แผนการ สอน ทักษะการพัฒนาอาชีพ อช 21002

ทักษะการพัฒนาอาชีพ ม.ต้น อช21002 from Thidarat Termphon

ตัวชี้วัด 1 อธิบายความหมาย ความสำคัญของการจัดการอาชีพ และระบบการจัดการ เพื่อการพัฒนาอาชีพ โดยประยุกต์ใช้ภูมิปัญญา

          2. สำรวจแหล่งเรียนรู้ และสถานที่ฝึกทักษะในการพัฒนาอาชีพ

เนื้อหา 

1. อธิบายความหมายความสำคัญของการจัดการอาชีพ

          2. แหล่งเรียนรู้ และสถานที่ฝึกอาชีพ

ขั้นตอนการจัดกระบวนการเรียนรู้

ขั้นที่ 1 การกำหนดสภาพ ปัญหา ความต้องการในการเรียนรู้

          1.ครูพูดคุยกับผู้เรียนในเรื่อง ภูมิปัญญาในท้องถิ่น และยกตัวอย่างผลิตภัณฑ์ของภูมิปัญญาในท้องถิ่นที่ผู้เรียนรู้จัก  แหล่งเรียนรู้ สถานที่ฝึกอาชีพ

2.ครูให้ผู้เรียนบอกเกี่ยวกับสินค้าของภูมิปัญญาชุมชน ผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากภูมิปัญญาของคนในชุมชน  ความต้องการของตลาดแรงงานในชุมชน

ขั้นที่ 2  การแสวงหาข้อมูล  และการจัดการเรียนรู้

          1.ครูให้ผู้เรียนศึกษาค้นคว้าความหมายความสำคัญของการจัดอาชีพและระบบการจัดการเพื่อพัฒนาอาชีพโดยประยุกต์ใช้ภูมิปัญญา จากอินเตอร์เน็ต หนังสือแบบเรียน และสื่อภายใน กศน.ตำบล

          2. ครูเปิด วีดีทัศน์ ให้ผู้เรียน เรื่องปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

          3  ครูให้ผู้เรียนศึกษาค้นคว้าความหมายความสำคัญของแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการพัฒนาอาชีพ ดังต่อไปนี้ จาก กศน.ตำบล สื่อ อินเตอร์เน็ต ห้องสมุดประชาชน

                 3.1 แหล่งเรียนรู้

                 3.2 แหล่งเงินทุน

                32.3 แหล่งวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องจักร

                 3.4 แหล่งแรงงาน

                 3.5 ตลาด

ขั้นที่ 3 การปฏิบัติและการนำไปประยุกต์ใช้

          1.ผู้เรียนและครูร่วมกันสรุป

2.ผู้เรียนนำความรู้ที่ได้นำปรับใช้ในการดำเนินชีวิตของตนเองและชุมชน

ขั้นที่ 4 การประเมินผล

          1. ใบงาน

สื่อการเรียนรู้

1.    ใบความรู้

2.    ใบงาน

การวัดผลประเมินผล

1. ใบงาน/ชิ้นงาน

ใบความรู้

เรื่อง ความหมายความสำคัญของการจัดการอาชีพ

การจัดการอาชีพ หมายถึง กระบวนการจัดกิจกรรมงานอาชีพ นับตั้งแต่การวางแผนการจัดการองค์การ การตัดสินใจ การสั่งการ การควบคุม การติดตามผล เพื่อให้ได้ผลผลิตหรือบริการที่เป็นที่ต้องการของลูกค้า และได้รับการยอมรับจากสังคม

ความสำคัญของการจัดการอาชีพ จากคำจำกัดความของการจัดการอาชีพ ทำให้ทราบถึงความสำคัญของการจัดการอาชีพ เพราะทำให้ผู้บริหารสามารถพัฒนากิจการให้มุ่งไปสู่ความมีประสิทธิภาพและสมารถดำเนินการให้บรรลุวัตถุประสงค์ของกิจการได้ กล่าวคือ กิจการสามารถผลิตสินค้าหรือบริการที่มีคุณภาพ ทันเวลาตามความต้องการของลูกค้า และกิจการได้รับผลตอบแทนคือกำไรสูงสุด สามารถขยายกิจการได้ หรือเพิ่มพูนในการดำเนินการได้

จากการศึกษาวิจัยพบว่า การจัดการอาชีพให้ประสบความสำเร็จประกอบด้วย

1. การจัดการอย่างมีคุณภาพ หมายถึง ผู้บริหารมีความรู้ประสบการณ์ สามารถทำงานให้บรรลุผลสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพ

2. ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ หมายถึง การผลิตสินค้าที่มีคุณภาพ อาจกระทำได้โดยการใช้เทคนิคต่างๆ เริ่มตั้งแต่การใช้วัตถุดิบ กระบวนการผลิต การตรวจคุณภาพสินค้าก่อนส่งมอบให้ลูกค้า

3. ผลิตภัณฑ์ที่ทันสมัยด้วยนวัตกรรมใหม่

4. การลงทุนระยะยาวอย่างมีคุณค่า

5. สถานภาพการเงินมั่นคง

6. มีความสามารถในการดึงดูดใจลูกค้าให้สนใจผลิตภัณฑ์/สินค้า

7. คำนึงถึงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม

8. การใช้ทรัพย์สินอย่างคุ้มค่า

เรื่อง แหล่งเรียนรู้และสถานที่ฝึกอาชีพ

จากการที่ผู้เรียนได้ศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนากระบวนการผลิต กระบวนการตลาด การประยุกต์ใช้ ภูมิปัญญาและนวัตกรรม/เทคโนโลยีแล้ว ทำให้รู้ว่าต้องพัฒนาอาชีพด้านใดบ้าง ในการพัฒนาความรู้ เพื่อการพัฒนาอาชีพ จำเป็นที่ผู้ประกอบการอาชีพต้องศึกษาข้อมูลจากแหล่งเรียนรู้เฉพาะ เช่น ต้องการเงินทุนเพื่อนำไปซื้อเครื่องจักรก็ต้องศึกษาจากแหล่งเงินทุน หรือขาดแรงงานก็ต้องจัดเตรียมหาแรงงานในช่วงที่ต้องการ เป็นการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการพัฒนาอาชีพ

ผู้ที่มีความสามารถในการบริหารจัดการธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ จำเป็นจะต้องรู้จักเลือกใช้ ได้แก่

1. แหล่งเรียนรู้และสถานที่ฝึกอาชีพ

แหล่งเรียนรู้และสถานที่ฝึกอาชีพ หมายถึง แหล่งที่มีข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ ประสบการณ์ สารสนเทศ และเทคโนโลยี สำหรับผู้เรียนใช้ในการแสวงหาความรู้และหรือฝึกทักษะในการประกออาชีพ ซึ่งมีอยู่ตามธรรมชาติ และมนุษย์สร้างขึ้น แหล่งในที่นี้อาจจะเป็นเอกสาร สถานที่ ตัวบุคคล ผู้รู้ แหล่งเรียนรู้ธรรมชาติ เช่น ทะเล ป่า ภูเขา แหล่งเรียนรู้ที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น ห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ อินเทอร์เน็ต เว็บไซต์ต่าง ๆ

แหล่งเรียนรู้และสถานที่ฝึกอาชีพมีความสำคัญต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับผู้เรียน โดย เฉพาะผู้เรียนที่อยู่นอกระบบโรงเรียนที่ต้องศึกษาหาความรู้ด้วยตนเองเป็นส่วนใหญ่ จึงต้องอาศัยแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ ใกล้ตัว เช่น ห้องสมุดอำเภอ ศูนย์การเรียนชุมชน ภูมิปัญญา แหล่งธรรมชาติต่าง ๆ ผู้เรียนสามารถศึกษาหาความรู้ได้ด้วยตนเอง แหล่งเหล่านี้เป็นขุมทรัพย์ทางปัญญาที่สามารถค้นหาความรู้ได้ไม่รู้จบ

ปัจจุบันสถานที่ฝึกอาชีพมีหลากหลายทั้งภาครัฐและเอกชนที่จัดให้กับประชาชนทั่วไป เช่น สำนักงาน กศน. กระทรวงแรงงาน สำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โรงเรียนของเอกชนต่าง ๆ ที่เปิดสอนหลักสูตรวิชีพระยะสั้น

2. แหล่งเงินทุน

แหล่งเงินทุน หมายถึง แหล่งที่สามารถให้กู้ยืมเงินเพื่อการประกอบอาชีพได้ ซึ่งมีทั้งแหล่งเงินทุนของภาครัฐและเอกชน เช่น ธนาคารพาณิชย์ต่าง ๆ สหกรณ์ กองทุนกู้ยืมต่าง ๆ การที่จะกู้ยืมได้ต้องมีโครงการรองรับ เพื่อให้แหล่งเงินทุนพิจารณาความเป็นไปได้ในการส่งใช้เงินคืน

3. แหล่งวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องจักร

แหล่งวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องจักร หมายถึง แหล่งขายหรือแหล่งที่จะได้มาของวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องจักร ที่เกี่ยวข้องกับการประกอบอาชีพ เช่น ประกอบอาชีพการเกษตรจะต้องมีวัสดุอุปกรณ์ เครื่องจักรที่เกี่ยวข้อง เช่น พันธุ์พืช ปุ๋ย รถแทรกเตอร์.

4. แหล่งแรงงาน

แหล่งแรงงาน หมายถึง แหล่งที่จะได้แรงงานมาใช้ ได้แก่ แรงงานจาก คน สัตว์ และเครื่องจักรที่ใช้

- แรงงานคน หมายถึง แรงงานเจ้าของกับแรงงานนอกที่จ้างมาทำงาน

- แรงงานสัตว์ หมายถึง แรงงานสัตว์ที่ใช้ในการประกอบอาชีพ เช่น แรงงานจากวัว ควาย ช้าง ม้า ที่นำมาใช้ในการประกอบอาชีพ

- เครื่องจักร บางอาชีพมีการใช้เครื่องจักรในการประกอบอาชีพ เช่น อาชีพทำนาอาจจะต้องใช้รถไถ อาชีพทำเหล็กดัดประตู หน้าต่าง อาจจะใช้เครื่องเชื่อม ต้องพิจารณาว่า อาชีพของตนเองใช้เครื่องจักรอะไรบ้าง ที่มีอยู่ล้าสมัยหรือไม่อย่างไร ขนาดหรือจำนวนพอเพียงกับการผลิตหรือไม่

5. ตลาด

คือ แหล่งที่มีทั้งผู้ซื้อและผู้ขายสินค้าต่าง ๆ จากผู้ผลิตไปสู่ผู้บริโภคหรือผู้ใช้บริการนั้นๆ ได้รับความพอใจ ร่วมถึงการพัฒนาอาชีพมีวัตถุประสงค์ในการขยายตลาดขายสินค้าให้มากขึ้น โดยพิจารณาตลาดเดิมว่า สามารถรับสินค้าที่พัฒนาขึ้นใหม่ได้หรือไม่ ถ้าไม่ได้จะต้องหาตลาดใหม่รองรับ

เรื่องที่ การวางแผนฝึกทักษะอาชีพ

การวางแผน หมายถึง วิธีการตัดสินใจล่วงหน้า เพื่ออนาคตองค์การ ซึ่งเป็นหน้าที่ของการจัดการในทางเลือกว่าควรจะให้ใครทำอะไร ที่ไหน อย่างไร เป็นขั้นตอนดำเนินงาน การใช้ทรัพยากร การบริหารเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ และเป้าหมายที่ต้องการ

ทักษะ (Skill) หมายถึง ความชัดเจน และความชำนิชำนาญในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ซึ่งบุคคลสามารถสร้างขึ้นได้จากการเรียนรู้จากสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัว

การฝึกทักษะอาชีพ หมายถึง ฝึกทักษะอาชีพใดอาชีพหนึ่งจนเกิดความชัดเจนและชำนาญ จนสามารถถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์นั้นๆ ให้กับผู้อื่นได้

ประโยชน์ของการวางแผนฝึกทักษะอาชีพ มีดังนี้

1. มีโอกาสวิเคราะห์ทักษะที่จำเป็นและต้องฝึกอย่างถี่ถ้วน

2. ทำให้ครอบคลุมทักษะที่ต้องการฝึกและมองเห็นภาพรวม ของการพัฒนาอาชีพทั้งระบบ

3. สามารถวางแผนในการเลือกสถานที่ฝึกและวิธีการฝึกทักษะกับหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรง

หรือบางทักษะอาจฝึกด้วยตนเองได้

ขั้นตอนการวางแผนการฝึกทักษะอาชีพ มีดังนี้

1. สรุปทักษะที่ต้องการฝึกเพิ่มเติม

2. ศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งฝึกทักษะอาชีพ และประสานงานกับแหล่งฝึกว่า ต้องการฝึกเรื่อง

ใดบ้าง เมื่อใด

3. กำหนดวัน เวลา สถานที่ในการฝึกทักษะทั้งหมดลงในการฝึก

4. ผู้ต้องการฝึกควรศึกษาเรื่องที่ต้องการฝึกทักษะด้วยตนเองล่วงหน้าไปก่อน เพื่อให้มีความเข้าใจ ในระดับหนึ่ง แล้วจดเป็นคำถามที่ยังไม่เข้าใจเพื่อนำไปซักถามในวัน เวลาที่มีการฝึกจริง

ใบงานที่ 1 ภูมิปัญญาที่ต้องใช้ในการพัฒนาอาชีพ

ให้ผู้เรียนสรุปความรู้ของภูมิปัญญาที่ได้เชิญมาให้ความรู้ ลงในแบบบันทึกดังนี้

แบบบันทึก

อาชีพ ...................................................................................................................................................................................................................................................................

ชื่อผู้รู้ ....................................................................................................................................................................................................................................................................

การวางแผนการประกอบอาชีพ

……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………............................................…

ระบบการจัดการอาชีพ

……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………...........................................................…

 คุณธรรมในการประกอบอาชีพ

……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………….......................................................................................................

การนำความรู้ที่ได้รับจากภูมิปัญญา นำไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตได้อย่างไร

…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………….......................................................................................................…

 ใบงานที่ 2  การสำรวจแหล่งที่เอื้อต่อการพัฒนาอาชีพ

                ให้ผู้เรียนสำรวจแหล่งที่เอื้อต่อการพัฒนาอาชีพของผู้เรียนในชุมชนว่า มีแหล่งใดบ้าง ตั้งอยู่ที่ใด   มีเงื่อนไขการให้บริการอย่างไร

แบบฝึกหัด

แหล่งที่เอื้อต่อการพัฒนาอาชีพ

ชื่อผู้สำรวจ......................................................................................................................................................

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง