ประสิทธิภาพของเซลล์สุริยะ สูตร

ประสิทธิภาพของแผงโซล่าเซลล์หมายถึงผลลัพธ์กำลังไฟฟ้าที่วัดได้ต่อหนี่งหน่วยพื้นที่หน้าตัด ประสิทธิภาพของแผงโซล่าเซลล์สูง หมายถึงภายในหนึ่งพื้นที่ที่ทำการวัดค่าจะมีกำลังไฟฟ้ามาก ยิ่งมีประสิทธิภาพสูงมากเท่าไรก็ยิ่งมีความคุ้มค่ามากขึ้นเท่านั้น ทั้งนี้ประสิทธิภาพของแผงโซล่าเซลล์ที่ได้จะมีตัวแปรอยู่หลายตัวด้วยกัน ได้แก่ ชนิดของโซล่าเซลล์ที่นำมาประกอบ โครงสร้างของแผง วัสดุส่วนประกอบแผง นอกจากนี้ยังรวมถึงการติดตั้งรับแสงอาทิตย์ของแผงโซล่าเซลล์อีกด้วย

ชนิดของโซล่าเซลล์ต่อประสิทธิภาพ

การเพิ่มประสิทธิภาพโดยรวมของแผงโซล่าเซลล์โดยตรงคือการเลือกชนิดของเซลล์ที่มีประสิทธิภาพในการแปรเปลี่ยนพลังงานแสงเป็นพลังงานไฟฟ้าได้สูง เซลล์ชนิดนี้จะมีโครงสร้างที่พิเศษกว่าเซลล์ทั่วไปคือ ระหว่างโครงสร้างภายในจะมีหลายจังชั่นที่สามารถรับสเปคตัมหลายๆช่วงคลื่นสีพร้อมกันได้ จึงทำให้ได้กำลังไฟฟ้าสูงกว่าเซลล์ทั่วไป มีรายงานการทดสอบว่าเซลล์ชนิดนี้มีประสิทธิภาพถึง 40 เปอร์เซนต์เลยทีเดียว แน่นอนขั้นตอนการผลิตที่ซับซ้อนจึงทำให้มีราคาสูงตามไปด้วย แต่เซลล์ชนิดนี้ก็เหมาะกับลักษณะงานที่มีพื้นที่จำกัดเช่นโซล่าเซลล์บนยานอวกาศหรือดาวเทียมเป็นต้น

สำหรับผู้ติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากแผงโซล่าเซลล์โดยทั่วไปมักจะคำนึงถึงเรื่องราคาต่อกำลังไฟฟ้า(Price/Watt) ที่แผงผลิตได้เป็นหลัก ดังนั้นจึงควรเลือกใช้แผงที่ผลิตจากเซลล์มาตรฐานซึ่งมีค่าประสิทธิภาพอยู่ที่ประมาณ 15-20 เปอร์เซนต์

วัสดุประกอบแผง

วัสดุที่นำมาประกอบแผงโซล่าเซลล์ เช่นกระจกก็มีผลต่อประสิทธิภาพเช่นเดียวกัน กระจกที่ใช้จะต้องลดการสะท้อนของแสงให้น้อยที่สุดก่อนที่แสงจะผ่านไปถึงเซลล์ด้านใน

การยึดและการติดตั้งแผง

การยึดและติดตั้งแผงก็เป็นอีกหนึ่งตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับประสิทธิภาพ การติดตั้งแผงจะต้องคำนวนว่าแผงควรจะติดตั้งให้มีความชันจากพื้นกี่องศาและหันหน้าไปทางทิศใด(โดยทั่วไปจะติดตั้งให้ระนาบแผงโซลล่าเซลล์หันไปทางทิศใต้ โดยมีความชันประมาณ 15 องศาจากพื้นดิน) การยึดและติดตั้งแผงนั้นมีผลอย่างมากต่อประสิทธิภาพโดยรวมของแผงหรือทั้งระบบ ถ้าติดตั้งไปผิดทิศหรือความชันแผงจากพื้นไม่ได้ กำลังไฟฟ้าที่ผลิตได้ก็จะลดลงไปอย่างมาก

อุณหภูมิที่มีผลต่อประสิทธิภาพ

อุณหภูมิของแผงโซล่าเซลล์ก็มีผลโดยตรงต่อประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้า ถ้าอุณหมิของแผงเพิ่มขึ้นจะทำให้ประสิทธิภาพลดลง ตามมาตรฐานจากผู้ผลิตแล้วแต่ละแผงโซล่าเซลล์จะมีการทดสอบประสิทธิของแผงก่อนที่จะนำมาจำหน่ายโดยผลทดสอบจะถูกติดเป็นฉลากแนบที่ติดมากับตัวแผง ในเรื่องของตัวแปรทางด้านอุณหภูมินี้ก็มีบอกอยู่บนฉลากด้วย เช่นถ้าอุณหภูมิเพิ่มขึ้น 1 องศาเซลเซียส จะมีกำลังไฟฟ้า แรงดัน กระแสเปลี่ยนแปลงไปเท่าไร โดยทั่วไปแล้วโรงงานผู้ผลิตจะทดสอบแผงโซล่าเซลล์ที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส แต่บางผู้ผลิตก็จะมีการทดสอบที่อุณหภูมิใช้งานจริงเช่น 45 องศาเซลเซียส ซึ่งจะบอก กำลังไฟฟ้า แรงดัน และกระแสมาบนฉลากเช่นเดียวกัน ดังนั้นการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์บนพื้นที่ใช้งานจริง ต้องไม่ลืมที่จะคำนวนค่าต่างที่แปรเปลี่ยนตามการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิตามไปด้วย

เงาบดบังแสง

นอกจากการติดตั้งแผงที่เหมาะสมแล้ว เงาที่บดบังแผงโซล่าเซลล์ในบางส่วนก็มีผลต่อประสิทธิภาพโดยรวมของทั้งระบบด้วย เพราะโดยส่วนมากแล้วระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์โดยแผงโซล่าเซลล์จะต่อวงจรเป็นแบบอนุกรมแผงโซล่าเซลล์เข้าด้วยกัน เพื่อให้ได้แรงดันที่ออกแบบไว้ เมื่อมีเงาบางส่วนบดบังแสงของแผงโซล่าเซลล์เพียงแค่เพียงหนึ่งแผงก็จะทำให้กระแสไฟฟ้าในระบบหยุดไหลได้ ดังนั้นตลอดทั้งวันควรมั่นใจว่าการติดตั้งแผงจะไม่มีร่มเงามาบดบังการรับแสงของแผงโซล่าเซลล์

เครื่องควบคุมการชารจ์แบบเอ็มพีพีที (Maximum Power Point Tracking – MPPT)

มีอุปกรณ์พิเศษอยู่ตัวหนึ่งที่ได้รับการออกแบบมาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้กับระบบโดยรวม นั้นคือเครื่องควบคุมการชาร์จแบบเอ็มพีพีที โดยทั่วไประบบสแตนอโลนแบบมีเครื่องควบคุมการชาร์จแบบธรรมดาและแบตเตอรี่ต่ออยูในระบบด้วย แผงโซล่าเซลล์จะต้องผลิตแรงดันให้มากกว่าแรงดันขาเข้าของเครื่องควบคุมกระแส เมื่อต้องการชาร์จแบตเตอรี่ที่มีแรงดันต่ำ(แบตเตอรี่ใกล้หมด) แบตเตอรี่จะดึงแรงดันที่ผลิตจากแผงโซล่าเซลล์ให้ต่ำลงเพื่อทำการชาร์จกระแส แทนที่แผงโซล่าเซลล์จะผลิตแรงดันได้มากตามความเข้มแสงจากดวงอาทิตย์ซึ่งจะทำให้กำลังไฟฟ้ามากตามไปด้วย แต่กลับต้องถูกแบตเตอรี่ดึงแรงดันให้ลดต่ำลง จึงทำให้ประสิทธิภาพโดยรวมลดลง จนต่อเมื่อการชาร์จแบตเตอรี่ใกล้เต็มเท่านั้น แผงโซล่าเซลล์จึงจะผลิตกำลังไฟฟ้าได้อย่างเต็มที่(เพราะแบตเตอรี่ใกล้เต็มแรงดันในแบตเตอรี่จะเพิ่มขึ้น)

ดังนั้นเครื่องควบคุมการชาร์จแบบเอ็มพีพีทีจึงได้ออกแบบมาแก้ข้อผิดพลาดตรงนี้ คือจะแบ่งแยกแรงดันที่ผลิตได้จากแผงโซล่าเซลล์กับแรงดันที่ใช้ในการชาร์จออกจากกัน จึงทำให้แรงดันที่ต่ำจากแบตที่ต้องการชาร์จจะไม่ดึงแรงดันจากแผงโซล่าเซลล์อีกต่อไป เครื่องควมคุมการชาร์จแบบเอ็มพีพีทีนี้จะปรับค่าแรงดันและกระแสที่ได้จากแผงโซล่าเซลล์ให้มีค่ากำลังไฟฟ้าสูงสุดแล้วนำไปชาร์จแบตเตอรี่ต่อไป ประสิทธิภาพโดยรวมของระบบก็จะเพิ่มสูงขึ้น แต่เครื่องควมคุมการชาร์จแบบเอ็มพีพีทีนี้ จะมีราคาที่สูงกว่าเครื่องควบคุมการชาร์จแบบธรรมดาถ้าเป็นระบบที่ไม่ใหญ่มากควรคำนึงถึงความคุ้มค่าก่อนนำมาใช้งานด้วย

ประสิทธิภาพของแผงโซลาร์เซลล์คือการวัดปริมาณแสงแดด (การฉายรังสี) ที่ตกลงบนพื้นผิวของแผงโซลาร์เซลล์และถูกแปลงเป็นไฟฟ้า เนื่องจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเซลล์แสงอาทิตย์ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ทำให้ประสิทธิภาพการแปลงแผงโดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจาก 15% เป็นมากกว่า 20% ประสิทธิภาพที่เพิ่มขึ้นอย่างมากนี้ส่งผลให้กำลังผลิตไฟฟ้าของแผงขนาดมาตรฐานเพิ่มขึ้นจาก 250W เป็น 370W

ประสิทธิภาพของแผงโซลาร์เซลล์แบ่งเป็น 2 แบบ แบบแรกคือประสิทธิภาพเซลล์แสงอาทิตย์เดี่ยวๆ ซึ่งประสิทธิภาพของเซลล์แสงอาทิตย์ (PV cell) ขึ้นอยู่กับการออกแบบชนิดของเซลล์และประเภทซิลิกอน และ ประสิทธิภาพแบบที่สองคือประสิทธิภาพโดยรวมของแผงเมื่อนำเซลล์แสงอาทิตย์ประกอบเป็นแผง (PV module, Photovoltaic module) ซึ่งประสิทธิภาพจะขึ้นอยู่กับวิธีการการจัดวางเซลล์แสงอาทิตย์ การเชื่อมต่อระหว่างเซลล์ และขนาดแผง

ภาพแสดงโครงสร้างของแผงเซลล์แสงอาทิตย์ เริ่มจาก เซลล์แสงอาทิตย์ ประกอบกันเป็น แผงเซลล์แสงอาทิตย์

ประสิทธิภาพของเซลล์แสงอาทิตย์ (PV cell)

ประสิทธิภาพของเซลล์แสงอาทิตย์ขึ้นอยู่กับโครงสร้างเซลล์และวัสดุซิลิกอนพื้นฐานที่ใช้ซึ่งโดยทั่วไปจะเป็นประเภท P หรือ N ประสิทธิภาพเซลล์คำนวณออกมาเป็น Fill Factor (FF) ซึ่งเป็นประสิทธิภาพการแปลงพลังงานสูงสุดของเซลล์แสงอาทิตย์ในสภาวะการทำงานที่แรงดันและกระแสไฟเหมาะสมที่สุด

การออกแบบเซลล์เป็นอีกปัจจัยสำคัญต่อประสิทธิภาพเซลล์แสงอาทิตย์ เทคนิคการออกแบบเซลล์ที่เป็นที่นิยมกันในปัจจุบัน ได้แก่ multiple busbars (MBB) และ passivation type (PERC) โดยปัจจุบัน เซลล์ชนิด Interdigitated Back Contact cells (IBC) เป็นเซลล์ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด (20-22%) เนื่องจากมีเซลล์ซิลิกอนชนิด N ที่มีความบริสุทธิ์สูง และไม่มีการสูญเสียจากเงาของบัสบาร์ อย่างไรก็ตาม เซลล์ PERC แบบโมโนล่าสุดที่มีเทคโนโลยี MBB และเซลล์ heterojunction (HJT) ล่าสุดก็มีประสิทธิภาพในระดับที่สูงกว่า 20% แล้วเช่นกัน

ภาพแสดงขนาดของบัสบาร์ ระหว่าง 5 บัสบาร์ (ซ้ายมือ) และ 12 บัสบาร์ (ขวามือ) โดยแบบ 12 บัสบาร์ จะมีขนาดของบัสบาร์ที่บางกว่าลดการเกิดเงาทำให้ปริมาณแสงที่ถูกนำมาเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้าได้มีมากขึ้น

ประสิทธิภาพของแผงเซลล์แสงอาทิตย์ (PV module)

ประสิทธิภาพโดยรวมของแผงจะถูกวัดภายใต้สภาวะการทดสอบมาตรฐาน (Standard Test Condition: STC) โดยอิงจากอุณหภูมิของเซลล์ 25 °C การฉายรังสีแสงอาทิตย์ 1000W/m2 และมวลอากาศ 1.5 ประสิทธิภาพ (%) ของแผงคำนวณจากระดับพลังงานสูงสุด (W) ที่ STC หารด้วยพื้นที่แผงทั้งหมดเป็นเมตร

สมการหาประสิทธิภาพของแผง solar cell

ประสิทธิภาพของแผงโดยรวมอาจได้รับอิทธิพลจากหลายปัจจัย ได้แก่ อุณหภูมิ ระดับการฉายรังสี ชนิดเซลล์ และการเชื่อมต่อระหว่างเซลล์ ซึ่งแม้แต่สีของแผ่นป้องกันด้านหลังก็สามารถส่งผลต่อประสิทธิภาพได้ แผ่นรองหลังสีดำอาจดูสวยงามกว่า แต่จะดูดซับความร้อนได้มากกว่า ส่งผลให้อุณหภูมิของเซลล์สูงขึ้น ซึ่งเพิ่มความต้านทาน ซึ่งจะลดประสิทธิภาพการแปลงโดยรวมลงเล็กน้อย

แผงเซลล์แสงอาทิตย์ที่มีประสิทธิภาพสูงสุด 10 อันดับแรก *

ปี 2564 เราได้เห็นผู้ผลิตจำนวนมากขึ้นที่ปล่อยแผงโซลาร์เซลล์ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นโดยใช้เซลล์ HJT ชนิด N-type ความบริสุทธิ์สูง และเป็นครั้งแรกที่ประสิทธิภาพของแผง 10 อันดับแรก มีค่ามากกว่า 21% โดย แผง solar cell ที่มีประสิทธิภาพสูงสุด เป็นของ sunpower ซึ่งในปัจจุบันมีประสิทธิภาพอยู่ที่ 22.8% โดยใช้เทคโนโลยีแบบ N-type IBC นอกจากที่ประสิทธิภาพสูงแล้ว แผนที่ใช้เทคโนโลยีนี้จะมีอายุการใช้งานที่นานกว่า และ อัตราการเสื่อมสภาพที่ต่ำกว่าอีกด้วย ถึงแม้ว่าแผงแบบ N-type IBC จะมีข้อดีมากมายแต่ปัจจุบัน ราคายังแพงมาก ดังนั้นมันจึงเหมาะกับสถานที่ที่มีพื้นที่ติดตั้งจำกัด

ประสิทธิภาพของเซลล์สุริยะสามารถหาได้อย่างไร

ประสิทธิภาพของแผงเซลล์แสงอาทิตย์ (PV module) ประสิทธิภาพโดยรวมของแผงจะถูกวัดภายใต้สภาวะการทดสอบมาตรฐาน (Standard Test Condition: STC) โดยอิงจากอุณหภูมิของเซลล์ 25 °C การฉายรังสีแสงอาทิตย์ 1000W/m2 และมวลอากาศ 1.5 ประสิทธิภาพ (%) ของแผงคำนวณจากระดับพลังงานสูงสุด (W) ที่ STC หารด้วยพื้นที่แผงทั้งหมดเป็นเมตร

เซลล์สุริยะใช้หลักอะไรจึงทําให้เกิดพลังงานไฟฟ้า

หลักการทำงานของเซลล์แสงอาทิตย์ เริ่มจากแสงอาทิตย์ตกกระทบเซลล์แสงอาทิตย์ จะเกิดการสร้างพาหะนำไฟฟ้าประจุลบ (เรียกว่า อิเล็กตรอน) และประจุบวก (เรียกว่า โฮล) ซึ่งอยู่ในภายในโครงสร้างรอยต่อพีเอ็นของสารกึ่งตัวนำ โดยโครงสร้างรอยต่อพีเอ็นนี้จะทำหน้าที่สร้างสนามไฟฟ้าภายในเซลล์ เพื่อแยกพาหะไฟฟ้าชนิดอิเล็กตรอนให้ไหลไปที่ขั้วลบ ...

เซลล์สุริยะเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานไฟฟ้าได้ยังไง

เซลล์สุริยะ เปลี่ยนพลังงานแสงให้เป็นพลังงานไฟฟ้า ประโยชน์ของเซลล์สุริยะมีทั้งในแง่การใช้งาน และรักษาสิ่งแวดล้อมธรรมชาติมากมาย

เซลล์แสงอาทิตย์ชนิดใดมีประสิทธิภาพสูงที่สุด

แผงโซล่าเซลล์ชนิด โมโนคริสตัลไลน์ มีประสิทธิภาพสูงสุด เพราะผลิตมาจาก ซิลิคอนเกรดดีที่สุด โดยมีประสิทธิภาพเฉลี่ยอยู่ที่ 15-20%

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง