วัด ที่ ได้ รับ การ บูรณะ ปฏิสังขรณ์ ใน สมัย กรุงธนบุรี



สถานะที่ตั้ง

 
ที่ตั้ง 119 อยู่เชิงสะพานพระพุทธยอดฟ้าฝั่งพระนคร แขวงบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร

ประวัติความเป็นมา


วัดราชบุรณะ เดิมชื่อ "วัดเลียบ" สร้างขึ้นก่อนสมัยกรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงเทพหริรักษ์ พระเจ้าหลานเธอในรัชกาลที่ 1 ทรงพระราชศรัทธาบูรณปฏิสังขรณ์ สถาปนาวัดเลียบขึ้นเป็นพระอารามหลวง เมื่อปีพุทธศักราช 2336 โดยพระราชทานนามว่า "วัดราชบุรณราชวรวิหาร"
          ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 2 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย โปรดให้สร้างพระอุโบสถและพระวิหารขึ้นใหม่มีพระระเบียงล้อมรอบพระอุโบสถ ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปซึ่งรัชกาลที่ 1 โปรดนำมาจากหัวเมือง 162 องค์
 ในสมัยรัชกาลที่ 3 โปรดให้ขุดคูรอบพระอาราม 3 ด้าน ปากคูจรดคลองโอ่งอ่างซึ่งเป็นคูพระนคร โปรดให้สร้างพระปรางค์ ใหญ่ขึ้นองค์หนึ่ง ประดับกระเบื้องเคลือบทั้งองค์ สมัยรัชกาลที่ 4 วัดราชบุรณะได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ใหญ่ เนื่องจากมีการตัดถนนตรีเพชรผ่านกลางวัด โปรดให้สร้างห้องแถวให้ประชาชนอยู่อาศัย เพื่อเก็บผลประโยชน์บำรุงวัด ส่วนพื่นที่ด้านหลังห้องแถวโปรดให้ใช้เป็นที่ตั้งของโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
 ปีพุทธศักราช 2488 ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 วัดราชบุรณะถูกระเบิดทางอากาศทำให้พระอุโบสถ พระวิหาร และกุฏิเสนาสนะเสียหายมาก คณะสังฆมนตรีและคณะรัฐมนตรีมีมติว่าสมควรยุบเลิกวัดเสีย จึงนำความกราบบังคมทูล และได้ยุบเลิกตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม พุทธศักราช 2488 และทางวัดได้อนุญาตให้วัดต่างๆ ในหัวเมือง อัญเชิญพระพุทธรูปที่ประดิษฐานพระระเบียงไปประดิษฐานยังวัดของตนได้ตามแต่ประสงค์ พระพุทธรูปเหล่านั้นจึงกระจายไปอยู่ตามวัดต่างๆ หลังสงครามสงบลงการบูรณะจึงเริ่มขึ้น เมื่อวันที่ 9 มีนาคม พุทธศักราช 2503 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินทรงยกช่อฟ้าและเททองหล่อพระประธานดังที่ปรากฏในปัจจุบัน ซึ่งการบูรณะในครั้งนี้ผู้ออกแบบคือ ศาสตราจารย์หลวงวิศาลศิลปกรรม (เชื้อ ปัทมจินดา) เรือนแก้วซุ้มพระประธานภายในเป็นฝีมือนายฟู อนันตวงษ์  พระปรางค์ไม่ได้รับภัยจากระเบิดแต่ชำรุดตามกาลเวลากระทรวงมหาดไทยได้บูรณะในปีพุทธศักราช 2505
           วัดราชบุรณะนี้ เคยเป็นที่ประทับของสมเด็จพระสังฆราชสมัย รัชกาลที่ 2 และ 3 ทั้งยังมีพระภิษุที่มีชื่อเสียง 2 องค์ คือ สมเด็จพระศรีสมโพธิราชครู (ขรัวอีโต้) และขรัวอินโข่ง มีชีวิตอยู่ในช่วง รัชกาลที่ 1 และ 2 ท่านได้รับความเลื่อมใสศรัทธาจากมหาชนตลอดจนเจ้านายทั้งหลาย ครั้นเมื่อท่านเสี่ยงความบริสุทธิ์ด้วยการลอยมีดโต้ลอยน้ำในสระกลางวัด ปรากฏว่ามีดโต้ลอยน้ำอย่างน่ามหัศจรรย์ นับแต่นั้นท่านก็ได้รับความศรัทธาเลื่อมใสจากมหาชนตลอดจนเจ้านายทั้งหลาย และพระพิมพ์ของท่านชื่อว่า พระขรัวอีโต้ จำนวน 84,000 องค์ ที่ถูกค้นพบในพระเจดีย์ที่ถูกรื้อในปี พ.ศ. 2472 เพื่อใช้พื้นที่สร้างสะพานพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก นั้นเป็นที่นับถือแพร่หลายเช่นเดียวกับพระพิมพ์สมเด็จวัดระฆัง หรือพระรอด และนอกจากนั้นยังมีแผ่นศิลาจารึกปริศนาด้วยอักษรขอมอีกแผ่นหนึ่งปัจจุบันเก็บอยู่ในตู้ภายในพระอุโบสถ ขรัวอินโข่ง เป็นพระภิกษุอีกรูปที่มีชื่อเสียงในฐานะจิตรกรเอก ในพระราชสำนักผู้หนึ่ง ผลงานจะมีอยู่ทั้งในพระนครและหัวเมืองแต่ไม่ปรากฏประวัติละเอียด ท่านเป็นจิตรกรท่านแรกที่นำเทคนิคภาพเขียนแบบยุโรปมาผสมผสานกับลักษณะดั้งเดิมของไทย คือ การใช้แสงเงาทำให้เกิดภาพแบบสามมิติ ผลงานของท่านในปัจจุบันคือ ภาพลายรดน้ำที่หอไตรวัดชัยชนะสงคราม(วัดตึก) จิตรกรรมฝาผนังในพระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร  ภาพจิตรกรรมฝาผนังในหอพระคันธารราษฎร์ หอพระราชกรมานุสร และหอพระราชพงศานุสรในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ภาพจิตรกรรมฝาผนังในพระอุโบสถวัดบรมนิวาสราชวรวิหาร ภาพจิตรกรรมฝาผนังที่พระอุโบสถวัดมหาสมณาราม จังหวัดเพชรบุรี และสมุดร่างภาพรามเกียรติ์ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร  ที่วัดราชบุรณะนี้ ขรัวอินโข่งเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังที่พระอุโบสถหลังเดิม ซึ่งถูกระเบิดทำลายไปเมื่อปี พ.ศ. 2488 นับเป็นเรื่องที่น่าเสียดายยิ่งที่ไม่เหลือผลงานอยู่ในวัดที่ท่านจำพรรษาจนมรณภาพ

สิ่งสำคัญในพระอาราม


 พระประธาน   ในพระอุโบสถ เป็นพระพุทธรูปแบบพระพุทธชินราช พระนามว่า  พระพุทธมหาราช พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชได้เสด็จฯ ทรงประกอบพิธีเททองหล่อในพระอุโบสถเมื่อวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2503


 พระปรางค์   สร้างในสมัยรัชกาลที่ 3 ฐานกว้างด้านละ 15 วา  สูงจากพื้นถึงยอดนภศูล และยอดฉัตร 16 วา 2 ศอก ก่ออิฐถือปูน ประดับด้วยกระเบื้องเคลือบทั้งองค์  เป็นพระปรางค์ย่อมุมไม้ยี่สิบแปด  มีฐานบัวซ้อนขึ้นไป 5 ชั้น แต่ละชั้นทำเป็นรูปมารแบกโดยรอบ ชั้นซุ้มค่อนข้างสูงเหนือชั้นซุ้มขึ้นไปเป็นชั้นกลีบขนุน 8 ชั้น ยอดพระปรางค์เป็นนภศูล มีมงกุฎครอบบนนภศูลอีกทีหนึ่ง


 ศาลาสมเด็จ   เป็นศาลาตรีมุข ตั้งอยู่ด้านหลังพระอุโบสถ ยาว 60 เมตร  ลักษณะคล้ายศาลารายแต่ยกพื้นสูง แบ่งเป็นสองตอน พระคุณาจารวัตรร่วมกับคณะกรรมการสร้างเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2518

บรรณานุกรม
พระอารามหลวง.  คณะผู้จัดทำ พิสิฐ  เจริญสุข [และคนอื่นๆ]  กรุงเทพฯ : กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม,2551.

สร้างในสมัยรัชกาลที่ 1 ขยายและสร้างใหม่ในสมัยรัชกาลที่ 3 ลักษณะเป็นทรงรัตนโกสินทร์ฐานตรง เสาสี่เหลี่ยมแต่งมุมเป็นรูปเล็บมือ ปลายสอบเล็กน้อย ไม่มีบัวหัวเสาและตีนเสา หลังคามุขลดชั้นสามชั้นเครื่องบนหน้าจั่วเป็นเครื่องลำยองมีไขราหน้าจั่วต่อด้วยปีกนก พนักระหว่างเสาก่อด้วยกำแพงประดับศิลา ด้านนอกสลักภาพเรื่องรามเกียรติ์ และมีโคลงจารึกบอกเรื่องไว้ด้านบน มีจำนวน 158 ภาพ ฝีมือช่างสมัยรัชกาลที่ 3 ผนังด้านในพระอุโบสถที่เชิงบุด้วยแผ่นศิลาสูงถึงระดับหน้าต่างผนัง ระหว่างหน้าต่างเขียนเรื่องพระสาวกเอตทัคค 41 เรื่อง เสาในพระอุโบสถมี 16 ต้น เขียนเป็นลายดอกไม้ก้านแย่งสลับนกบานประตูพระอุโบสถด้านนอกประดับมุกทั้ง 8 บาน เป็นลายภาพเรื่องรามเกียรติ์ ด้านในเขียนลายรดน้ำเป็นรูปพัดพระราชาคณะฐานานุกรมเปรียญ ทั้งฝ่านคามวสีและอรัญวาสีในกรุงและหัวเมือง ซุ้มประตูทำเป็นทรงมงกุฎ สร้างในสมัยรัชกาลที่ 3 ซุ้มประตูทำเป็นทรงมงกุฎ บานหน้าต่างด้านนอกปิดทองประดับกระจกลายแก้วชิงดวง ด้านในหน้าต่างเขียนลายรดน้ำเป็นตราเจ้าคณะสงฆ์ กรอบเช็ดหน้าเขียนลายทองเป็นเครื่องเทศ รูปสัตว์ต่าง ๆ ข้างกบประดับกระเบื้องเคลือบเป็นดอกดวง ซุ้มหน้าต่างทำเป็นทรงมงกุฎ บริเวณกำแพงแก้วรอบพระอุโบสถมีซุ้มประตู 8 ซุ้ม และซุ้มสีมา 8 ซุ้ม ประตูกำแพงแก้วมีรูปสางหล่อด้วยสำริดสร้างขึ้นแทนสิงห์ ศิลปะสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น

พระระเบียงรอบพระอุโบสถ
สร้างขึ้นเพื่อประดิษฐานพระพุทธรูป เป็นอาคารยาวรูปเหมือนกรอบสี่เหลี่ยมผืนผ้าซ้อนกัน 2 ชั้น ทำหน้าที่ปิดล้อมและเป็นทางเข้าออกพระอุโบสถ พระระเบียงชั้นในมีขนาดใหญ่กว่าพระระเบียงชั้นนอกปิดล้อมลานพระอุโบสถ ผนังด้านนอกปิดทึบประดิษฐานพระพุทธรูป 150 องค์ ที่มุมของแนวอาคารซึ่งออกแบบให้ผนังที่พบกันเป็นมุมฉากมีมุมเพิ่มตามแบบมุมไม้สิบสองของไทย พระระเบียงชั้นในสามารถสัญจรได้โดยรอบ ส่วนพระระเบียงชั้นนอกซึ่งมีขนาดเล็กกว่าออกแบบให้วางซ้อนอยู่ด้านนอกโดยรอบ แต่ตัดมุมฉากที่แนวอาคารมาพบกันให้วกกลับมาตั้งฉากกับอาคารพระระเบียงชั้นในแล้วเพิ่มมุมให้กับอาคารวิธีเดียวกับพระระเบียงชั้นในทำนองเดียวกับย่อมุมไม้สิบสอง แต่เส้นทางสัญจรไม่สามารถติดต่อได้ถึงกันตลอด เนื่องจากถูกแบ่งกั้นด้วยพระวิหารทิศทั้ง 4 ประดิษฐานพระพุทธรูป 244 องค์ ตามเสาพระระเบียงจารึกเพลงยาวกลบท 50 ฉันท์ วรรณพฤติ 50 ผนังพระระเบียงทั้ง 2 ชั้น ด้านในเป็นผนังทึบทำฐานชุกชี ผนังด้านหลังที่ตั้งพระพุทธรูป ในสมัยรัชกาลที่ 3 เขียนเป็นเรือนแก้ว มีขวดปักดอกไม้ระหว่างเรือนแก้ว เหนือเรือนแก้วเขียนเป็นลายแบ่งขาว ผนังเขียนเป็นริ้วดอกไม้ขาว ผนังทึบทุกมุมมุขของมุมพระระเบียงเขียนเรื่องนนทุกปกรณัม ระหว่างพระระเบียงทั้ง 2 ชั้น ซึ่งเรียกว่าชาลาเป็นที่ว่างไม่มีหลังคาตั้งถะหินหรือเจดีย์จีน จำนวน 20 องค์ ช่องทางข้าออกทำเป็นเสาประดับกรอบประตู ปั้นปูนปิดทองประดับกระจก ปัจจุบันซุ้มพระระเบียงด้านในไม่มีแล้วเหลือเพียงรอยอยู่ทางด้านเหนือเท่านั้น

พระเจดีย์
พระเจดีย์ในวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร ประกอบด้วยเจดีย์ 4 ประเภท คือ พระเจดีย์ราย พระเจดีย์กลุ่ม พระปรางค์ และพระมหาเจดีย์ใหญ่ ดังนี้
พระเจดีย์ราย เป็นพระเจดีย์บรรจุอัสถิราชวงศ์ มีจำนวน 71 องค์ ออกแบบจัดวางอย่างเป็นระเบียบให้รายล้อมอยู่นอกวงพระระเบียงชั้นนอกของพระอุโบสถ พระเจดีย์รายนี้มีรูปแบบและสัดส่วนที่ได้รับยกย่องว่าเป็นเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสองที่งดงามที่สุดของยุครัตนโกสินทร์ เป็นแบบประเพณีนิยมประดับด้วยกระเบื้องถ้วยเคลือบสีและศิลาเขียวเหมือนกันหมดทุกองค์ มีขนาดเล็กที่สุดในพระเจดีย์ทั้ง 4 ประเภทของวัด ลักษณะสำคัญจากฐานไปถึงยอดมีดังนี้ ส่วนฐานประกอบด้วยฐานเขียงย่อมุมไม้สิบสองแบบย่อ 90 ฐานสิงห์ ทรงสี่เหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสองแบบย่อรัศมี 3 ชิ้น บัวปากระฆังทรงสี่เหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสองแบบย่อรัศมี 3 องค์ระฆัง ส่วนยอดประกอบด้วยบัลลังก์ บัวกลุ่ม 9 ชั้น ปลี ลูกแก้ว ปลียอด และเม็ดน้ำค้าง

     พระเจดีย์กลุ่ม เป็นพระเจดีย์บรรจุพระบรมธาตุ กลุ่มละ 5 องค์ ตั้งอยู่ที่ตรงมุมวิหารคต ลักษณะเป็นเจดีย์ทรงสี่เหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสอง 4 องค์ ล้อมองค์กลาง ซึ่งมีขนาดใหญ่และสูงกว่า ตั้งอยู่บนฐานเดียวกัน ลักษณะสำคัญของพระเจดีย์ 4 องค์เล็ก แบ่งเป็น ส่วนฐาน ประกอบด้วย ฐานทักษิณ ฐานเขียง ฐานสิงห์ 2 ชั้น บัวถลา บัวลูกแก้วอกไก่ บัวปากระฆัง ส่วนองค์ระฆังประกอบด้วย องค์ระฆังและบัลลังก์ และส่วนยอดประกอบด้วย คอฐานยอด บัวถลา บัวกลุ่ม 7 ชั้นปลี ลูกแก้ว ปลียอด เม็ดน้ำค้าง ในขณะที่พระเจดีย์องค์กลาง ส่วนฐาน ประกอบด้วย ฐานเขียงย่อมุมไม้สิบสอง ฐานสิงห์ 3 ชั้น บัวถลา บัวลูกแก้วอกไก่ บัวปากระฆัง ส่วนองค์ระฆังประกอบด้วย องค์ระฆังและบัลลังก์ และส่วนยอดประกอบด้วย คอฐานยอด บัวถลา บัวกลุ่ม 9 ชั้น ปลี ลูกแก้ว ปลียอด เม็ดน้ำค้าง

     พระปรางค์ ส่วนฐาน ประกอบด้วย ฐานเขียงสี่เหลี่ยมตัดมุม ฐานสิงห์ 3 ชั้น ฐานบัวลูกแก้วอกไก่ ส่วนเรือนธาตุ ประกอบด้วย ฐานบัวลูกแก้วอกไก่ เรือนธาตุ มีรูปปั้นเทวดายืนถือพระขรรธ์ในซุ้มคูหาทั้งสี่ทิศ บัวหงาย และส่วนยอดประกอบด้วยฐานยอดทำเป็นรูปปั้นมารแบก ปรางค์ ยอดนภศุล

     พระมหาเจดีย์ มีจำนวน 4 องค์ เป็นพระมหาเจดีย์ประจำรัชกาลที่ 1 ถึงรัชกาลที่ 4 ได้แก่
      1. พระมหาเจดีย์ศรีสรรเพชรญดาญาณ เป็นพระมหาเจดีย์องค์กลางสีเขียว สร้างในสมัยรัชกาลที่ 1 เพื่อบรรจุพระพุทธรูปพระนามว่า "พระศรีสรรเพชญ์" พระพุทธรูปองค์นี้เดิมอยู่วัดพระศรีสรรเพชรญ์ พระนครศรีอยุธยา ถูกพม่าเผาไฟลอกทองคำไปเมื่อเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 ไม่สามารถบูรณะปฏิสังขรณ์ใหม่ได้จึงอัญเชิญมาบรรจุไว้ในพระเจดีย์นี้ และถือเป็นเจดีย์ประจำรัชกาลที่ 1 เมื่อได้บรรจุพระบรมอัฐิพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
     2. พระมหาเจดีย์ดิลกธรรมกรกนิทาน อยู่ทางด้านเหนือองค์สีเหลือง สร้างในสมัยรัชกาลที่ 3 เพื่ออุทิศแด่พระพุทธเลิศหล้านภาลัย ถือกันว่าเป็นพระเจดีย์ประจำรัชกาลที่ 2
     3. พระมหาเจดีย์มุนีบัติบริขาร อยู่ทางทิสใต้องค์สีส้มย่อมุมไม้สิบสอง สร้างในสมัยรัชกาลที่ 3 ถือกันว่าเป็นพระเจดีย์ประจำรัชกาลที่ 3
ลักษณะสำคัญของเจดีย์ประจำรัชกาลที่ 1-3 จากฐานไปถึงยอดมีดังนี้ เป็นเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง ส่วนฐานประกอบด้วยฐานเขียงรูปสี่เหลียมตัดมุมทำในรูปฐานสิงห์ ฐานสิงห์ 3 ชั้น ฐานบัวปากระฆัง (ส่วนฐานบัวปากระฆังนี้มีลักษณะพิเศาเพิ่มจากแบบประเพณีทั่วไปคือ ประกอบด้วยบัวคว่ำลูกแก้วอกไก่ บัวปากระฆังและบัวเชิงบาตร) ส่วนองค์ระฆัง ส่วนบัลลังก์ คอฐานยอดมีเ สาหารรอบ บัวถลา ส่วนยอดประกอบด้วย บัวกลุ่ม 11 ชั้น ปลี ลูกแก้ว ปลียอด และเม็ดน้ำค้าง
     4. พระมหาเจดีย์ศรีสุริโยทัย อยู่ทางด้านทิศตะวันตกตรงกับองค์กลาง สร้างในสมัยรัชกาลที่ 4 สร้างเลียนแบบเจดีย์ศรีสุริโยทัยที่วัดสวนหลวงสบสวรค์ พระนครศรีอยุธยา ลักษณะสำคัญของเจดีย์นี้ คือ ส่วนฐานสูง ประกอบด้วยฐานเขียงสูงทำเป็นฐานทักษิณ ฐานสิงห์ย่อมุมไม้สิบสองและย่อเก็จเพิ่ม ย่อแบบ 45 องศา ฐานบัวลูกแก้วกลม ย่อมุมไม้สิบสอง ส่วนที่เป็นฐานเก็จเพิ่ม นั้นทำเป็นซุ้มคูหาทั้ง 4 ทิศ เฉพาะทิศเหนือและทิศใต้มีเจดีย์กลมตั้งอยู่บนหลังคาซุ้ม ส่วนองค์เจดีย์ ประกอบด้วยฐานบัวลูกแก้วกลม 3 ชั้น ทรงสี่เหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสองแบบย่อรัศมี ส่วนองค์ระฆังและส่วนบัลลังก์ทรงสี่เหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสองแบบย่อรัศมี คอฐานยอดมีเสาหาร ส่วนยอดประกอบด้วย ปล้องไฉน 21 ปล้อง ปลียอด และเม็ดน้ำค้าง


บรรณานุกรม
กรมศิลปากร. รายงานการสำรวจโบราณสถานในกรุงรัตนโกสินทร์. กรุงเทพฯ : งานผังรูปแบบ ฝ่ายอนุรักษ์โบราณสถาน กองโบราณคดี กรมศิลปากร, 2538.

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง