กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์

การจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

กระบวนการเรียนรู้

การจัดการเรียนรู้กลุ่มสังคมศึกษา  ศาสนาและวัฒนธรรม  ต้องจัดให้เหมาะสมกับวัยและวุฒิภาวะของ      ผู้เรียน  ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมจัดการเรียนรู้ของตนเอง  พัฒนาและขยายความคิดของตนเองจากความรู้ที่ได้เรียน        ผู้เรียนต้องได้เรียนกลุ่มสังคมศึกษา  ศาสนาและวัฒนธรรม  ทั้งในส่วนกว้างและลึก  และจัดในทุกชั้นปี

หลักการเรียนการสอนกลุ่มสังคมศึกษา  ศาสนาและวัฒนธรรม  ให้มีประสิทธิภาพ  ได้แก่

  1. จัดการเรียนการสอนที่มีความหมาย  โดยเน้นแนวคิดที่สำคัญ ๆ ที่ผู้เรียนสามารถนำไปใช้ทั้งในและนอกโรงเรียน  เป็นแนวคิด  ความรู้  ที่คงทน  ยั่งยืน  มากกว่าที่จะศึกษาในสิ่งที่เป็นเนื้อหาหรือข้อเท็จจริงที่มากมายกระจัดการะจายแต่ไม่เป็นแก่นสาร  ด้วยการจัดกิจกรรมที่มีความหมายต่อผู้เรียนและด้วยการประเมินผลที่ทำให้ผู้เรียนต้องใส่ใจในสิ่งที่เรียน  เพื่อแสดงให้เห็นว่าเขาได้เรียนรู้และสามารถทำอะไรได้บ้าง
  2. จัดการเรียนการสอนที่บูรณาการ  การบูรณาการตั้งแต่หลักสูตร  หัวข้อที่จะเรียนโดยเชื่อมโยงเหตุการณ์  พัฒนาการต่าง ๆ ทั้งในอดีตและปัจจุบันที่เกิดขึ้นในโลกเข้าด้วยกัน  บูรณาการความรู้  ทักษะค่านิยมและจริยธรรมลงสู่การปฏิบัติจริงด้วยการใช้แหล่งความรู้  สื่อและเทคโนโลยีต่าง ๆ และสัมพันธ์กับวิชาต่าง ๆ
  3. จัดการเรียนการสอนที่เน้นการพัฒนา  ค่านิยม  จริยธรรม  จัดหัวข้อหน่วยการเรียนที่สะท้อน  ค่านิยม  จริยธรรม  ปทัสถานในสังคม  การนำไปใช้ในการดำเนินชีวิต  ช่วยผู้เรียนให้ได้คิดอย่างมีวิจารณญาณ  ตัดสินใจแก้ปัญหาต่าง ๆ ยอมรับและเข้าใจในความคิดเห็นที่แตกต่างไปจากตน  และรับผิดชอบต่อสังคมส่วนรวม
  4. จัดการเรียนการสอนที่ท้าทาย  คาดหวังให้ผู้เรียนได้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้  ทั้งในส่วนตนและการเป็นสมาชิกกลุ่ม  ให้ผู้เรียนใช้วิธีการสืบเสาะจัดการกับการเรียนรู้ของตนเอง
  5. จัดการเรียนการสอนที่เน้นการปฏิบัติ  ให้ผู้เรียนได้พัฒนาการคิด  ตัดสินใจสร้างสรรค์ความรู้ด้วยตนเอง  จัดการตัวเองได้  มีวินัยในตนเองทั้งด้านการเรียนและการดำเนินชีวิต  เน้นการจัดกิจกรรมที่เป็นจริง  เพื่อให้ผู้เรียนนำความรู้ความสามารถไปใช้ในชีวิตจริง
ขอบข่ายและลำดับประสบการณ์การเรียนรู้

ในการจัดทำหลักสูตรกลุ่มสังคมศึกษา  ศาสนาและวัฒนธรรม  คณะกรรมการสถานศึกษาที่มีหน้าที่พัฒนาหลักสูตรกลุ่มสังคมศึกษา  ศาสนาและวัฒนธรรม  จำเป็นต้องมีความรู้  ความเข้าใจ  ในธรรมชาติของขอบข่ายและการจัดลำดับประสบการณ์การเรียนรู้ (Scope and  Sequence)  เพื่อให้การจัดสาระที่จะเรียนและกิจกรรมการเรียนการสอนเป็นลำดับตามกระบวนการเรียนรู้และธรรมชาติของกลุ่มสังคมศึกษา  ศาสนาและวัฒนธรรม

กลุ่มสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ระดับประถมศึกษา  (ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6)

กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา  ศาสนา  และวัฒนธรรมในระดับประถมศึกษาเป็นเรื่องละเอียดอ่อนที่ต้องจัดทำด้วยความรอบคอบ  เพราะสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา  ศาสนา  และวัฒนธรรมในระดับช่วงชั้นนี้จะต้องเน้นการช่วยเหลือให้ผู้เรียนมีทักษะ  กระบวนการ  และมีข้อมูลที่จำเป็นต่อการที่จะทำให้เขาเป็นพลเมืองที่มีส่วนร่วมและมีความรับผิดชอบในอันที่จะรักษาค่านิยมประชาธิปไตยที่หลอมรวมความเป็นชาติเอาไว้ได้  กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา  ศาสนา  และวัฒนธรรมในระดับประถมศึกษาต้องเน้นผู้เรียนได้เรียนรู้ว่าพวกเขามีหน้าที่อย่างไร  เน้นให้ผู้เรียนได้แสวงหาและใช้ทักษะ  กระบวนการ  และข้อมูลต่าง ๆ ในโลกของเขาและในสังคม

ผู้เรียนต้องเรียนทุกสาระหลักทั้ง  5  สาระในทุกชั้นปี  สำหรับใน  ชั้นประถมศึกษาการลำดับประสบการณ์การเรียนรู้จะเริ่มจากการให้ผู้เรียนได้เรียนในสิ่งที่เขาคุ้นเคย  ได้เรียนรู้เรื่องราวกับตัวของเขาเองและผู้คนที่อยู่รอบ ๆ ตัวเขา  ตลอดจนสภาพแวดล้อมในท้องถิ่นที่เขาอยู่อาศัยแล้วเชื่อมโยงประสบการณ์ขยายไปสู่โลกกว้าง  มีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ ที่จะนำไปสู่การพัฒนาเรื่องความรับผิดชอบ  การร่วมมือกันและการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจต่าง ๆ เพราะผู้เรียนในวัยนี้เป็นวันที่ไม่อยู่นิ่ง  ชอบสำรวจ  จึงควรให้เขามีส่วนร่วมในการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง  ได้ตัดสินใจเรื่องที่เกิดขึ้นในสังคม  ได้พัฒนาทักษะการอยู่ร่วมกันกับผู้เรียน  ทำงานร่วมกับผู้อื่น  มีส่วนร่วมในกิจกรรมของห้องเรียน  ได้ฝึกหัดการตัดสินใจในปัญหาต่าง ๆ และพัฒนาความเป็นพลเมืองดี

การศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับตัวเอง  ครอบครัว  โรงเรียนและชุมชน  ควรจะต้องเชื่อมโยงสัมพันธ์กัน  และเปรียบเทียบกับผู้อื่น  ครอบครัว  โรงเรียนและชุมชนอื่นในประเทศและในโลกพร้อม ๆ กันไปด้วย  ในลักษณะของการบูรณาการแนวคิดทางประวัติศาสตร์และสังคมศาสตร์  จากการบูรณาการ  แม้ว่าเด็กเล็ก ๆ จะยังมีความเข้าใจเรื่องการลำดับเวลาไม่ค่อยดีนัก  แต่ก็เป็นสิ่งสำคัญที่ควรจะเริ่มตั้งแต่ช่วงชั้นนี้ให้ผู้เรียนได้เข้าใจแนวคิดเรื่องปัจจุบันและอดีต  ในขณะที่เขาศึกษาประวัติความเป็นมาของครอบครัว  ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น  ชุมชน  และวันสำคัญต่าง ๆ

นอกจากนั้นการบูรณาการแนวคิดทางภูมิศาสตร์  ความรู้พื้นฐานทางเศรษฐกิจการทำความเข้าใจในบรรทัดฐาน  ค่านิยมประชาธิปไตย  คุณธรรมของศาสนาที่ตนนับถือ  และจริยธรรมต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของความยุติธรรม  ความเสมอภาค  ความรับผิดชอบ  เสรีภาพ  บูรณภาพ  ความรักชาติ  ความซื่อสัตย์  ความกล้าหาญ  ความเมตตา  กรุณา  เรื่องของอำนาจ  ลัทธิอำนาจและกฎหมายเหล่านี้  เป็นต้น  เป็นสาระและประสบการณ์ที่สำคัญของหลักสูตรในช่วงชั้นที่ 1  นี้ด้วย

โดยสรุปกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา  ศาสนา  และวัฒนธรรม  ในช่วงนี้ควรมีลักษณะดังนี้

  • มีลักษณะบูรณาการ โดยนำประเด็นแนวคิดทางสังคมศึกษา  ศาสนา  และวัฒนธรรมทั้ง  5  สาระมาบูรณาการในการเรียน
  • ให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์รอบ ๆ ตัว ตั้งแต่ครอบครัว โรงเรียน  เพื่อนบ้าน  และชุมชนในสังคมอื่นทั้งในระดับประเทศและโลก
  • ควรพัฒนาแนวคิดเกี่ยวกับเรื่องกาลเวลา อดีต  ปัจจุบัน  ในขณะที่ศึกษาประเด็นต่าง ๆ ทั้งในบริบทตนเอง  ครอบครัว  โรงเรียน  เพื่อนบ้าน  และชุมชน  เพื่อเป็นพื้นฐานในการทำความเข้าใจเรื่องสถานที่และเวลาในชั้นที่สูงขึ้น

กลุ่มสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ระดับ ประถมศึกษา (ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4–6)

ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่  4– 6 ผู้เรียนควรจะได้ศึกษาเปรียบเทียบเรื่องราวของจังหวัดและภาคที่อยู่อาศัยในประเทศไทยกับของภูมิภาคอื่นในโลก  การศึกษาเช่นนี้จะทำให้ผู้เรียนได้พัฒนาแนวคิดเรื่องภูมิภาค  เพื่อขยายประสบการณ์ไปสู่การทำความเข้าใจในภูมิภาคซีกโลกตะวันออกและซีกโลกตะวันตกเมื่อได้เรียนในช่วงชั้นสูงขึ้นต่อไป

การศึกษากลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา  ศาสนา  และวัฒนธรรมในปีแรกของช่วงชั้นนี้อาจเริ่มตั้งแต่การศึกษาเรื่องราวของจังหวัดและภาคของตน  ทั้งเชิงประวัติศาสตร์  ลักษณะทางกายภาพ  สังคมและวัฒนธรรม  การเมืองการปกครองและสภาพเศรษฐกิจ  ส่วนอีก  2  ปีถัดไป  คือ  ช่วงชั้นประถมศึกษาปีที่ 5– 6  จะเน้นการศึกษาความเป็นประเทศไทยให้มากขึ้น  รวมทั้งประเทศเพื่อนบ้านของไทย  ซึ่งไม่จำเป็นต้องศึกษาทุกประเทศอาจเลือกเป็นกรณีศึกษาเพื่อเปรียบเทียบกับประเทศไทย

ในการศึกษาประเทศอื่นในภูมิภาคต่าง ๆ ผู้เรียนจะได้พัฒนาความเข้าใจศาสนา  สังคม  วัฒนธรรม  และค่านิยม  จริยธรรม  ที่ผู้คนในประเทศนั้น ๆ ยึดถืออยู่  รวมทั้งสภาพเศรษฐกิจการเมืองการปกครอง  ตลอดจนประวัติศาสตร์ของประเทศเหล่านั้น  ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนได้เข้าใจว่าสภาพสังคมในที่ต่าง ๆ มีการเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลาอย่างไร  มนุษย์มีส่วนร่วมต่อการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้อย่างไร  สภาพสังคมพัฒนามาสู่ปัจจุบันอย่างไร  และแนวโน้มจะเป็นอย่างไรในอนาคต

ขณะที่ศึกษาเรื่องราวของจังหวัด  ภาค  ประเทศไทย  ประเทศใกล้เคียงและภูมิภาคอื่นในโลก  ในลักษณะกรณีศึกษานี้  ควรให้ผู้เรียนได้สำรวจแนวคิดต่าง ๆ ทางสังคมศาสตร์ประเด็นคำถามเพื่อการเรียนรู้ในช่วงชั้นนี้ได้แก่

  • ผู้คนในสังคมนั้นเป็นอย่างไร มีค่านิยม  จริยธรรมและความเชื่ออย่างไร (มานุษยวิทยา  จิตวิทยา  สังคมวิทยา  ศาสนา  และจริยธรรม)
  • สภาพแวดล้อมที่ผู้คนในสังคมนั้นอาศัยอยู่เป็นอย่างไร (ภูมิศาสตร์)
  • สังคมนั้นมีการจัดระเบียบทางสังคมอย่างไร (การเมืองการปกครอง)
  • ผู้คนเหล่านี้ดำเนินชีวิตกันอย่างไรในสังคมนั้น (เศรษฐศาสตร์)
  • สังคมนั้นมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรจากอดีตสู่ปัจจุบัน (ประวัติศาสตร์)

ประสบการณ์การเรียนรู้จากระดับประถมศึกษายังคงขยายต่อเนื่องมาในระดับมัธยมศึกษา  ผู้เรียนคงต้องได้เรียนเรื่องราวความเป็นไปในโลกจากการศึกษาประเทศของตนเอง  เปรียบเทียบกับการศึกษาความเป็นไปในของประเทศต่าง ๆ ในซีกโลกตะวันออก  เพื่อพัฒนาแนวคิดเรื่องการอยู่ร่วมโลกเดียวกันที่ต้องพึ่งพากัน

นอกจากซีกโลกตะวันออกแล้ว  ผู้เรียนควรได้ขยายประสบการณ์ต่อไปยังซีกโลกตะวันตกเพื่อเปรียบเทียบประเทศไทยกับซีกโลกตะวันออก  การศึกษาภูมิภาคในโลกช่วงชั้นนี้พร้อม ๆ กับการศึกษาประเทศไทย  ได้แก่  การศึกษาภูมิภาคในเอเซีย  โอเซียเนีย  แอฟริกา  ยุโรป  อเมริกาเหนือ  อเมริกาใต้  ทั้งในด้านภูมิศาสตร์  ประวัติศาสตร์  สังคมและวัฒนธรรม  เศรษฐกิจ  การเมืองการปกครอง  ค่านิยม  ศาสนาและจริยธรรม  ด้วยวิธีการทางประวัติศาสตร์และสังคมศาสตร์  ทั้งในอดีต  ปัจจุบัน  และสร้างมุมมองในอนาคตด้วยประเด็นคำถามเพื่อการเรียนรู้ในช่วงชั้นนี้ยังคงเช่นเดียวกับการเรียนในช่วงชั้นที่ 2  นั่นคือ

– ผู้คนในสังคมนั้นเป็นใคร  พวกเขายึดมั่นในศาสนา  จริยธรรม  ค่านิยม  ความเชื่ออะไรบ้าง (มานุษยวิทยา จิตวิทยา สังคมวิทยา ศาสนาและจริยธรรม )

          –  สังคมนั้นมีการจัดระเบียบทางสังคมอย่างไร (การเมือง  การปกครอง)

–  ผู้คนในสังคมนั้นดำเนินชีวิตกันอย่างไร (เศรษฐศาสตร์)

–  สังคมนั้นมีพัฒนาการการเปลี่ยนแปลงเป็นมาอย่างไร  (ประวัติศาสตร์)

–  สภาพแวดล้อมที่เขาอาศัยอยู่เป็นอย่างไร (ภูมิศาสตร์)

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง