การเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21

           ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่พัฒนาอย่างก้าวกระโดดในศตวรรษที่ 21 ทำให้ผู้คนทั่วโลกเข้าถึงแหล่งความรู้บนโลกอินเทอร์เน็ตได้กว้างและไกลกว่าที่เคยเป็นมาในยุคไหน การเรียนรู้ในระบบการศึกษาแบบเดิมจึงไม่ตอบโจทย์การสร้างทักษะสำคัญแห่งศตวรรษที่ 21 อีกต่อไป ทักษะการออกแบบกระบวนการเรียนรู้ให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของโลกยุคใหม่ จึงเป็นสิ่งสำคัญที่นักกิจกรรม ครูอาจารย์ และบุคลากรในแวดวงการศึกษาจำเป็นต้องมี


           อุทยานการเรียนรู้ TK Park จึงเชิญคุณเมธวิน ปิติพรวิวัฒน์ และคุณภีศเดช เพชรน้อย สองนักออกแบบการเรียนรู้ หรือ Learning Designer ผู้ก่อตั้ง BASE Playhouse มาทำกิจกรรมในรูปแบบ Interactive Virtual Workshop เพื่อส่งต่อสาระดีๆ จากประสบการณ์ที่ช่วยจุดประกายให้ทุกคนเกิดไอเดียในการออกแบบการเรียนรู้และนำไปปรับใช้ได้จริง
            BASE Playhouse ก่อตั้งขึ้นโดยมีเป้าหมายเพื่อยกระดับกระบวนการเรียนรู้ ตั้งแต่ในโรงเรียนไปจนถึงระดับองค์กร ด้วยความเชื่อว่าศักยภาพของคนไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่สามารถปลดล็อกและออกแบบได้ หากมีกระบวนการเรียนรู้ที่เหมาะสมโดยใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยีเป็นตัวช่วยสำคัญ
            ซึ่งต้องเริ่มจากสิ่งสำคัญที่สุดคือการทำความเข้าใจว่า โฉมหน้าของการเรียนรู้หรือห้องเรียนในโลกยุคใหม่เปลี่ยนไปแล้ว เด็กเจเนอเรชันปัจจุบันมีความหลากหลายและเป็นปัจเจกมากขึ้น ทุกคนต่างมีหัวข้อการเรียนรู้ที่สนใจและชื่นชอบต่างกัน การบังคับให้พวกเขาท่องจำสิ่งเดียวกัน เพื่อเป้าหมายหลักในการนำไปใช้ทำคะแนนสอบให้ดีเพียงอย่างเดียว จึงเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ไม่ตอบโจทย์อีกต่อไป
          แล้วกระบวนการเรียนรู้ที่ตอบโจทย์ควรเป็นอย่างไร? เราจะมาหาคำตอบกัน

          กระบวนการออกแบบการเรียนรู้ (Learning Design Process)
          กระบวนการออกแบบการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 มีความเชื่อว่าการเรียนรู้ที่ดีที่สุด คือ การเรียนรู้ที่ผู้เรียนไม่รู้สึกว่ากำลังเรียนอยู่ ควรเป็นการเรียนรู้ที่พวกเขาได้เลือกโจทย์ด้วยตัวเอง เป็นสิ่งที่ทำแล้วรู้สึกสนุกสนานท้าทาย โดยกระบวนการนี้แบ่งเป็น 3 ส่วนหลักคือ
           1. ตั้งเป้าหมายการเรียนรู้ (Learning Objective) ควรพิจารณาจากตัวตน ความชอบ ความถนัดของคนๆ นั้นอย่างแท้จริง ไม่ใช่บังคับหรือยัดเยียดให้เรียนตามหลักสูตรเพียงอย่างเดียว หากยังค้นหาเป้าหมายการเรียนรู้ให้เจอ ให้ลองตั้งคำถามกับตัวเองว่าเราอยากเติบโตไปเป็นคนแบบไหน ทุกวันนี้มีความสนใจเรื่องอะไรบ้าง เมื่อคนเราได้เรียนรู้ในสิ่งที่อยากเรียนจริงๆ ย่อมเกิดความมุ่งมั่นตั้งใจที่จะผลักดันตัวเองให้ก้าวไปข้างหน้า
           2. กระบวนการเรียนรู้ (Learning Process) ข้อนี้เป็นสิ่งที่คนในยุคดิจิทัลได้เปรียบมาก เพราะปัจจุบันเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาเปลี่ยนชีวิตและเอื้ออำนวยให้มนุษย์มีทางเลือกในการเรียนรู้อย่างกว้างขวาง โจทย์สำคัญคือการออกแบบวิธีใช้เทคโนโลยีเหล่านั้นให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อตัวผู้เรียน ประกอบกับการสร้างสิ่งแวดล้อมในการเรียนรู้ที่เหมาะสม และส่งเสริมให้เกิดการลงมือทำเพื่อสะสมประสบการณ์อย่างต่อเนื่อง
           3. การวัดผลการเรียนรู้ (Learning Evaluation) ขั้นตอนสุดท้ายคือการวัดผล ซึ่งจะไม่ใช่การสอบเก็บคะแนนเหมือนการเรียนรู้แบบเก่าอีกต่อไป แต่เป็นการประเมินจากผลงานที่สะท้อนให้เห็นถึงความรู้ความเข้าใจในสิ่งที่ได้เรียนไป หรือพูดคุยเพื่อให้ผู้เรียนสะท้อนถึงสิ่งที่ได้รับจากกระบวนการเรียนรู้

          ความสามารถที่โลกต้องการ
          ในโลกยุคเก่าที่เราเรียนรู้ผ่านชุดความรู้ (Knowledge) เพียงรูปแบบเดียว ความสามารถหรือความเก่ง (Competence) มักโฟกัสอยู่ที่การศึกษาหาความรู้จากตำราและจดจำชุดความรู้เหล่านั้นได้แม่นยำ ซึ่งถือเป็นการปูพื้นฐานที่ดีสำหรับการเรียนรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่ง แต่สำหรับยุคสมัยนี้ที่เราค้นหาข้อมูลทุกอย่างได้ง่ายดายแค่ปลายนิ้ว การจดจำได้แม่นยำจึงอาจไม่จำเป็นเท่ายุคก่อนอีกต่อไป
          สิ่งสำคัญคือการนำชุดความรู้มาต่อยอดเป็นทักษะ (Skill) ที่สามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน โดยต้องผ่านการลงมือฝึกฝนซ้ำๆ ในสภาพแวดล้อมจริงอย่างต่อเนื่อง และพัฒนาไปสู่การมีชุดความคิด (Mindset) ที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น โดยสร้างมุมมองใหม่จากประสบการณ์จริงที่ได้เจอด้วยตัวเองหรือเรียกว่าการสร้างความรู้มือหนึ่งขึ้นมา
          เพื่อให้เห็นภาพมากขึ้นว่าชุดความรู้ (Knowledge) ชุดทักษะ (Skill) และชุดความคิด (Mindset) ประกอบกันเป็นความสามารถที่โลกศตวรรษที่ 21 ต้องการได้อย่างไร วิทยากรจาก BASE Playhouse ได้ยกตัวอย่างความสามารถของอาชีพที่ดูเหมือนจะมีความเป็นวิชาการสูงมากอย่าง ‘นักวิจัย’ ว่า ในขั้นต้นนักวิจัยจะต้องมีชุดความรู้จากหลักสูตรในห้องเรียน เช่น ทฤษฎีฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา คณิตศาสตร์
          จากนั้นจึงนำชุดความรู้ไปต่อยอดเป็นทักษะการตั้งสมมติฐาน ซึ่งเป็นทักษะหลักในการทำวิจัย แต่ถ้าจะทำวิจัยให้ประสบความสำเร็จในระยะยาวก็จำเป็นต้องทำงานร่วมกับผู้อื่นในทีมวิจัยได้ดีด้วย จึงควรมีทักษะการสื่อสารและทักษะการร่วมงานกับผู้อื่นประกอบ นอกจากนี้ยังมีเรื่องความคิดสร้างสรรค์ที่ช่วยส่งเสริมอาชีพนักวิจัยได้อีกทางหนึ่ง
เมื่อเป็นนักวิจัยที่มีทั้งความรู้และทักษะแล้ว หากลงมือทำอย่างต่อเนื่องจนสะสมประสบการณ์มากพอ เราก็จะพัฒนาตัวเองไปสู่การมีชุดความคิดที่เติบโต เช่น มีความกล้าริเริ่มทดลองและสามารถทลายกรอบไปสู่การตั้งสมมติฐานงานวิจัยใหม่ๆ ได้อย่างไร้ขีดจำกัด เพราะเชื่อว่าทุกสิ่งทุกอย่างสามารถพิสูจน์ได้ด้วยข้อมูล อย่างนี้เป็นต้น

          กระบวนการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21
          สิ่งสำคัญในกระบวนการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21 คือ การสร้างทักษะด้านต่างๆ ที่จำเป็นแก่ผู้เรียนอย่างรอบด้าน แน่นอนว่าทักษะเหล่านั้นไม่สามารถเกิดขึ้นได้จากการฟังเลคเชอร์เพียงอย่างเดียว ผู้สอนจึงต้องปรับบทบาทจากการถ่ายทอดความรู้เพียงฝ่ายเดียว มาเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันและสร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์จากการเรียนรู้อย่างครบถ้วนรอบด้าน โดยทาง BASE Playhouse ได้ฝากเช็กลิสต์สำคัญ 5 ข้อในการสร้างกระบวนการเรียนรู้ ได้แก่


          1. ตั้งเป้าหมายการเรียนรู้จากเป้าหมายของผู้เรียน เพื่อสร้างแรงจูงใจให้เกิดความกระตือรือร้นในการพัฒนาตัวเองไปสู่เป้าหมายนั้น ผู้สอนอาจเริ่มจากการชวนพูดคุยว่าผู้เรียนวางแผนอนาคตไว้อย่างไรบ้าง จากนั้นจึงอธิบายให้เห็นถึงความสำคัญของชุดความรู้และทักษะที่ผู้เรียนจำเป็นต้องมีเพื่อบรรลุเป้าหมายนั้น
          2. เริ่มจากความสนใจของผู้เรียน ซึ่งสามารถนำไปปรับใช้ได้กับทุกกลุ่มสาระวิชา เช่น ถ้าจะสอนคณิตศาสตร์ให้กับเด็กที่ชื่นชอบประวัติศาสตร์เป็นพิเศษ เราก็ควรเชื่อมโยงสองสิ่งนี้เข้าด้วยกัน โดยเริ่มจากการหยิบยกหัวข้อประวัติศาสตร์ที่เขาสนใจขึ้นมา แล้วหาวิธีสอดแทรกความรู้ทางคณิตศาสตร์เข้าไปในหัวข้อนั้น
           3. ต้องมีการลงมือปฏิบัติเพื่อให้เกิดทักษะ เพราะการเรียนรู้ที่ได้ผลดีมักเกิดจากการลงมือทำซ้ำๆ จนเชี่ยวชาญ และสามารถพัฒนาต่อยอดได้จากประสบการณ์ของตนเอง ไม่ใช่ทำแค่เพราะมีคนอื่นมาบอกให้ทำแบบนั้นแบบนี้
           4. ใช้เทคโนโลยีช่วยสนับสนุนในการขยายผล โดยปัจจุบันมีเทคโนโลยีการศึกษามากมายที่ถูกพัฒนาขึ้นและใช้กันอย่างแพร่หลาย ยกตัวอย่างเช่น Gather Town โปรแกรมประชุมออนไลน์ในรูปแบบโลกเสมือนจริง ให้ความรู้สึกคล้ายกับกำลังเล่นเกมและได้พบปะกับเพื่อนฝูง สามารถนำมาประยุกต์ใช้เพิ่มสีสันให้กับการเรียนการสอนออนไลน์ได้ เพื่อสร้างบรรยากาศให้ผู้เรียนรู้สึกว่าได้มีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมชั้นเรียนมากขึ้น
           5. เห็นผลงานเพื่อวัดผลจริง หลังผ่านกระบวนการเรียนรู้แล้ว ควรมีผลงานออกมาในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง เพื่อใช้วัดผลสัมฤทธิ์จากการเรียนรู้ อย่างถ้าเป็นกิจกรรมออนไลน์ที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทสำคัญ ส่วนใหญ่ก็มักจะวัดประเมินความสำเร็จของผู้เรียนได้ทันทีหลังสิ้นสุดกิจกรรม

รูปแบบการสอนในศตวรรษที่ 21 มีอะไรบ้าง

Technology) 1.เน้นทักษะ ความรู้และความเชี่ยวชาญฯ 2. สร้างความรู้ความเข้าใจเนื้อหาเชิงสหวิทยาการระหว่างวิชา หลักที่เป็นจุดเน้นกับวิชาอื่นๆ 3. เน้นการสร้างความรู้และความเข้าใจในเชิงลึก 4. ยกระดับความสามารถผู้เรียนด้วยการเรียนรู้จากสภาพจริง 5. ใช้แนวปฏิบัติดีเป็นสื่อการเรียนรู้

ครูในศตวรรษที่ 21 เป็นอย่างไร

ครูในยุคศตวรรษ ที่ 21 ต้องสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ หมายถึง การที่ครูทำหน้าที่เป็นผู้ ช่วยเหลือ สนับสนุนให้ผู้เรียนพัฒนาตนได้เต็มตามศักยภาพ ใช้เทคโนโลยีมาเป็นแรงกระตุ้น สรรหา เทคนิคการสอนแบบใหม่โดยสอดคล้องกับความจำเป็นเพื่อการดำรงชีวิตในสังคมที่ทันสมัย มนุษย์ในยุค ใหม่ต้องเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ตลอดเวลาครูจะต้องฝึกนิสัยให้ ...

การเรียนรู้ที่สำคัญของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 มีอะไรบ้าง

ทักษะของคนในศตวรรษที่ 21 ที่ทุกคนจะต้องเรียนรู้ตลอดชีวิต คือ การเรียนรู้ 3R x 7C. 3R คือ Reading (อ่านออก), (W)Riting (เขียนได้), และ (A)Rithemetics (คิดเลขเป็น) 7C ได้แก่ Critical Thinking and Problem Solving (ทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา)

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง