ด้านการปกครองของทวีปยุโรปในอดีต

ลักษณะทางสังคมและวัฒนธรรมเจริญก้าวหน้าโดยเฉพาะทางความรู้ด้านต่าง ๆ มีการรื้อฟื้นวิทยาการสาขาต่าง ๆ ของกรีกและโรมัน

ทำให้เกิดการปฏิวัติวิทยาศาสตร์ การประดิษฐ์แท่นพิมพ์ขึ้นใช้ได้ผลเป็นครั้งแรกในยุโรป เมื่อ ค.ศ. 1454

ทำให้มีการอ่านหนังสือกันอย่างกว้างขวาง

เศรษฐกิจของยุโรปขึ้นอยู่กับการเกษตรตามบริเวณลุ่มแม่น้ำ

ซึ่งเป็นเศรษฐกิจเกษตรกรรมแบบพึ่งตัวเอง

ซึ่งเป็นเศรษฐกิจเกษตรกรรมแบบพึ่งตัวเอง

เศรษฐกิจในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 5–11

เป็นระบบเศรษฐกิจแบบแมนเนอร์ (Nanorial System)

ซึ่งเป็นเศรษฐกิจเกษตรกรรมแบบพึ่งตัวเอง

ระบบเศรษฐกิจเป็นแบบทุนนิยม

ที่ตั้งและสภาพทางภูมิศาสตร์ที่มีผล ต่อพัฒนาการของประเทศ

ทวีปยุโรปตั้งอยู่ในซีกโลกเหนือ ประกอบด้วยที่ราบลุ่ม ที่ราบสูง เทือกเขา และมีคาบสมุทรจำนวนมาก จึงได้ชื่อว่าเป็นดินแดนแห่งคาบสมุทร

หากจะย้อนกลับไปถึงความเจริญรุ่งเรืองตั้งแต่ยุคอดีตทวีปยุโรปจัดเป็นทวีปที่มีความเจริญรุ่งเรืองมากที่สุดเลยก็ว่าได้ สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นมาจากประวัติศาสตร์ที่ถูกเขียนสืบทอดต่อกันมาเป็นลายลักษณ์อักษรที่มีความชัดเจนไม่ใช่การปรุงแต่งใดๆ ทั้งสิ้น ด้วยเหตุนี้ทวีปยุโรปในยุคก่อนหน้าจึงมักมีพัฒนาการในด้านต่างๆ ไปได้รวดเร็วมากกว่าคนในทวีปอื่นๆ เช่นเดียวกับเรื่องของการปกครองที่มีความน่าสนใจเกี่ยวกับพัฒนาการของทวีปยุโรปอยู่ไม่น้อยเลยทีเดียว เพราะพัฒนาการการปกครองของยุโรปนั้นส่งผลถึงระบอบการปกครองในปัจจุบันนี้ด้วยเช่นกัน

ทำความเข้าใจกับประวัติการปกครองในภาคพื้นยุโรป

ตั้งแต่อดีตนั้นดินแดนส่วนใหญ่ในทวีปยุโรปจะมีกษัตริย์ที่คอยปกครองดินแดนบริเวณดังกล่าวอยู่ โดยกษัตริย์แต่ละพื้นที่จะถือเป็นประมุขสูงสุด สมัยโรมันจะเรียกกษัตริย์ว่า ซีซาร์หรือจักรพรรดิ เมื่อถึงเวลาที่อาณาจักรโรมันล่มสลายก็ได้เข้าสู่ช่วงเวลาที่เรียกว่า ยุโรปยุคกลาง ก่อเกิดขึ้นมาเป็นการปกครองระบอบฟิวดัล ระบอบการปกครองแบบฟิวดัล หรือ ระบบศักดินาสวามิภักดิ์ ถือว่าเป็นระบอบการปกครองยุโรปในสมัยกลางที่มีการกระจายอำนาจทั่วไปสู่ท้องถิ่น มีอิทธิพลในด้านการดำรงชีวิต ความสัมพันธ์ของผู้คนในสังคมของทวีปยุโรปโดยเฉพาะอย่างยิ่งทางฝั่งตะวันตกไม่ว่าจะเป็นในด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม พัฒนาการการปกครองของยุโรปยุคกลางตอนปลายเริ่มต้นมีการปกครองระบบกษัตริย์ที่อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ เป็นระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขแต่ทรงไม่มีบทบาททางการเมืองพร้อมกับทรงอยู่ในขอบเขตของกฎหมายและรัฐธรรมนูญที่ได้มีการบัญญัติขึ้นมาไม่ว่าจะเป็นทั้งแบบมีลายลักษณ์อักษรหรือไม่มีลายลักษณ์อักษรก็ตาม อย่างไรก็ตามในทวีปยุโรปหลายประเทศก็ยังคงมีรูปแบบการปกครองเฉพาะตัวต่างกันออกไป ซึ่งจะว่าไปแล้วมันก็มีอยู่ด้วยกันหลากหลายมากๆ โดยในปัจจุบันนี้หากแบ่งการปกครองของภาคพื้นยุโรปออกก็จะมีการแบ่งได้เป็น 2 ประเภทหลักๆ ดังนี้

ชาวกรีกได้สร้างอาณาจักรของตนขี้น ประกอบด้วย นครรัฐเล็กๆ หลายแห่งในคาบสมุทรบอลข่าน อาณาจักรของชาวกรีกเจริญรุ่งเรืองมาก ระหว่าง 200 ปีก่อนพุทธกาลจนถึงต้นพุทธกาล ซึ่งเป็นช่วงระยะเวลาที่นักเดินเรือและพ่อค้าชาวกรีกออกไปทำการค้า และสร้างอาณานิคมขึ้นอย่างกว้างขวางตามบริเวณชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนของทวีปยุโรป เอเซีย และแอฟริกา

ชาวกรีกได้พัฒนาการปกครองแบบประชาธิปไตยโดยราษฏรมีสิทธิลงคะแนนเลือกตั้งเจ้าหน้าที่ฝ่ายกครองหรือสมาชิกสภาบริหาร โดยเฉพาะการปกครองของนครรัฐเอเธนส์ ซึ่งเป็นนครรัฐที่มีชื่อเสียงมากของกรีก ถือกันว่าเป็นแม่แบบของการปกครองระบอบประชาธิปไตยที่ชาวยุโรปได้รับการถ่ายทอดมาจากชาวกรีก

ชาวกรีกได้สร้างศิลปกรรม และสถาปัตยกรรม ที่มีความงดงาม นอกจากนี้ยังมีวรรณคดีที่เกี่ยวข้องกับศาสนา ซึ่งเคารพบูชาเทพเจ้าต่างๆ มีพิธีกรรมบูชาเทพเจ้า โดยการแสดงละคร ซึ่งเป็นแบบฉบับการละครของชาวยุโรปในสมัยต่อมา รวมทั้งการแข่งขันกีฬาระหว่างนครรัฐ เพื่อบูชาเทพเจ้าที่ภูเขาโอลิมปัส ก็ได้กลายมาเป็นธรรมเนียมการแข่งขันกีฬาระหว่างประเทศที่เรียกว่า กีฬาโอลิมปิคในปัจจุบัน

ชาวกรีกเป็นนักคิด รักความมีเหตุผล จึงทำให้เกิดแนวความคิดทางปรัชญาแก่ชาวยุโรป นักปรัชญากรีกที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันดี ได้แก่ เพลโต และอริสโตเติล ซึ่งถือเป็นผู้วางรากฐานปรัชยาให้แก่ชาวยุโรป

ชาวโรมันได้สร้างอาณาจักรของตนขึ้นในคาบสมุทรอิตาลี และมีอำนาจขึ้นแทนที่กรีกในตอนต้นพุทธศตวรรษที่ 4 จนถึงตอนต้นพุทธศตวรรษที่ 11 จึงเสื่อมอำนาจลง ในขณะที่โรมันมีอำนาจอย่างเต็มที่ได้แผ่ขยายดินแดนออกไปอย่างกว้างขวางทั้งในยุโรป และตอนเหนือของแอฟริกา ปัจจุบันยังคงมีซากโบราณสถานปรากฏอยู่ในประเทศต่างๆ ที่แสดงถึงการแผ่อำนาจของโรมันโบราณ เช่น กำแพงเมือง ป้อมปราการ ถนน เป็นต้น

ในวันนี้ StartDee เลยอยากชวนนั่งไทม์แมชชีน ไปดูพัฒนาการทางการเมืองของทวีปยุโรปกันบ้าง โดยเราจะขอเน้นกันที่ช่วงสมัยใหม่และสมัยปัจจุบันเป็นหลัก

แต่ถ้าเพื่อน ๆ อยากลงลึกไปที่พัฒนาการด้านการเมืองของยุโรปตั้งแต่สมัยโบราณและสมัยกลาง ก็ทำได้เช่นกัน แต่ต้องดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน StartDee ก่อนนะ จากนั้นก็คลิกเข้าไปในวิชาประวัติศาสตร์ แล้วเลือกประวัติศาสตร์โลก ตามด้วยทวีปยุโรปได้เลย

พัฒนาการทางการเมืองของยุโรปในสมัยใหม่

เมื่อผ่านสมัยกลางที่มีระบบฟิวดัล (Feudal system) สู่สมัยใหม่ การเมืองการปกครองในยุโรปเริ่มมีลักษณะเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น ประชาชนเริ่มรู้จักสิทธิเสรีภาพของตนเอง คู่ขนานกันไปกับระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่กษัตริย์มีอำนาจ ไปเรียนรู้พัฒนาการทางประชาธิปไตยและสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในยุโรปกันเลย

 

พัฒนาการของประชาธิปไตยในยุโรป :

ในช่วงที่มีระบบฟิวดัลนั้น ได้มีการออกมหากฎบัตร (Magna Carta) ใน ค.ศ. 1215 อันเกิดจากเหล่าขุนนางชาวอังกฤษ ได้กดดันพระเจ้าจอห์น (John, King of England) ให้ทรงลงนามในมหากฎบัตรนี้ เนื่องมาจากพระองค์ดูแลปกครองบ้านเมืองอย่างไม่เป็นธรรมนัก โดยทรงแต่งตั้งพระญาติเข้ามากุมอำนาจในตำแหน่งสำคัญ ขึ้นภาษี และยึดที่ดินจากบาทหลวงที่ขัดขืน

มหากฎบัตร (Magna Carta) ขอบคุณรูปภาพจาก The 101.World

แม้ว่ามหากฎบัตรจะช่วยให้พระเจ้าจอห์นยอมรับอำนาจของเหล่าขุนนางมากขึ้น แต่ก็แค่ระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น เพราะมีขุนนางหลายคนที่ไม่ต้องการการเปลี่ยนแปลงจึงไม่ยอมปฏิบัติตาม อีกทั้งพระเจ้าจอห์นยังได้ยื่นอุทธรณ์ต่อองค์พระสันตะปาปา จนเป็นเหตุทำให้เกิดสงครามกลางเมือง แต่ก็ถือว่ามหากฎบัตร (Magna Carta) เป็นรากฐานสำคัญของประชาธิปไตยในสมัยต่อมา

นอกจากนั้น การมีมหากฎบัตร (Magna Carta) ยังทำให้เกิดการก่อตั้งรัฐสภาอังกฤษขึ้นมาเป็นครั้งแรก โดยแบ่งออกเป็นสภาขุนนาง และสภาสามัญซึ่งมาจากตัวแทนประชาชน การมีรัฐสภานี้ ถือเป็นการท้าทายอำนาจของกษัตริย์เป็นอย่างมาก จนนำไปสู่เหตุการณ์ “การปฏิวัติอันรุ่งโรจน์ ค.ศ. 1688” ที่รัฐสภามีชัยชนะเหนือกษัตริย์อังกฤษ ที่แม้ว่ากษัตริย์จะไม่ได้ถูกล้มล้าง แต่สถาบันกษัตริย์ก็จำต้องยอมรับอำนาจของรัฐสภาอังกฤษอย่างสมบูรณ์ โดยมีการออกพระราชบัญญัติว่าด้วยสิทธิพื้นฐานของพลเมือง ค.ศ. 1689 (Bill of Rights 1689) สำหรับเป็นตัวแทนของสิทธิเสรีภาพของพลเมือง

การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญอีกหนึ่งประการ คือ การเชิญเจ้าชายวิลเลียม สมาชิกราชวงศ์ออเรนจ์แห่งเนเธอร์แลนด์ (The House of Orange-Nassau) เสด็จขึ้นครองราชบัลลังก์อังกฤษ เป็นพระเจ้าวิลเลียมที่ 3 ร่วมกับสมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 2 แห่งอังกฤษ ถือเป็นการเริ่มต้นประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของราชวงศ์อังกฤษภายใต้รัฐสภา ที่มีลักษณะใกล้เคียงกับรูปแบบการปกครองระบอบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ (Constitutional Monarchy) 

 

พัฒนาการของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในยุโรป :

แม้ว่าระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในประเทศอังกฤษนั้น ดูเหมือนจะอ่อนกำลังลง แต่ในประเทศอื่น ๆ ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์นั้นเฟื่องฟูมาก โดยเฉพาะในรัชสมัยของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 (Louis XIV) แห่งฝรั่งเศส และพระเจ้าเฟรเดอริกมหาราช แห่งปรัสเซีย (Frederick II Frederick the Great of Prussia) ซึ่งก็พัฒนามาเป็นประเทศเยอรมนีในปัจจุบัน

นอกจากนี้ ความรุ่งเรืองของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ยังแพร่กระจายสู่จักรวรรดิรัสเซีย โดยเฉพาะในรัชสมัยของพระเจ้าปีเตอร์มหาราช (Peter The Great) ซึ่งครองราชย์ในช่วงค.ศ. 1682-1725 และพระนางแคทเธอรีนมหาราชินี (Catherine The Great) ซึ่งครองราชย์ในช่วงค.ศ. 1762-1796 โดยพระองค์ถือเป็นผู้ปกครองหญิงที่มีอำนาจสุงสุดในประวัติศาสตร์รัสเซีย

 

พัฒนาการทางการเมืองของยุโรป
ที่ส่งผลต่อมาสู่ปัจจุบัน

พัฒนาการทางการเมืองของยุโรปนั้น ได้รับอิทธิพลจากการปฏิวัติฝรั่งเศส  ค.ศ. 1789 ซึ่งเกิดจากการที่ประชาชนไม่พอใจที่สถาบันกษัตริย์ปกครองดูแลบ้านเมืองได้อย่างไม่มีประสิทธิภาพ เรียกว่าเป็นยุคตกต่ำในสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 (Louis XVI) เลยก็ว่าได้

การปฏิวัติฝรั่งเศส ค.ศ. 1789 ทำให้จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 มีอำนาจขึ้นมา ซึ่งนำพาฝรั่งเศสให้เป็นมหาอำนาจในเวลาต่อมา แต่หลังจากหมดยุคของจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 กลับเกิดการปฏิวัติฝรั่งเศสขึ้นอีกครั้งใน ค.ศ. 1848 และในคราวนี้เกิดการล้มล้างระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ลงไปอย่างสมบูรณ์ ฝรั่งเศสจึงเปลี่ยนการปกครอง เป็นระบอบประชาธิปไตยในรูปแบบ “สาธารณรัฐ” จนถึงปัจจุบัน

หลังจากนั้น ทั่วโลกต้องประสบกับภาวะสงครามโลกครั้งที่ 1 (World War I) ระหว่าง ค.ศ. 1914-1918 ส่งผลให้เกิดการล่มสลายของราชวงศ์หลายแห่งในยุโรป และหลายประเทศปรับเปลี่ยนการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตย

ในขณะเดียวกันแนวคิดคอมมิวนิสต์ของคาร์ล มากซ์ (Karl Marx) ก็แผ่ขยายอิทธิพลไปหลายประเทศ ที่สำคัญ คือ นำไปสู่การปฏิวัติในจักรวรรดิรัสเซียเมื่อปีค.ศ. 1917 ก่อให้เกิดการสถาปนาสหภาพโซเวียต (Soviet Union) ที่ปกครองในระบอบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์เป็นครั้งแรกของโลก ตั้งแต่ค.ศ. 1917-1991 

คาร์ล มากซ์ ขอบคุณรูปภาพจาก Britannica

ในช่วงเวลาที่ระบอบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์เฟื่องฟู ยังมีอีกระบอบหนึ่งที่รุ่งเรืองไม่แพ้กัน นั่นคือระบอบเผด็จการฟาสซิสต์ (Fascist) ที่มีแนวคิดสร้างชาติให้ยิ่งใหญ่ และยึดถือตัวผู้นำเป็นศูนย์กลางในการปกครองประเทศ โดยผู้นำที่เพื่อน ๆ น่าจะรู้จักกันดีคือ เบนิโต มุสโสลินี (ฺBenito Mussolini) แห่งอิตาลี และอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ (Adolf Hitler) แห่งเยอรมนี ที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้ที่นำประเทศในยุโรปเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่ 2 (World War II) ที่กินระยะเวลาตั้งแต่ค.ศ. 1939-1945 อย่างไรก็ตาม เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง ระบอบการปกครองแบบฟาสซิสต์ก็ล่มสลายตามไปด้วย

หลังจากสงครามจบลงไป ทวีปยุโรปก็เข้าสู่สมัยปัจจุบัน เกิดการเดินหน้าเข้าสู่การรวมประเทศผ่าน “สหภาพยุโรป” (EU) ซึ่งถือเป็นประวัติศาสตร์สำคัญหน้าหนึ่งเลยทีเดียว

 

Did you know ? รู้จักกับประโยคดัง "ก็กินเค้กแทนสิ !"

ในบทความนี้ เราพูดถึงการปฏิวัติฝรั่งเศสค.ศ. 1789 ที่เกิดจากการที่ประชาชนไม่พอใจการทำงานของพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 กันไปแล้ว StartDee จึงอยากให้เพื่อน ๆ ทำความรู้จักกับสมาชิกราชวงศ์ที่สำคัญอีกคนหนึ่งซึ่งก็คือ มารี อ็องตัวแน็ต ราชินีแห่งฝรั่งเศส ผู้เป็นภรรยาของพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 นั่นเอง (ดูรีวิวภาพยนตร์เรื่อง Marie Antoinette ได้ที่นี่)

จากซ้าย เจ้าหญิงมารี-เตแรซ, พระนางมารี อ็องตัวแน็ต, เจ้าชายหลุยส์-ชาร์ล, เจ้าชายหลุยส์-โฌแซ็ฟ (ขอบคุณรูปภาพจาก biography.com)

มารี อ็องตัวแน็ตถูกกล่าวหาว่าเป็นเจ้าของวลีเด็ด "Qu’ils mangent de la brioche" น่าจะมาจากเจ้าหญิงผู้ยิ่งใหญ่คนหนึ่ง (The Great Princess) ทำให้ประชาชนฝรั่งเศสที่ได้อ่านเอกสารฉบับนี้ ลือกันไปว่าเจ้าหญิงผู้ยิ่งใหญ่ ก็คือมารี อ็องตัวแน็ตนี่แหละ แต่แท้จริงแล้วในขณะที่ผู้เขียนเขียนหนังสือเล่มนี้ มารี อ็องตัวเน็ตเพิ่งจะอายุ 11 ปีเท่านั้น ยังไม่ได้แต่งงานเลยด้วยซ้ำ ดังนั้น จึงไม่สามารถยืนยันได้ว่ามารี อ็องตัวเน็ตเป็นผู้พูดประโยคดังกล่าวได้นั่นเอง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง