันรู้สึกได้จดจ่อกับอะไรตรงหน้า แล้วลืมเรื่องต่างๆ ไปหมด สุดยอดมากครับ”  ถ้าคุณสามารถแนะนำงานอดิเรก (ประหลาด) แบบนี้ได้ เชื่อสิคะว่าหลังแนะนำตัวเสร็จ ต้องมีคนมาถามแน่ๆ ว่า “ลับมีดไปทำไม ดียังไง” และบทสนทนาก็จะดำเนินต่อไปได้อย่างครื้นเครง

แต่ถ้าเราไม่มีงานอดิเรกประหลาดแบบนั้นล่ะ? ไม่เป็นไรค่ะ แค่ทำงานอดิเรกเราให้น่าสนใจขึ้น เช่น ถ้าเป็นคนชอบเที่ยว อาจบอกว่าไปเที่ยวมากี่ประเทศแล้ว และอยากไปประเทศไหนที่สุดตอนนี้ ถ้าชอบกินอาจบอกว่าชอบกินอาหารประเภทไหนมากที่สุด เราอินกับอาหารอะไร หรือเคยทานอาหารอะไรประหลาดๆ บ้าง ส่วนคนที่มีงานอดิเรกเป็นการนอน ก็อาจบอกเคล็ดลับการนอนกินบ้านกินเมือง หรือเคยนอนติดกันนานสุดกี่ชั่วโมง อันนี้แล้วแต่เราสร้างสรรค์ค่ะ

2. แบบแอ๊ดวานซ์

การแนะนำตัวแบบนี้ เป็นการฉีกออกจากรูปแบบเดิมๆ เราสร้างแพทเทิร์นหรือเรื่องราวที่น่าสนใจขึ้นมาใหม่เกี่ยวกับตัวเราได้ ดิฉันแนะนำให้คุณนึกถึงเรื่องที่คนไม่น่าจะรู้เกี่ยวกับเรา หรือเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเร็วๆ นี้ หรือเรื่องน่าอมยิ้มเกี่ยวกับตัวคุณ เช่น

“สวัสดีครับผมชื่อ อิจิโร่ ซาโต้ครับ ตามที่ทุกท่านทราบ…นามสกุลผมนี่เยอะเป็นอันดับ 1 ในญี่ปุ่นเลย สมัยประถมผมมีเพื่อนชื่อซาโต้อีก 3 คนในคลาสเดียวกัน เพื่อนๆ เรียกผมว่า “ซาโต้จิ” เอาชื่อกับนามสกุลผมมารวมกันครับ ส่วนชื่ออิจิโร่ มาจากชื่อนักเบสบอลที่พ่อแม่ชอบครับ แต่ผมคงทำลายความฝันท่าน เพราะผมไม่เล่นเบสบอลเลย ตอนนี้สนใจแต่กีฬามวยปล้ำครับ”

นายซาโต้ถือว่าเจ๋งมากในการพยายามหาความเกี่ยวโยงกับสิ่งต่างๆ เข้ากับชื่อตัวเอง ทำให้คนจำชื่อตัวเองได้ แถมตอนสุดท้ายก็โยงเข้ากับงานอดิเรกตัวเองได้อย่างสวยงาม (ปรบมือๆ)

สมัยอยู่ญี่ปุ่นถ้าเป็นงานเลี้ยงที่ไม่ได้ formal มาก บางครั้งดิฉันก็เล่าความฝันของตัวเอง เช่น

“สวัสดี ค่ะ ชื่อเคตโตะค่ะ มาจากประเทศไทยค่ะ ดิฉันตัดสินใจมาเรียนที่ญี่ปุ่นเพราะหลงเสน่ห์วัฒนธรรมคาวาอี้..คิตตี้ และคิทแคท ความฝันดิฉันคือ อยากลองใส่ชุดนักเรียนสาวม.ปลายกับชุดมิโกะซังผู้ดูแลศาลเจ้า ทั้งหมดเป็นอิทธิพลของการ์ตูนเซเลอร์มูนที่เคยดูในวัยเด็กค่ะ”

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง