เทคโนโลยี การเกษตร ในอนาคต

  • Facebook iconFacebook
  • Twitter iconTwitter
  • LINE iconLine

ดร.นิพนธ์ พัวพงศกร

ขณะที่รัฐบาลของประเทศต่างๆ บริษัทยักษ์ใหญ่ และบริษัทด้านดิจิทัลเทคโนโลยี กำลังขะมักเขม้นลงทุนวิจัยเทคโนโลยี การเกษตร สมัยใหม่ เพื่อเตรียมรับ “ยุคปฏิวัติเขียวระลอกที่ 2”

แต่ภาค การเกษตร ของไทยกลับเริ่มอ่อนแอลง เพราะภาครัฐไม่ได้ให้ความสนใจด้านการวิจัยและส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีการเกษตรสมัยใหม่อย่างจริงจัง

เทคโนโลยีที่ก่อให้เกิดการปฏิวัติเขียวครั้งนี้แตกต่างจากครั้งแรก 2 ประการ 

ประการแรก การปฏิวัติเขียวครั้งแรกในทศวรรษ 2510 เป็นการปรับปรุงพันธุ์เพื่อเพิ่มผลผลิตต่อไร่ของพืชสำคัญที่ใช้เป็นอาหาร แต่การปรับปรุงพันธุ์ยุคใหม่เป็นการคัดเลือกพันธุ์โดยใช้ข้อมูลทางพันธุกรรมของพืชและสัตว์ (genome selection)

ในไม่ช้านักวิจัยเกษตรและเกษตรกรจะสามารถปลูกทุเรียนที่ไหนก็ได้ โดยได้รสชาติเหมือนกับปลูกที่นนทบุรี เกษตรกรสามารถปลูกพืชผักต่างๆ ให้มีคุณค่าทางโภชนาการ เราสามารถใช้จุลินทรีย์ที่มีอยู่ตามธรรมชาติให้ช่วยผลิตปุ๋ยไนโตรเจน หรือช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการสังเคราะห์แสงของพืช ทำให้ผลผลิตเพิ่มมากขึ้น หรือการใช้เทคโนโลยีที่ระบุลักษณะที่แสดงออกทางพันธุกรรม เพิ่มความต้านทานภัยแล้ง และมีรูปลักษณะและขนาดที่ตลาดต้องการ genome selection จะนำไปสู่การปรับปรุงพันธุ์แบบแม่นยำ (precision breeding)

การเปลี่ยนแปลงสำคัญประการที่ 2 คือ precision agriculture (หรือ farming 4.0) ที่อาศัยความก้าวหน้าด้านดิจิทัลเทคโนโลยี ส่งข้อมูลขนาดใหญ่ทั้งในและนอกฟาร์ม เข้ามาประมวลผล/วิเคราะห์เพื่อพยากรณ์และแก้ปัญหาล่วงหน้าให้เกษตรกร เช่น การพัฒนาเครื่องมือและจักรกลการเกษตรอัตโนมัติ หรือการสร้างโปรแกรมที่ช่วยเกษตรกรตัดสินใจด้านการผลิต การใส่ปุ๋ยและใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ แก้ปัญหาโรคระบาด และการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ ฯลฯ

เทคโนโลยีการเกษตรสมัยใหม่นี้กำลังจะเปลี่ยนโฉมหน้า การเกษตร โลกครั้งใหญ่ แม้แต่เกษตรกรยากจนในประเทศกำลังพัฒนาก็เริ่มการใช้เทคโนโลยีเหล่านั้นเพราะได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาลประเทศพัฒนาแล้ว องค์กรระหว่างประเทศ และมูลนิธิต่างๆ

สำหรับไทย เริ่มมีเกษตรกรมืออาชีพรุ่นใหม่บางกลุ่มและธุรกิจเพื่อสังคมหลายรายนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ แต่ทั้งหมดจะเป็นเกษตรกรที่ปลูกพืชมูลค่าสูง เช่น เมล่อน ผักอินทรีย์ ดอกไม้และกล้วยไม้ แต่เกษตรกรรายเล็กส่วนใหญ่ที่ปลูกพืชมูลราคาต่ำ (เช่น ข้าว อ้อย มันสำปะหลัง ยาง) ยังไม่ได้นำเทคโนโลยีสมัยใหม่ไปใช้ เหตุผลหลักคือต้นทุนการใช้เทคโนโลยีเหล่านี้ยังสูงมากเมื่อเทียบกับผลผลิตที่ได้

สาเหตุอีกประการหนึ่งคือภาครัฐไม่มีเทคโนโลยีใหม่ๆ หรือพันธุ์พืชใหม่ๆ ที่ตลาดต้องการ เพื่อออกเผยแพร่ให้เกษตรกรไทยใช้ เพราะความอ่อนแอด้านการวิจัยและการส่งเสริมเกษตรของภาครัฐ นอกจากจะลงทุนวิจัยน้อยมาก (เพียงปีละ 1,085 ล้านบาท แต่กลับใช้งบอุดหนุนการผลิตและค้าข้าวปีละ 1.272 แสนล้านบาท) เราขาดแคลนนักวิจัยด้านการเกษตรอย่างรุนแรง ระบบวิจัยและส่งเสริมของรัฐไม่สนองกับความต้องการของตลาด ระบบส่งเสริมเกษตรเป็นแบบ “คุณพ่อรู้ดี” ที่ใช้สูตรเดียวกันทั่วประเทศโดยไม่คำนึงถึงความแตกต่างของพื้นที่และตัวเกษตรกร ผลก็คือความสามารถในการแข่งขันของไทยเริ่มลดลงอย่างรวดเร็ว

ตัวอย่างเช่นขณะนี้เวียดนามสามารถเพิ่มการส่งออกข้าวไปยังตลาดข้าวสำคัญเช่นจีน เพราะมีพันธุ์ข้าวชนิดใหม่หลายพันธุ์ ซึ่งเป็นที่ต้องการของตลาด อาทิ จัสมิน85 ที่เป็นข้าวหอมพื้นนุ่มถูกปากคนจีน (แต่ขายถูกกว่าข้าวหอมปทุมของไทย) ข้าวหอม DT8 ที่กำลังโด่งดังในแอฟริกา ข้าวหอมนางว้า ข้าวหอม KDM รวมทั้งข้าวขาวพันธุ์ S415, ST21 เป็นต้น แต่ไทยกลับไม่มีพันธุ์ข้าวใหม่ๆ ที่ตลาดโลกต้องการ จึงไม่น่าแปลกใจว่าทำไมจึงมีการลักลอบนำพันธุ์ข้าวจากเวียดนามมาปลูกในไทยใน 2-3 ปีที่ผ่านมา

ระบบการวิจัยใหม่ต้องตอบสนองความต้องการของตลาด โดยมีคณะกรรมการเกษตรและอาหารแห่งชาติที่ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิทั้ง 4 ฝ่าย คือ รัฐ ภาคเอกชน นักวิชาการ และเกษตรกร ซึ่งจะเป็นผู้กำหนดทิศทางวิจัยและประเมินผล มีการปฏิรูประบบแรงจูงใจนักวิจัย และจัดสรรงบในรูปโปรแกรมวิจัยที่ถูกจัดอยู่ในลำดับสำคัญของประเทศ

หน่วยงานรัฐต้องเปลี่ยนบทบาทจากการเป็นผู้ส่งเสริมมาเป็นผู้ให้ทุนสนับสนุนบริษัท/ธุรกิจเพื่อสังคม/นักวิชาการที่ต้องการทำงานด้านส่งเสริมตามความต้องการของเกษตรกร ส่วนรัฐทำหน้าที่จัดสรรทุนส่งเสริมแบบแข่งขัน และประเมินผลสัมฤทธิ์ของโครงการ นอกจากนี้รัฐควรสนับสนุนให้นักวิชาการติดตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยีที่มีการใช้ในต่างประเทศ เพื่อนำมาใช้หรือปรับปรุงดัดแปลงให้เหมาะกับท้องถิ่น และลดต้นทุนของเกษตรกร

หมายเหตุเผยแพร่ ครั้งแรกใน Forbes Thailand เมื่อ 14 กันยายน 2562

การทำการเกษตรกลายเป็นอีกหนึ่งเทรนด์ที่คนรุ่นใหม่ให้ความสนใจ และผันตัวเข้าสู่ตลาดนี้กันมากขึ้น แน่นอนว่า เมื่อมีคนรุ่นใหม่เข้ามา การเกษตรในยุคนี้จึงไม่ได้หยุดอยู่แค่การเป็นอาชีพเลี้ยงปากท้อง แต่ยังก้าวเข้าสู่การเป็นอุตสาหกรรมที่น่าจับตามอง

โดยเฉพาะการนำเทคโนโลยีและเเนวคิดใหม่ๆ เข้ามาใช้ทำการเกษตรที่ตอนนี้กลายเป็นแรงขับเคลื่อนการเกษตรให้เข้าสู่ ‘ความมั่นคง’ ในแง่ของประสิทธิภาพและการได้ผลผลิตที่ทำกำไรให้ได้มากยิ่งขึ้นไปอีกขั้น และกำลังเปลี่ยนจากการทำการเกษตรแบบดั้งเดิมเข้าสู่เทรนด์เกษตรยุคใหม่ที่เข้าใจและรู้จักใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์

ทำความรู้จัก ‘เทคโนโลยีการเกษตร’ คืออะไร ทำไมถึงเป็นเทรนด์? 

ในปัจจุบันเราเริ่มเห็นเกษตรกรรุ่นใหม่เริ่มใช้เทคโนโลยีเป็นตัวขับเคลื่อนการผลิต การจัดการ และการบริหารการทำงานภายในฟาร์มหรือในไร่มากยิ่งขึ้น ซึ่งเทคโนโลยีการเกษตรเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยยกระดับประสิทธิภาพการเพาะปลูก รวมทั้งทำให้การใช้ทรัพยากรต่าง ๆ เช่น น้ำ ปุ๋ย พื้นที่เพาะปลูก และแรงงานให้มีคุณภาพมากกว่าการทำการเกษตรแบบดั้งเดิมที่เน้นการใช้แรงคนเป็นหลัก

อย่างในหลายๆ ประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย เยอรมนี ฯลฯ ก็นิยมใช้เทคโนโลยีการเกษตร มาช่วยในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ภายในพื้นที่เพาะปลูก เช่น การใช้หุ่นยนต์ตรวจหาและจำแนกขนาดผลผลิต เครื่องจักรกลเพื่อเก็บข้อมูลการปลูกพืช การใช้ข้อมูลจากเทคโนโลยีในการสำรวจพื้นที่ กำจัดศัตรูพืช เก็บเกี่ยวผลผลิต และเทคโนโลยีที่ทันสมัยนี้เอง ล้วนเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเพาะปลูก และลดต้นทุนในการดูแลและจัดการลงได้อย่างเห็นได้ชัด นี่จึงกลายเป็นเทรนด์ใหม่ที่ไม่รู้ไม่ได้แล้วในยุคนี้

เทรนด์เทคโนโลยีการเกษตรยุคใหม่ที่พลาดไม่ได้

และสำหรับใครที่สนใจวิธีการนำเทคโนโลยีการเกษตรเหล่านี้มาประยุกต์ใช้ บทความนี้มีเทรนด์ของเทคโนโลยีเหล่านี้ที่น่าสนใจมาฝากกันถึง 3 รูปแบบ มาดูกันดีกว่าว่า เทรนด์เทคโนโลยีไหนจะเหมาะกับพื้นที่เพาะปลูกของเกษตรกรไทยบ้าง และแต่ละเทรนด์เริ่มพัฒนาไปในทิศทางไหน ตามไปดูพร้อมๆ กันเลย 

การทำการเกษตรอัจฉริยะ (Smart Farm)

หลายคนอาจจะเคยได้ยินเทรนด์การทำการเกษตรแบบอัจฉริยะ หรือ Smart Farm มาบ้างแล้ว เพราะนี่เป็นวิธีการทำการเกษตรร่วมกันกับเทคโนโลยีการเกษตรหรือหุ่นยนต์ เครื่องจักร ฯลฯ ที่มีความแม่นยำสูง และเริ่มนำมาใช้กันให้เห็นในประเทศไทยกันบ้างแล้ว อย่างเช่น การนำโดรนมาใช้ในการหว่านเมล็ดพืช พ่นปุ๋ยและยากำจัดศัตรูพืช

รวมถึงสำรวจพื้นที่การเกษตร หรือการคุมโรงเรือนด้วยแอปพลิเคชันในสมาร์ทโฟน ซึ่งข้อดีของการทำการเกษตรแบบอัจฉริยะที่เกษตรไทยควรจะเริ่มหยิบมาใช้ หลักๆ เลยก็คือ จะสามารถควบคุมสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของพืช เช่น อุณหภูมิ แสงแดด ความชื้น ปริมาณน้ำ และปุ๋ยได้ ทั้งยังช่วยลดต้นทุนแรงงาน เพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำและปัจจัยการผลิตอื่น ๆ เช่น ปุ๋ย สารกำจัดศัตรูพืชได้ดีกว่าเดิม 

แต่เทคโนโลยีก็มักจะมาพร้อมกับการลงทุนที่อาจจะยังไม่คุ้มค่าสำหรับเกษตรกรรายย่อยและเกษตรกรที่ปลูกพืชเศรษฐกิจที่ทำกำไรให้ได้ไม่สูงมากนัก เช่น ข้าวเจ้า มันสำปะหลัง ปาล์มน้ำมัน ฯลฯ จึงทำให้การทำการเกษตรรูปแบบนี้จะใช้เพาะปลูกเฉพาะพืชที่ให้กำไรสูงในระบบ Indoor Farming เท่านั้น  ก็หวังว่าในอนาคตจะมีการสนับสนุนและช่วยเหลือให้มีการพัฒนาการทำการเกษตรอัจฉริยะในต้นทุนที่ต่ำลง จนสามารถใช้ได้ในวงกว้างมากขึ้นกว่าปัจจุบัน 

การทำการเกษตรร่วมกับ Big Data

ไม่ใช่แค่ด้านธุรกิจและการค้าเท่านั้น ที่พึ่งพาข้อมูลในการขับเคลื่อนให้ธุรกิจเติบโต แต่ในภาคการเกษตรเองก็มีการทำเทคโนโลยีด้าน Big Data เข้ามาช่วยจัดการด้านการทำงาน การเก็บข้อมูล เพื่อเพิ่มผลผลิตให้ดีขึ้นด้วยเช่นกัน ซึ่งเทรนด์นี้ในอนาคตจะกลายเป็นหัวใจสำคัญที่จะเข้ามาช่วยให้อุตสาหกรรมการเพาะปลูกเติบโตขึ้นได้ในหลายๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็น…

  • การนำ Big Data มาช่วยในการวิเคราะห์ช่วงเวลาที่ดีที่สุดในการเพาะปลูก หรือใช้ข้อมูลมาวิเคราะห์หาความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นในระหว่างการเพาะปลูกได้ จากการดูข้อมูลสภาพดิน ปุ๋ย หรือแร่ธาตุต่างๆ เพื่อลดอัตราความเสียหายและการขาดทุนที่จะตามมา
  • นำเทคโนโลยีการเกษตรด้านข้อมูลมาใช้ในการเก็บข้อมูลระหว่างการเพาะปลูก โดยจัดเก็บทุกๆ ขั้นตอนของการผลิต เพื่อรักษามาตรฐานในการเพาะปลูก และช่วยทำให้เห็นถึงความโปร่งใสที่สามารถนำเสนอให้กับลูกค้าและนักลงทุนต่อได้ด้วย
  • Big Data ยังสามารถนำมาใช้ในการบำรุงอุปกรณ์ทางการเกษตรได้ โดยการนำเซ็นเซอร์ไปติดตั้งไว้กับอุปกรณ์ต่างๆ และวิเคราะห์หาความเสื่อมสภาพต่างๆ เพื่อให้รู้ล่วงหน้าว่าจะต้องเปลี่ยนแล้วหรือไม่

ซึ่งถ้าหากในอนาคตมีการนำเทคโนโลยีการเกษตรอย่าง Big Data มาใช้กันอย่างแพร่หลาย เกษตรกรไทยก็จะมีข้อมูลในการทำการเกษตรได้มีประสิทธิภาพและแม่นยำมากขึ้น เพราะสามารถนำข้อมูลมาวิเคราะห์ ประเมิน และวางแผน ได้อย่างเป็นระบบ รวมถึงความกังวลเรื่องฟ้าดิน อากาศ ว่าจะมีผลกระทบต่อผลผลิตมาก-น้อยแค่ไหน ก็จะลดน้อยลงไปเป็นอย่างมากด้วยเช่นกัน 

เทคโนโลยีการเกษตรเพื่ออาหารที่ปลอดภัย

ในปัจจุบันเทรนด์ของการรักษาสุขภาพกำลังมาแรง แน่นอนว่า เทรนด์นี้ส่งผลมาถึงในภาคการเกษตรที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของการกินเพื่อส่งเสริมสุขภาพโดยตรงด้วย จึงทำให้เทคโนโลยีการเกษตรที่ส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรที่ปลอดสารเคมี ปลอดสารกำจัดศัตรูพืชเริ่มเป็นที่ต้องการ และนำไปสู่รูปแบบการผลิตแนวใหม่อย่าง ‘ระบบการผลิตแบบปิด’ ซึ่งช่วยทำให้การเพาะปลูกปลอดโรคและปลอดภัยมากขึ้น

นอกจากนี้ เทคโนโลยีการเกษตรเพื่ออาหารที่ปลอดภัย ยังพัฒนาไปสู่การสร้างอาหารทดแทนที่ไม่มีสารพิษเจือปน หรือรักษาสิ่งแวดล้อมได้  เช่น เทคโนโลยีการปลูกเนื้อ (lab-grown meat) ที่เป็นการเอา Stem Cell ของสัตว์บริโภค เช่น วัว หมู หรือไก่ มาเพาะเลี้ยงในห้องทดลองจนได้เป็นเนื้อแดงทั่วไป หรือการปรุงเนื้อสัตว์จากพืช (plant-based meat) ซึ่งเนื้อที่เกิดจากเทคโนโลยีการเกษตรเช่นนี้จะช่วยลดมลภาวะที่เกิดจากการเลี้ยงสัตว์เชิงอุตสาหกรรมลงได้อย่างมหาศาล ทั้งด้านโรคระบาด การใช้ยาเร่งเนื้อแดง และลดการฆ่าสัตว์ลงได้เป็นจำนวนมากอีกด้วย

สรุป 

เทคโนโลยีการเกษตรเหล่านี้ น่าจะช่วยจุดประกายและดึงดูดให้คนรุ่นใหม่อยากลงมือทำการเกษตรกันมากขึ้น เพราะระบบและเครื่องมือต่างๆ ช่วยให้เกษตรกรทำงานได้ง่าย เก็บเกี่ยวผลผลิตได้มาก ซึ่งถ้าจัดการและบริหารเทคโนโลยีเหล่านี้ได้ดี รับรองเลยว่า การทำการเกษตรยุคใหม่ที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ จะสร้างรายได้ให้มหาศาลมากกว่าที่คาดคิด และสามารถพัฒนาต่อยอด เพื่อนำไปสู่การใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ในวงกว้างต่อไปได้อีกไกลเลยทีเดียว

1,143

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง