สถิติการอ่านหนังสือของคนไทย ปี 2564

3 เม.ย. 62-ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์  สำนักงานอุทยานการเรียนรู้ (TK park) ร่วมกับ สำนักงานสถิติแห่งชาติ จัดงานแถลงข่าว “ผลสำรวจการอ่านของประชากร ประจำปี พ.ศ. 2561” พบว่าคนไทยใช้เวลาอ่านเพิ่มมากขึ้นเป็น 80 นาทีต่อวัน โดยอ่านหนังสือเล่มร้อยละ 88 และอ่านบนสื่ออิเล็กทรอนิกส์มาแรงถึงร้อยละ 75.4 ซึ่งอยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกันมากขึ้น  สะท้อนว่าหนังสือเล่มยังคงอยู่เคียงคู่สื่อใหม่ ทั้งนี้ในภาพรวมคนไทยมีการอ่านร้อยละ 78.8 ซึ่งหมายถึงยังมีคนไทยที่ไม่อ่านถึงร้อยละ 21.2  และกลุ่มวัยรุ่นคือกลุ่มที่ใช้เวลาอ่านสูงสุดเมื่อเทียบกับทุกวัย


นางสาววันเพ็ญ พูลวงษ์ รองผู้อำนวยการสำนักงานสถิติแห่งชาติ กล่าวถึงภาพรวมสำรวจการอ่านของคนไทยในปี พ.ศ. 2561 พบว่าคนไทยอายุ 6 ปีขึ้นไป อ่านร้อยละ 78.8 หรือคิดเป็นจำนวนประชากร 49.7 ล้านคน โดยในกรุงเทพฯ มีคนอ่านมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 92.9, ภาคกลางร้อยละ 80.4 ภาคเหนือและภาคอีสานร้อยละ 75 และ ภาคใต้ร้อยละ 74.3 ขณะที่เวลาในการอ่านสูงขึ้น พบว่าคนไทยอ่านหนังสือนานสุด 80 นาที/วัน เทียบจากปี 2558 อ่าน 66 นาที และและ 2556 อ่าน 37 นาที
ผลการสำรวจปี 2561 นี้ยังมีการจัดอันดับ 10 จังหวัดที่มีจำนวนคนอ่านหนังสือมากที่สุด ได้แก่ กรุงเทพฯ 92.9%, สมุทรปราการ 92.7%, ภูเก็ต 91.3% ขอนแก่น 90.5% สระบุรี 90.1% อุบลราชธานี 88.8% แพร่ 87.6% ตรัง 87.2% นนทบุรี 86.6% และ ปทุมธานี 86.2%

นายกิตติรัตน์ ปิติพานิช รองผู้อำนวยการสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้และผู้อำนวยการสำนักงานอุทยานการเรียนรู้ กล่าวว่า การสำรวจในปีพ.ศ. 2556 และ พ.ศ. 2558 และพบว่าสถิติการอ่านของคนไทยมีการเปลี่ยนแปลงตามสภาพแวดล้อมและสถานการณ์ที่แตกต่างกันออกไป สำหรับในปีนี้ แม้ว่าจะมีตัวเลขคนอ่านเพิ่มขึ้นร้อยละ 78.8 ก็ตาม แต่เมื่อมองไปที่ตัวเลขของกลุ่มที่ไม่อ่าน พบว่ามีถึงร้อยละ 21.2 คิดเป็นจำนวนประชากร 13.7 ล้านคน ซึ่งเหตุผลของการไม่อ่าน มีตั้งแต่การดูทีวี ไม่มีเวลา อ่านไม่ออก ไม่ชอบ ไม่สนใจการอ่าน ชอบเล่นเกม รวมทั้งไม่มีเงินซื้อหนังสือ ในจำนวนนี้มีคนที่บอกไม่ชอบและไม่สนใจอ่านถึงร้อยละ 25.2 ถ้าคิดเป็นจำนวนประชากรก็ประมาณกว่า 3 ล้านคน ซึ่งนับว่าเป็นจำนวนที่ไม่น้อยทีเดียว คนกลุ่มนี้ถือเป็นกลุ่มเป้าหมายสำคัญของอุทยานการเรียนรู้ TK park และหน่วยงานที่ทำงานด้านส่งเสริมการอ่านทั้งหลาย 

อีกหนึ่งประเด็นที่ไม่ควรมองข้ามคือกลุ่มเด็กเล็ก กิตติรัตน์ บอกว่า จากผลสำรวจชี้ให้เห็นว่าพ่อแม่ผู้ปกครองส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 63.8 ยังขาดความเข้าใจในเรื่องการอ่านหนังสือของเด็กเล็ก โดยให้เหตุผลว่าเด็กยังมีอายุน้อยเกินไป ทำให้เด็กกลุ่มนี้ คิดเป็นจำนวนราว 1.1 ล้านคน ไม่ได้รับการปลูกฝังนิสัยรักการอ่านเหตุเพราะความเข้าใจผิดของผู้ปกครอง ดังนั้นการรณรงค์ให้ความรู้และทำความเข้าใจในการส่งเสริมการอ่านในเด็กเล็ก เช่น การเล่านิทานให้ลูกฟังเป็นประจำ และในกลุ่มอายุ 15-24 กลับพบว่าไม่ชอบการอ่านถึงร้อยละ 34.9 

“ผลการสำรวจในปี 2561 ยังระบุถึงประเด็นการอ่านผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพียงอย่างเดียวในเด็กวัยต่ำกว่า 6 ปี ที่มีจำนวนร้อยละ 5.4 เพิ่มขึ้นถึง 3 เท่าจากผลสำรวจเมื่อครั้งที่แล้ว นั่นหมายถึงมีเด็กจำนวนถึง 145,000 คน ถูกพ่อแม่เลี้ยงดูด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพียงอย่างเดียว ในขณะที่งานวิจัยเรื่องผลกระทบของสื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านจอ ทีมแพทย์ระบุว่าการเสพสื่อผ่านจออิเล็กทรอสิกส์มีผลกระทบกับพัฒนาการเรียนรู้ของเด็ก ซึ่งไม่สมควรใช้กับเด็กเล็กแรกเกิดจนถึง 1 ขวบครึ่งอย่างสิ้นเชิง ซึ่งประเด็นนี้นับว่าน่าเป็นห่วงอย่างมาก” ผู้อำนวยการอุทยานการเรียนรู้ TK park กล่าว

สถิติการอ่านของคนไทย มีการเปลี่ยนแปลงตามสภาพแวดล้อม และสถานการณ์ที่แตกต่างกันออกไป สำหรับในปีนี้เมื่อเราเข้าสู่ยุคดิจิทัล แน่นอนว่าการอ่านผ่านสื่อออนไลน์ ย่อมส่งผลอย่างมีนัยสำคัญต่อการอ่าน ทำให้ห้องสมุด ร้านหนังสือ หรือส่วนงานที่เกี่ยวข้อง ย่อมต้องปรับตัวตามการเปลี่ยนแปลงนี้

วันเพ็ญ พูลวงษ์รอง ผู้อำนวยการสำนักงานสถิติแห่งชาติ

อย่างไรก็ตามผลสำรวจยังบอกอีกว่ามีจำนวนประชากรไทยที่ไม่อ่านหนังสืออยู่กว่า 21.2% หรือราว 13.7 ล้านคนแบ่งเป็นผู้ชาย 20.3% และผู้หญิง 22.1% ซึ่งในจำนวนนี้ให้เหตุผลว่าชอบดูทีวี 30.3% ไม่ชอบอ่านหนังสือหรือไม่สนใจ 25.2% อ่านไม่ออก 25.0% สายตาไม่ดี 22.1% ไม่มีเวลาอ่าน 20.0%

และเมื่อจำแนกตามช่วงวัยพบว่าเด็กอายุระหว่าง 6-14 ปีมีแนวโน้มการอ่านเพิ่มขึ้น ซึ่งนั่นหมายถึงว่าการรณรงค์ส่งเสริมการอ่านในกลุ่มนี้ค่อนข้างได้ผล เมื่อไปดูในเด็กอายุ 15-24 ปีกลับพบว่าไม่ชอบการอ่านหนังสือถึง 34.9% ขณะที่วัยผู้ใหญ่  25-50 ปีที่ไม่ชอบอ่านหนังสือมีถึง 32.8%

สะท้อนว่าหลังการศึกษาช่วงมัธยมศึกษาตอนต้น จนถึงทำงานและเกษียณอายุคนกลุ่มนี้ ยังขาดนิสัยรักการอ่านและยังแสดงให้เห็นว่า การปลูกฝังเรื่องรักการอ่านในคนไทย อาจจะยังไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร นับเป็นความท้าทายที่หน่วยงานด้านการส่งเสริมการอ่าน ต้องกลับไปแก้โจทย์ และหาแนวทางในการรณรงค์ส่งเสริมการอ่านกันต่อไป

ข้อมูลที่นำมาเสนอและอ้างอิงมากที่สุด คือผลสำรวจการอ่านของประชากร ประจำปี พ.ศ. 2561 จัดทำโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ ร่วมกับสำนักงานอุทยานการเรียนรู้ (TK Park) สำรวจกลุ่มตัวอย่าง 55,920 ครัวเรือนทั่วประเทศ

ผลสำรวจดังกล่าวบอกว่า คนไทยอายุ 6 ปีขึ้นไปใช้เวลาอ่านเฉลี่ยมากถึงวันละ 80 นาทีเพิ่มขึ้นจากการสำรวจครั้งที่ผ่านมาในปี 2558 ซึ่งอยู่ที่ 66นาทีต่อวัน ส่วนเยาวชนไทยเป็นกลุ่มที่ใช้เวลาอ่านมากที่สุดคือเฉลี่ยวันละ 109 นาที

ไม่เพียงเท่านั้นแนวโน้มการอ่านของคนไทยยังเพิ่มขึ้นอีกด้วยโดยปี พ.ศ. 2551 มีอัตราการอ่านร้อยละ 66.3 ปี พ.ศ. 2554ร้อยละ 68.6 ปี พ.ศ. 2558 ร้อยละ 77.7 และปี พ.ศ. 2561อัตราอ่านของคนไทยเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 78.8 หรือกว่า 49.7ล้านคน

และจากผลการศึกษาอัตราการรู้หนังสือและการอ่านของประชากรใน 61 ประเทศทั่วโลกโดยมหาวิทยาลัย Central Connecticut State in New Britain ของสหรัฐอเมริกา

พบว่าประเทศในแถบนอร์ดิกมีอัตราการรู้หนังสือและการอ่านมากที่สุด โดยอันดับ 1 เป็นของฟินแลนด์ ตามด้วยไอซ์แลนด์เดนมาร์ก และสวีเดน ขณะที่ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 56

ซึ่งก็ไม่ถึงกับแย่จนเกินไปถ้าพิจารณาว่าโลกปัจจุบันนี้มีทั้งหมด193 ประเทศ

ผ่านการอ่านแค่ไหนไปแล้ว ลองมาดูกันว่าคนไทยอ่านอย่างไร

จากผลสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติระบุว่าคนไทยอ่านข้อความจากสื่อสังคมออนไลน์มากที่สุดร้อยละ 61.2โดยมีหนังสือพิมพ์รองลงมา ตามด้วยแบบเรียน และหนังสือทั่วไป

สื่อสังคมออนไลน์ที่ว่านี้ที่สำคัญก็คือพวกแชตพวกโพสต์ทั้งหลายที่เชื่อถือได้บ้างไม่ได้บ้าง มากกว่าเว็บไซต์ที่ให้ความรู้และเป็นทางการ

และถ้าจะถามต่อไปว่าคนไทยชอบอ่านอะไรแล้วสถิติการขายหนังสือคงพอตอบได้

สมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทยได้เก็บสถิติซึ่งช่วยให้เห็นแนวโน้มการอ่านหนังสือของคนไทยมากขึ้นโดยหนังสือที่ขายดีที่สุดในงานหนังสือปี พ.ศ.2564คือการ์ตูนและไลท์โนเวลหรือพูดให้ตรงแบบไม่อ้อมค้อมที่ผู้คนในวงการหนังสือรู้กันก็คือพวกนวนิยายแปลจากไต้หวันและเกาหลีที่มีเนื้อหากระเดียดไปในทางชายรักชายทั้งสองประเภทนี้เป็นหนังสือที่ขายดีติดต่อกันมานานหลายปี

ปี พ.ศ. 2565 หนังสือที่ขายดีที่สุดก็ยังเป็นหนังสือการ์ตูนและไลท์โนเวล เหมือนเดิมมีการพยายามอธิบายกันว่าวัฒนธรรมการอ่านในปัจจุบันมีความหลากหลายและเฉพาะตัวมากขึ้น การอ่านขยายตัวสู่การอ่านทุกรูปแบบ ทุกที่ ทุกเวลาโดยการอ่านแต่ละแบบตอบโจทย์การใช้งานที่แตกต่างกันของแต่ละคน

แต่หากวัฒนธรรมการอ่านพัฒนาจากการอ่านแบบเจาะลึกผ่านสื่อหนังสือหรือเอกสารที่เชื่อถือได้ ไปสู่การอ่านแบบฉาบฉวยเร่งรีบในภาวะแวดล้อมของสังคมปัจจุบันผ่านสื่อสังคมออนไลน์ที่แทบจะไม่คำนึงถึงความเชื่อถือได้หรือเชื่อถือไม่ได้

ยิ่งจากการนิยมอ่านหนังสือดี ๆ มีสาระไปสู่การนิยมอ่านหนังสือการ์ตูนและไลท์โนเวลด้วยแล้วอนาคตของเราก็น่าเป็นห่วง

เพราะวัฒนธรรมการอ่านมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งทั้งต่อผู้อ่านในฐานะปัจเจกชน ต่อสังคมที่ต้องอาศัยเศรษฐกิจฐานความรู้และต่อประเทศชาติโดยองค์รวมที่ต้องอยู่ให้ได้ท่ามกลางการแก่งแย่งแข่งขันในระบอบทุนนิยม

คนไทยอ่านหนังสือกี่เปอร์เซ็นต์

นอกจากนี้ แนวโน้มการอ่านของประชากรไทยยังเพิ่มขึ้น โดยปี 2551 มีอัตราการอ่าน 66.3% และ ในปี 2554 เพิ่มขึ้น 68.6% ส่วนปี 2561 อัตราอ่านของคนไทยเพิ่มขึ้นมาที่ 78.8% และในจำนวนนักอ่านเหล่านี้มีผู้ที่อ่านหนังสือทุกวันมากถึง 54% และรองลงมา คือ อ่านทุก 4-6 วัน

คนไทยอ่านหนังสือปีละกี่บรรทัด

ที่ตลอดทั้ง 365 วัน คนไทยทั่วๆ ไปจะอ่านหนังสือแค่ 8 บรรทัด .. หรือเฉลี่ย 45 วัน (เดือนครึ่ง) ต่อ 1 บรรทัด ! แต่ทั้งๆ ที่ ข้อมูลออกจะเหนือจริงขนาดนั้น กลับยังมีคนบางกลุ่มเชื่อ และหยิบไปผลิตซ้ำว่า “คนไทยอ่านหนังสือแค่ปีละ 8 บรรทัด” อยู่เรื่อยๆ

คนไทยอ่านหนังสือกี่เล่ม

ขณะที่ สมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย ระบุว่าคนไทยอ่านหนังสือเฉลี่ย 3 เล่ม/เดือน โดยพฤติกรรมของผู้อ่านส่วนใหญ่รับรู้มาก่อนว่าจะมีหนังสือออกใหม่ แล้วตั้งใจไปซื้อที่ร้านและงานหนังสือเป็นหลัก ซึ่งสื่อออนไลน์นับว่าเป็นช่องทางหลักในการประชาสัมพันธ์ เฉพาะอย่างยิ่งนักเขียนและสำนักพิมพ์ที่ประกาศในเฟซบุ๊กของ ...

การอ่านเพิ่มขึ้นกี่เปอร์เซ็นต์

3 เม.ย. 62-ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ สำนักงานอุทยานการเรียนรู้ (TK park) ร่วมกับ สำนักงานสถิติแห่งชาติ จัดงานแถลงข่าว “ผลสำรวจการอ่านของประชากร ประจำปี พ.ศ. 2561” พบว่าคนไทยใช้เวลาอ่านเพิ่มมากขึ้นเป็น 80 นาทีต่อวัน โดยอ่านหนังสือเล่มร้อยละ 88 และอ่านบนสื่ออิเล็กทรอนิกส์มาแรงถึงร้อยละ 75.4 ซึ่งอยู่ในระดับที่ใกล้ ...

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง