เลือดออกในกระเพาะอาหาร อาการ

แนะนำปัญหาเลือดออกทางเดินอาหารส่วนบน

นายแพทย์ระพีพันธุ์ กัลยาวินัย อายุรแพทย์ และ อายุรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางเดินอาหารและโรคตับ ร.พ. พระรามเก้า

(โปรดอ่านเพิ่มความรู้เกี่ยวกับโรคกระเพาะที่เกิดจากกรดเพิ่มเติม ในหัวข้อ “โรคกระเพาะที่เกิดจากกรด” )

รู้ได้อย่างไรว่าเลือดออกจริง
ตอบ เลือดที่ออกทางเดินอาหารส่วนบน ผู้ป่วยอาจคลื่นไส้ อาเจียนออกมาเป็นเลือด ถ่ายดำ จุกท้อง หรือ มาด้วยหน้ามืดก็ได้

เมื่อมีเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนบน ต้องมีปวดท้องร่วมด้วยหรือไม่
ตอบ จะทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการ หรือ ไม่เกิดอาการใด ๆ เลยก็ได้ กรณีที่มีอาการ อาจปวดแน่นท้อง หรือ มีประวัติโรคกระเพาะมาก่อนก็ได้ ขณะที่ผู้ป่วยบางคนกลับไม่มีอาการปวดใด ๆ เลย แม้เลือดออกมากจนช๊อค เนื่องจากกระเพาะเป็นอวัยวะที่รับความรู้สึกได้ไม่ถูกต้อง และแตกต่างกันในแต่ละคน แม้คนเดียวกันบางครั้งอาจปวด อยู่ดี ๆ ก็หายปวดเป็นปลิดทิ้งทันทีก็พบได้บ่อย ๆ ตามทฤษฎีว่ากระเพาะมีความไวต่อการปวดในช่วงต่าง ๆ ไม่เท่ากัน (hypersensitivity theory อ่านเพิ่มเติมในเรื่อง โรคกระเพาะที่เกิดจากกรด)

กรณีล้างท้องไม่เห็นมีเลือดออก ทำไมต้องส่องกล้องตรวจด้วย
ตอบ เลือดออกทางเดินอาหารส่วนบน อาจเกิดเลือดออกหลังทางออกกระเพาะก็ได้ ซึ่งบริเวณถัดมานั้นคือ ลำใส้เล็กส่วนต้น ทางออกกระเพาะส่วนนี้คล้ายหูรูด อาจปิดสนิทมากจนเลือดที่ออกด้านล่าง ไม่มีการย้อนของเลือดขึ้นมา จึงทำให้ล้างท้องตรวจไม่พบก็ได้

รู้ได้อย่างไรว่าเลือดที่ออกรุนแรงมาก อันตรายอาจเสียชีวิตได้
ตอบ เลือดออกที่รุนแรง จะมีปัญหาอันใดอันหนึ่งดังนี้

1. ความดันโลหิตตก หรือที่เรียกว่าช๊อค กรณีวัดความดันเปรียบเทียบท่านอนและนั่งแล้วพบว่าความดันตกลงต่างกัน ก็ถือว่าเป็นภาวะความดันตกที่มีปัญหาเช่นกัน

2. ดูความข้นของเลือด ที่เรียกว่า Hct แต่ต้องระวัง เพราะมักประมาณผิดพลาดทั้งบอกประเมินต่ำเกินไป หรือ โอเวอร์มากเกินไป เพราะเลือดจะจางหรือข้นต้องใช้เวลาเจือจาง หลังเลือดออกถึง 6 – 24 ชั่วโมง

3. อาเจียนเป็นเลือดชัดเจน แย่กว่าไม่มีอาเจียนเลย (มาด้วยถ่ายเป็นเลือด หรือ สีดำอย่างเดียว)

4. รับเลือดมากกว่า 2 ถุง (Unit)

5. ดูสีของน้ำที่ล้างท้องออกมา (NG content) และ สีของอุจจาระ ถ้าแดงแย่กว่าสีน้ำตาล ซึ่งแย่กว่าสีดำ (สีดำดีที่สุด)

5. รู้ได้อย่างไรว่าเลือดออกจากทางเดินอาหารส่วนบน หรือ ส่วนล่าง

ตอบ ผู้ที่น่าเลือดออกจากทางเดินอาหารส่วนบน จะมีลักษณะดังนี้

1. ถ่ายเป็นสีดำ (Melena) น่าเป็นจากด้านบนมากกว่า (แต่ส่วนที่ต่ำกว่า หรือ ลำใส้ใหญ่ก็ตามถ้าไหลช้า ๆ ก็ถ่ายเป็นสีดำได้) ขณะที่ถ่ายเป็นเลือดสดมักออกจากด้านล่างมากกว่า (แต่กรณีด้านบนเลือดออกเร็ว ๆ ก็อาจทำให้ถ่ายเป็นสีแดงสดได้)

2. มีประวัติโรคกระเพาะมาก่อน

3. มีค่าความข้นเลือดของสาร BUN สูง (แต่พบว่าเกิดจากภาวะเสียน้ำหรือเลือดมากกว่า การดูส่วนนี้จึงอาจไม่แน่นอนนัก)

4. สีของสายล้างท้อง (NG tube) ถ้าเป็นเลือด ตลอดเวลา ก็แน่นอนแล้วว่าเกิดจากปัญหาเลือดออกจากทางเดินอาหารส่วนบนแน่

6. การล้างท้องมีประโยชน์ หรือควรทำอย่างไร ?

ตอบ ควรทำในทุกรายที่แนวโน้มว่าเลือดออกรุนแรง เพื่อประเมินว่า มากหรือน้อย เลือดยังออกอยู่หรือหยุดไปแล้ว เลือดออกจากทางเดินอาหารส่วนบนหรือส่วนล่าง และเพื่อเตรียมล้างเอาอาหารและเลือดออกเพื่อส่องกล้องได้เห็นชัดเจนและรวดเร็วขึ้น

7. ควรส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนบน Endoscope (Esophagogastroduodenoscope) ในรายไหน และเมื่อไร ? ตอบ

1. โรคตับ ควรรีบทำเร็วที่สุด เพราะการวางแผนและการรักษาต่างกันมาก

2. เมื่อเลือดออกรุนแรงมาก ๆ พบว่าการส่องกล้องช้าหรือเร็ว อาจไม่เปลี่ยนแปลงการวินิจฉัย และ ผลที่ได้ เช่นอย่างไรก็แย่ หรือ แนวโน้มเสียชีวิตอยู่แล้ว เข้าไปทำอะไรไม่ไหว ทั้งแพทย์และผู้ป่วย เท่าที่รักษามาเนื่องจากวิธีการรักษาพัฒนาไปมาก และ การล้างท้องเร็ว ๆ ก่อนทำพบว่าไม่เหมือนดังการศึกษาเก่า ๆ ผู้เขียนมักส่องกล้องเร็วที่สุดเท่าที่ทำได้ ถ้าเลือดดูไม่บังจริง ๆ ผู้ป่วยยังส่องกล้องไหว หรือ ไม่มีอาหารบังจะรีบส่องเลย

8. น่าผ่าตัดเร็ว คือให้ศัลยแพทย์ รักษาเป็นหลักในรายไหนดี ? ตอบ

ในรายที่รุนแรงโดยทั่วไปแล้วควรดูร่วมกันระหว่างศัลยแพทย์ และ อายุรแพทย์ทางเดินอาหาร และ โรคตับ
เมื่อสงสัยว่าผู้นี้น่าจะเป็นมะเร็ง
เมื่อล้มเหลวหรือพยายามรักษามาแล้ว
4. คนไข้เลี่ยงชีวิตสูง ทนการเสียเลือดซ้ำไม่ได้ดี แต่ทนการผ่าตัดได้ เช่น

– อายุ > 60 ปี – มีโรคร่วมโดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคไตวาย (CRF)

– เสียเลือดมาก: ได้เลือดมาแล้วมากกว่าหรือเท่ากับ 2-6 ยูนิต, หรือมีความดันตกตลอดเวลา

– มีภาวะเลือดออกใน รพ. แย่กว่าเลือดออกที่บ้าน

– เป็นผู้ป่วยที่มีแผลขนาดใหญ่ (Giant ulcer) คือแผลในกระเพาะขนาดมากกว่า 3 cm. หรือแผลในลำใส้เล็กส่วนต้นขนาดมากกว่า 2 cm.

– มีร่องรอยอันตราย (stigmata) ของพื้นแผลว่าเลือดจะออกซ้ำได้สูง เช่นเห็นเลือดยังออกอยู่ หรือ เห็นเส้นเลือดแดงบนพื้นแผล หรือ เห็นจุดนูนที่พื้นแผล

– มีสาเหตุมาจากเส้นเลือดขอดที่หลอดอาหาร หรือ กระเพาะ (varice) ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากตับแข็ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเลือดออกไม่หยุด

ไม่มีกลุ่มเลือด (blood group) ที่จะให้อีกแล้ว
9. ส่องกล้องดูอะไรกันเหรอ และช่วยในการรักษา จะดูแลต่ออย่างไร ?

ตอบ กรณีเลือดออกพบว่าอาจเกิดจาก

1. แผล ให้ดูรอยที่พื้นแผล (Stigmata ulcer base) ซึ่งพบว่าเป็นตัวบอกความรุนแรง โอกาสเลือดออกซ้ำ ( predictor) ที่ดีในการทำนายผลที่เกิดขึ้นต่อมา หรือ โอกาสอันตรายมากน้อย (outcome)

: กรณีที่พบพื้นแผลมีลักษณะ เช่นเห็นเลือดยังออกอยู่ หรือ เห็นเส้นเลือดแดงบนพื้นแผล หรือ เห็นจุดนูนที่พื้นแผล ควรฉีดยาห้ามเลือด รอบ และ เข้าไปที่พื้นแผล นอกจากกรณีนี้คือพื้นแผลเป็นจุดดำเรียบ หรือ พื้ยขาวไม่มีรอยดำหรือนูนใด ๆ ไม่ควรฉีดยาห้ามเลือด เพราะโอกาสเลือดออกต่ำหายได้ง่าย ขณะที่การฉีดยา กลับทำให้เลือดออกซ้ำสูงถึง 50 % (ฉีดยาทำให้เลือดออก โดยไม่จำเป็น)

2. เส้นเลือดขอดในหลอดอาหาร ส่วนใหญ่เกิดจากตับแข็ง กรณีเห็นว่าน่าจะรุนแรง โดยดูจาก พบเส้นเลือดใหญ่มาก และดูการทอดของเส้นเลือดคดเคี้ยว พบจุดแดงบนเส้นเลือดขอด หรือ เห็นเส้นเลือดเล็ก ๆ บนเส้นเลือดขอด มีแนวโน้มว่าเลือดออกได้สูง ควรกำจัดโดยเอาออก ด้วยการดีดยางรัดเส้นเลือด หรือ ฉีดยาทำให้เลือดแข็งตัว ทำให้เส้นเลือดขอดฝ่อหายไป และเลือดหยุด ควรทำทุก 3-6 อาทิตย์จนเส้นเลือดขอดนี้หายไปไม่เหลือรอยใด ๆ โดยทั่วไปมักทำ 1- 4 ครั้งจึงหายขาด แต่ต้องนัดมาส่องกล้องดูซ้ำทุก 3- 6 เดือน ว่าไม่กลับมาอีก

3. เส้นเลือดขอดในกระเพาะ ส่วนใหญ่เกิดจากตับแข็งเช่นกัน การดีดยางหรือฉีดยาทำให้เลือดแข็งตัวจะทำไม่ได้ และ อาจเกิดปัญหายางไม่แน่นพอ หลุดได้ง่าย และ ไม่ห้ามเส้นเลือดได้ดีเลย ควรฉีดกาว เข้าไปทำให้เล้นเลือดนี้ฝ่อหายแทน

10. หลังเลือดหยุดยังต้อง ดูอะไรอีกหรือไม่ ต้องระวังอะไร

ตอบ ให้กระทำดังต่อไปนี้

ดูว่าสาเหตุของแผลเกิดจากเชื้อโรค helicobacter pylori หรือไม่ เพื่อรักษาแล้วแผลอาจหายขาดได้ หรือควรให้ยาลดกรดตลอดไปเพื่อป้องกันกรณีที่แผลไม่พบสาเหตุเกิดจากการติดเชื้อ
ควรส่องกล้องซ้ำในผู้ป่วยที่เป็นแผลในกระเพาะอาหาร เพราะแผลอาจเกิดจากมะเร็ง ชิ้นเนื้อครั้งแรกอาจไม่พอเพียง ผิดพลาดได้ง่าย การพบว่าแผลหายสนิทเท่านั้นจึงเป็นการยืนยันว่าไม่เป็นมะเร็งจริง โดยมีหลักการส่องกล้องซ้ำว่า แผลจะหายที่ 4 – 8 อาทิตย์ ขึ้นกับขนาดแผล ซึ่งคำนวณคร่าว ๆ ว่า แผลหาย 3 mm ต่ออาทิตย์ ส่วนแผลในลำใส้เล็กส่วนต้น (duodenum) ไม่เกิดมะเร็ง จึงไม่ได้ส่องกล้องซ้ำ
3. ผู้ที่เกิดจากตับแข็ง หรือ เส้นเลือดขอดในหลอดอาหาร ควรพิจารณานัดมารัดเส้นเลือดหลอดอาหารจนฝ่อหายทุก 3-6 อาทิตย์ และ ควรทำดังนี้

– ระวังการติดเชื้อแทรกซ้อน ระยะแรกแพทย์อาจให้ยาฆ่าเชื้อป้องกันการติดเชื้อทั้งที่ยังไม่มีการติดเชื้อเกิดขึ้นจริง

– รักษาภาวะตับอักเสบตามสาเหตุ ถ้ามีอยู่ เช่น เลิกเหล้าเด็ดขาดถ้าเคยดื่มเหล้ามาก่อน หาไวรัสบี และ ไวรัสซี ถ้าไม่เคยตรวจเช็ค

– รักษาน้ำในท้อง หรือ ภาวะบวมขา

– บางรายที่มีอาการสับสน มือสั่น หรือ ซึมลง แสดงว่าตับเสื่อมพอควร ควรปรับยารักษาจนหายสับสน โดยแพทย์อย่างใกล้ชิดจนหายดี

– มีอาการผิดปกติใด ๆ เช่น จ้ำเลือด ถ่ายดำซ้ำ จ้ำเลือดตามตัว ไอ หอบ ท้องโตขึ้นมาก ปวดท้อง หนาวสั่น ให้รีบบอกแพทย์ทันที

(โปรดอ่านเพิ่มความรู้เกี่ยวกับโรคกระเพาะที่เกิดจากกรดเพิ่มเติม ในหัวข้อ “โรคกระเพาะที่เกิดจากกรด” )

นายแพทย์ระพีพันธุ์ กัลยาวินัย อายุรแพทย์ และ อายุรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางเดินอาหารและโรคตับ ร.พ. พระรามเก้า

เลือดออกจากกระเพาะอาหารเกิดจากอะไร

สาเหตุที่มักทำให้เกิดอาการเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนต้น เช่น แผลในกระเพาะอาหาร เป็นสาเหตุหลักของ GI Bleeding โดยแผลที่เกิดขึ้นบริเวณเยื่อบุกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้นมักมีสาเหตุมาจากเชื้อแบคทีเรียเอชไพโลไร (H. Pylori) กรดในกระเพาะอาหาร หรือการใช้ยาแก้อักเสบในกลุ่มเอ็นเสด การฉีกขาดของเยื่อบุหลอดอาหาร

โรคกระเพาะ มีเลือดออกไหม

ผู้ป่วยอาจจะปวดท้องมากหรือน้อยตามอาการ ท้องอืด คลื่นไส้ กินอิ่มง่าย หากมีอาการรุนแรงจะมีเลือดออกและทำให้กระเพาะทะลุ ซึ่งถือว่าเป็นอาการที่รุนแรงมาก โดยทั่วไปพบว่าผู้ป่วยร้อยละ 50 - 60 อาการจะค่อย ๆ ทุเลาและหายไปเองโดยไม่ต้องรับการรักษา แต่โอกาสที่จะกลับมาเป็นอีกมีอัตราสูงถึงร้อยละ 80 ถึงแม้ว่าจะได้รับการรักษาดีเพียงใด ...

เลือดออกในทางเดินอาหาร อันตรายไหม

ตอบ เลือดออกทางเดินอาหารส่วนบน อาจเกิดเลือดออกหลังทางออกกระเพาะก็ได้ ซึ่งบริเวณถัดมานั้นคือ ลำใส้เล็กส่วนต้น ทางออกกระเพาะส่วนนี้คล้ายหูรูด อาจปิดสนิทมากจนเลือดที่ออกด้านล่าง ไม่มีการย้อนของเลือดขึ้นมา จึงทำให้ล้างท้องตรวจไม่พบก็ได้ รู้ได้อย่างไรว่าเลือดที่ออกรุนแรงมาก อันตรายอาจเสียชีวิตได้

Internal Bleeding มีอะไรบ้าง

2. เลือดออกภายใน (internal hemorrhage) หมายถึง อาการเลือดออกที่ไม่เห็นเลือดไหลออกมาภายนอกร่างกาย เช่น เลือดออกในสมอง (เส้นเลือดในสมองแตก) เลือดออกในช่องท้อง (เช่น ท้องนอกมดลูกแตก) เลือดออกในสะโพกตรงบริเวณที่กระดูกสะโพกหัก เป็นต้น

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง