การนำ ศพ ขึ้น เผา บน เมรุ สะท้อน ความเชื่อใน ข้อ ใด

เมรุที่วัดเกี่ยวข้องอะไรกับเขาพระสุเมรุ?

อ้างอิง : silpa-mag.com

        ใครนับถือศาสนาพุทธคงจะมีน้อยมากที่ไม่เคยไปวัด ซึ่งวัดในประเทศไทยหลาย ๆ ที่ก็จะมีสิ่งที่เรียกว่า ‘เมรุ’ (อ่านว่า เมน) คำถามคือ เมรุ คืออะไร? คงไม่ใช่เมนที่แปลว่าการเป็นแฟนคลับศิลปินคนใดคนหนึ่งในวงนั้น ๆ หรอกนะ

คำตอบของคำว่า ‘เมรุ’ ก็คือสถานที่ที่ชาวพุทธใช้ในการทำพิธีเผาศพนั่นเอง ซึ่งก่อนจะนำศพไปเผาตามธรรมเนียมไทยต้องเดินวนรอบเมรุก่อน 3 รอบ จึงจะนำขึ้นเผา แล้วเมรุเผาศพที่เกี่ยวข้องอะไรกับเขาพระสุเมรุ แล้วเขาพระสุเมรุคืออะไร?

        เขาพระสุเมรุเป็นเขาที่ตั้งอยู่ศูนย์กลางของโลกและจักรวาล (ตามคติพุทธและพราหมณ์) โดยในหนังสือไตรภูมิพระร่วงบอกว่าเป็นเขาที่อยู่เหนือระดับน้ำทะเล 84000 โยชน์ มีภูเขา 3 ลูกรองรับ แถมยังมีทิวเขา 7 ลูกล้อมรอบเป็นชั้น ๆ อีกด้วย และยังมีสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกาภูมิ หรือสวรรค์ชั้นที่ 1 คติไตรภูมิ อยู่ใต้เขาพระสุเมรุ

‘เมรุเผาศพ’ กับ ‘เขาพระสุเมรุ’ คือคำเรียกเดียวกัน

        แค่เมรุเผาศพนั้นจำลองเขาพระสุเมรุมาเท่านั้นเอง การที่เราเห็นเมรุเผาศพมีรูปร่างเป็นปล่องไฟสูง ๆ นั่นหมายความว่าเมื่อทำพิธีเผาศพแล้วควันออกมาในที่สูง ชาวพุทธมีความเชื่อกันว่าวิญญาณของคนที่ตายจะไปสวรรค์

เพราะเขาพระสุเมรุเป็นทางขึ้นไปสวรรค์นั่นเอง การสร้างวัดจึงดัดแปลงมาจากเขาพระสุเมรุอีกทีหนึ่งเพราะภายในวัด หรือศาสนสถานในพุทธศาสนานั้นอย่างที่รู้กันดีว่า นอกจากจะเป็นศาสนสถานของพระพุทธศาสนาแล้ว ยังเต็มไปด้วยสิ่งเร้นลับเกี่ยวกับการเกิดการตาย ตามคติของพุทธศาสนาอีกด้วย

        ถึงแม้ว่าเมรุเผาศพที่วัดจะมีความเชื่อกันว่าการที่ปล่อยควันในที่สูงแล้ววิญญาณจะไปสวรรค์นั้นคงจะไม่ได้เป็นอย่างนั้นเสมอไป เพราะการที่จะได้ขึ้นสวรรค์จริงหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับกรรมที่คนนั้นก่อ ถ้าสร้างแต่ความดี ตายไปอาจจะได้ไปอยู่ในภพภูมิที่ดี ถ้าใครทำชั่วก็ต้องไปชดใช้กรรม

 ความเชื่อเรื่องสวรรค์นรกนั้นไม่แน่นอนไม่มีใครทราบได้ว่ามีจริงหรือไม่ แต่ผลกรรมหรือผลการกระทำนั้นมีจริง ๆ ไม่ช้าก็เร็ว การทำดีกับใคร ๆ ไว้ก็มีคนชื่นชม มีคนสรรเสริญ หากทำชั่วกับใครไว้ก็จะโดนเกลียดชัง หมั่นไส้ หรือไม่ผู้นั้นก็จะมาเอาคืนในภายภาคหน้า

ซึ่งจะอยู่ในรูปแบบไหนนั้นไม่มีใครรู้ได้ สิ่งเหล่านี้เป็นพื้นฐานในชีวิตทุกวันอยู่แล้ว หมั่นทำความดีไว้จะได้ไม่เป็นศัตรูกับใครทั้งชาตินี้และชาติหน้า

#เรื่องทั่วไป #เกร็ดความรู้รอบตัว #เทคนิคต่างๆ #สาระน่าสนใจ #เมรุวัดกับเขาพระสุเมรุ

ถึงแม้ว่า ‘งานพระเมรุมาศ’ ในพระราชพิธีบรมศพ จะเป็นการนำเอาปรัมปราคติในพระศาสนา ไม่ว่าจะพุทธ หรือจะพราหมณ์-ฮินดู ก็ดี เข้ามาเป็นแกนหลักในพระราชพิธี ดังจะเห็นได้จากการตั้งเขาพระสุเมรุ ซึ่งก็คือ ‘พระเมรุ’ อันเป็นศูนย์กลางจักรวาล ตามมติในพระศาสนา ขึ้นเพื่อให้เป็นที่สำหรับถวายพระเพลิงพระบรมศพนั้นก็ตาม แต่ประเพณีการสร้างพระเมรุมาศเพื่อถวายพระเพลิงพระมหากษัตริย์นั้น กลับไปมีในอินเดีย ที่เป็นแหล่งต้นกำเนิดของเทพนิยายเหล่านี้

ผู้เชี่ยวชาญในศิลปะ และวัฒนธรรมอินเดียเป็นที่สุดอย่าง รศ.ดร. เชษฐ์ ติงสัญชลี แห่งคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้กล่าวไว้ในข้อเขียนที่ชื่อ ‘เมรุในศิลปะอินเดีย’ ซึ่งตีพิมพ์อยู่ในหนังสือ ‘เสด็จสู่แดนสรวง : ศิลปะ ประเพณี และความเชื่อในงานพระบรมศพและพระเมรุมาศ’ เอาไว้ว่า

“…‘เมรุ” ในวัฒนธรรมอินเดีย มีความเกี่ยวข้องกับ ‘ภูเขา’ ‘สวรรค์’ อันเป็นที่ประทับของเทพเจ้า ‘เทวาลัย’ แต่กลับไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับอาคารเผาศพ (crematorium) หรือที่ในวัฒนธรรมไทยปัจจุบันเรียกว่า ‘เมรุเผาศพ’ เลย เนื่องจากการเผาศพในวัฒนธรรมอินเดีย ย่อมเป็นการเผาศพกลางแจ้ง ไม่มีการเผาศพหลังคาคลุมแต่อย่างใด…

…แม้ว่าปัจจุบันอาจมีการสร้างที่เผาศพแบบที่มีหลังคาคลุมบ้างในประเทศอินเดีย แต่อาคารคลุมเหล่านั้นก็ไม่ได้เรียกว่า ‘เมรุ’ แต่อย่างใด หากสร้างขึ้นเพื่อป้องกันฝนในขณะที่เผาศพในฤดูฝนเท่านั้น…”

ดังนั้นงานพระเมรุ จึงไม่เคยมีที่อินเดีย ถึงแม้ว่าจะนำเอาเสื้อผ้าหน้าผมของความเป็นพุทธ หรือพราหมณ์-ฮินดู เข้ามาปรุงแต่งเสียจนถ้วนทั่ว โดยเนื้อแท้แล้ว งานพระเมรุยังคงมีร่องรอยของคติความเชื่อที่เป็นพื้นเมืองของภูมิภาคอุษาคเนย์

ในจักรวรรดิของพวกขอม (ซึ่งก็คือ ‘เขมร’ หรือ ‘แขมร์’ ไม่ใช่ใครอื่น อย่างที่นักลัทธิคลั่งชาติพยายามบิดพลิ้ว) ชวา รวมไปถึงชาวจามในสมัยโบราณ มีการสร้างสิ่งปลูกสร้างขนาดใหญ่เพื่อเป็น ‘พระเมรุ’ ในความหมายของการเป็นศูนย์กลางจักรวาล เพื่อใช้ในพระราชพิธีที่เกี่ยวเนื่องกับงานพระบรมศพเหมือนกัน เพียงแต่ไม่ได้มีการถวายพระเพลิงบนยอดของพระเมรุมาศเหมือนอย่างในปัจจุบันก็เท่านั้น

ในกรณีของจักรวรรดิเมืองพระนคร (Angkor) ที่ตั้งของนครวัด และสืบทอดมาเป็นเมืองนครธมในภายหลัง กษัตริย์ของพวกขอมโบราณจะสร้างเทวาลัยขึ้นเพื่อประดิษฐานรูปเคารพ ที่พระองค์จะกลับเข้าไปรวมกับเทพเจ้าพระองค์นั้น เมื่อสวรรคตไปแล้ว โดยมักจะตั้งชื่อรูปเคารพนั้นโดยการผสมพระนามของพระมหากษัตริย์เข้ากับพระนามของเทพเจ้านั่นเอง

ตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุดตัวอย่างหนึ่งก็คือ ปราสาทพนมบาแค็ง ซึ่งตั้งอยู่ตรงจุดศูนย์กลางของเมืองพระนคร ปราสาทหลังนี้สร้างขึ้นโดยพระเจ้ายโศวรมันที่ 1 (ครองราชย์ระหว่าง พ.ศ.​ 1432-1443) ผู้ทรงสร้างเมืองพระนคร โดยตัวปราสาทนอกจากจะสร้างอยู่บนยอดเขาที่กลางเมืองแล้ว ยังมีฐานพีระมิดอันเป็นสัญลักษณ์ของภูเขา (พีระมิด ในที่นี้คือ step pyramid ที่มีฐานซ้อนกันเป็นชั้นๆ ไม่ใช่ พีระมิดอย่างอียิปต์) มีนัยสะท้อนถึงเขาพระสุเมรุ ศูนย์กลางของจักรวาลตามคติความเชื่อในปรัมปราคติจากชมพูทวีป จึงอาจกล่าวได้ว่า เมืองพระนครเป็นศูนย์กลางแห่งจักรวาล ที่มีปราสาทพนมบาแค็งเป็นเขาพระสุเมรุจำลอง

ประเพณีดังกล่าวยังถูกผลิตซ้ำต่อมาเรื่อยๆ ด้วยการสร้างปราสาทขนาดใหญ่บนฐานพีระมิดโดยพระมหากษัตริย์แห่งเมืองพระนคร อีกหลายปราสาท ซึ่งก็รวมถึงปราสาทที่เป็นที่รู้จักกันดีอย่าง นครวัด ด้วย

คติดังกล่าวยังซ้อนทับอยู่กับเขาไกรลาศ ที่ประทับของพระอิศวร (หรือที่เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า พระศิวะ) ซึ่งจำลองแทนด้วย ‘ศิวลึงค์’ อันเป็นรูปเคารพประธานของปราสาทแห่งนี้

(ในศิลาจารึกของพวกขอม มีการเรียกชื่อ ‘เขาไกรลาศ’ ว่า ‘มเหนทรบรรพต’ ซึ่งแปลตรงตัวว่า ‘ผาหลวง’ หรือ ‘เขาหลวง’ ซึ่งก็ย่อมหมายถึง เขาลูกที่ใหญ่ที่สุดในจักรวาลคือ ‘เขาพระสุเมรุ’ นั่นเอง แต่ธรรมเนียมการยกย่องเขาไกรลาศ อย่างทับซ้อนกับเขาพระสุเมรุอย่างนี้ไม่ได้เพิ่งจะเกิดขึ้นจักรวรรดิของพวกขอมเท่านั้น แต่มีมาก่อนในปกรณัมทางตอนใต้ของอินเดีย ที่ผูกพันอยู่กับพวกขอมโบราณอย่างใกล้ชิด)

และก็เป็นรูปศิวลึงค์นี้เองที่ทำหน้าที่หลอมรวมกษัตริย์ผู้สร้าง คือพระเจ้ายโศวรมันที่ 1 เข้ากับพระอิศวร หลังจากที่พระองค์เสด็จสวรรคตไปแล้ว พระนามของศิวลึงค์องค์นี้คือ ‘ยโศธเรศวร’ ตามพระนามของพระมหากษัตริย์ผู้สถาปนาศิวลึงค์ กับพระอิศวร

ศิวลึงค์องค์นี้ยังถูกสถาปนาเป็น ‘เทวราชา’ หรือ ‘กมรเตง ชคต ราชะ’ ตามศัพท์เขมรโบราณ ซึ่งหมายถึง ‘ราชาของหมู่เทพเจ้าทั้งหลาย’ ซึ่งหมายความว่า เมื่อพระเจ้ายโศวรมันที่ 1 สวรรคตแล้ว จะไปรวมเข้ากับพระอิศวร ในฐานะที่เป็นราชาของหมู่เทพเจ้าอีกด้วย

พูดง่ายๆ ก็คือ ปราสาทเหล่านี้คือสถานที่ ที่ใช้สำหรับให้พระมหากษัตริย์ทรงกลับเข้าไปรวมเข้ากับเทพเจ้าที่พระองค์เคารพศรัทธา หลังจากที่เสด็จสวรรคตไปแล้วนั่นเอง

และการหลอมรวมตัวเองเข้ากับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ หรือบรรดาเทพเจ้าผู้ยิ่งใหญ่อย่างนี้ ก็ไม่ใช่สิ่งที่มีมาก่อนในวัฒนธรรมแม่แบบของพราหมณ์ในอินเดีย แต่เป็นคติพื้นเมืองอุษาคเนย์ ที่พบได้ทั้งในอารยธรรมขอม จาม ชวา และแม้กระทั่งในไทย ตัวอย่างที่ชัดๆ ก็อยู่ในงานพระเมรุมาศนี่แหละครับ

ถูกต้องแล้วนะครับ ในอินเดียไม่มีธรรมเนียมความเชื่อในทำนองที่ว่า กษัตริย์จะกลับไปรวมเข้ากับเทพเจ้า เมื่อพระองค์สวรรคต ก็อาจจะเสด็จไปเกิดเป็นเทวดาอีกองค์หนึ่งบนสรวงสวรรค์ แต่ไม่ใช่ไปรวมเข้ากับพระอิศวร หรือพระนารายณ์แน่

ในตำราของพวกพราหมณ์ มนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นชนในวรรณะใดก็ตาม จะกลับเข้าไปรวมเป็นเลือดเนื้อเชื้อไขเดียวกับเทพเจ้าได้ก็ต่อเมื่อบรรลุ ‘โมกษะ’ (คลับคล้าย แต่ก็ต่างกันในรายละเอียดกับ นิพพาน ในศาสนาพุทธ) จึงจะได้กลับไปรวมเข้ากับ ‘ปรมาตมัน’ หรือ ‘พรหมัน’ ซึ่งก็คือ ‘พรหม’ นั่นเอง

การกลับไปรวมเข้ากับเทพเจ้าหรือความศักดิ์สิทธิ์ใดๆ ของกษัตริย์ในอุษาคเนย์จึงเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากการนำเอาปกรณัมปรัมปราของพราหมณ์ หรือพุทธ มาสวมทับเข้ากับธรรมเนียมความเชื่อพื้นเมืองแต่เดิมที่ว่า กษัตริย์จะกลับไปเข้ากับพลังความศักดิ์สิทธิ์ของบรรพบรุษ และจะคอยปกปักรักษาผู้คนที่ยังมีชีวิตอยู่

ความศักดิ์สิทธิ์ของบรรพบุรุษแต่ดั้งเดิม จึงถูกสวมทับภายใต้หน้ากากของความเป็นเทพเจ้าต่างๆ จากปรัมปราคติของอินเดียนั่นเอง

หลักฐานสำคัญอยู่ในหนังสือนครกฤตาคม ตำนานเก่าแก่ที่บันทึกเอาไว้ตั้งแต่เมื่อก่อน พ.ศ. 2000 ของชวา ทางฟากตะวันออกของเกาะใหญ่แห่งนี้ กล่าวถึงพิธีสารท ซึ่งก็คือพิธีไหว้บรรพบุรุษเอาไว้ว่า เป็นพิธีที่จัดขึ้นเพื่อระลึกถึงกษัตริย์ผู้ทรงเสด็จสวรรคต แล้วรวมเข้ากับเทพเจ้าผ่านรูปเคารพภายในวัด (ชวาเรียก วัด หรือเทวาลัย และสิ่งปลูกสร้างต่างๆ ทำนองนี้ว่า ‘จันทิ’ ซึ่งก็มีความหมายเกี่ยวข้องกับความตายอย่างชัดเจน) หลังจากที่สิ้นพระชนม์ไปแล้ว 12 ปี สำหรับให้เป็นหลักประกันว่าลูกหลาน (ซึ่งหมายถึงเชื้อพระวงศ์ทั้งหลาย รวมถึงกษัตริย์ผู้ครองราชย์ต่อมาด้วย) จะสมบูรณ์พูนสุข อย่างที่ไม่เคยปรากฏธรรมเนียมอย่างนี้ในอินเดีย

งานพระเมรุจึงเป็นร่องรอยของความสืบเนื่องของความเชื่อ และธรรมเนียมดั้งเดิมของอุษาคเนย์ ที่พระมหากษัตริย์จะกลับไปรวมเข้ากับความศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ ที่เปลี่ยนรูปไปจากบรรพบุรุษตามความหมายแต่ดั้งเดิม มาเป็นเทพเจ้า หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ใดๆ ไปตามยุคสมัย ที่จะปกปักรักษาประเทศไว้ให้เจริญรุ่งเรือง

Illustration by Kodchakorn Thammachart

You might also like

Share this article


กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง