วิชาเฉพาะ นิติ ม. ธ ข้อสอบ

การเตรียมตัวสอบวิชาเฉพาะนิติศาสตร์ธรรมศาสตร์
สวัสดีครับน้อง ๆ ในที่สุดเราก็มาถึงตอนที่ 2 แล้ว ใครยังไม่ได้อ่านกระทู้เตรียมสอบ GAT,  PAT,  O-net,  สามัญ    ในตอนแรก คลิกเข้าไปที่ลิงค์นี้เลยย (   //www.dek-d.com/board/tcas/4018842/     ) สำหรับตอนที่ 2 นี้ พี่ปั้น จาก รร.ระยองวิทยาคม จะรีวิวการเตรียมตัว และเนื้อหาในข้อสอบตรงของคณะนิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ ของปีล่าสุด (2564) นะคร้าบบ มาเริ่มกันเล๊ยย
ในการสอบเข้าคณะนิติศาสตร์ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในรอบ Admission 1 มีคะแนนเต็ม คือ 100 คะแนน โดยจะคิดคะแนนวิชา GAT 30 % และ วิชาเฉพาะทางกฎหมาย 70 % นะครับ โดยข้อสอบตรงของคณะนิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์จะมี 70 ข้อ สามารถแบ่งได้ 3 ส่วน คือ
  1. การใช้เหตุผลเชิงตรรกะ         จำนวน 10 ข้อ  
  2. การอ่านเพื่อความเข้าใจ          จำนวน 25 ข้อ ( แบ่งเป็น 5บทความ บทความ ละ 5ข้อ )
  3. การใช้เหตุผลทางกฎหมาย       จำนวน 35 ข้อ
ซึ่งเราจะมีเวลาในการทำข้อสอบ 180 นาที (3 ชั่วโมง) ดูเหมือนเยอะ แต่ในห้องสอบจริง น้อง ๆ จะไม่รู้สึกแบบนั้นอย่างแน่นอน หุหุ

  การเตรียมตัวสอบตรง
แนะนำก่อนว่าในตอนสอบให้ทำเรียงไปจากพาร์ท การใช้เหตุผลเชิงตรรกะ -> การให้เหตุผลทางกฎหมาย
-> การอ่านเพื่อความเข้าใจ ถ้าทำเรียงตรง ๆ อาจจะทำไม่ทันเอาได้ ทั้งนี้แล้วแต่ด้วยว่าน้อง ๆ ถนัดพาร์ทไหน บริหารเวลายังไง ซึ่งพี่จะแนะนำการเตรียมตัวแต่ละพาร์ทแยกอย่างละเอียดเลยนะครับ

  • พาร์ทที่ 1 การให้เหตุผลทางกฎหมาย
          พี่เริ่มอ่านหนังสือตอนปิดเทอม ม.5 เทอม2 (ถ้าเริ่มได้เร็วกว่านี้จะดีมาก)โดยส่วนมากพี่จะเน้นอ่านพาร์ทการใช้เหตุผลทางกฎหมาย เพราะว่าเป็นส่วนที่มีคะแนนเยอะสุด โดยข้อสอบส่วนนี้จะแบ่งเป็นพาร์ท
A B C
แบบ A จะมีตัวบทกฎหมายมาให้แล้วมีคำถามประมาณว่าถ้าทำแบบนี้ขัดหรือไม่ขัดตัวบท
แบบ B จะมีหลักกฎหมายและเหตุการณ์สมมติมาให้ แล้วมีคำถามเกี่ยวกับการใช้หลักกฎหมายในเหตุการณ์ที่ให้มา ว่าสามารถนำมาปรับใช้กับเหตุการณ์นี้ได้ไหม ได้เพราะอะไร ไม่ได้เพราะอะไร
แบบ C จะมีเหตุการณ์มาให้และถามว่าตัวบทกฎหมายใดสามารถใช้กำเหตุการณ์ในคำถามได้
โดยพี่เตรียมตัวด้วยการฝึกทำโจทย์จากแบบฝึกหัด 2 เล่มนี้ คือ
  1. คัมภีร์สอบตรงนิติศาสตร์ของ Themizlaw
  2. แบบฝึกหัดเตรียมสอบเข้านิติศาสตร์ ฉบับปรับปรุงใหม่ของ BTS

2 เล่มนี้มีโจทย์ที่ค่อนข้างคล้ายคลึงกับขอสอบจริงทั้งในด้านความยากและแนวที่ชอบออก
          พี่ทำโจทย์ของ 2 เล่มนี้ทุกวันในเริ่มแรกอาจทำแค่ 5-10 ข้อก่อนก็ได้ให้ชินโจทย์แล้วค่อยเพิ่มจำนวนข้อไปเรื่อยจนประมาณ 30 ข้อ พอถึงช่วงนี้พยายามจับเวลาทำข้อสอบให้ได้ภายใน 1 ชั่วโมง พยายามฝึกทำทุกวันจนถึงวันที่สอบเลย บางครั้งอาจลองเอาเซตโจทย์เดิมที่ทำมานานแล้ วมาทำใหม่อีกทีก็ได้ จะได้ดูพัฒนาการของตัวเองและดูว่ายังต้องเพิ่มตรงไหนอีกบ้าง
เคล็ดลับในการทำคือ พอพี่ทำข้อสอบเสร็จ พี่มักจะอ่านการอธิบายคำตอบท้ายเล่มด้วยไม่ว่าจะตอบถูกหรือตอบผิดข้อนั้นก็ตาม เพราะในส่วนนี้จะมีการอธิบายว่าทำไมถึงตอบแบบนี้อย่างละเอียดที่จะช่วยฝึกในเรื่อง “ตรรกะของนักกฎหมาย” ที่จะช่วยเสริมแนวคิดในการข้อสอบแนวนี้ได้ง่ายขึ้นและระวังเรื่องการเล่นคำ อย่างคำว่า และ หรือ เล่นบ่อยมาก
 
  • พาร์ทที่ 2 การให้เหตุผลเชิงตรระ
ในส่วนนี้พี่ทำเรื่อย ๆ ประมาณอาทิตย์ละครั้งจะมีโจทย์อยู่ 3 แบบ คือ
แบบที่ 1 แบบรูปภาพ ส่วนใหญ่จะมาในรูปแบบ Pattern ว่าภาพต่อไปควรเป็นภาพอะไร โจทย์แบบนี้สามารถหาพวกแบบทดสอบ IQ มาทำก็ได้จะได้รูปแบบคล้าย ๆ กันอยู่
แบบที่ 2 จะเป็นบทความสมมุติขึ้นโดยให้หาความขัดแย้ง หรือหาความข้อความที่สนับสนุนเป็นไปได้มากที่สุด
แบบที่ 3 จะเป็นเหตุการ์สมมุติขึ้นมาแล้วกำหนด กฎ บางอย่างไว้ให้พี่แก้ไขเหตุการณ์สมมุติโดยให้อยู่ภายใต้โจทย์นั้น
ส่วนนี้พยายามจับเวลาทำให้เสร็จภายใน 30 นาทีเพราะเป็นส่วนที่อ่านน้อยสุดและเวลาที่เหลือสามมารถเอาไปใช้ในส่วนการอ่านเพื่อความเข้าใจที่ต้องอ่านเยอะ+ทำความเข้าใจคำถามด้วย เวลาทำถ้าจะเน้นคำหรืออะไรต่าง ๆ ให้ใช้ปากกาปกติไม่ก็ดินสอสอบจริงกรรมการไม่ให้นำเอาปากกาไฮไลต์เข้าห้องสอบ
          สำหรับข้อสอบในส่วนนี้พี่ยอมรับเลยมาหายากมว๊ากกก แนะนำให้หาแนวข้อสอบจาก
เพจ LegendLaw : ติวสอบตรงนิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์
 
  • พาร์ทที่ 3 การอ่านเพื่อความเข้าใจ
ส่วนนี้พี่ใช้เทคนิคในการทำเดียวกันกับการทำข้อสอบ GAT เชื่อมโยงและ GAT ENG เลย (คล้ายกับพาร์ท Reading GAT ENG ) ของส่วนนี้จะมีบทความมาให้ 5 บทความความยาวประมาณบทความของ GAT เชื่อมโยงเลย แล้วคำถามจะถามพวก ใจความสำคัญต่าง ๆ, บทความนี้ควรตั้งชื่อว่าอะไร, ใจความสำคัญที่บทความนี้ต้องการจะสื่อ โดยเตรียมตัวจากข้อสอบอ่านจับใจความของ PISA ก็ได้ มานั่งทำฝึกไปเรื่อย ๆ หรือไปหาบทความในอินเตอร์เน็ตมาลองจับใจความสำคัญ, คิดชื่อบทความ หรือลองหารายละเอียดปลีกย่อยในบทความดูก็ได้ เนื่องจากพาร์ทนี้ใช้เวลาทำนาน พี่เลยอ่านตอนวันหยุดเป็นหลัก จับเวลาทำอย่าให้เกิน 1 ชั่วโมง 15 นาที

  บทความที่ออกในปีนี้ (เท่าที่พวกพี่จำได้นะ)
         ข่าวสรรพสามิตรื้อโครงสร้างภาษี  
//www.prachachat.net/motoring/news-571126

         บทความความเหลื่อมล้ำในนิวยอร์กเนื่องจากสถานการณ์โควิด -19 //www.thaihealthconsumer.org/news/covid19-new-york-inequality/

          วารสารนิติศาสตร์ มาตรการทางกฎหมายในการป้องกันการกระทบกระเทือนทางสมองจากการแข่งกีฬา (ถ้าจำไม่ผิดตอนสอบคัดมาเฉพาะบทนำ)
////tci-thaijo.org/index.php/gradlawtujournal/article/download/114592/88809/

          การจัดการความเลื่อมล้ำโควิด – 19 ของไทย
 //tdri.or.th/2020/10/inequalities-in-the-time-of-covid-19/

            ความมั่งคั่งกับสุขภาพ อันนี้พวกพี่ลืมสนิทเลยว่าบทความเป็นไง โทษทีนะ แหะๆ

ลองฝึกอ่านข่าว บทความ บล็อกต่าง ๆ หรือถ้าเป็นไปได้ก็หาข้อสอบจับใจความมาทำดู ฝึกอ่านให้เร็วและจับใจความสำคัญให้ได้ เคล็ดลับคือ อ่านแบบผ่าน ๆ ก่อน 1 รอบให้รู้คร่าว ๆ ว่าบทความต้องการสื่ออะไร แล้วค่อยไปดูคำถาม พอดูเสร็จแล้วค่อยมาอ่านบทความอีกทีเพื่อเก็บรายละเอียดและหาคำตอบ (แนะนำให้หาอ่านกระทู้สอนเทคนิคการอ่านจับใจความควบคู่ไปด้วย มันจะช่วยให้เราทำข้อสอบพาร์ทการใช้เหตุผลทางกฎหมายได้ดีขึ้นด้วย)

            สุดท้ายก็อย่าลืมลองทำข้อสอบแบบเสมือนจริงกันด้วยนะ ซึ่งพี่ได้มาจากที่เรียนพิเศษ Themizlawประมาณ 1 เดือนก่อนสอบคือทำทั้ง 3 พาร์ทรวม 70 ข้อ จับเวลาทำให้ไม่เกิน 3 ชั่วโมง (ถ้าทำเสร็จภายใน 2 ชั่วโมงได้จะดีมาก เพราะเวลาสอบจริงจะใช้เวลาทำข้อสอบนานกว่าที่ซ้อมไว้เสมอ ประเด็นนี้สำคัญมาก หลายคนทำข้อสอบได้ แต่ไม่ติด นิติ มธ. ก็เพราะทำข้อสอบไม่ทันนี่แหละ)

  การเรียนพิเศษ
          พี่ลงเรียนกับ Themizlaw แบบ Online ที่นี่สอนดี สอนละเอียดโจทย์และข้อสอบต่าง ๆ ได้แนวคล้ายกับข้อสอบจริงเลย ตอน ม.5 เทอม 2 พี่ลงคอร์ส Basic Online คอร์สนี้จะปูพื้นฐานพวกแนวคิดทางกฎหมาย ความรู้พื้นฐานทางกฎหมายและเทคนิคสำหรับทำข้อสอบเฉพาะในแต่ละพาร์ท ซึ่งคอร์สนี้โจทย์ค่อนข้างให้มาน้อย แต่พี่ยูจะมีภารกิจมาให้ทำ ต้องขยันทำตาม ไม่งั้นก็จะแทบไม่มีโจทย์ฝึกทำเลย 555ส่วนตัวคิดว่าถ้าจะเริ่มเรียนแนะนำให้ลง คอร์ส Basic ก่อนแล้วค่อยไปอันที่ยากขึ้น พอเรียนจบแล้ว พี่ก็สมัครเรียนคอร์ส Advance ต่อ คอร์สนี้จะเน้นไปที่การทำแบบฝึกหัดกับข้อสอบมากกว่า ข้อสอบต่าง ๆ จะยากขึ้นกว่าคอร์สที่ผ่านมาและจะมีความใกล้เคียงกับข้อสอบจริงมากยิ่งขึ้น คอร์สสุดท้ายที่พี่ลงคือ คอร์ส Final คอร์สนี้ข้อสอบจะใกล้เคียงกับข้อสอบจริงมาก อัพเดทล่าสุด และยากสุดด้วยเหมาะสำหรับคนที่มีพื้นฐานเรื่องแนวคิดทางกฎหมายอยู่แล้ว

อันนี้คะเเนนวิชาสอบตรงของพี่นะ

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง