สรุป พร บ ส่งเสริมและรักษาคุณภาพ สิ่งแวดล้อม 2535

ปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม

19 เม.ย. 2561

ปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2535 โดย “พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2561” ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 19 เมษายน 2561 โดยให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด 90 วันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา คือตั้งแต่วันที่ 19 กรกฎาคม 2561

เนื้อหาของพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2561 เป็นการปรับปรุงแก้ไขในส่วนที่เกี่ยวกับการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม เพื่อให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และปรับปรุงหลักเกณฑ์การปฏิบัติให้สอดคล้องกับสภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป เพื่อให้มีมาตรฐานอันเป็นที่ยอมรับและได้รับความเชื่อมั่นจากทุกภาคส่วนในการดำรงไว้ซึ่งการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติควบคู่ไปกับการพัฒนาประเทศอย่างสมดุล

สืบเนื่องมาจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ได้บัญญัติไว้ในมาตรา 278 ให้มีการจัดทำกฎหมายที่จำเป็นตามมาตรา 58 ซึ่งกำหนดให้ “การดำเนินการใดของรัฐหรือที่รัฐจะอนุญาตให้ผู้ใดดำเนินการ ถ้าการนั้นอาจมีผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติ คุณภาพสิ่งแวดล้อม สุขภาพ อนามัย คุณภาพชีวิต หรือส่วนได้เสียสำคัญอื่นใดของประชาชนหรือชุมชนหรือสิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรง รัฐต้องดำเนินการให้มีการศึกษาและประเมินผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชนหรือชุมชน และจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้เสียและประชาชนและชุมชนที่เกี่ยวข้องก่อน เพื่อนำมาประกอบการพิจารณาดำเนินการหรืออนุญาตตามที่กฎหมายบัญญัติ” โดยให้จัดทำร่างกฎหมายให้แล้วเสร็จภายใน 240 วันนับแต่วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญ และให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 60 วันนับแต่วันที่ได้รับร่างพระราชบัญญัติ

การปรับปรุงแก้ไขเริ่มตั้งแต่การเปลี่ยนชื่อเรียกของ “รายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม” เป็น “รายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม” และบัญญัติ “ส่วนที่ 4 การจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม” ขึ้นใหม่ทั้งหมด ซึ่งพอจะสรุปการปรับปรุงและความแตกต่างระหว่างของเดิมกับของใหม่เฉพาะบางประเด็นที่น่าสนใจได้ดังนี้

– เพิ่มบทนิยามคำว่า “การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม” “อนุญาต” และ “ผู้ดำเนินการ” (มาตรา 46)

“การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม” หมายความว่า กระบวนการศึกษาและประเมินผล ที่อาจเกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการหรือกิจการหรือการดำเนินการใดของรัฐหรือที่รัฐจะอนุญาตให้มีการดำเนินการที่อาจมีผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติ คุณภาพสิ่งแวดล้อม สุขภาพ อนามัย คุณภาพชีวิต หรือส่วนได้เสียอื่นใดของประชาชนหรือชุมชน ทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยผ่านกระบวนการการมีส่วนร่วมของประชาชน เพื่อกำหนดมาตรการป้องกันแก้ไขผลกระทบดังกล่าว ผลการศึกษา เรียกว่า รายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม

“อนุญาต” หมายความว่า การที่เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐยินยอมให้บุคคลใดกระทำการใดที่มีกฎหมายกำหนดให้ต้องได้รับความยินยอมก่อนกระทำการนั้น และให้หมายความรวมถึงการออกใบอนุญาต การอนุมัติ การจดทะเบียน การขึ้นทะเบียน การรับแจ้ง การให้ประทานบัตร และการให้อาชญาบัตรด้วย

“ผู้ดำเนินการ” หมายความว่า เจ้าของโครงการหรือกิจการหรือการดำเนินการที่ต้องจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมตามมาตรา 48 และให้หมายความรวมถึงผู้จัดการของนิติบุคคลอาคารชุดสำหรับทรัพย์ส่วนกลางตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด และผู้จัดสรรที่ดินหรือคณะกรรมการหมู่บ้านจัดสรรของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรสำหรับสาธารณูปโภคตามกฎหมายว่าด้วยการจัดสรรที่ดินด้วย

– ในกรณีที่มีการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ตามกฎหมายอื่นใด จะต้องคำนึงถึงด้วย (มาตรา 47)

– อำนาจในการ “ประกาศกำหนดประเภทและขนาดของโครงการหรือกิจการของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือเอกชนที่มีผลกระทบสิ่งแวดล้อมซึ่งต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม” ของรัฐมนตรี โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ยังคงมีอยู่โดยเปลี่ยนถ้อยคำเป็น การ”ประกาศกำหนดให้โครงการหรือกิจการหรือการดำเนินการใดของรัฐหรือที่รัฐจะอนุญาตให้ผู้ใดดำเนินการ เป็นโครงการหรือกิจการหรือการดำเนินการที่มีผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรือที่อาจมีผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติ คุณภาพสิ่งแวดล้อม สุขภาพ อนามัย คุณภาพชีวิต หรือส่วนได้เสียสำคัญอื่นใดของประชาชนหรือชุมชนหรือสิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรง ซึ่งผู้ดำเนินการหรือผู้ขออนุญาตต้องจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม” (มาตรา 48 วรรคหนึ่ง) (หมายถึง EIA หรือ EHIA) ประกาศดังกล่าวนี้ พระราชบัญญัติใหม่กำหนดให้สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) เสนอต่อคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติเพื่อทบทวนทุก 5 ปี หรือจะเร็วกว่านั้นก็ได้ในกรณีที่จำเป็น (มาตรา 48 วรรคสี่)

– การประกาศกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ได้ระบุไว้ในพระราชบัญญัติเลยว่า อย่างน้อยต้องประกอบด้วย “สาระสำคัญเกี่ยวกับรายละเอียดโครงการหรือกิจการหรือการดำเนินการ สภาพสิ่งแวดล้อมปัจจุบัน การประเมินทางเลือกในการดำเนินการ การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่อาจเกิดขึ้นจากโครงการหรือกิจการหรือการดำเนินการทั้งทางตรงและทางอ้อม การมีส่วนร่วมของประชาชนในการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม และมาตรการป้องกันแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมและการชดเชยเยียวยาความเดือดร้อนหรือเสียหาย” หัวข้อสาระสำคัญเหล่านี้เดิมมีกำหนดอยู่ในเอกสารแนวทางการจัดทำรายงานฯ อยู่แล้ว ยกเว้นสาระสำคัญที่จะต้องเพิ่มขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ คือ การมีส่วนร่วมของประชาชนในการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (มาตรา 48 วรรคสอง)

– สำหรับคำว่า “รายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น” ยังคงใช้คำเรียกเช่นเดิม (ปรากฏในมาตรา 50 วรรคหนึ่ง)

– ผู้ตรวจสอบรายงานฯ และเอกสารที่เกี่ยวข้องที่เสนอมา นอกจากเป็นอำนาจหน้าที่ของ สผ. แล้ว ตามพระราชบัญญัติ ฉบับที่ 2 ยังเพิ่ม “หรือหน่วยงานของรัฐตามที่คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่แทน” (มาตรา 50 วรรคสาม) สำหรับการมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ตรวจสอบรายงานฯ แทนนี้ สผ. โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติอาจมอบหมายให้หน่วยงานของรัฐแห่งอื่นปฏิบัติหน้าที่แทนได้ เว้นแต่เป็นโครงการที่ต้องทำ EHIA ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติกำหนด (มาตรา 50 วรรคห้า)

– ในการตรวจสอบรายงานฯ และเอกสารที่เกี่ยวข้องที่เสนอของ สผ. ในส่วนของเอกสารที่เกี่ยวข้องนั้น เดิมใช้คำว่า “หรือมีเอกสารข้อมูลไม่ครบถ้วน” แก้ไขเป็น “หรือมีเอกสารไม่ครบถ้วน” (มาตรา 50 วรรคสาม) และเมื่อพิจารณาแล้ว เดิมใช้คำว่า “และมีข้อมูลครบถ้วน” แก้ไขเป็น “และมีเอกสารครบถ้วน” (มาตรา 50 วรรคสี่) ขอให้สังเกตว่าได้ตัดคำว่า “ข้อมูล” ออกไป

–  ในขั้นตอนการพิจารณาของคณะกรรมการผู้ชำนาญการ (คชก.) ได้บัญญัติเพิ่มเพื่อให้เกิดความชัดเจนขึ้นคือ ในกรณีที่ คชก. ไม่ให้ความเห็นชอบ ผู้ดำเนินการหรือผู้ขออนุญาตจะต้องแก้ไขเพิ่มเติมหรือจัดทำรายงานฯใหม่ตามแนวทาง รายละเอียด ประเด็น หรือหัวข้อที่ คชก. กำหนด “ภายใน 180 วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งผลการพิจารณาของ คชก. มิฉะนั้นให้ถือว่าผู้ดำเนินการหรือผู้ขออนุญาตไม่ประสงค์จะเสนอรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม และให้ถือว่าจบกระบวนการพิจารณารายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม แต่ไม่ตัดสิทธิที่ผู้ดำเนินการหรือผู้ขออนุญาตจะเสนอรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมใหม่” (มาตรา 51/1 วรรคสอง) ส่วนในกรณีที่ คชก. ไม่ให้ความเห็นชอบ ก็ “ให้ถือว่าจบกระบวนการพิจารณารายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม แต่ไม่ตัดสิทธิที่ผู้ดำเนินการหรือผู้ขออนุญาตจะเสนอรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมใหม่” (มาตรา 51/1 วรรคสี่) และบัญญัติเพิ่มไว้เพื่อให้เกิดความชัดเจนด้วยว่า การให้ความเห็นชอบหรือไม่ให้ความเห็นชอบนั้น ความเห็นของ คชก. ให้เป็นที่สุด (มาตรา 51/1 วรรคห้า)

– เดิมเคยบัญญัติไว้ว่า ในกรณีที่เห็นเป็นการสมควร รัฐมนตรีจะประกาศกำหนดให้โครงการหรือกิจการตามประเภทและขนาดที่ต้องจัดทำรายงานฯ ให้ต้องเสนอรายงานฯในการขอต่ออายุใบอนุญาตสำหรับโครงการหรือกิจการนั้น ตามวิธีการเช่นเดียวกับการขออนุญาตด้วยก็ได้ (มาตรา 49 วรรคห้าเดิม) ในการปรับปรุงแก้ไขโดย พระราชบัญญัติ ฉบับที่ 2 ไม่มีข้อความดังกล่าวอีกแล้ว ซึ่งน่าจะเข้าใจได้ว่า โครงการที่รายงานฯผ่านแล้ว และได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการแล้ว (หากไม่มีการเปลี่ยนแปลงโครงการ) จะไม่ต้องจัดทำรายงานฯอีกในการต่ออายุใบอนุญาต

– ในการพิจารณาของ คชก. กรรมการ คชก. หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งได้รับมอบหมาย มีอำนาจตรวจสถานที่ตั้งโครงการที่เสนอรายงานฯได้ พระราชบัญญัติ ฉบับที่ 2 บัญญัติข้อความเพิ่มเติมว่า “โดยต้องกระทำต่อหน้าหรือด้วยความยินยอมของผู้ดำเนินการหรือผู้ขออนุญาต” (มาตรา 51/2) ซึ่งหลักเกณฑ์เรื่องนี้เดิมกำหนดอยู่ในมาตรา 86 ซึ่งมีเงื่อนไขต่างกันตรงที่ เดิมนั้น ให้ทำต่อหน้าเจ้าของหรือผู้ครอบครองสถานที่ ถ้าหาบุคคลดังกล่าวไม่ได้ก็ให้ทำต่อหน้าบุคคลอื่นอย่างน้อยสองคนซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ขอร้องให้มาเป็นพยานก็ได้

– เมื่อ คชก. ให้ความเห็นชอบแล้ว ยังคงกำหนดให้หน่วยงานผู้อนุญาตต้องนำมาตรการตามที่เสนอไว้ในรายงานฯ ไปกำหนดเป็นเงื่อนไขในการสั่งอนุญาตหรือต่ออนุญาต โดยให้ถือว่าเป็นเงื่อนไขที่กำหนดตามกฎหมายในเรื่องนั้นๆ ด้วย พระราชบัญญัติ ฉบับที่ 2 เน้นในจุดนี้เพิ่มขึ้น โดยเพิ่มข้อความกำหนดให้เจ้าหน้าที่ซึ่งมีอำนาจอนุญาตนำรายงานผลการปฏิบัติตามมาตรการที่ผู้ดำเนินการหรือผู้ขออนุญาตต้องจัดทำไปกำหนดเป็นเงื่อนไขในการสั่งอนุญาตหรือต่ออายุใบอนุญาตด้วย (มาตรา 51/3 วรรคสอง)

– สำหรับ “รายงานผลการปฏิบัติตามมาตรการที่กำหนดไว้ในรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม” นี้ เป็นส่วนหนึ่งของมาตรการในการติดตามตรวจสอบและพัฒนาระบบการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม โดยผู้ดำเนินการหรือผู้ขออนุญาตซึ่งได้รับอนุญาตแล้ว ต้องจัดทำรายงานดังกล่าวเสนอต่อเจ้าหน้าที่ซึ่งมีอำนาจอนุญาต อย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติประกาศกำหนด (มาตรา 51/5)

– รายงานฯ ที่ได้รับความเห็นจากคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ หรือได้รับความเห็นชอบ หรือถือว่าได้รับความเห็นชอบจาก คชก. สามารถนำไปใช้เพื่อเสนอขอรับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี หรือประกอบการพิจารณาอนุญาตตามกฎหมายได้เป็นระยะเวลา 5 ปี นับแต่วันที่ สผ. หรือหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่แทน ได้มีหนังสือแจ้งความเห็นหรือความเห็นชอบ แล้วแต่กรณี (มาตรา 51/6)

นอกจากการปรับปรุงแก้ไขส่วนที่ว่าด้วยการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังได้เพิ่มบทลงโทษ กรณีผู้ดำเนินการหรือผู้ขออนุญาต ก่อสร้างหรือดำเนินโครงการหรือกิจการก่อนที่รายงานฯจะได้รับความเห็นชอบหรือถือว่าได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการผู้ชำนาญการ ต้องระวางโทษไม่เกินหนึ่งล้านบาท และปรับอีกไม่เกินวันละหนึ่งแสนบาทตลอดระยะเวลาที่ไม่ได้ปฏิบัติให้ถูกต้องหรือหยุดการกระทำนั้น และหากเป็นกรณีที่อาจมีผลกระทบอย่างรุนแรง ต้องระวางโทษหนักขึ้นอีกกึ่งหนึ่ง (มาตรา 101/1) และกรณีผู้ดำเนินการหรือผู้ขออนุญาตไม่นำส่งรายงานผลการปฏิบัติตามมาตรการที่กำหนดไว้ในรายงานฯ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งล้านบาท (มาตรา 101/2)

สำหรับรายงานฯที่ได้ยื่นไว้ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ และยังอยู่ในระหว่างการพิจารณา ให้ถือว่าเป็นรายงานฯตามพระราชบัญญัติที่ได้แก้ไขเพิ่มเติมนี้ ซึ่งจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดตามที่ได้แก้ไขเพิ่มเติม ส่วนรายงานฯที่คณะกรรมการผู้ชำนาญการฯได้ให้ความเห็นชอบ หรือถือได้ว่าให้ความเห็นชอบ หรือที่คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมได้ให้ความเห็นแล้ว สามารถนำไปใช้เพื่อเสนอขอรับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีหรือประกอบการพิจารณาอนุญาตตามกฎหมายได้ ภายในระยะเวลา 5 ปี

ดาวน์โหลดพระราชบัญญัติ

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง