มหาวิทยาลัยเปิดแห่งแรกของไทย

"..ขืนตั้ง(มหาลัยขึ้นมา)ราชวงศ์จักรีจะแย่ ถ้าเจ้าคุณจะตั้งมหาวิทยาลัย ผมตายก็อย่ามาเผาผม เจ้าคุณตายผมก็จะไม่ไปเผาเจ้าคุณ มันยังไม่ถึงเวลาตั้ง(มหาวิทยาลัยในประเทศไทย).."

นี้คือถ้อยคำของผู้ขัดขวางการตั้งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัยในสมัยนั้นก็คือเจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) ซึ่งได้ต่อว่าเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี(สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา)เสนาบดีกระทรวงธรรมการ ว่าประเทศสยามยังไม่พร้อมที่จะมีมหาวิทยาลัยในประเทศ ตอนนั้นพวกเจ้านายชั้นสูง รวมไปถึงพวกขุนนางชั้นสูง บางท่านไม่สนับสนุนและเห็นด้วยกับรัชกาลที่ ๖ ในการตั้งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยขึ้น ถึงขนาดที่พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากิติยากรวรลักษณ์ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ (ต้นราชสกุลกิติยากร) เสนาบดีกระทรวงคลังสมัยนั้น ถึงกับบันทึกต่อว่าเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรีว่า "..การตั้งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยให้ได้นั้น เสนาบดีกระทรวงธรรมการจะพารัฐบาลเข้าปิ้งทางการเงิน.." ว่ากันว่าท่านเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรีนั้น เป็นเจ้าพระยาที่ยากจนที่สุดในประเทศสยามเวลานั้น

ต่อมา พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงสอบถามเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี ถึงเรื่องตั้งมหาวิทยาลัยในประเทศสยามว่า "เราพร้อมแค่ไหน" เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรีได้กราบบังคมทูลว่า

"..ถ้าถือเอาอ๊อกฟอร์ดหรือเคมบริดซ์เป็นมาตรฐาน เรายังไม่พร้อมที่จะสถาปนามหาวิทยาลัย จะต้องลงทุนรอนมากมายนัก ทั้งเงินทั้งคนของเรายังไม่พร้อม แต่ถ้าจะลดหย่อนลงมาเพียงมหาวิทยาลัยรุ่นใหม่ ๆ ซึ่งกำลังเกิดขึ้นสะพรั่งราวกับดอกเห็ดทั้งในตะวันตกและตะวันออก เราก็พอทำได้ มหาวิทยาลัยใหม่ ๆ นี้เปรียบเหมือนเป็นโรงเรียนกลางวัน แต่ออกสฟอร์ด เคมบริดซ์ เปรียบเหมือนโรงเรียนประจำ...(ตัดข้อความลง)....มหาวิทยาลัยเก่าของอังกฤษ เท่ากับเป็นที่ประทับตราว่าคนนี้ออกไปทำงานอะไร ๆ ก็ไว้ใจได้ เขา เป็นสุภาพบุรุษโดยสมบูรณ์แล้ว แต่มหาวิทยาลัยใหม่จะประทับตราให้ได้แต่เพียงว่า คนนี้มีวิชาเอนจิเนีย,แพทย์,กฎหมาย,วิทยาศาสตร์,อักษรศาสตร์ ฯลฯ ...จำนวนนักเรียนจบมัธยมบริบูรณ์ของเรายังน้อยมาก โรงเรียนข้าราชการพลเรือนยังต้องรับผู้จบมัธยมหก ในแง่นี้แง่เดียวก็อาจมีผู้คัดค้านได้ว่ายังไม่ถึงเวลา...."

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงมีพระราชดำรัสตอบกลับว่า

"....เดินเถิดอย่าคอยเวลาเลย อย่างไรเสียเราก็ต้องการมหาวิทยาลัย ตั้งเสียเดี๋ยวนี้ทีเดียว จะได้เป็นตลาดวิชาของเมืองไทย ไม่เป็นแต่เพียงที่เพาะข้าราชการไว้ใช้...."

การศึกษาของไทยก่อนสมัยรัชกาลที่ 5 ช่วงต้นรัตนโกสินทร์ เจ้าขุนมูลนายและราษฎรมักส่งบุตรหลานที่เป็นเด็กผู้ชายไปศึกษาเล่าเรียนกับภิกษุที่มีความรู้ อาศัยวัดวาอารามเป็นสถานศึกษา บวชเป็นสามเณรบ้าง ฝากตัวเป็นศิษย์วัดบ้าง ส่วนเด็กผู้หญิงจะเรียนรู้เกี่ยวกับการบ้านการเรือน การเย็บปักถักร้อยมียายหรือแม่เป็นผู้สอนอยู่ที่บ้าน

Advertisment

ต่อมารัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ได้ทรงปฏิรูประบบราชการพร้อมกับระบบการศึกษา สิ่งที่ตามมาคือระบบการศึกษามีพัฒนาการเกิดขึ้นหลายระดับ จนสามารถสถาปนามหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศ คือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อ พ.ศ.2460 ซึ่งตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จฯมาทรงวางศิลาฤกษ์ตึกบัญชาการโรงเรียนข้าราชการพลเรือนฯ (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในปัจจุบัน) เมื่อวันที่ 3 มกราคม 2458

เรื่องราวจุดเริ่มต้นสถาบันอุดมศึกษาแห่งแรกของสยาม เส้นทางผ่านมา 100 ปี ผู้เขียนขอนำเสนอบทความที่อธิบายการถือกำเนิดขึ้นของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ท่ามกลางพลวัตที่เปลี่ยนแปลงทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคมของรัฐสยามและของโลกตะวันตกในยุคนั้น คืองานเขียนของ นนทพร อยู่มั่งมี ในบทความที่ชื่อ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในสมัยแรกสถาปนา จากนิตยสารศิลปวัฒนธรรม ฉบับเดือนมีนาคม 2560

Advertisement

ตราโรงเรียนข้าราชการพลเรือน

นนทพร อยู่มั่งมี ได้อธิบาย อิทธิพลตะวันตกที่มีต่อการปรับปรุงระบบการศึกษาสยามว่า “ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 24 นับเป็นช่วงที่อิทธิพลของชาติมหาอำนาจตะวันตกเข้ามามีบทบาทในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเข้ามาครอบครองดินแดนต่างๆ ทั้งเพื่อแสวงหาทรัพยากรทางเศรษฐกิจ และเพื่อแข่งขันอำนาจทางการเมืองระหว่างกัน สิ่งที่ตามมาคือการพัฒนาดินแดนอาณานิคมต่างๆ ในด้านสาธารณูปโภค ระบบการศาล ภาษา รวมทั้งระบบการศึกษาและเทคนิควิทยาการต่างๆ ล้วนมีผลกระทบต่อคนพื้นเมือง ผู้รับผิดชอบการศึกษามีทั้งรัฐบาลเจ้าอาณานิคมและคณะสอนศาสนา ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ล้วนทำให้เกิดการขยายออกเป็นวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยตามลำดับ

แบบอาคารหอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ภาพจากหอจดหมายเหตุแห่งชาติ)

“สำหรับทวีปเอเชียมีการตั้งมหาวิทยาลัยตามแบบตะวันตกแห่งแรกในอินเดีย ซึ่งเป็นอาณานิคมของประเทศอังกฤษ ได้แก่ University of Calcutta เมื่อ พ.ศ.2400 ส่วนประเทศที่มีการปฏิรูปตามอย่างชาติตะวันตกอย่างญี่ปุ่นเริ่มพัฒนากระบวนการศึกษาแบบตะวันตก และมีการตั้งมหาวิทยาลัยแห่งแรกคือ Keio University เมื่อ พ.ศ.2401 ขณะที่เมืองไทยซึ่งเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงด้วยการรับวิทยาการและการค้าการติดต่อกับชาติตะวันตกในช่วงเดียวกัน ได้มีมิชชันนารีชาวอเมริกัน คือ หมอบรัดเลย์ ได้มีข้อเสนอแนะให้รัฐบาลตั้ง “ยูนิเวอร์ซิตี” ผ่านหนังสือพิมพ์ The Bangkok Recorder ของตนเมื่อ พ.ศ.2408″

นักเรียนเก่าโรงเรียนข้าราชการพลเรือนที่มาในงานวงศิลาพระฤกษ์ตึกบัญชาการโรงรเียนข้าราชการพลเรือนฯ (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) เมื่อวันที่ 3 มกราคม 2458

จนกระทั่ง พ.ศ.2420 ศาสนาจารย์แซมวล จี. แม็กฟาร์แลนด์ (Samuel G. McFarland) ได้เสนอต่อรัฐบาลสยาม เรื่องแผนการตั้งมหาวิทยาลัยให้การศึกษาแก่เด็กๆ ที่กรุงเทพฯ ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดเกล้าฯ ให้แม็กฟาร์แลนด์รับผิดชอบการดำเนินงานโรงเรียนสวนอนันต์ ที่วังนันทอุทยาน ซึ่งเปิดในเดือนมกราคม พ.ศ.2421

Advertisement

ข้อเสนอของชาวตะวันตกทำให้สยามเวลานั้นต้องเปลี่ยนแปลงปรับตัว เพื่อให้ทันต่อสภาพบ้านเมืองของโลกตะวันตก จึงเป็นแรงกระตุ้นอีกทางหนึ่งที่ทำให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงปฏิรูประบบราชการของรัฐสยามตามมาในห้วงเวลาเดียวกัน

การปฏิรูประบบราชการของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีส่วนสำคัญต่อการสร้างบุคลากรทางการศึกษา เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างของระบบราชการรูปแบบใหม่ เช่น การกำหนดรูปแบบงาน, ตำแหน่ง, เงินเดือน อย่างชัดเจน

พร้อมทั้งส่งเสริมบุคคลให้มีความสามารถสอดคล้องกับระบบงานแบบใหม่ ที่เน้นความมีประสิทธิภาพและความรอบรู้ทางวิชาการต่างๆ รัฐบาลจึงก่อตั้งโรงเรียนขึ้นในพระบรมมหาราชวัง เมื่อ พ.ศ.2414 เพื่อศึกษาวิชาการเตรียมความพร้อมเบื้องต้นสำหรับเพื่อไปเป็นขุนนาง และมีการตั้งโรงเรียนเพื่อศึกษาศาสตร์แขนงต่างๆ ให้สอดคล้องกับลักษณะงาน เช่น มีการตั้งโรงเรียนแผนที่, โรงเรียนนายร้อยทหารบก, โรงเรียนนายเรือ และโรงเรียนกฎหมายขึ้นตามลำดับ

เมื่อแรกสร้าง “ตึกเทวาลัย” อาคารหลังนี้ถูกเรียกว่า “ตึกบัญชาการ” ถือเป็นอาคารเรียนหลังแรกของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นอาคาร “อักษรศาสตร์ 1” และปัจจุบันได้เปลี่ยนชื่ออีกครั้งเป็น “อาคารมหาจุฬาลงกรณ์” (ภาพจากหนังสือ ร้อยเรื่องจามจุรี 100 ปีจุฬาฯ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558)

เมื่อความต้องการข้าราชการที่มีความรู้ความสามารถ จึงนำไปสู่การตั้งโรงเรียนสำหรับฝึกหัดวิชาข้าราชการฝ่ายพลเรือน ขึ้นใน พ.ศ.2442 และต่อมาเปลี่ยนชื่อใหม่ว่า โรงเรียนมหาดเล็ก ซึ่งได้ดำเนินการมาจนจวบสิ้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

พัฒนาการของโรงเรียนมหาดเล็กสู่การสถาปนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แรกเริ่มนั้นเมื่อ พ.ศ.2456 พระยาวิสุทธสุริยศักดิ์ ข้าราชการผู้ใฝ่ใจในการศึกษา ได้เสนอแผนการยกสถานะจากโรงเรียนข้าราชการพลเรือนขึ้นเป็นมหาวิทยาลัย เสนอให้จัดการเรียนการสอนระดับอุดมศึกษา ด้วยการตั้งมหาวิทยาลัย ให้มีการสอน 8 แผนกสำคัญ คือ วิชาแพทย์ วิชาอาจารย์ วิชาเนติบัณฑิต วิชาราชบัณฑิต วิชานวโกศล วิชาพาณิชยการ วิชากสิการและความรู้บ้านเมือง และข้าราชการอีกท่านหนึ่งที่ได้เสนอให้สร้างมหาวิทยาลัย แถลงแนวคิดไว้เมื่อ พ.ศ.2457 คือ เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา)

เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา)

ต่อมา วันที่ 26 มีนาคม 2459 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่ มีพระบรมราชโองการประดิษฐานโรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขึ้นเป็น “จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” โดยมี พระยาอนุกิจวิธูร (สันทัด เทพหัสดิน ณ อยุธยา) เป็นผู้บัญชาการจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยคนแรก

พระยาอนุกิจวิธูร (สันทัด เทพหัสดิน ณ อยุธยา) ผู้บัญชาการจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยคนแรก

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในช่วงแรกมีการจัดการศึกษาเป็น 4 คณะ ได้แก่ 1.คณะแพทยศาสตร์ คงตั้งอยู่ที่โรงเรียนแพทย์เดิม ณ ศิริราชพยาบาล 2.คณะรัฐประศาสนศาสตร์ ทำการสอนที่ตึกบัญชาการ คือ ตึกสร้างใหม่ที่ถนนสนามม้า 3.คณะวิศวกรรมศาสตร์ ซึ่งรวมโรงเรียนยันตรศึกษาใช้ตึกเดียวกับคณะรัฐประศาสนศาสตร์ 4.คณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์ เปิดสอนที่วังใหม่หรือวังกลางทุ่ง หรือวังวินด์เซอร์ (เคยเป็นวังของ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร มาแต่เดิม)

หลังเหตุการณ์ พ.ศ.2475 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้เกิดการเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง เช่น การโอนย้ายบางคณะไปรวมกับสถาบันการศึกษาอื่น ซึ่งส่งผลต่อเสถียรภาพความเป็นปึกแผ่นของจุฬาฯ ขณะนั้น ก่อนที่จะกลับมารวมเป็นหนึ่งอีกครั้งในเวลาต่อมา

หากท่านอยากรู้เรื่องราวจุดกำเนิดเริ่มต้นของสถาบันอุดมศึกษาแห่งแรกของสยาม เส้นทางผ่านมา 100 ปี ที่เต็มไปด้วยเรื่องราวและเหตุการณ์ เผชิญกับปัญหาต่างๆ นานัปการ แต่สามารถผ่านอุปสรรคลุล่วงมาได้ ซึ่งมีรายละเอียดมากขึ้นกว่านี้ โปรดอ่านเรื่องราวทั้งหมดได้ใน “ศิลปวัฒนธรรม” ฉบับประจำเดือนมีนาคม 2560 ซึ่งกำลังวางตลาดอยู่ในขณะนี้

หรือมาร่วมฟังเสวนา “มหาวิทยาลัยในพระราชปณิธาน : 100 ปีแห่งวิทยาการ และงานศิลปวัฒนธรรม” วันที่ 23 มีนาคมนี้ เวลา 13.30-16.30 น. ณ ห้องโถงมติชนอคาเดมี

มหาวิทยาลัยเกิดขึ้นในสมัยใด

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ได้ทรงพระอนุสรณ์คำนึงถึงพระบรมราโชบายในสมเด็จพระบรมชนกาธิราชที่จะ “ให้มีมหาวิทยาลัยขึ้นสำหรับเป็นสถาบันอุดมศึกษาของชาวสยาม” พอที่จะช่วยให้กิจการปกครองท้องที่ของกระทรวงมหาดไทยดำเนินไปได้ เมื่อสมควรขยายการจัดการศึกษาเพื่อสนองความต้องการของกระทรวง ทบวง กรมอื่นๆ จึงทรงพระ ...

คณะวิทยาศาสตร์แห่งแรกของประเทศไทยอยู่ที่มหาวิทยาลัยใด

คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงนับเป็นคณะแรกในประเทศไทยที่มีการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ ในขณะนั้นคณะวิทยาศาสตร์ประกอบด้วย 4 ภาควิชา คือ คณิตศาสตร์ เคมี ฟิสิกส์ และชีววิทยา หลังจากนั้น คณะวิทยาศาสตร์ก็ได้เติบโตขึ้น และเพื่อให้ทันต่อกระแสความก้าวหน้าของวิทยาศาสตร์ จึงมีการก่อตั้งภาควิชาต่างๆเพิ่มขึ้นมา ทั้งในสาขา ...

มหาวิทยาลัยใดเป็นมหาวิทยาลัยที่เปิดแห่งแรกในภูมิภาค

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกที่ทางราชการจัดตั้งขึ้นในส่วนภูมิภาคของประเทศไทย ตามโครงการพัฒนาการศึกษาในส่วนภูมิภาค พ.ศ.2501 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ตั้งอยู่ ณ ดินแดนล้านนา อันเป็นแหล่งสะสมวัฒนธรรมอันล้ำค่ามานานกว่า 700 ปี มีสภาพภูมิประเทศงดงามท่ามกลางสภาพแวดล้อมอันเป็นธรรมชาติ บริเวณเชิงดอยสุเทพ ต.สุเทพ อ. ...

จุฬาลงกรณ์ ก่อตั้งเมื่อใด

26 มีนาคม 2460, ประเทศไทยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย / ก่อตั้งnull

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง