สถิติ การใช้เทคโนโลยี 2565

ETDA ชวนคนไทยร่วมทำแบบสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยปี 2565 หรือ Internet User Behavior (IUB) ที่ได้มีการสำรวจมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อรวบรวมพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตของกลุ่มคนไทยที่มีการใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่านอุปกรณ์ และกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวัน ที่จะช่วยสะท้อนให้เห็นไลฟ์สไตล์ของคนไทยในยุคที่การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลได้เข้ามามีบทบาทกับพฤติกรรมการใช้ชีวิตของคน ซึ่งที่ผ่านมาผลการสำรวจ IUB ทำให้เห็นว่าจำนวนชั่วโมงการใช้อินเทอร์เน็ตเพิ่มมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัดทั้งที่เกิดจากวิกฤติการณ์ การพัฒนาของเทคโนโลยี ตลอดจนความนิยมของคนไทยในแต่จะช่วง โดยกระบวนการดำเนินงานเป็นการสำรวจผ่านเว็บไซต์ ผ่าน Social Media ของ ETDA และหน่วยงานที่ให้การสนับสนุนการประชาสัมพันธ์ โดยปีนี้ได้มีการดำเนินงานร่วมกับเครือข่ายพันธมิตรที่สำคัญ เพื่อให้เกิดการกระจายตัวในภูมิภาคต่างๆ ของไทยได้มากขึ้น รวมถึงการผนวกประเด็นคำถามที่จะนำไปสู่การวิเคราะห์ข้อมูลสำหรับนำไปสู่ข้อเสนอแนะในมุมของการส่งเสริมและสนับสนุนการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศ

ปีนี้ ETDA จึงขอเชิญชวนท่านเข้าร่วมตอบแบบสำรวจฯ เป็นให้ข้อมูลของท่านเป็นหนึ่งในข้อมูลสำคัญที่จะช่วยให้ ETDA ได้ใช้ในการวิเคราะห์ผลที่จะช่วยสะท้อนภาพรวมพฤติกรรมของคนไทยในยุคที่เทคโนโลยีดิจิทัลได้ก้าวเข้ามาเป็นส่วนสำคัญในชีวิตประจำวัน และจะเป็นประโยชน์ทั้งในภาครัฐ และภาคเอกชน รวมถึงนักศึกษา และผู้ที่สนใจโดยทั่วไป ซึ่งจะมีช่วงเวลาของการจัดเก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 12 เมษายน ถึง 10 มิถุนายน 2565 นี้

สำนักงานสถิติแห่งชาติ (สสช.) เผยผลการสำรวจการใช้ ICT ของประชาชนในประเทศไทยปี 2565 (ไตรมาส 1) พบว่า คนไทยมีแนวโน้มการใช้คอมพิวเตอร์และโทรศัพท์มือถือประจำครัวเรือนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และประชาชนส่วนใหญ่มีโทรศัพท์สมาร์ตโฟนใช้กันเกือบหมด

ในการสำรวจการใช้ ICT ของประชาชนในประเทศไทยปี 2565 (ไตรมาส 1) นี้  ได้แบ่งการสำรวจออกเป็น 2 ระดับ คือระดับครัวเรือน และรายบุคคล

ระดับครัวเรือน

จากการสำรวจครัวเรือนประมาณ 24.7 ล้านครัวเรือน พบว่า

มีครัวเรือนที่มีคอมพิวเตอร์ 6.3 ล้านครัวเรือน คิดเป็น 25.5%

มีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต 22.0 ล้านครัวเรือน คิดเป็น 89.1%

และมีโทรศัพท์มือถือ 23.9 ล้านครัวเรือน คิดเป็น 96.6%

 

ประชาชน (รายบุคคล)

ผลการสำรวจประชาชนอายุ 6 ปีขึ้นไป ประมาณ 65.4 ล้านคน พบว่า

มีผู้ใช้อินเทอร์เน็ต 56.7 ล้านคน คิดเป็น 86.6%

ผู้ใช้โทรศัพท์มือถือ 62.3 ล้านคน คิดเป็น 95.2%

และผู้มีโทรศัพท์มือถือ 57.5 ล้านคน คิดเป็น 87.9% แบ่งเป็นโทรศัพท์มือถือสมาร์ตโฟน 94.1% และโทรศัพท์มือถือระดับกลาง (Feature phone) 6%

 

ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ทำให้หลายคนต้อง Work frome Home ส่วนนักเรียนนักศึกษาก็ต้องปรับการเรียนการสอนเข้าสู่การเรียนในโลกออนไลน์มากขึ้น จึงทำให้ปริมาณคอมพิวเตอร์ประจำครัวเรือนเพิ่มขึ้น อีกทั้งจำนวนสมาร์ตโฟนก็มากตามไปด้วย  คอมพิวเตอร์และสมาร์ตโฟนจึงกลายมาเป็นเครื่องมือสื่อสารจำเป็น ที่ในยุคนี้ไม่มีใครหลีกเลี่ยงได้แล้ว ทุกคนจำเป็นต้องมีเครื่องมือเหล่านี้ในการเรียนรวมถึงทำงาน เป็นภาคบังคับแบบที่ไม่มีไม่ได้

เข้าสู่กลางปี 2565 แล้ว ครึ่งปีที่ผ่านมามีการเปลี่ยนแปลงมากมาย เพื่อให้สอดรับกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง โดยเฉพาะลักษณะการดำเนินงานในสถานประกอบการต่าง ๆ บางแห่งกลับมาทำงาน Onsite ตามปกติ บางแห่ง Work From Anywhere 100% หรือบางแห่งยังสลับกันไปมา ซึ่งแน่นอนว่าสิ่งที่เกี่ยวข้องกับการทำงานแบบออนไลน์ของสถานประกอบการย่อมหนีไม่พ้นเรื่องของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

บทความนี้จึงจะพาทุกคนย้อนกลับไปดูสถิติ 5 ปี ของการมี / การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในสถานประกอบการว่ามีการเปลี่ยนแปลงไปมากเพียงใด ซึ่งข้อมูลตัวเลขในบทความนี้สืบค้นจากรายงานการสำรวจจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี 2560-2564

9 แสนแห่งมีการใช้คอมพิวเตอร์ในการทำงาน

จากการสำรวจในปี 2564 ประเทศไทยมีสถานประกอบการที่มีพนักงานมากกว่า 1 คนขึ้นไปเป็นจำนวนประมาณ 2.5 ล้านแห่ง ซึ่งส่วนใหญ่ดำเนินธุรกิจทางการค้าและทางการบริการ โดยขนาดของสถานประกอบการส่วนใหญ่เป็นขนาดเล็ก จึงทำให้ภาพรวมของการมีการใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตมีค่าไม่สูงมากนัก แต่จะเห็นได้ว่าแนวโน้มนั้นขยับเพิ่มขึ้นทุกปี ทั้งนี้ก็มาจากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศที่สถานประกอบการสามารถเข้าถึง และนำไปใช้งานได้มากขึ้น รวมถึงตัวพนักงานเองสามารถใช้งานคอมพิวเตอร์ได้มากขึ้น

1.15 ล้านแห่งมีการใช้อินเทอร์เน็ตในการทำงาน

แม้ว่าผลการมีการใช้คอมพิวเตอร์ในการทำงานจะมีตัวเลขไม่สูงมากนัก แต่การมีการใช้อินเทอร์เน็ตนั้นมีมากขึ้นกว่า 2 แสนแห่ง ซึ่งตัวเลขนี้วิเคราะห์ว่าน่าจะเป็นเพราะมีสถานประกอบการขนาดเล็กหลายแห่งที่ใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่านอุปกรณ์การใช้งานอื่นอย่าง โทรศัพท์สมาร์ตโฟน โดยเฉพาะสถานประกอบการด้านการขายสินค้าออนไลน์ ซึ่งจากผลการสำรวจจะเห็นได้ชัดว่า ตัวเลขในปี 2564 นั้นก้าวกระโดดจาก 4 ปีก่อนหน้าเกือบเท่าตัว

ทั้งนี้ก็มาจากสถานการณ์โรคระบาดที่ส่งผลให้การพบปะ นำเสนอสินค้า หรือประสานงานการค้าติดขัด พนักงานในสถานประกอบการจึงจำเป็นต้องผลักดันตัวเองเข้าสู่การใช้งานอินเทอร์เน็ตมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการรับ-ส่งอีเมล การประชุมออนไลน์ การเรียนรู้ออนไลน์

สถานประกอบการใช้อินเทอร์เน็ตด้านใดบ้าง

ผลสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติบอกเราว่า ปี 2564 นั้น ในการใช้งานอินเทอร์เน็ตด้านต่าง ๆ สูงขึ้นมาก ซึ่งสามารถจัดลำดับวัตถุประสงค์การใช้งานอินเทอร์เน็ตได้ ดังนี้

  1. ใช้ค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ
  2. ใช้รับส่ง e-mail (บทความแนะนำ : 7 คอร์สแนะนำที่ให้คุณทำได้มากกว่าแค่รับ-ส่งอีเมล)
  3. ใช้สนทนาสื่อสารทาง Instant Massage เช่น Line WeChat
  4. ใช้ซื้อ/ขายสินค้าและบริการ หรือดำเนินธุรกิจกับคู่ค้า
  5. ใช้ค้นหาข้อมูลจากหน่วยงานภาครัฐ
  6. ใช้บริการธนาคารทางอินเทอร์เน็ต (Internet Banking)
  7. ใช้ติดต่อกับหน่วยงานภาครัฐ เช่น ยื่นภาษีออนไลน์ Download แบบฟอร์มต่าง ๆ
  8. ใช้โทรศัพท์ ประชุมออนไลน์
  9. ใช้เพื่อประกาศรับสมัครบุคลากรภายในหรือภายนอกสถานประกอบการ
  10. ใช้เพื่ออบรมความรู้ให้กับบุคลากรผ่านระบบ e-learning
  11. ใช้เพื่อจัดส่งสินค้าออนไลน์ในรูปแบบ Digital เช่น E-Coupon ซอฟต์แวร์ ใบจองการเดินทาง

จากข้อมูลที่มีการใช้ ICT (Information and Communication Technology) มากขึ้นเรื่อย ๆ ในสถานประกอบการ ทำให้หลาย ๆ องค์กรจำเป็นที่จะต้องพัฒนาบุคลากรซึ่งคือทรัพยากรสำคัญของการขับเคลื่อนองค์กร บุคลากรทุกคนควรมีความรู้ความสามารถในการใช้คอมพิวเตอร์ และอินเทอร์เน็ต อย่างเป็นมาตรฐานเพื่อให้สอดรับวิถีชีวิตยุคใหม่ที่ต้องก้าวทันกับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไปอย่างก้าวกระโดด

องค์ความรู้ที่จำเป็นอย่างยิ่งในการพัฒนากำลังคน เพื่อยกระดับองค์กรจึงหนีไม่พ้นความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งเริ่มจากการใช้งานพื้นฐานดิจิทัลอย่าง IC3 Digital Literacy ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานความรู้จากหน่วยงานระดับประเทศและระดับนานาชาติ ครอบคลุม 7 ทักษะจำเป็นของการเป็นพลเมืองดิจิทัล ได้แก่

  • ทักษะพื้นฐานด้านเทคโนโลยี
  • ทักษะการเป็นพลเมืองดิจิทัล
  • ทักษะการจัดการสารสนเทศ
  • ทักษะการสร้างสรรค์เนื้อหา
  • ทักษะด้านการสื่อสาร
  • ทักษะด้านการทำงานร่วมกัน
  • ความมั่นคงและการรักษาความปลอดภัย

ประโยชน์ของการรู้ดิจิทัล คือ ช่วยพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ และทักษะทางด้านคอมพิวเตอร์มากขึ้น ช่วยลดเวลาในการทำงาน และเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตผลงานให้ดียิ่งขึ้น

หากหน่วยงานของท่านสนใจพัฒนาความรู้สามารถเลือกให้ ARIT ช่วยออกแบบการอบรมพร้อมสอบในรูปแบบองค์กรจำนวนเยอะ ๆ ได้ทั้งแบบเรียน Onsite และ แบบเรียน Online สามารถติดต่อฝ่ายฝึกอบรมได้ที่ 02-610-3095

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง