สังคมและ ศิลป วัฒนธรรมสมัยกรุงสุโขทัย

     ชาวสุโขทัย นอกจากจะมีอาชีพทำการเกษตรแล้ว ยังมีช่างปั้นช่างเผา หลักฐานคือ เตาทุเรียง เตาเผาถ้วยชามสังคโลก ปัจจุบันสำรวจพบใน 3 บริเวณ คือ เตาทุเรียงบริเวณเมืองเก่าสุโขทัย เตาทุเรียงป่ายาง และเตาทุเรียงเกาะน้อย ที่อำเภอศรีสัชนาลัย สำหรับที่เมืองเก่าเป็นเนินดินอยู่ระหว่างวัดศรีชุมและวัดพระพายหลวง อายุราวพุทธศตวรรษที่ 18 พบเตาโดยรอบ 49 เตา อยู่บริเวณคันคูแม่น้ำโจนด้านทิศเหนือ 37 เตา ด้านทิศใต้ข้างกำแพงเมือง 9 เตา และด้านทิศตะวันออก 3 เตา เตาเผามีลักษณะคล้ายประทุนเกวียน ขนาดกว้าง 1.50-2.00 เมตร ยาว 4.5 เมตร แบ่งเป็น 3 ตอน คือ ที่ใส่ไฟ ที่วางถ้วยชาม และปล่องไฟ เครื่องปั้นที่พบบริเวณนี้ส่วนใหญ่เป็นถ้วยชาม มีขนาดใหญ่หนา น้ำยาเคลือบขุ่น สีเทาแกมเหลือง มีลายเขียนสีดำ ส่วนใหญ่ทำเป็นรูปดอกไม้ ปลา และจักร

ความเจริญด้านสังคม วัฒนธรรม ประเพณี ของอาณาจักรสุโขทัย

ลักษณะสังคมของอาณาจักรสุโขทัย 
สังคมของอาณาจักรสุโขทัยในระยะแรกเป็นสังคมที่เรียบง่าย จำนวนของประชากร           มีไม่มากนัก ทำให้พระมหากษัตริย์กับประชาชนมีความใกล้ชิดกันเปรียบเสมือนเป็นครอบครัวเดียวกัน พระมหากษัตริย์ทรงอยู่ในฐานะบิดา ทรงปกครองราษฎรเยี่ยงบิดาปกครองบุตร ประชาชนของอาณาจักรสุโขทัยให้การยึดมั่นในพระพุทธศาสนาอยู่ในศีลธรรม ปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนาเป็นประจำ เช่น ทำบุญ ให้ทาน รักษาศีล ฟังธรรม สร้างวัด ประกอบกับอาณาจักรสุโขทัยมีความอุดมสมบูรณ์  ซึ่งปรากฏข้อความในหลักศิลาจารึกที่ 1 ว่า  “...เมืองสุโขทัยนี้ดี ในน้ำมีปลาในนา     มีข้าว…”   ประชาชนไม่มีการแก่งแย่งกัน ประชาชนมีความเสมอภาค มีสิทธิเสรีภาพ เท่าเทียมกันและได้รับความเป็นธรรมโดยทั่วหน้า แต่ระยะหลังจากสามรัชกาลแรกมาแล้ว สุโขทัยมีความเจริญก้าวหน้าขึ้นจำนวนประชากรเพิ่มมากขึ้น ทำให้ความสนิทสนมระหว่างพระมหากษัตริย์กับประชาชนและประชาชนกับประชาชนลดน้อยลง เพราะพระมหากษัตริย์มิได้ทรงอยู่ในฐานะบิดาที่คอยปกครองบุตรดังแต่ก่อน




ชนชั้นและความสัมพันธ์ทางชนชั้น 
สังคมสุโขทัยมีชนชั้นต่าง ๆ หลายชนชั้นประกอบไปด้วย

1.พระมหากษัตริย์ พระมหากษัตริย์เป็นผู้ที่มีฐานะสูงสุดในสังคม พระมหากษัตริย์สุโขทัยสามรัชกาลแรกมีคำนำหน้าชื่อว่า “พ่อขุน” แต่จะมีการเปลี่ยนแปลง หลังสมัยพ่อขุนรามคำแหง ใช้คำว่า พญา  มาเรียกแทน พระมหากษัตริย์ทรงมีบทบาทในการปกครอง ทำสงครามเพื่อป้องกันประเทศ พิพากษาคดี ทำนุบำรุงศาสนา บำบัดทุกข์บำรุงสุขของราษฎร
2.เจ้านาย ได้แก่ พระบรมวงศานุวงศ์ เป็นชนชั้นสูง ทำหน้าที่เป็นผู้ปกครองร่วมกับพระมหากษัตริย์และขุนนาง พระราชวงศ์ฝ่ายชายจะมีหน้าที่ในการบริหารและปกครอง เช่น ดูแลเมืองลูกหลวง ส่วน พระราชวงศ์ฝ่ายหญิงมีหน้าที่สำคัญ คือ การแต่งงาน เพื่อสร้างพันธมิตรทางการเมือง
3.ขุนนาง ได้แก่ บรรดาข้าราชการ ทำหน้าที่ช่วยเหลือพระมหากษัตริย์ และ พระราชวงศ์ในการปกครอง และช่วยรับผิดชอบในการควบคุมไพร่พลมาทำงานให้แก่รัฐทั้งในยามปกติและในยามสงคราม
4.ไพร่ ได้แก่ชนชั้นสามัญชนซึ่งชนชั้นไพร่มีอยู่หลายกลุ่มเช่น“ไพร่ฟ้าหน้าใส” หมายถึง ไพร่ของกษัตริย์ “ไพร่ฟ้าหน้าปก” หมายถึง ไพร่ที่มีเจ้านายสังกัด “ไพร่ฟ้าข้าไทย” หมายถึง กลุ่มคนที่ไม่มีอิสระโดยมีคนคอยบังคับบัญชา
5.ข้า เป็นชนชั้นที่ยังไม่สามารถกล่าวได้แน่ชัดลงไปว่ามีสถานภาพเช่นใดแต่มีการสันนิษฐานกันว่า   ข้า ก็คือทาส   มีหลายประเภท  เช่น      ข้าเชลย คือข้าที่ถูกกวาดต้อนมาจากการทำสงคราม ข้าไท คือ ผู้ที่คอยรับใช้ติดตามเจ้านาย
6.พระสงฆ์ เป็นกลุ่มชนที่มีฐานะพิเศษไม่สังกัดมูลนาย  มีหน้าที่เชื่อมโยงชนชั้น ต่าง ๆ ในสังคมสุโขทัยให้อยู่กันอย่างสงบสุข เนื่องจากพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาของชนทุกชั้น และวัดเป็นศูนย์กลางของชีวิตสังคม

ผลงานด้านศิลปะสาขาต่าง ๆ ของอาณาจักรสุโขทัย ลักษณะทางศิลปะและวัฒนธรรมของอาณาจักรสุโขทัย 
ความเจริญรุ่งเรืองด้านศิลปะของอาณาจักรสุโขทัยส่วนใหญ่เป็นงานศิลปะที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนามีช่างที่ชำนาญหลายสาขา ผลงานด้านศิลปะสาขาต่าง ๆ ประกอบด้วย
ด้านสถาปัตยกรรม  ประติมากรรม จิตรกรรม วรรณกรรม  ล้วนแล้วแต่มีความงดงาม                             เป็นเอกลักษณ์  ที่โดดเด่นของตนเอง นับได้ว่าเป็นมรดกอันล้ำค่าของคนไทยที่ต้องช่วยกันอนุรักษ์ให้คงอยู่ตลอดไป

1. สาขาสถาปัตยกรรม
งานด้านสถาปัตกรรมสมัยสุโขทัยส่วนใหญ่เป็นสิ่งก่อสร้างทางพระพุทธศาสนา ได้แก่
                                1.1 เจดีย์
= เจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์หรือทรงดอกบัวตูม เป็นสถาปัตยกรรมสมัยสุโขทัย แบบสุโขทัยแท้ สร้างเป็นฐานสี่เหลี่ยมสามชั้น ตั้งซ้อนกันขึ้นไปกับองค์เจดีย์เหลี่ยมย่อมุมยอดเป็น     ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์หรือรูปดอกบัวตูม ได้แก่ พระเจดีย์องค์กลางที่วัดเจดีย์เจ็ดแถว เมืองศรีสัชนาลัย และพระเจดีย์ ที่วัดมหาธาตุ กลางเมืองสุโขทัยเก่า

     เจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์หรือทรงดอกบัวตูม 

                                = เจดีย์ทรงกลมแบบลังกา เป็นสถาปัตยกรรมสมัยสุโขทัยที่รับรูปแบบศิลปะ
การก่อสร้างมาจากลังกา พร้อมกับพุทธศาสนานิกายลังกาวงศ์ ซึ่งช่างสมัยสุโขทัยนิยมสร้างเจดีย์ทรงกลมแบบลังกามาก โดยสร้างเป็นฐานสี่เหลี่ยมสองถึงสามชั้น องค์เจดีย์ทำเป็นรูประฆังหรือ
ขันโอคว่ำได้แก่ เจดีย์วัดช้างล้อม ศรีสัชนาลัย

 เจดีย์ทรงกลมแบบลังกาที่วัดช้างล้อม เมืองศรีสัชนาลัย 

                                =เจดีย์ทรงเรือนธาตุ เป็นสถาปัตยกรรมที่ผสมผสานผลงานด้านศิลปะแบบศรีวิชัยและลังกา มีลักษณะฐานและองค์ระฆังสูงทำเป็นสี่เหลี่ยม บางทีก็มีคูหาประดิษฐานพระพุทธรูปตอนบนเป็นพระเจดีย์ทรงกลมแบบลังกา และเจดีย์องค์เล็ก ๆ ประกอบอยู่ที่สี่มุม ได้แก่ เจดีย์
รายบางองค์ในวัดเจดีย์เจ็ดแถว  อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย

  เจดีย์ทรงเรือนธาตุ 

                                1.2 โบสถ์วิหาร
อาณาจักรสุโขทัยนิยมสร้างวิหารใหญ่เท่าโบสถ์ แผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าผนังมักจะเจาะเป็นลูกกรงเล็ก ๆ แทนหน้าต่าง หลังคามุงด้วยกระเบื้องดินเผา ฐานก่อด้วยศิลาแลงสี่เหลี่ยมนับว่าเป็นสถานที่สำคัญที่ใช้สำหรับประกอบสังฆกรรมของสงฆ์ และใช้ประกอบพิธีอุปสมบท เช่น วิหารหลวงที่วัดมหาธาตุ กรุงสุโขทัย ซึ่งมีขนาดใหญ่มาก เคยเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปสำริดขนาดใหญ่ ได้แก่ พระศรีศากยมุนี ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ที่วัดสุทัศนเทพวราราม กรุงเทพมหานคร

 

วัดมหาธาตุ 

1.3 มณฑป
มณฑปเป็นอาคารที่มีพื้นที่สี่เหลี่ยมจัตุรัส นับเป็นศิลปะด้านสถาปัตยกรรมที่   โดดเด่นประเภทหนึ่งของอาณาจักรสุโขทัย ก่อด้วยอิฐหรือศิลาแลง มีประตูด้านหน้าเพียงด้านเดียว ภายในห้องประดิษฐานพระพุทธรูปขนาดใหญ่ ส่วนพื้นที่ที่เหลือจากการประดิษฐานพระพุทธรูปใช้พื้นที่สำหรับให้พระภิกษุประกอบพิธีกรรม ส่วนหลังคาก่อด้วยอิฐหรือศิลาแลง มีทั้งทรงจั่วและหลังคาโค้ง แบบแผนในการจัดวางมณฑป ทุกแห่งนิยมสร้างให้เชื่อมติดกับอาคารทาง  ด้านหน้า แต่ก็มีบางแห่งที่สร้างห่างจากกันเล็กน้อย หลายแห่งจะใช้มณฑปเป็นประธานของวัด

 มณฑปประธานวัดศรีชุม 

                2. สาขาประติมากรรม
ผลงานด้านประติมากรรมของอาณาจักรสุโขทัย นับว่าเป็นศิลปะแบบไทยที่งดงาม             มีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง ได้แก่ การสร้างพระพุทธรูปที่ทำด้วยปูนปั้นและสำริด ช่างสุโขทัยนิยมสร้างพระพุทธรูปด้วยอริยาบถทั้งสี่คือ พระพุทธรูปประทับนั่ง ยืน เดิน นอน โดยเฉพาะพระพุทธรูปปางลีลา สร้างได้งดงามมาก นับได้ว่าเป็นเอกลักษณ์ด้านประติมากรรมสมัยสุโขทัย พระพุทธรูปสมัยสุโขทัยเป็นศิลปะแบบไทยที่มีการพัฒนารูปแบบพระพุทธรูปที่งดงามอ่อนช้อย พระพักตร์สงบงามจับตาจับใจ แสดงให้เห็นถึงพัฒนาการและความรอบรู้ของช่างศิลป์สมัยสุโขทัยที่เข้าใจถึงคำสอนทางพระพุทธศาสนา อีกทั้งเป็นศิลปะที่มีความแตกต่างจากศิลปะของอินเดีย ลังกาและขอม เช่น พระพุทธรูปปูนปั้นมีวงพระพักตร์กลมได้แก่ พระอัฏฐารสบนเขาสะพานหิน
พระอจนะในวิหารวัดศรีชุม  พระพุทธรูปปูนปั้นในคูหารอบพระเจดีย์ใหญ่วัดช้างล้อม
และยังมีพระพุทธรูปที่หล่อด้วยสำริดขนาดใหญ่อยู่หลายองค์ ที่เป็นมรดกตกทอดมาจนถึงปัจจุบัน ได้แก่ พระศรีศากยมุนี เดิมเป็นพระประธานในวิหารหลวงวัดมหาธาตุกรุงสุโขทัย ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ที่วัดสุทัศนเทพวราราม  กรุงเทพมหานคร พระพุทธชินราช ประดิษฐานอยู่ที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลกและพระพุทธชินสีห์ พระศาสดาที่วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร

ภาพจิตกรรมจากวัดเจดีย์เจ็ดแถว

             

พระพุทธรูปปางลีลา ศิลปะสุโขทัย 

                นอกจากนี้ยังได้มีการหล่อเทวรูปด้วยสำริดหลายองค์ เช่น พระอิศวร พระวิษณุ เทวรูปเหล่านี้มีพระพักตร์แบบเดียวกับพระพุทธรูปหมวดใหญ่ มีความแตกต่างกันที่เครื่องแต่งองค์ ซึ่งเครื่องแต่งองค์เทวรูปได้รับอิทธิพลมาจากชาติขอม

3. สาขาจิตรกรรม
จิตรกรรมนับว่าเป็นศิลปะที่งดงามอย่างหนึ่งของอาณาจักรสุโขทัย มีทั้งภาพเขียนและภาพลายเส้น เช่น ภาพจิตรกรรมในผนังคูหา เจดีย์ด้านทิศตะวันตกของวัดเจดีย์เจ็ดแถว เมืองศรีสัชนาลัย ซึ่งเป็นภาพอดีตพระพุทธเจ้า ใช้สีแดง สีขาว และสีเหลืองเป็นหลัก มีการตัดเส้นด้วยสีแดงหรือสีดำ เป็นภาพที่รับอิทธิพลมาจากศิลปะอินเดียและศิลปะพุกามของพม่า ส่วนภาพลายเส้นเรื่องราว
ชาดกจำหลักบนแผ่นหินชนวนที่อุโมงค์วัดศรีชุม เมืองสุโขทัย แสดงให้เห็นถึงอิทธิพลศิลปะของลังกาอย่างชัดเจน

 

ภาพลายเส้นเรื่องราวชาดกจำหลักบนแผ่นหินชนวนที่อุโมงค์วัดศรีชุม เมืองสุโขทัย แสดงให้เห็นถึงอิทธิพลศิลปะของลังกา 

สังคมและวัฒนธรรมสมัยสุโขทัยตอนต้นเป็นอย่างไร

ลักษณะสังคมสมัยสุโขทัยตอนต้น ลักษณะการปกครองเป็นแบบพ่อบ้านและลูกบ้าน หรือพ่อขุนกับลูกขุน(พ่อ ปกครองลูก) ขนาดชุมชนเป็นเพียงหมู่บ้านแล้วพัฒนาเป็นเมืองขยายเป็น แคว้นสุโขทัยในที่สุด สถานะของคนไทยในสังคมไม่มีการแบ่งชนชั้นที่ ชัดเจน

ศิลปวัฒนธรรมด้านวรรณกรรมที่สำคัญในสมัยสุโขทัยมีอะไรบ้าง

วรรณกรรมสมัยสุโขทัย” เป็นชื่อหนังสือที่กรมศิลปากรพิมพ์เผยแพร่เมื่อ พ.ศ. 2528 แล้วยังใช้เป็นทางการสืบจนทุกวันนี้ มี 3 เรื่อง คือ ไตรภูมิพระร่วง (หรือไตรภูมิกถา), สุภาษิตพระร่วง, นางนพมาศ (หรือตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์)

ศิลปวัฒนธรรมในสมัยสุโขทัยมีรากฐานสําคัญมาจากอะไร

งานสร้างสรรค์ทางศิลปะของกรุงสุโขทัย เช่น พระพุทธรูป เจดีย์จิตรกรรม มีความเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาเป็นสำคัญโดยดัดแปลง รูปแบบศิลปกรรมจากขอม ให้มีลีลาอ่อนช้อยงดงาม ตัวอย่างเช่น พระพุทธรูปปางลีลา ยิ่งกว่านั้นแล้วพุทธศาสนายังมีบทบาทสำคัญต่องานสร้างสรรค์ ทางวรรณกรรมด้วย ดังตัวอย่าง บทพระราชนิพนธ์ของพระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไท ...

ศิลปวัฒนธรรมในสมัยสุโขทัยมีอะไรบ้าง

พระเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์หรือเจดีย์ดอกบัวตูม ลักษณะมียอดตั้งอยู่บนเรือนธาตุสี่เหลี่ยมย่อมุมไม้ยี่สิบ สูงสง่างาม เช่นเจดีย์วัดมหาธาตุ เป็นต้น.
เจดีย์ทรงลังกา เชื่อว่าได้รับอิทธิพลมาจากลังกา เช่นเจดีย์ช้างล้อม ที่ศรีสัชนาลัย เจดีย์ยอดเข้าสุวรรณคิรี เป็นต้น ลักษณะเป็นเจดีย์ทรงกลมหรือระฆัง.

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง