การแก้ปัญหา ขาดแคลนน้ำ ระยะสั้น

ภัยแล้งในประเทศไทยส่วนใหญ่มีผลกระทบต่อการเกษตรกรรม โดยเป็นภัยแล้งที่เกิดจากขาดฝนหรือ ฝนแล้ง ในช่วงฤดูฝน และเกิด ฝนทิ้งช่วง ในเดือนมิถุนายนต่อเนื่องเดือนกรกฎาคม พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้งมาก ได้แก่บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง เพราะเป็นบริเวณที่อิทธิพลของมรสุมตะวันตกเฉียงใต้เข้าไปไม่ถึง และถ้าปีใดไม่มีพายุหมุนเขตร้อนเคลื่อนผ่านในแนวดังกล่าวแล้วจะก่อให้เกิดภัยแล้งรุนแรงมากขึ้น นอกจากพื้นที่ดังกล่าวแล้ว ยังมีพื้นที่อื่น ๆ ที่มักจะประสบปัญหาฝนแล้ง ฝนทิ้งช่วง เป็นประจำอีกดังตารางข้างล่าง

ภาค/เดือนเหนือตะวันออกเฉียงเหนือกลางตะวันออกใต้ฝั่งตะวันออกฝั่งตะวันตกม.ค.ฝนแล้งก.พ.ฝนแล้งฝนแล้งฝนแล้งมี.ค.ฝนแล้งฝนแล้งฝนแล้งฝนแล้งฝนแล้งฝนแล้งเม.ย.ฝนแล้งฝนแล้งฝนแล้งฝนแล้งฝนแล้งพ.ค.ฝนแล้งมิ.ย.ฝนทิ้งช่วงฝนทิ้งช่วงฝนทิ้งช่วงฝนทิ้งช่วงก.ค.ฝนทิ้งช่วงฝนทิ้งช่วงฝนทิ้งช่วงฝนทิ้งช่วง

ที่มา : กรมอุตุนิยมวิทยา (//www.tmd.go.th/info/info.php?FileID=71)

วิธีการแก้ปัญหาภัยแล้ง

  • แก้ปัญหาเฉพาะหน้า เช่น แจกน้ำให้ประชาชน ขุดเจาะน้ำบาดาล สร้างศูนย์จ่ายน้ำ จัดทำฝนเทียม
  • การแก้ปัญหาระยะยาว อันได้แก่ การพัฒนาลุ่มน้ำ การสร้างฝาย การสร้างเขื่อน ขุดลอกแหล่งน้ำ การให้ความร่วมมือและมีส่วนร่วมมือในการจัดทำและพัฒนาชลประทาน การรักษาป่าและปลูกป่า เช่น การปลูกป่า 3 อย่าง ได้ประโยชน์ 4 อย่าง ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นต้น

ที่มา : กรมอุตุนิยมวิทยา (//www.tmd.go.th/info/info.php?FileID=71)

ที่มา : //www.greencoun.com/3forest_4benefits.php

ข้อปฏิบัติเมื่อเกิดภัยแล้ง

  • เตรียมกักเก็บน้ำสะอาดเพื่อการบริโภคให้เพียงพอ โดยเริ่มดำเนินการก่อนช่วงเกิดภัยแล้ง อย่ารีรอมิฉะนั้นจะไม่มีน้ำให้กักเก็บ
  • ขุดลอกคู คลอง ดูแลแหล่งเก็บน้ำในชุมชนให้มีศักยภาพเพื่อเพิ่มปริมาณกักเก็บน้ำ
  • วางแผนใช้น้ำอย่างประหยัด เพื่อให้มีน้ำใช้ตลอดช่วงภัยแล้ง เช่น ใช้น้ำจากฝักบัวเพื่อชำระร่างกายจะประหยัดน้ำมากกว่าการตักอาบ นำน้ำที่ใช้ชำระร่างกายหรือน้ำจากการซักผ้าไปใช้ต่อทางการเกษตร
  • การใช้น้ำเพื่อการเกษตร ควรใช้ในช่วงเช้าและเย็น เพื่อลดอัตราการระเหยน้ำ
  • กำจัดวัสดุเชื่อเพลิงรอบที่พัก เพื่อป้องกันการเกิดไฟป่าและการลุกลาม
  • เตรียมหมายเลขโทรศัพท์ฉุกเฉินเพื่อการขอน้ำบริโภคและการดับไฟป่า

ภัยแล้ง  คือ  ภัยที่เกิดจากการขาดแคลนน้ำในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งเป็นเวลานาน จนก่อให้เกิดความแห้งแล้ง และส่งผลกระทบต่อชุมชน
สาเหตุของการเกิดภัยแล้งมีอะไรบ้าง
         ๑. โดยธรรมชาติ   ได้แก่   การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิโลก   การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
2. การเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำทะเล
3 ภัยธรรมชาติ เช่น วาตภัย แผ่นดินไหว
         4. โดยการกระทำของมนุษย์ ได้แก่   การทำลายชั้นโอโซน   ผลกระทบของภาวะเรือนกระจก                   การพัฒนาด้านอุตสาหกรรม  การตัดไม้ทำลายป่า สำหรับภัยแล้งในประเทศไทย ส่วนใหญ่เกิดจากฝนแล้งและทิ้งช่วง ซึ่งฝนแล้งเป็นภาวะปริมาณฝนตกน้อยกว่าปกติหรือฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล

ภัยแล้งในประเทศไทยสามารถเกิดช่วงเวลาใดบ้าง   ภัยแล้งในประเทศไทยจะเกิดใน ๒ ช่วง ได้แก่
        1. ช่วงฤดูหนาวต่อเนื่องถึงฤดูร้อน ซึ่งเริ่มจากครึ่งหลังของเดือนตุลาคมเป็นต้นไป บริเวณประเทศไทยตอนบน จะมีปริมาณฝนลดลงเป็นลำดับ จนกระทั่งเข้าสู่ฤดูฝนในช่วงกลางเดือนพฤษภาคมของ ปีถัดไป ซึ่งภัยแล้งลักษณะนี้จะเกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี
        2. ช่วงกลางฤดูฝน ประมาณปลายเดือนมิถุนายนถึงเดือนกรกฎาคม จะมีฝนทิ้งช่วงเกิดขึ้น ภัยแล้งลักษณะนี้จะเกิดขึ้นเฉพาะท้องถิ่นหรือบางบริเวณ บางครั้งอาจครอบคลุมพื้นที่เป็นบริเวณกว้างเกือบทั่วประเทศ
         3. พื้นที่ใดในประเทศไทยที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง ภัยแล้งในประเทศไทยส่วนใหญ่มีผลกระทบต่อการเกษตรกรรม โดยเป็นภัยแล้งที่เกิดจากขาดฝนหรือ ฝนแล้ง ในช่วงฤดูฝน และเกิด ฝนทิ้งช่วง ในเดือนมิถุนายนต่อเนื่องเดือนกรกฎาคม พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้งมาก ได้แก่บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง เพราะเป็นบริเวณที่อิทธิพลของมรสุมตะวันตกเฉียงใต้เข้าไปไม่ถึง และถ้าปีใดไม่มีพายุหมุนเขตร้อนเคลื่อนผ่านในแนว ดังกล่าวแล้วจะก่อให้เกิดภัยแล้งรุนแรงมากขึ้น นอกจากพื้นที่ดังกล่าวแล้ว
          4. ภัยแล้งในประเทศไทยมีผลกระทบโดยตรงกับการเกษตรและแหล่งน้ำ เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศ ที่ประชาชนประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นส่วนใหญ่ ภัยแล้งจึงส่งผลเสียหายต่อกิจกรรมทางการเกษตร เช่น พื้นดินขาดความชุ่มชื้น พืชขาดน้ำ พืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตที่ได้มีคุณภาพต่ำ รวมถึงปริมาณลดลง ส่วนใหญ่ภัยแล้งที่มีผลต่อการเกษตร มักเกิดในฤดูฝนที่มีฝนทิ้งช่วงเป็นเวลานาน ผลกระทบที่เกิดขึ้นรวมถึงผลกระทบด้านต่าง ๆ ดังนี้
                  4.1 ด้านเศรษฐกิจ สิ้นเปลืองและสูญเสียผลผลิตด้านเกษตร ปศุสัตว์ ป่าไม้ การประมง เศรษฐกิจทั่วไป เช่น ราคาที่ดินลดลง โรงงานผลิตเสียหาย การว่างงาน สูญเสียอุตสาหกรรมการ ท่องเที่ยว พลังงาน อุตสาหกรรมขนส่ง เป็นต้น
                  4.2 ด้านสิ่งแวดล้อม ส่งผลกระทบต่อสัตว์ต่าง ๆ ทำให้ขาดแคลนน้ำ เกิดโรคกับสัตว์ สูญเสียความหลากหลายพันธุ์ รวมถึงผลกระทบด้านอุทกวิทยา ทำให้ระดับและปริมาณน้ำลดลง พื้นที่ชุ่มน้ำลดลง ความเค็มของน้ำเปลี่ยนแปลง ระดับน้ำในดินเปลี่ยนแปลง คุณภาพน้ำเปลี่ยนแปลง เกิดการกัดเซาะของดิน ไฟป่าเพิ่มขึ้น ส่งผลต่อคุณภาพอากาศและสูญเสียทัศนียภาพ เป็นต้น
                  4.3 ด้านสังคม เกิดผลกระทบในด้านสุขภาพอนามัย เกิดความขัดแย้งในการใช้น้ำและการจัดการคุณภาพชีวิตลดลง
วิธีการแก้ปัญหาภัยแล้งทำได้อย่างไร
         1 แก้ปัญหาเฉพาะหน้า เช่น แจกน้ำให้ประชาชน ขุดเจาะน้ำบาดาล สร้างศูนย์จ่ายน้ำ จัดทำฝนเทียม
         2 การแก้ปัญหาระยะยาว โดยพัฒนาลุ่มน้ำ เช่น สร้างฝาย เขื่อน ขุดลอกแหล่งน้ำ รักษาป่าและปลูกป่า ให้ความร่วมมือและมีส่วนร่วมมือในการจัดทำและพัฒนาชลประทาน.

แก้ปัญหาความแห้งแล้งอย่างไร

วิธีการแก้ปัญหาภัยแล้ง การแก้ปัญหาระยะยาว อันได้แก่ การพัฒนาลุ่มน้ำ การสร้างฝาย การสร้างเขื่อน ขุดลอกแหล่งน้ำ การให้ความร่วมมือและมีส่วนร่วมมือในการจัดทำและพัฒนาชลประทาน การรักษาป่าและปลูกป่า เช่น การปลูกป่า 3 อย่าง ได้ประโยชน์ 4 อย่าง ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นต้น

โครงการในข้อใดช่วยลดปัญหาการขาดแคลนน้ำ

๑. โครงการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเพาะปลูก และอุปโภคบริโภคได้แก่ อ่างเก็บน้ำและฝายทดน้ำ ๒. โครงการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการรักษาต้นน้ำลำธาร ๓. โครงการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการผลิตไฟฟ้าพลังน้ำ ๔. โครงการระบายน้ำออกจากพื้นที่ลุ่ม

ปัญหาขาดแคลนน้ำ มีอะไรบ้าง

วิกฤตการณ์การขาดแคลนน้ำจากสาเหตุต่างๆ เช่น ความต้องการน้ำใช้ในกิจกรรมต่างๆ เช่น ความต้องการน้ำใช้ในกิจกรรมต่างๆ มีปริมาณเพิ่มสูงขึ้น ความสมดุลของทรัพยากรน้ำระหว่างฤดูแล้งและฤดูฝนไม่สมดุล รวมถึงการใช้น้ำในกิจกรรมต่างๆ ที่ขาดแผนการใช้ที่รัดกุมและเหมาะสมรวมทั้งขาดองค์กรระดับชาติที่จะเข้ามาบริหารจัดการแหล่งน้ำ ตลอดจนแหล่ง ...

การแก้ปัญหาเรื่องการขาดแคลนน้ำในฤดูแล้งและที่ดอนสมัยสุโขทัยทำอย่างไร

การแก้ปัญหาเรื่องน้ำอุปโภคบริโภคที่ขาดแคลน พ่อขุนรามคำแหงใช้วิธีที่ปรากฏเป็นหลักฐาน คือ ที่เก็บน้ำขนาดใหญ่ทางด้านทิศใต้ “เบื้องหัวนอนเมืองสุโขทัย มีสรีดภงค์” สรีดภงค์มาจากภาษาสันสกฤต คือ สริทภงค แปลว่า “ทำนบ” แสดงว่ามีการเก็บน้ำขนาดใหญ่ไว้ในทำนบ และยังมีแหล่งเก็บน้ำตามธรรมชาติที่ค่อนข้างกว้างขวางมากเหมือนกัน ดังพรรณนา ...

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง