ขอคืนเงินประกันสังคม มาตรา 39

หลายคนไม่รู้ว่านอกเหนือจากสวัสดิการประกันสังคมต่าง ๆ ที่ได้รับในระหว่างการเป็นผู้ประกันตนแล้ว  ยังมีเงินส่วนหนึ่งที่เราสามารถขอรับเงินคืนจากประกันสังคมได้ด้วย  ประกันสังคมจะจ่ายคืนยังไง จ่ายในกรณีไหนบ้าง  ?

เริ่มต้นขายสินค้า ออนไลน์ แบบไม่ต้องสต็อกกับ PriceZA ลงทะเบียนฟรี //bit.ly/3fyJuUw

เมื่อเราเข้าทำงานเป็นลูกจ้างในสถานประกอบการ เรามีหน้าที่ต้องจ่ายเงินสมทบประกันสังคมในทุก ๆ เดือน เพื่อรับสิทธ์ด้านการรักษาพยาบาล ว่างงาน  คลอดบุตร เกษียณ สงเคราะห์บุตร ทุพพลภาพ และเสียชีวิต ในอัตราร้อยละ 5 ของรายได้ แต่ไม่เกินรายได้เฉลี่ย 15,000 บาท ซึ่งก็คือเรทสูงสุดอยู่ที่เดือนละ 750 บาทในส่วนของลูกจ้าง และนายจ้างเองก็มีหน้าที่นำส่งเงินสมทบจำนวนเท่า ๆ กันกับเงินสมทบในส่วนของลูกจ้างเช่นกัน

แต่หลายคนไม่รู้ว่านอกเหนือจากสวัสดิการประกันสังคมต่าง ๆ ที่ได้รับในระหว่างการเป็นผู้ประกันตนแล้ว  ยังมีเงินส่วนหนึ่งที่เราสามารถขอรับเงินคืนจากประกันสังคมได้ด้วย  ประกันสังคมจะจ่ายคืนยังไง จ่ายในกรณีไหนบ้าง

เงินสมทบที่จ่ายไป จะได้คืนมาทั้งหมดหรือไม่?

เงินสมทบประกันสังคมที่เราจ่ายไปในทุก ๆ เดือนนั้น จะถูกจัดสรรปันส่วน กลายเป็นสวัสดิการสังคมในแต่ละประเภท  เช่น เงินสมทบประกันสังคมในส่วนของลูกจ้างในอัตราสูงสุดเดือนละ 750 บาท เงินก้อนนี้จะถูกแบ่งเป็น 3 ส่วน

  • สวัสดิการพื้นฐาน ในส่วนของ ค่ารักษาพยาบาล ค่าคลอดบุตร เงินสงเคราะห์บุตร  ค่าชดเชยทุพพลภาพ และกรณีเสียชีวิต  จำนวน 225 บาท
  • ค่าชดเชยกรณีว่างงาน โดยจะได้รับเงินตามหลักเกณฑ์ของประกันสังคม ในกรณีที่ลาออกจากงาน และการเลิกจ้างโดยไม่มีความผิด  จำนวน  75 บาท
  • เงินบำเหน็จ บำนาญชราภาพ เป็นเงินออมระยะยาวที่จะได้รับเมื่อผู้ประกันตนอายุครบ 55 ปี จำนวน 450 บาท

เงินที่จะสามารถขอคืนได้คือส่วนของเงินบำเหน็จ บำนาญชราภาพ เดือนละ 450 บาทนี่แหละ  เนื่องจากเงินสมทบในสองส่วนแรกจะเป็นส่วนที่ให้ความช่วยเหลือในส่วนของสวัสดิการสังคม ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงที่เราเป็นผู้ประกันตน แต่เงินบำหน็จ บำนาญชราภาพ เป็นส่วนของเงินสะสมที่ทางประกันสังคมได้จัดสรรไว้ให้ในกรณีที่ผู้ประกันตนเกษียณอายุแล้ว

เงินประกันสังคมได้คืนตอนไหน ?

เริ่มต้นขายสินค้า ออนไลน์ แบบไม่ต้องสต็อกกับ PriceZA
ลงทะเบียนฟรี //bit.ly/3fyJuUw

1.รับคืนในกรณีการจ่ายเงินสมทบเกิน

ตามปกติแล้วนายจ้างจะมีหน้าที่หักเงินค่าจ้างในอัตราร้อยละ 5 เพื่อนำส่งกองทุนประกันสังคมในทุกเดือน แต่ในกรณีที่ลูกจ้างได้ทำงานกับนายมากกว่า 1 รายในเดือนเดียวกัน นายจ้างแต่ละราย ต่างก็ทำหน้าที่หักเงินค่าจ้างเพื่อนำส่งตามกฏหมาย จึงทำให้เกิดเหตุการณ์จ่ายเงินสมทบเกินกว่า 1 แห่ง ทำให้เงินสมทบที่จ่ายในเดือนนั้นเกินเรทสูงสุดคือ 750 บาท  ยกตัวอย่างเช่น

ลูกจ้างมีการเปลี่ยนงานในระหว่างเดือน นายจ้างเก่าทำการหักเงินสมทบจากค่าจ้าง 10,000 บาท ในอัตราร้อยละ 5 เป็นจำนวนเงิน 500 บาท และนำส่งกองทุนประกันสังคม ส่วนนายจ้างรายใหม่ ก็ทำการหักเงินสมทบจากค่าจ้าง  13,000 บาทในอัตราร้อยละ 5 เป็นจำนวนเงิน  650 บาท และนำส่งกองทุนประกันสังคมเช่นกัน  ดังนั้น ในเดือนนี้ลูกจ้างรายนี้ได้จ่ายเงินสมทบไปจำนวน  500 + 650 = 1,150 บาท  จ่ายเกินไป 400 บาท ซึ่งเงิน 400 บาทนี้สามารถขอรับคืนได้

 2.รับคืนในกรณีอายุครบ 55 ปี บริบูรณ์

ประกันสังคมจะมีเกณฑ์การจ่ายเงินคืนโดยอิงตามระยะเวลาในการจ่ายเงินสมทบประกันสังคม คือ

  • จ่ายเงินสมทบไม่ถึง 12 เดือน ประกันสังคมจะจ่ายคืนในรูปแบบของเงินบำเหน็จชราภาพ คือการจ่ายเงินก้อนให้ในครั้งเดียว ยกตัวอย่างเช่น

จ่ายเงินสมทบเดือนละ 750 บาทมา 5 เดือน จะได้เงินคืนในส่วนของเงินบำเหน็จชราภาพ เดือนละ 450 บาท คูณจำนวนเดือนที่จ่ายเงินสมทบเป็นเวลา 5 เดือน จะได้รับเงินบำเหน็จจำนวน 450 x 5 = 2,250 บาท

  • จ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 12 เดือน ไม่ถึง 180 เดือน (15 ปี) ประกันสังคมจะจ่ายคืนในรูปของเงินบำเหน็จคือการจ่ายเงินก้อนให้ในครั้งเดียว  แต่จะได้ในส่วนของนายจ้างเพิ่มขึ้นมาด้วย  ยกตัวอย่างเช่น

จ่ายเงินสมทบเดือนละ 750 บาทมา 120 เดือน  (10 ปี) จะได้เงินคืนในส่วนของเงินบำเหน็จชราภาพ เดือนละ 450 บาท  และส่วนของนายจ้างอีก 450 บาท  รวมเป็นเดือนละ 900 บาท  คูณจำนวนเดือนที่จ่ายเงินสมทบเป็นเวลา 120 เดือน จะได้รับเงินบำเหน็จจำนวน (450 + 450) x 120 = 108,000 บาท

  • จ่ายเงินสมทบครบ 180 เดือน พอดี ประกันสังคมจะจ่ายคืนในรูปแบบของเงินบำนาญชราภาพ โดยจะจ่ายคืนให้เป็นรายเดือน ในอัตราร้อยละ 20 ของเงินค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย (สูงสุด 15,000 บาท) ไปตลอดชีวิต ยกตัวอย่างเช่น

เงินค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้ายคือ 15,000 บาท คูณอัตราเงินบำนาญชราภาพร้อยละ 20  จะได้รับเงินบำนาญเดือนละ 15,000 x 20% = 3,000 บาท ไปตลอดชีวิต

 จ่ายเงินสมทบเกิน 180 เดือน (15 ปี ) ประกันสังคมจะจ่ายคืนในรูปแบบของเงินบำนาญชราภาพ โดยจะจ่ายคืนให้เป็นรายเดือน และส่วนของเงินสมทบที่จ่ายเกิน 180 เดือนจะได้รับเงินเพิ่มร้อยละ 5 ของเงินค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย ในทุก 1 ปี ( 12 เดือน) ที่จ่ายเกินมา ยกตัวอย่างเช่น

จ่ายเงินสมทบมา 204 เดือน (เกิน มา 24 งวดคิดเป็น 2 ปี) เงินค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้ายคือ 15,000 บาท ได้รับเงินบำนาญตามเกณฑ์การจ่ายเงินสมทบครบ 180 เดือน เดือนละ 3,000 บาท  และเงินเพิ่มร้อยละ 1.5 เป็นเวลา 2 ปี ผู้ประกันตนจะได้รับเงินบำนาญรวมเงินเพิ่มเดือนละ 3,000 + (15,000 x 1.5% x 2) = 3,450 บาท ไปตลอดชีวิต

จะขอคืนเงินจากประกันสังคมได้อย่างไร ?

  1. กรณีการจ่ายเงินสมทบเกิน ?

จะต้องแจ้งความจำนงค์ขอรับเงินคืนภายใน 1 ปีนับจากวันที่ส่งเงินสมทบเกิน โดยสามารถขอรับเงินคืนได้ 2 วิธี คือ นายจ้างเป็นผู้ยื่นขอรับเงินคืนพร้อมแนบหลักฐานและเหตุผลการขอรับเงินคืนกับสำนักงานประกันสังคม และ ในกรณีที่ลูกจ้างได้รับจดหมายแจ้งจากประกันสังคม สามารถกรอกข้อความแสดงความประสงค์ขอรับเงินคืนพร้อมลงลายมือชื่อ และนำไปยื่นกับสำนักงานประกันสังคม หรือจะส่งทางไปรษณีย์ก็สามารถทำได้เช่นกัน

2.รับเงินประกันสังคมคืน อายุ 55

สามารถ ยื่นแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพ (สปส. 2-01) พร้อมแนบสำเนาสมุดบัญชีธนาคารประเภทออมทรัพย์ เพื่อขอรับเงิน บำเหน็จ บำนาญ ชราภาพได้ที่สำนักงานประกันสังคมท้องที่  โดยจะต้องมีคุณสมบัติครบถ้วน ดังนี้

  • จ่ายเงินสมทบตามเกณฑ์ที่กำหนด
  • อายุครบ 55 ปีบริบูรณ์
  • สิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตนแล้ว (ลาออกจากงาน หรือหยุดจ่ายเงินสมทบในกรณีเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39/40)

เงินประกันสังคมที่เราจ่ายไปในทุก ๆ เดือนไม่ใช่เงินจ่ายทิ้ง  และไม่ได้มีสิทธิประโยชน์แค่ค่ารักษาพยาบาล และชดเชยการว่างงาน เท่านั้น หากแต่มีสิทธิ์ประโยชน์อื่น ๆ ที่เราควรรับทราบ เพื่อให้รู้ว่าสิทธิ์ที่เราพึงได้พึงมีจากประกันสังคมนั้นมีอะไรบ้าง และจะสามารถขอรับสิทธิประโยชน์ประกันสังคมในแต่ละประเภทได้อย่างไรบ้าง

ในส่วนของเงินบำเหน็จ บำนาญชราภาพ ถือเป็นสัดส่วน 60% ของเงินสมทบประกันสังคมที่เราจ่ายไปทั้งหมด ซึ่งหากเราไม่รู้และไม่ได้ขอรับสิทธิ์ในส่วนนี้ ก็เท่ากับว่าเราทิ้งเงินประกันสังคมส่วนใหญ่ไปโดยไม่รู้เนื้อรู้ตัว ดังนั้น ตรวจสอบตนเองว่าเป็นผู้ประกันตนประเภทไหน ได้รับสิทธิ์อะไรบ้าง เพื่อประโยชน์สูงสุดที่จะได้รับในฐานะของผู้ประกันตน เพื่อเงินทุกบาททุกสตางค์ที่จ่ายไปจะไม่ได้สูญเปล่า

บริการอบรม ให้คำปรึกษาการทำธุรกิจออนไลน์  ฝึกอบรมภายในบริษัท แบบตัวต่อตัว การทำ  Content  Marketing,การโฆษณา  Facebook,การโฆษณา  Tiktok,การตลาด  Line  OA และการทำสินค้าให้คนหาเจอบน Google

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสารความรู้การทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ Add Line id :@taokaemai

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง