สิทธิ ประกัน สังคม หลัง ลา ออก จาก งาน

นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กล่าวว่า กรณีผู้ประกันตน มาตรา 33 ลาออกจากงาน ยังคงได้รับความคุ้มครองจากกองทุนประกันสังคมต่อเนื่องไปอีก 6 เดือน โดยสามารถใช้สิทธิการคุ้มครอง 4 กรณี ได้แก่ กรณีเจ็บป่วยหรือประสบอันตราย กรณีคลอดบุตร กรณีทุพพลภาพ และกรณีเสียชีวิตส่วนหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการได้สิทธิ ต้องส่งเงินสมทบครบก่อนสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 หมายความว่า กรณีเจ็บป่วย และกรณีทุพพลภาพ ผู้ประกันตนต้องเคยส่งเงินสมทบมาแล้ว 3 เดือน ภายใน 15 เดือน ส่วนกรณีคลอดบุตร ต้องเคยส่งเงินสมทบมาแล้ว 5 เดือน ภายใน 15 เดือน และกรณีเสียชีวิต ต้องเคยส่งเงินสมทบมาแล้ว 1 เดือน ภายใน 6 เดือน ทั้งนี้หากภายในระยะเวลา 6 เดือนหลังลาออกจากงานหรือถูกเลิกจ้าง ผู้ประกันตนยังไม่ได้กลับเข้าทำงานกับนายจ้าง หรือกลับเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 สิทธิประกันสังคมจะสิ้นสุดลงอัตโนมัติ

เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม แนะว่า หากผู้ประกันตนมาตรา 33 ที่ลาออกจากงานหรือถูกเลิกจ้าง ต้องการรักษาสิทธิประโยชน์ประกันสังคมให้คุ้มครองต่อเนื่อง ภายในระยะเวลา 6 เดือนหลังลาออกจากงาน สามารถสมัครเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 โดยจ่ายเงินสมทบเพียงเดือนละ 432 บาท และยังคงได้รับสิทธิประโยชน์ต่างๆ เหมือนลูกจ้างผู้ประกันตน มาตรา 33 ยกเว้นกรณีว่างงานเพียงกรณีเดียว

ข้อมูลข่าวและที่มา

ผู้สื่อข่าว : สวิตตา  ธนวัฒน์

ผู้เรียบเรียง : ธนพิชฌน์ แก้วกา

แหล่งที่มา : หน่วยงานสำนักข่าว

หากต้องออกจากงาน ทำอย่างไรกับประกันสังคม

เนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงจากโรคระบาด covid-19 และ ปัญหา disruption ต่างๆ ทำให้ บางกิจการต้องปิดตัวลง อาชีพและตำแหน่งงานบางอย่างต้องยุบตัวไปและมีทักษะอาชีพใหม่ๆเข้ามาแทนที่ ส่งผลกระทบให้คนวัยทำงาน ถูกเลิกจ้าง หรือ จำเป็นต้องลาออก อยู่ในภาวะตกงานเป็นจำนวนมาก

ซึ่งคนวัยทำงานส่วนใหญ่ จะมีสวัสดิการขั้นพื้นฐานตามข้อบังคับของกฏหมาย คือ ประกันสังคม ซึ่งมีจำนวนสมาชิกถึง 16 ล้านคน

บทความนี้จึงนำข้อมูลสำคัญควรทราบมาประกอบการพิจารณาการวางแผนการเงินของผู้ประสบปัญหาการถูกให้ออกจากงานค่ะ

คำถามยอดฮิตตอนนี้จึงเป็น เมื่อต้องออกจากงานเราควรทำอย่างไรกับประกันสังคม

  • ควรสมัครมาตรา 39 ต่อ เพื่อรับสิทธิ์ค่ารักษาพยาบาลไหม
  • เงินสมทบส่วนหนึ่งของเราถูกเก็บเป็นเงินออมไว้ในกองทุนชราภาพ เราควรทำอย่างไร

การสมัครเข้ามาตรา 39  จะต้องตัดสินใจสมัครภายใน 6 เดือน หลังจากพ้นสภาพจากมาตรา 33 แล้วเท่านั้น แต่ก็มีข้อสงสัยว่า จะมีผลอย่างไรต่อกองทุนชราภาพของเรา เมื่อครบอายุ 55 ปี และ คำนวณเงินบำนาญ จะทำให้เงินบำนาญที่ได้รับลดลงกว่าที่ควรจะเป็น หากหยุดไว้ที่มาตรา 33 หรือเปล่า

ทางเลือกไหนเหมาะกับเรา บทความนี้จะให้ข้อมูลเพิ่มเติม เพื่อให้คุณใช้ประกอบการตัดสินใจค่ะ

ทบทวนกันก่อนสักนิดนะคะ ประกันสังคมแบ่งผู้เอาประกันตนออกเป็น 3 กลุ่ม คือ มาตรา 33, มาตรา 39 และ มาตรา 40

มาตรา 33 เป็นภาคบังคับสำหรับผู้ทำงานแบบมีนายจ้าง โดยจ่ายสมทบทั้งฝั่งลูกจ้างและนายจ้าง

มาตรา 39 เป็นภาคสมัครใจ เป็นเราจ่ายสมทบฝ่ายเดียว โดยมีคุณสมบัติต้องเคยเป็นสมาชิกมาตรา 33 มาก่อน และส่งเงินสมทบมาไม่ต่ำกว่า 12 เดือน และสมัครในช่วงเวลาลาออกจากงานไม่เกิน 6 เดือน

มาตรา 40 เป็นภาคสมัครใจสำหรับคนทำอาชีพอิสระ ฟรีแลนซ์ และ ค้าขาย

ประเด็นสำคัญควรรู้ เงินทองต้องวางแผนรวบรวมมา 8 ข้อ ดังนี้

1. เมื่อคุณออกจากงาน สิ่งแรกที่ต้องทำคือ ไปแจ้งขึ้นทะเบียนว่างงาน ภายใน 30 วันนับแต่วันที่ว่างงาน เพื่อขอรับเงินชดเชยการว่างงาน โดยไม่ต้องรอหนังสือรับรองการออกจากงาน โดยเป็นการแสดงสิทธิ์ในเบื้องต้น รายละเอียดศึกษาได้ตามลิ้งค์นี้ //www.sanook.com/money/397281/

2. สำรวจกองทุนชราภาพของตนเอง ว่าเมื่อครบอายุ 55 ปี คุณจะได้รับเป็นเงินบำเหน็จ หรือ เงินบำนาญ

โดยมีเส้นแบ่งที่ระยะเวลาจ่ายเงินสมทบ

  • ต่ำกว่า 180 เดือน รับบำเหน็จ
  • ตั้งแต่ 180 เดือน รับบำนาญ

  

สมทบไม่เกิน 180 เดือน 

  • แต่ไม่เกิน 12 เดือน จะได้รับเฉพาะส่วนเงินสมทบของตนเองในส่วนของกองทุนชราภาพ
  • เกิน 12 เดือน แต่ไม่เกิน 180 เดือน จะได้รับเงินบำเหน็จ ประกอบด้วย

เงินสมทบของตนเอง + เงินสมทบของนายจ้าง ในส่วนของกองทุนชราภาพ

+ ผลประโยชน์ตอบแทนตามประกาศของประกันสังคม ณ.ปีที่จ่ายเงินสมทบ

ตรวจสอบยอดเงินได้ที่นี่ //www.sso.go.th/wpr/main/login

[หลักเกณฑ์และเงื่อนไขกรณีชราภาพ //bit.ly/3vLgkZu]

สมทบตั้งแต่ 180 เดือนเป็นต้นไป

จะได้รับเงินบำนาญรายเดือนทุกเดือน ตั้งแต่อายุ 55 ปี ไปตลอดชีพ

เงินบำนาญ = [20%+ 1.5%เพิ่มทุก 12 เดือนที่เกินจาก 180 เดือน] × ฐานเงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย

 

ตัวอย่างของการคิดบำนาญชราภาพ ตามจำนวนเดือนที่สมทบ 

 

3.เมื่อออกจากมาตรา 33 ผู้ประกันตนจะยังได้รับสิทธิ์ค่ารักษาพยาบาลไปอีก 6 เดือน ถ้าภายใน 6 เดือน ไม่สมัครมาตรา 39 ต่อ ก็จะหมดสิทธิ์ค่ารักษาพยาบาล และ ไปรอรับเงินชราภาพตอนอายุ 55 ปี

4.หากเสียชีวิตระหว่างที่ รอรับกองทุนชราภาพ ณ.อายุ 55 ปี เงินบำเหน็จที่คำนวณได้จะถูกจ่ายให้ทายาทโดยธรรม ดังนี้

กลุ่มที่ 1 แบ่งเป็นสัดส่วนที่ประกันสังคมกำหนด ระหว่าง บิดา(โดยชอบด้วยกฎหมาย) มารดา คู่สมรส (จดทะเบียนสมรส) บุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย หากไม่มีบุคคลกลุ่มที่ 1 จะจ่าย

กลุ่มที่ 2 โดยจ่ายเป็นลำดับ คือ

  • พี่น้องร่วมบิดามารดา
  • พี่น้องร่วมบิดา หรือ มารดา
  • ปู่ย่าตายาย
  • ลุงป้าน้าอา

5. หากเราอยู่ในกลุ่มผู้รับบำเหน็จเพราะสมทบไม่ถึง 180 เดือน แล้วอยากรับบำนาญจากประกันสังคม

เราสามารถสมัครกลับมาเป็นผู้เอาประกันตนมาตรา 33 อีกครั้งได้ โดยกลับมาสมัครงานแบบมีนายจ้าง (ต้องภายในอายุ 60 ปี) ประกันสังคมจะนับจำนวนเดือนของการจ่ายเงินสมทบต่อเนื่องจากเดือนสุดท้ายที่หยุดจ่ายเงินสมทบไป เช่น

จ่ายเงินสมทบมาแล้ว 170 เดือน แล้วออกจากงานตอนอายุ 45 ปี  กลับมาสมทบใหม่ตอนอายุ 50 ปี ก็จะนับต่อเป็นเดือนที่ 171 ไปจนถึงอายุ 55 ปี

ทำให้จากเดิมอยู่ในเกณฑ์รับบำเหน็จ สามารถเปลี่ยนเป็นเกณฑ์ของการรับบำนาญ เพราะสมทบเกิน 180 เดือน

6. กรณีผ่านเกณฑ์ 180 เดือนของการรับบำนาญในขณะที่อยู่มาตรา 33 แล้ว และไม่คิดว่าจะกลับเข้าระบบประกันสังคมอีกเลยจนเกษียณ รวมถึงไม่สนใจสิทธิ์รักษาพยาบาลของประกันสังคม เนื่องจากอาจจะไปใช้บัตรทอง หรือ มีประกันสุขภาพส่วนบุคคล ทดแทน

ก็ไม่ควรสมัครมาตรา 39 ต่อ เพราะจะทำให้เมื่อคิดค่าเฉลี่ยเงินเดือน 60 เดือนสุดท้าย คือ ช่วงอายุ 51-55 ปีหากอยู่ใน ม.39 จะคิดที่ฐาน 4,800 บาท แทนที่จะเป็น 15,000 บาท ทำให้เมื่อคำนวณเป็นเงินบำนาญแล้วจะน้อยกว่ามาก

ตัวอย่างเช่น

กรณี 1 - ลาออกตอนอายุ 40 ปี จ่ายสมทบมาแล้ว 180 เดือน ฐานเงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้ายสูงสุดอยู่ที่ 15,000 บาท อายุ 55 ปี จะได้รับบำนาญ ดังนี้

20% × 15,000 = 3,000 บาท ต่อเดือน

กรณี 2 - สมัครมาตรา 39 ต่อ และส่งเงินสมทบในมาตรา 39 ตั้งแต่อายุ 41 ปี จนถึงอายุ 55 ปี (สมทบต่ออีก 15×12= 180 เดือน) จะได้รับบำนาญ ดังนี้

[20%+ (1.5%×15)] × 4,800 = 2,040 บาท ต่อเดือน

ข้อพิจารณานี้ เราก็คงต้องชั่งใจเลือก โดยพิจารณาสุขภาพของตนเองประกอบไปด้วย ว่าจะเลือกรับสิทธิ์ค่ารักษาพยาบาล หรือ เงินบำนาญที่จำนวนมากกว่า

7. หากเราอยู่ในมาตรา 39 แต่อยากได้ฐานคิดเงินบำนาญเป็น 15,000 บาท ไม่ใช่ 4,800 บาท เราต้องกลับไปทำงานในระบบที่มีนายจ้างและสมัครกลับเข้ามาตรา 33 ใหม่

สำคัญที่ 60 เดือนสุดท้าย หากเราอยู่ในมาตรา 33 ค่าเฉลี่ยเงินเดือนที่นำมาคิดบำนาญ จะเป็น 15,000 บาท ถึงแม้ว่าเราจะเคยอยู่มาตรา 39 มาหลายปีแล้วก็ตาม

ส่งผลให้เรามีโอกาสที่จะรับเงินบำนาญชราภาพในจำนวนที่สูงขึ้นได้นั่นเอง

8. กรณีที่อยู่ในเกณฑ์รับบำนาญชราภาพแล้ว เมื่อครบอายุ 55 ปี ยังมีความประสงค์จะรับสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลต่อ จึงสมัครมาตรา 39 แต่เกรงว่าวันที่ลาออกจากมาตรา 39 แล้วขอรับเงินบำนาญชราภาพ จะได้เงินบำนาญจำนวนน้อยเพราะคิดที่ฐาน 4,800 บาท

ให้เลือกขอรับเงินบำนาญ ณ.อายุ 55 ปีก่อนไปอีกสัก 5 เดือน แล้วค่อยสมัครกลับไปที่มาตรา 39 ระบบจะหยุดจ่ายเงินบำนาญ แต่จะจดจำเงินบำนาญที่ถูกคำนวณไว้ล่าสุดให้ (คิดที่ฐาน 15,000 บาท)

ยกตัวอย่างเช่น ไปยื่นลาออกจากมาตรา 39 ณ.อายุ 62 ปี วิธีคิดเงินบำนาญชราภาพ จะคำนวณที่ยอดฐานการคิดเดิมของเงินเดือน 15,000 บาท และ นับอายุงานต่อ คือเพิ่มตัวคูณ 1.5% ทุกๆ 12 เดือนที่เพิ่มขึ้นในขณะที่อยู่ที่ มาตรา 39 อีกด้วย

-----

ทั้ง 8 ข้อ ที่เงินทองต้องวางแผน ได้รวบรวมมาฝาก น่าจะพอเป็นแนวทางให้ท่านตัดสินใจได้ว่า ควรจะเลือกจัดการอย่างไรกับสิทธิ์ประกันสังคมของท่าน

ซึ่งจุดเด่นของประกันสังคมไม่ใช่เพียงสิทธิ์ประกันสุขภาพเท่านั้น แต่สิทธิประโยชน์ที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง คือ กองทุนชราภาพ ซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญที่ประชากรในประเทศที่พัฒนาแล้ว อย่างสหรัฐอเมริกา ใช้เป็นเครื่องมือหลักในการใช้เป็นรายได้หลังเกษียณ แต่ในบ้านเรายังไม่ค่อยให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มากนัก

และการเก็บเงินจำนวนเท่านี้ยังไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพอย่างปลอดภัยในวัยเกษียณ หากท่านใดยังมีกำลังทรัพย์ที่มากพอ นอกจากการออมเงินผ่านการลงทุนรูปแบบต่างๆแล้ว แอดมินขอนำเสนอให้ใช้อีกเครื่องมือหนึ่งคือ ประกันบำนาญ เข้าช่วยสร้างรายได้ประจำในวัยเกษียณเพิ่มอีกตัวหนึ่งด้วย แล้ววัยเกษียณของท่านจะมีความสุข สบายใจ ปลอดภัย มั่นคงค่ะ

วางแผนเกษียณ

  • กลัวว่าเงินเกษียณจะไม่พอหรือเปล่า ?? ไม่มีใครอยากจะพบกับฝันร้ายในวัยเกษียณ เมื่อค้นพบว่าเงินที่เต...

  • การวางแผนเกษียณ คือ การวางแผนการใช้ชีวิตและการเตรียมเงินเพื่อใช้หลังเกษียณ โดยรูปแบบการใช้ชีวิตที่...

  • รู้หรือไม่ว่า เรามีระยะเวลาทำงานหาเงินน้อยกว่าเวลาที่เราต้องใช้เงินมากถึง 2-3 เท่า เรามีช่วงเวลาหาเ...

  • ยิ่งคุณรู้จักจัดการค่าใช้จ่ายให้เหลือออมได้มากเท่าไหร่ บวกกับรู้จักวิธีลงทุนให้เงินงอกเงยในความเสี่ย...

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง