จังหวะดูดของเครื่องยนต์แก๊สโซลีน

บทที่ 6 หลักการทำงานของเครื่องยนต์

แนวคิด
            เครื่องยนต์ 
(Engine) คืออุปกรณ์ใช้สำหรับเปลี่ยนพลังงานความร้อนให้เป็นพลังงานกล เพื่อใช้ในการขับเคลื่อนเครื่องยนต์ในปัจจุบันเป็นเครื่องยนต์เผาไหม้ภายในซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่เปลี่ยนพลังงานความร้อนที่เกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงภายในกระบอกสูบแล้วเปลี่ยนเป็นพลังงานกล ที่ตัวของเครื่องยนต์โดยส่งผ่านกำลังงานไปยังชิ้นส่วน เช่น ลูกสูบ ก้านสูบ เพลาข้อเหวี่ยง และส่งต่อไปยังล้อเพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนของรถยนต์ หลักการทำงานของเครื่องยนต์ประกอบไปด้วยจังหวะการทำงานคือ จังหวะดูด จังหวะยัด จังหวะระเบิด และจังหวะคาย เครื่องยนต์ที่ใช้ในปัจจุบันได้แก่เครื่องยนต์แก๊สโซลีนและเครื่องยนต์ดีเซล โดยแบ่งตามจังหวะการทำงานแล้วได้แก่ เครื่องยนต์ 6 จังหวะ และเครื่องยนต์ 2 จังหวะ

สาระการเรียนรู้
        1. 
คำศัพท์เกี่ยวกับการทำงนของเครื่องยนต์ 4 จังหวะ

        2. 
วัฏจักรการทำงานของเครื่องยนต์แก๊สโซลีน 4 จังหวะ

        3. 
แผนภูมิวัฏจักรการทำงานของเครื่องยนต์แก๊สโซลีน 4 จังหวะ

        4. 
แผนภูมิเวลาการเปิดและปิดลิ้นของเครื่องยนต์แก๊สโซลีน 4 จังหวะ

        5. 
วัฏจักรการทำงานของเครื่องยนต์ดีเซล 4 จังหวะ

        6. 
แผนภูมิวัฏจักรการทำงานของเครื่องยนต์ดีเซล 4 จังหวะ

        7. 
แผนภูมิเวลาการเปิดและปิดลิ้นของเครื่องยนต์ดีเซล 4 จังหวะ

        8. 
หลักการทำงานของเครื่องยนต์แก๊สโซลีน 2 จังหวะ

        9. 
ลำดับการจุดระเบิดของเครื่องยนต์

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
        1. 
บอกความหมายคำศัพท์เกี่ยวกับการทำงานของเครื่องยนต์ได้

        2. 
อธิบายวัฏจักรการทำงานของเครื่องยนต์ 4 จังหวะได้

        3. 
อธิบายวัฏจักรการทำงานของเครื่องยนต์ 2 จังหวะได้

        4. 
เขียนแผนภูมิเวลาการเปิดและปิดของลิ้นได้

        5. อธิบายแผนภูมิวัฏจักรการทำงานของเครื่องยนต์แก๊สโซลีนและดีเซล 4 จังหวะ
        6. 
บอกลำดับการจุดระเบิดของเครื่องยนต์ 4 จังหวะได้

คำศัพท์เกี่ยวกับการทำงานของเครื่องยนต์ 4 จังหวะ
            ก่อนที่จะศึกษาถึงหลักการทำงานของเครื่องยนต์ 4 จังหวะ ควรทำความเข้าใจความหมายของคำศัพท์ที่ใช้เรียกเกี่ยวกับการทำงานของเครื่องยนต์ก่อน ซึ่งรายละเอียดมีดังต่อไปนี้

       · 
ศูนย์ตายบน (Top dead center หรือ T.D.C) คือตำแหน่งที่ลูกสูบเคลื่อนที่ได้สูงสุด


       · 
ศูนย์ตายล่าง (Bottom dead center หรือ B.D.C) คือตำแหน่งที่ลูกสูบเคลื่อนที่ได้ต่ำสุด

      · 
ระยะชัก (Stroke) คือระยะที่ลูกสูบเคลื่อนที่จากศูนย์ตายบนถึงศูนย์ตายล่าง หรือจากถึงศูนย์ตายล่างถึงศูนย์ตายบน เมื่อลูกสูบเลื่อนไปสิ้นสุดระยะชักแต่ละครั้งก็จะเปลี่ยนทิศทางการเคลื่อนที่หนึ่งระยะชักก็คือหนึ่งจังหวะการทำงานของลูกสูบ

        · 
จังหวะ คือการเคลื่อนที่ของลูกสูบจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง

       · 
จังหวะการทำงานของเครื่องยนต์ 4 จังหวะ คือ จังหวะดูด จังหวะอัด จังหวะระเบิด (จังหวะกำลัง) และจังหวะคาย

        · 
กลวัตรหรือวัฏจักร (Cycle) คือเครื่องยนต์ทำงานครบ 4 จังหวะหรือเพลาข้อเหวี่ยงหมุน 2 รอบ

        · 
สุญญากาศ คือบริเวณที่ไม่มีบรรยากาศหรือมีน้อย

วัฏจักรการทำงานของเครื่องยนต์แก๊สโซลีน 4 จังหวะ

                เครื่องยนต์ 4 จังหวะ มีลิ้นอยู่ภายในฝาสูบและฝาสูบติดตั้งอยู่ด้านบนของเสื้อสูบ เพลาลูกเบี้ยวจะทำหน้าที่เปิดและปิดลิ้นให้สัมพันธ์กับการเคลื่อนที่ของลูกสูบลิ้นไอดีทำหน้าที่ควบคุมไอดีเข้าสู่กระบอกสูบและสิ้นไอเสียทำหน้าที่ปล่อยก๊าซไอเสียที่เกิดจากการเผาไหม้ออกจากกระบอกสูบ ลำดับการทำงานของเครื่องยนต์ 4 จังหวะในระหว่างวัฏจักมีดังนี้

1.จังหวะดูด (Intake stroke)
                ในจังหวะดูด (รูปที่ 6.2) ลูกสูบเคลื่อนที่ลงจากศูนย์ตายบน 
(T.D.C) ลงสู่ศูนย์ตายล่าง (B.D.C) ลิ้นไอดีเริ่มเปิดในขณะเดียวกันส่วนผสมน้ำมันกับอากาศ (ไอดี) ถูกดูดผ่านช่องลิ้นไอดีเข้าไปในกระบอกสูบการที่ไอดีสามารถไหลเข้ามาในกระบอกสูบได้ก็เนื่องจากลูกสูบเคลื่อนที่ลงทำให้ปริมาตรบนหัวลูกสูบเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วส่งผลให้เกิดสุญญากาศบริเวณหัวลูกสูบ ความดันบรรยากาศภายนอกดันอากาศไปแทนที่ในกระบอกสูบ

                    สรุป
 ในจังหวะดูด ลูกสูบเคลื่อนที่ลง ลิ้นไอดีเปิด (การทำงานจริงลิ้นไอดีเปิดก่อนศูนย์ตายบน) ลิ้นไอเสียปิด เพลาข้อเหวี่ยงหมุนไปเป็นมุม 180 องศา

2.จังหวะอัด (Compression stroke)
                ในจังหวะอัด (รูปที่ 6.3) ลูกสูบเคลื่อนที่ยังศูนย์ตายล่างลิ้นทั้งสองปิดสนิท ลูกสูบเริ่มเคลื่อนที่ขึ้นอัดไอดีจนถึงศูนย์ตายบน ไอดีลูกอัดจนปริมาตรเล็กลงส่งผลให้กำลังดันและอุณหภูมิเพิ่มขึ้น ขณะนี้เพลาข้อเหวี่ยงหมุนไปครบ 1 รอบ เป็นมุม 360 องศา

3.จังหวะระเบิดหรือจังหวะกำลัง (Power stroke)
                    ในจังหวะกำลัง (รูปที่ 6.4) ลูกสูบเคลื่อนที่ขึ้นถึงศูนย์ตายบนในจังหวะอัด หัวเทียวจะทำหน้าที่จุดประกายไฟทำให้ไอดีที่ถูกอัดตัวเกิดการเผาไหม้ขึ้นอย่างรวดเร็ว กำลัวดันที่เกิดจากการเผาไหม้จะกระทำที่หัวลูกสูบทำให้ลูกสูบเคลื่อนที่ลงสู่ศูนย์ตายล่าง เพลาข้อเหวี่ยงหมุนไปเป็นมุมรวมเท่ากับ 540 องศา

                    ตามความเป็นจริงแล้วไอดีที่เกิดจากการเผาไหม้จะไม่ถูกเผาไหม้หมดไปในทันทีทันใด การติดไฟของไอดีจะเริ่มต้นจากหัวเทียนก่อนและแพร่กระจายออกไปรอบๆ ต่อเนื่องกันไป พร้อมกันนั้นก็จะถ่ายทอดกำลังงานไปด้วย จะเห็นได้ว่าการเผาไหม้จะต้องอาศัยระยะเวลาเพื่อให้การเผาไหม้หมดจด ดังนั้นในทางปฏิบัติจึงต้องกำหนดให้มีการจุดระเบิดก่อนที่ลูกสูบจะเคลื่อนที่ถึงศูนย์ตายบน

                    สรุป
 ในจังหวะกำลัง หัวเทียนจุดประกายไฟ ลูกสูบเคลื่อนที่ลง ลิ้นทั้งสองปิดสนิท

4.จังหวะคาย (Exhaust stroke)
                    ในจังหวะคาย (รูปที่ 6.5) ลูกสูบเคลื่อนที่ลงสู่ศูนย์ตายล่างเนื่องจากกำลังดัน จากการเผาไหม้ลิ้นไอเสียเริ่มเปิดจากนั้นลูกสูบจะเคลื่อนที่ขึ้นเพื่อไล่ไอเสียออกจากกระบอกสูบ จนกระทั่งลูกสูบเคลื่อนที่ถึงศูนย์ตายบน เพลาข้อเหวี่ยงหมุนไป 2 รอบ เป็นมุมรวมเท่ากับ 720 องศา

                    
สรุป ในจังหวะคาย ลูกสูบเคลื่อนที่ขึ้น ลิ้นไอดีปิด และลิ้นไอเสียเปิด เมื่อลูกสูบเคลื่อนที่ถึงศูนย์ตายบน ลิ้นไอดีเริ่มเปิดก็จะเริ่มต้นสู่จังหวะดูดอีกครั้ง เป็นการเริ่มกลวัตรใหม่ต่อไป และจะเกิดขึ้นซ้ำๆกันเช่นนี้ตลอดไปเท่าที่เครื่องยนต์ยังทำงานอยู่ การทำงานของเครื่องยนต์ทั้ง 4 จังหวะ ครบ 1 กลวัตร จะเห็นได้ว่าการเคลื่อนที่ของลูกสูบ ขึ้น – ลง รวมกัน 4 ครั้ง เพลาข้อเหวี่ยงหมุน 2 รอบ เป็นมุม 720 องศา และได้กำลังงาน 1 ครั้ง ซึ่งหลักการดังกล่าวเป็นการทำงานขั้นพื้นฐานของเครื่องยนต์ 4 จังหวะ

                   ในขณะที่ลูกสูบเคลื่อนที่ก่อนถึงศูนย์ตายบนเล็กน้อย (ก่อนสิ้นสุดจังหวะคาย) ลิ้นไอดีจะเริ่มเปิดส่วนลิ้นไอเสียกำลังจะปิดหลังลูกสูบผ่านศูนย์ตายบนไปเล็กน้อย ในขณะที่ลิ้นไอดีเริ่มเปิดและลิ้นไอเสียกำลังจะปิด เราเรียกว่าลิ้นโอเวอร์แลป 
(Valve Overlap)

แผนภูมิวัฏจักรการทำงานของเครื่องยนต์แก๊สโซลีน 4 จังหวะ
                การทำงานของเครื่องยนต์แก๊สโซลีน 4 จังหวะ (วัฏจักรออตโต) ความดันและปริมาตรภายในกระบอกสูบจะเปลี่ยนแปลงไปตามการเคลื่อนของลูกสูบ และสามารถเขียนแผนภูมิวัฏจักรการทำงานหรือ พี-วี ไดอะแกรม 
(P-V diagrams) ดังรูปที่ 6.6

     ในจังหวะเริ่มต้นลูกสูบอยู่ที่ตำแหน่งศูนย์ตายบน ลิ้นไอดีเปิดและลิ้นไอเสียปิด ระหว่างจังหวะดูดลูกสูบจะเคลื่อนที่ลงดูดส่วนผสมของอากาศกับน้ำมันเชื้อเพลิงเข้ามาในกระบอกสูบโดยผ่านลิ้นไอดีซึ่งในจังหวะนี้ปริมาตรภายในกระบอกสูบจะเพิ่มขึ้นส่วนความดันต่ำกว่าความอับอากาศจนกระทั่งลูกสูบเคลื่อนที่ถึงศูนย์ตายล่างลิ้นไอดีจะปิด ลูกสูบเริ่มเคลื่อนที่ขึ้นในจังหวะอัดอัดส่วนผสมของอากาศกับน้ำมันเชื้อเพลิงทำให้ปริมาตรภายในกระบอกสูบลดลง ความดันจะเพิ่มขึ้นเป็น 11 – 15 บาร์ และก่อนที่ลูกสูบจะเคลื่อนที่ถึงจุดศูนย์ตายบนเพียงเล็กน้อย หัวเทียนจะจุดประกายไฟทำให้ไอดีเกิดการลุกไหม้ความดันและอุณหภูมิเพิ่มขึ้น (ความดันประมาณ 30 – 40 บาร์) ส่วนปริมาตรในช่วงเวลาของการเผาไหม้ (Combustion) เปลี่ยนแปลงเล็กน้อยหรืออาจกล่าวได้ว่าปริมาตรคงที่ ความดันสูงของก๊าซจะผลักดันให้ลูกสูบเคลื่อนที่ลงและส่งถ่ายกำลังมายังก้านสูบและเพลาข้อเหวี่ยงให้หมุนในจังหวะนี้เรียกว่าจังหวะกำลังหรืองาน ขณะที่ลูกสูบเคลื่อนที่ถึงศูนย์ตายล่างลิ้นไอเสียจะเปิด จากนั้นลูกสูบเริ่มเคลื่อนที่ขึ้นสู่ศูนย์ตายบนเพื่อขับไล่ไอเสียออกจากกระบอกสูบทางช่องลิ้นไอเสีย ทำให้ปริมาณลดลง ส่วนความดันสุดท้ายขณะที่ลูกสูบอยู่ตำแหน่งศูนย์ตายบนจะมีค่าเท่ากับความดันที่จุดเริ่มต้น และลิ้นไอเสียจะปิดเป็นการสิ้นสุดจังหวะคาย และเป็นจังหวะสุดท้ายของกลวัต

แผนภูมิเวลาการเปิดและปิดลิ้นของเครื่องยนต์แก๊สโซลีน 4 จังหวะ
             จากรูปที่ 6.7 แสดงเวลาการเปิดและปิดของลิ้นไอดีและลิ้นไอเสีย ตลอดจนองศาในการจุดประกายไฟของหัวเทียนสำหรับเครื่องยนต์แก๊สโซลีน 4 จังหวะ ใน 1 กลวัตรการทำงาน องศาการเปิดและปิดของลิ้นจะแตกต่างกันไปตามบริษัทผู้ผลิต และจุดประสงค์ของการนำไปใช้งาน มีรายละเอียดดังนี้

    1. เริ่มต้นเมื่อลิ้นไอดีเปิดก่อนลูกสูบเคลื่อนที่ถึงศูนย์ตายบน 10 องศา (10” B T.D.C) และปิดหลังศูนย์ตายล่าง 45 องศา (45° A B.D.C) ในระหว่างังหวะดูดเพื่อให้ปริมาณดีเข้าประจุภายใจการบอกสูบได้มากที่สุดเป็นเพิ่มประสิทธิภาพทางปริมาตรของเครื่องยนต์ เมื่อคิดระยะเวลาทั้งหมดที่ลิ้นไอดีเปิดเป็นองศาที่เพลาข้อเหวี่ยงหมุนไปจะเท่ากับ 235 องศา (10 + 180 + 45 = 235)

    2. ในช่วงปลายจังหวะอัดคือก่อนที่ลูกสูบเคลื่อนที่ถึงศูนย์ตายบน 15 องศา (15° B T.D.C) หัวเทียนจะจุดประกายไฟเพื่อทำการเผาไหม้ไอดี เหตุผลของการจุดประกายไฟก่อนศูนย์ตายบนเพื่อให้มีเวลาเพียงพอในการเผาไหม้ไอดีได้อย่างสมบูรณ์เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการเผาไหม้

    3. จังหวะคาย ลิ้นไอเสียจะเปิดก่อนลูกสูบเคลื่อนที่ถึงศูนย์ตายล่าง 60 องศา (60° B B.D.C) และปิดหลังศูนย์ตายบน 30 องศา (30° A T.D.C) เพื่อขับไล่ไอเสียออกจากกระบอกสูบ ได้อย่างรวดเร็วและมากที่สุด เมื่อคิดระยะเวลาทั้งหมดที่ลิ้นไอเสียเปิดเป็นองศาที่เพลาข้อเหวี่ยงหมุนไปจะเท่ากับ 270 องศา (60 + 180 + 30 = 270)

    4. ลิ้นโอเวอร์แลป (Valve overlap) คือลิ้นไอดีเริ่มเปิดในจังหวะดูด ส่วนลิ้นไอเสียกำลังจะปิดสนิทในจังหวะคาย ตำแหน่งนี้มีหว้เพื่อให้ไอดีส่วนหนึ่งเข้าไปกวาดล้างไอเสียออกจากกระบอกสูบให้หมด จากรูปที่ 6.7 ลิ้นไอดีเปิดก่อนศูนย์ตายบน 10 องศา และลิ้นไอเสียปิดหลังศูนย์ตายบน 30 องศา เมื่อคิดเป็นองศาที่เพลาข้อเหวี่ยงหมุนไปจะท่ากับ 40 องศา (10 + 30 = 40)

วัฏจักรการทำงานของเครื่องยนต์ดีเซล 4 จังหวะ

              เครื่องยนต์ดีเซลเป็นเครื่องยนต์เผาไหม้ภายใน (Internal Combustion Engine) ซึ่งมีอัตราส่วนการอัดตัวสูงประมาณ 15 ถึง 22 ต่อ 1 (15-22 1) เครื่องยนต์แบบนี้จะดูดเฉพาะอากาศอย่างเดียวเข้าไปในกระบอกสูบในจังหวะอัดอากาศภายในกระบอกสูบจะถูกอัดจนมีอุณหภูมิสูงประมาณ 500 องศาเซลเซียสหรือมากกว่า จากนั้นหัวฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงที่เป็นฝอยละอองเข้าไปในห้องเผาไหม้ในตำแหน่งที่พอเหมาะ น้ำมันจะคลุกเคล้ากับอากาศและเกิดการจุดระเบิดได้ด้วยตัวเอง

              การทำงานของเครื่องยนต์ดีเซล 4 จังหวะ จะมีการทำงานระหว่างวัฏจักรคล้ายกับเครื่องยนต์แก๊สโซลีน แต่จะแตกต่างกันเพียงสารทำงานที่ถูกดูดเข้าไปในกระบอกสูบในเครื่องยนต์แก๊สโซลีนนั้นในจังหวะดูดจะดูดส่วนผสมของอากาศกับน้ำมันซึ่งเราเรียกว่าไอดี ส่วนเครื่องยนต์ดีเซลในจังหวะดูดจะมีเพียงอากาศบริสุทธิ์ถูกดูดเข้ามาในกระบอกสูบเพียงอย่างเดียว จังหวะอัดนั้นลูกสูบเริ่มเคลื่อนที่ขึ้นอัดอากาศภายในกระบอกสูบให้มีปริมาตรลดลงส่งผลแรงดันและอุณหภูมิสูงขึ้น จังหวะกำลังอากาศภายในกระบอกสูบจะมีอุณหภูมิสูงมาก หัวฉีดจะฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงที่เป็นฝอยละอองเข้าไปในห้องเผาไหม้ละอองเชื้อเพลิงจะคลุกเคล้ากับอากาศร้อนและเกิดการระเบิดด้วยตัวเอง แรงดันที่เกิดจากการเผาไหม้จะผลักดันลูกสูบให้เคลื่อนที่ลงก่อนถึงศูนย์ตายล่างลิ้นไอเสียถูกเปิดก๊าซไอเสีย ที่เกิดจากการเผาไหม้แล้วซึ่งมีแรงดันสูงอยุ่จะถูกถ่ายเทออกผ่านท่อไอเสียอย่างรวดเร็ว

              ในเครื่องยนต์ดีเซลจะมีตำแหน่งลิ้นโอเวอร์แลปเหมือนกับเครื่องยนต์แก๊สโซลีน ในตำแหน่งนี้มีไว้เพื่อให้อากาศบริสุทฺธิ์กวาดล้างไอเสียออกจากกระบอกสูบให้หมด

แผนภูมิวัฏจักรการทำงานของเครื่องยนต์ดีเซล 4 จังหวะ

จากรูปที่ 6.8 เป็นวัฏจักรการทำงานที่มีการเผาไหม้แบบปริมาตรคงที่เหมือนวัฏจักรออตโตผสมกับการเผาไหม้แบบความดันคงที่เหมือนวัฏจักรดีเซล จึงเรียกวัฏจักรนี้ว่า วัฏจักรผสม” และเป็นต้นแบบของเครื่องยนต์ดีเซลหมุนเร็วที่ใช้ในปัจจุบัน

              การเผาไหม้ในช่วงแรกเป็นแบบปริมาตรคงที่ และเผาไหม้ต่อไปแบบความดันคงที่ขณะลูกสูบเคลื่อนที่ลง การเผาไหม้ลักษณะนี้เกิดขึ้นเนื่องจากการควบคุมการฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงในช่วงแรกจะฉีดเข้าห้องเผาไหม้ในปริมาณน้อยขณะที่ลูกสูบเคลื่อนที่ก่อนถึงศูนย์ตายบนประมาณ 20 -30 องศา ทำให้เกิดการเผาไหม้อย่างฉับพลันเมื่อเชื้อเพลิงส่วนที่เหลือในปริมาณที่มากกว่าครั้งแรกเพื่อให้เกิดการเผาไหม้แบบความดันคงที่

แผนภูมิเวลาการเปิดและปิดลิ้นของเครื่องยนต์ดีเซล 4 จังหวะ

              จากรูปที่ 6.9 แสดงให้เห็นถึงองศาในการเปิดและปิดของลิ้นไอดีและลิ้นไอเสียตลอดจนองศาการฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงของหัวฉีดในเครื่องยนต์ดีเซล 4 จังหวะ ใน 1 กลวัตรการทำการฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงจะแตกต่างกันงาน ซึ่งจะเหมือนกับเครื่องยนต์แก๊สโซลีน แต่จะแตกต่างกันตรงที่เครื่องยนต์แก๊สโซลีนใช้หัวเทียนจุดประกายไฟเมื่อลูกสูบ

เคลื่อนที่ก่อนถึงศูนย์ตายบนในปลายจังหวะอัด ส่วนเครื่องยนต์ดีเซลจะใช้หัวฉีดฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงอย่างเป็นฝอยละอองละเอียดเข้าไปกระทลอากาศร้อนในห้องเผาไหม้สำหรับองศาการเปิดและปิดของลิ้นรวมถึงองศออกไปตามบริษัทผู้ผลิต

การเปรียบเทียบจังหวะการทำงานของเครื่องยนต์แก๊สโซลีนกับเครื่องยนต์ดีเซล 4 จังหวะ

              ตารางที่ 6.1 แสดงการเปรียบเทียบจังหวะการทำงานของเครื่องยนต์แก๊สโซลีนกับเครื่องดีเซล 4 จังหวะ

หลักการทำงานของเครื่องยนต์แก๊สโซลีน 2 จังหวะ

              เครื่องยนต์แก๊สโซลีน 2 จังหวะ หมายถึงเครื่องยนต์ที่มีการเคลื่อนที่ขึ้นของสูบ 1 ครั้ง และลง 1 ครั้งเพลาข้อเหวี่ยงหมุนไป 1 รอบ (360 องศา) เครื่องยนต์ทำงานครบ 1 กลวัตร (ดูด – อัด – ระเบิด – คาย) ได้กลังงาน 1 ครั้ง จะเห็นได้ว่าใน 1 กลวัตร มีการเคลื่อนที่ขึ้นของสูบ 1 ครั้ง และ ลง 1 ครั้ง รวมเป็น 2 ครั้ง จึงเรียกเครื่องยนต์ 2 จังหวะ

              ในปัจจุบันนี้เครื่องยนต์ 2 จังหวะ บริษัทผู้ผลิตไม่ผลิตอกมาจำหน่ายแล้ว ทั้งนี้เนื่องจากสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิงสูง ตลอดจนสร้างปัญหาในการเกิดมลภาวะเป็นพิษมาก ดังนั้นในที่นี้จึงขอกล่าวถึงหลักการทำงานของเครื่องยนต์ 2 จังหวะเพียงพอสังเขปเท่านั้น

              เครื่องยนต์ 2 จังหวะ ส่วนใหญ่จะใช้กับจักรยานยนต์ สามารถแบ่งตามการควบคุมไอดีเข้าสู่ห้องเพลาข้อเหวี่ยงได้ 4 แบบ ดั้งนี้

1.แบบลูกสูบ (Piston valve type)

              เครื่องยนต์2 จังหวะที่ใช้ระบบควบคุมไดดีแบบลูกสูบ หลักการทำงานจะใช้ส่วนบนและส่วนล่างของลูกสูบเป็นตัวกำหนดเวลาการปิดเปิดช่องไอดี (Intake port) ช่องไอเสีย (Exhaust port) และช่องส่งไอดี (Transfer port) การทำงานของเครื่องยนต์ 2 จังหวะที่ใช้ระบบควบคุมไอดีแบบลูกสูบ มีดังนี้

*ครึ่งรอบที่ 1 จังหวะดูดไอดีเข้าห้องเพลาข้อเหวี่ยงและจังหวะอัดไอดี

เมื่อลูกสูบเคลื่อนที่ขึ้นสู่ศูนย์ตายบนทำให้แรงดันภายในห้องเพลาข้อเหวี่ยงลดลง และเมื่อส่วนล่างของลูกสูบเปิดช่องไอดี แรงดันบรรยากาศภายนอกจะดันอากาศเข้ามาแทนที่โดยไหลผ่านคาร์บูเรเตอร์ ขณะเดียวกันนี้อากาศที่ไหลผ่านคาร์บูเรเตอร์จะดึงน้ำมันเชื้อเพลิงและน้ำมันหล่อลื่น (ออโตลูป) ผสมเข้าด้วยกัน ซึ่งเรียกว่าไอดี เข้าไปเก็บไว้ในห้องเพลาข้อเหวี่ยง จังหวะนี้จะต่อเนื่องไปจนกว่าลูกสูบจะเคลื่อนที่ถึงศูนย์ตายบน ซึ่งในขณะที่ลูกสูบเคลื่อนที่ขึ้นส่วนหัวของลูกสูบจะปิด ช่องไอเสีย (Exhaust port) ทำให้ไอดีที่อยู่เหนือลูกสูบถูกอัดตัวเราเรียกว่าจังหวะอัด น้ำมันหล่อลื่นที่ผสมไปกับน้ำมันเชื้อเพลิงจะทำหน้าที่หล่อลื่นชิ้นส่วน เช่น ลูกปืนเพลาข้อเหวี่ยง สลักก้านสูบ แหวนลูกสูบ เป็นต้น

              สรุป ในจังหวะนี้ลูกสูบเคลื่อนที่ขึ้น 1 ครั้ง มีการดูดไอดีเข้าห้องเพลาข้อเหวี่ยงและจังหวะอัด จังหวะดูดไอดีเกิดขึ้นในห้องเพลาข้อเหวี่ยง และจังหวะอัดเกิดขึ้นส่วนบนที่หัวลูกสูบเพลาข้อเหวี่ยงหมุนไปประมาณ ½ รอบ หรือประมาณ 180 องศา

*ครึ่งรอบที่ 2 จังหวะระเบิดและจังหวะคาย

              การทำงานต่อเนื่องจากจังหวะที่ 1 เมื่อลูกสูบเคลื่อนที่ขึ้นถึงศูนย์ตายบนไอดีถูกอัดให้ปริมาตรลดลง หัวเทียนจุดประกายไฟและเกิดการเผาไหม้ไอดีอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้เกิดกำลังดันสูงผลักดันบนหัวลูกสูบให้เคลื่อนที่ลง ลูกสูบส่งกำลังผ่านก้านสูบ และเพลาข้อเหวี่ยงเพื่อนำไปใช้งาน

              ในขณะที่ลูกสูบเคลื่อนลงจนกระทั่งหัวลูกสูบเปิดช่องไอเสีย ทำให้ช่องไอเสียเปิด ก๊าซไอเสียซึ่งมีกำลังดันก็จะระบายออกจากห้องเผาไหม้ไปที่ท่อไอเสีย ซึ่งก็คือจังหวะคาย

*การประจุเข้าห้องเผาไหม้และการกวาดล้างไอเสีย

              ขณะที่ลูกสูบเคลื่อนที่ลงต่อจากจังหวะคายเมื่อหัวลูกสูบเปิดช่องส่งไอดี ไอดีที่อยู่ภายในห้

องเพลาข้อเหวี่ยงซึ่งมีแรงดันสูงที่เกิดจากการยัดตัวของลูกสูบในขณะเคลื่อนที่ลงส่งไอดีผ่าน ช่องส่งไอดีเข้าสู่ห้องเผาไหม้จะเห็นได้ว่าช่องทางไอเสียเปิดเหลี่ยมอยู่กับช่องส่งไอดีอยู่จึงทำให้ไอดีบางส่วนไปขับไล่ไอเสียออกจากกระบอกสูบ

              ระบบควบคุมไอดีแบบลูกสูบมีจุดด้อยคือไอดีสามารถไหลย้อนกลับไปคาร์บูเรเตอร์ได้

2.แบบรีดวาล์ว (Reed valve type)

              ระบบควบคุมไอดีแบบรีดวาล์วมีลักษณะเหมือนลิ้นกันกลับ ระบบนี้ถูกออกแบบมาเพื่อแก้ข้อด้อยของระบบควบคุมไอดีแบบลูกสูบ หลักการทำงานมีดังนี้

              เมื่อลูกสูบเคลื่อนที่ขึ้น ส่วนล่างของลูกสูบจะเปิดช่องไอดี สุญญากาศในห้องเพลาข้อเหวี่ยงจะดูดไอดีผ่านรีดวาล์วเข้ามาบรรจุภายใจ เมื่อลูกสูบเคลื่อนที่ต่อไปจะอัดไอดีให้มีปริมาตรลดลง หัวเทียนจุดประกายไฟทำให้ไอดีเกิดการเผาไหม้และมีกำลังดันขับดันลูกสูบให้เคลื่อนที่ลง รีดวาล์วจะปิดช่องไอดีทันทีโดยอาศัยแรงอันภายใต้ลูกสูบขณะเคลื่อนที่ลงและแรงสปริงในตัวของแผ่นรีดวาล์วเองเพื่อป้องกันไอดีไหลย้อนกลับคาร์บูเรเตอร์ ขณะที่ลูกสูบเคลื่อนที่ลงส่วนบนของลูกสูบจะเปิดช่องไอเสียเพื่อคายไอเสียออกจากห้องเผาไหม้า และเมื่อลูกสูบเคลื่อนที่ต่อไปหัวลูกสูบจะเปิดช่องส่งไอดี ไอดีที่อยู่ภายในห้องเพลาข้อเหวี่ยงซึงมีแรงดันสูงที่เกิดจากการอัดตัวของลูกสูบในขณะเคลื่อนที่ลงส่งไอดี ผ่านช่องส่งไอดีเข้าสูห้องเผาไหม้ เพื่อเริ่มกลวัตรการทำงานใหม่ ระบบควบคุมไอดีแบบรีดวาล์ว ขณะที่เครื่องยนต์มีความเร็วรอบต่ำแผ่นรีดวาล์วจะเปิดช้าแต่ปิดเร็ว เนื่องจากแรงดูดของลูกสูบด้านล่างน้อย แต่ในขณะที่ความเร็วรอบสูงจะเปิดเร็วและปิดช้า ระบบนี้จึงเหมาะสมกับเครื่องยนต์ที่ความเร็วไม่สูงมากนัก

3.แบบโรตารี่วาล์ว (Rotary disc valve type)

              ระบบควบคุมไอดีแบบโรตารี่วาล์ว (รูปที่ 614) จะใช้แผ่นโรตารี่เป็นตัวควบคุมการประจุไอดีเข้าห้องเพลาข้อเหวี่ยง ส่วนการคายไอเสียจะเป็นหน้าที่ของลูกสูบ ระบบนี้จะให้อัตราเร่งและกำลังของเครื่องยนต์มากที่ความเร็วต่ำและสูง

4.แบบแครงเคสรีดวาล์ว (Crank case reed valve type)

              ระบบควบคุมไอดีแบบแครงเคสรีดวาล์ว (รูปที่ 6.15) ส่วนผสมของไอดีจะไหลเข้าห้องเพลาข้อเหวี่ยงโดยตรงไม่ต้องผ่านเสื้อสูบ ทำให้ไอดีไหลเข้าสู่ห้องเผาไหม้ได้อย่างรวดเร็วตอบสนองอัตราเร่งได้ดีว่าระบบป้อนไอดีแบบอื่นๆ ระบบควบคุมไอดีแบบนี้จะใช้รีดวาล์วเป็นตัวช่วยควบคุมการไหลของไอดีที่บรรจุเข้าห้องเพลาข้อเหวี่ยงเช่นเดียวกับแบบรีดวาล์ว

ลำดับการจุดระเบิดของเครื่องยนต์

              ในหนึ่งวัฏจักรของเครื่องยนต์จะต้องมีการจุดระเบิดเพื่อให้ได้กำลังงาน ในเครื่องยนต์ 4 จังหวะ หลายสูบจะมีการจุดระเบิดตามลำดับ เราจึงเรียกว่าลำดับการจุดระเบิด

1.ลำดับการจุดระเบิดของเครื่องยนต์ 4 สูบ (Four cylinder engine Firing order)

              หลักการของเครื่องยนต์ 4 จังหวะในหนึ่งวัฏจักร เพลาข้อเหวี่ยงหมุน 2 รอบ ในหนึ่งรอบมุมเพลาข้อเหวี่ยงเท่ากับ 360 องศา ถ้าหมุน 2 รอบเท่ากับ 720 องศา ในเครื่องยนต์ 4 จังหวะ (จังหวะดูด อัด กำลัง และคาย) แต่ละจังหวะจะห่างกันกี่องศาให้นำจำนวนสูบของเครื่องยนต์หารมุมของเพลาข้อเหวี่ยง ในเครื่องยนต์ 4 สูบ 4 จังหวะ จะได้ 720/4 = 180 องศา หมายความว่าในการหมุนของเพลาข้อเหวี่ยง 2 รอบ จะเกิดจังหวะกำลังต่างกัน 180 องศา รวม 4 จังหวะ ในเครื่องยนต์ 4 สูบ แบบลูกสูบเรียงจะมีลำดับการจุดระเบิดที่ใช้กันอยู่ทั่วๆไป คือ 1-3-4-2 หรือ 1-2-4-3 ดังรูปที่ 6.16

              ตารางที่ 6.2 แสดงลำดับการจุดระเบิด 1-3-4-2

              ตารางที่ 6.3 แสดงลำดับการจุดระบิด 1-2-4-3

2.ลำดับการจุดระเบิดของเครื่องยนต์ 6 สูบ (Six-cylinder engine Firing order)

              ในเครื่องยนต์ 6 สูบ จะต้องมีการจุดระเบิดเพลาข้อเหวี่ยงหมุนไปทุกๆ 120 องศา (เพลาข้อเหวี่ยงของลูกสูบทำมุมกัน 120 องศาระหว่างกัน) เครื่องยนต์ที่การจัดกระบอกสูบเป็น แบบลูกสูบเรียงสูบที่อยู่ด้านหน้าหรอใกล้หม้อน้ำเรียกว่าสูบ 1 และสูบต่อไปจะเป็นสูบที่ 2 และเรียงลำดับไปจบถึงสูบสุดท้าย ลำดับการจุดระเบิดของเครื่องยนต์ 6 สูบ ที่ใช้กันทั่วไป คือ 1-5-3-5-2 (รูป ) หรือ 1-4-2-6-3-5 (รูป b) ในกรณีนี้จังหวะงานะเหลื่อมกันเนื่องจากเพลาข้อเหวี่ยงหมุน 2 รอบจะมี 6 จังหวะกำลัง ภายใน 1 รอบ จะมี 2 สูบที่อยู่ในจังหวะกำลัง

คำศัพท์ท้ายหน่วย

Engine = เครื่องยนต์

Stroke = ระยะชัก

Cycle = กลวัตรหรือวัฏจักร

Intake stroke = จังหวะดูด

Exhaust stroke = จังหวะคาย

Valve Overlap = ลิ้นโอเวอร์แลป

Combustion = การเผาไหม้

Compression stroke = จังหวะอัด

Top dead center หรือ T.D.C = ศูนย์ตายบน

Bottom dead center หรือ B.D.C = ศูนย์ตายล่าง

Working Cycle Diagram = แผนภูมิวัฏจักรการทำงาน

Engine operation Principle = หลักการทำงานของเครื่องยนต์

Internal Combustion Engine = เครื่องยนต์เผาไหม้ภายใน

Four Stroke diesel cycle = วัฏจักรการทำงานของเครื่องยนต์ดีเซล 4 จังหวะ

Six-cylinder engine Firing order = ลำดับการจุดระเบิดของเครื่องยนต์ 6 สูบ

Four cylinder engine Firing order = ลำดับการจุดระเบิดของเครื่องยนต์ 4 สูบ

Four stroke gasoline engine cycle = วัฏจักรการทำงานของเครื่องยนต์แก๊สโซลีน 4 จังหวะ

Working cycle diagrams = แผนภูมิเวลาการเปิดและปิดลิ้นของเครื่องยนต์แก๊สโซลีน 4 จังหวะ

Valve timing diagrams = ก่อนศูนย์ตายบน

Before top dead center หรือ B T.D.C = หลังศูนย์ตายบน

After top dead center หรือ A T.D.C = หลังศูนย์ตายบน

Two stroke gasoline engine operating principle = หลักการทำงานของเครื่องยนต์แก๊สโซลีน 2 จังหวะ

Intake port = ช่องไอดี

Exhaust port = ช่องไอเสีย

Transfer port = ช่องส่งไอดี

Firing order = ลำดับการจุดระเบิด 

Power stroke = จังหวะระเบิดหรือจังหวะกำลัง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง