ธนาคารพาณิชย์แห่งแรกของประเทศไทย

ไลฟ์สไตล์

25 พ.ย. 2563 เวลา 16:50 น.16.2k

กว่าจะเป็น "ธนาคารไทยพาณิชย์" ที่ปีนี้ฟันกำไรสุทธิ (9 เดือนแรก) ไปถึง 22,252 ล้านบาท ชวนย้อนดูต้นกำเนิดธนาคารแห่งแรกของไทยกันหน่อยว่ามีที่มาอย่างไร จากวันนั้นถึงวันนี้ "SCB" มีอายุร่วม 114 ปีแล้ว

ไม่นานมานี้ "ไทยพาณิชย์" ได้ประกาศผลกำไรสุทธิไตรมาส 3 ปี 2563 พบว่ามีกำไรสุทธิได้จำนวน 4,641 ล้านบาท และกำไรสุทธิเก้าเดือนแรกของปี 2563 จำนวน 22,252 ล้านบาท แม้กำไรสุทธิเก้าเดือนแรกจะลดลง 36% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ก็ยังคงเป็นธนาคารที่คนไทยไว้วางใจและเป็นธนาคารแห่งแรกของไทย มาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ ชวนย้อนรอยไปดูต้นกำเนิด ธนาคารแห่งแรกของไทย แห่งนี้กันหน่อยว่ามีประวัติความเป็นมาอย่างไร 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :  รู้จัก ‘สำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์’ เป็นมาอย่างไร มีทรัพย์สินใดบ้าง

  • ทำไมไทยคิดก่อตั้ง "ธนาคาร" ขึ้นมาในครั้งแรก?

คำตอบเรื่องนี้ ต้องย้อนกลับไปในสมัยรัชกาลที่ 4 ในยุคนั้นประเทศไทยเริ่มเปิดประตูการค้ากับประเทศตะวันตก ทำให้มีธนาคารของชาวตะวันตกเข้ามาเปิดบริการลูกค้าของตนในกรุงเทพฯ เช่น ธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้  ธนาคารชาร์เตอร์ด  ธนาคารอินโดจีน  นอกจากนี้ในปี พ.ศ. 2431 ยังมีชาวอังกฤษคบคิดกันจะตั้ง “แบงก์หลวงกรุงสยาม” กำหนดทุนจดทะเบียน 1 ล้านปอนด์สเตอริง โดยให้คนไทยซื้อหุ้นได้ไม่เกิน 50% ทำท่าว่าจะยึดการคลังของประเทศ

ด้วยเหตุนี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าจ้าอยู่หัว และพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย เสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ซึ่งตามเสด็จประพาสยุโรป ดูงานการธนาคารมาเป็นเวลา 9 เดือน จึงทรงดำริตรงกันที่จะตั้งสถาบันการเงินของไทยขึ้นบ้าง

ในที่สุดสถาบันการเงินแห่งแรกของคนไทยก็เปิดขึ้นมาในวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2447 ในชื่อ “บุคคลัภย์” (Book Club) มีเงินทุนเพียง 30,000 บาท ใช้ตึกแถวของพระคลังข้างที่ ที่บ้านหม้อเป็นสำนักงานแห่งแรก โดยเบื้องหน้าเปิดเป็นห้องสมุด เบื้องหลังดำเนินธุรกิจธนาคารพาณิชย์ รับฝากเงินโดยให้ดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี 

  • จาก "บุคคลัภย์" สู่ "แบงก์สยามกัมมาจล" 

ต่อมาเมื่อ บุคคลัภย์ ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี จึงมีการเปิดตัวเป็นธนาคารอย่างเต็มตัว โดยกราบบังคมทูลขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตเป็นพิเศษ จัดตั้งเป็น “บริษัท แบงก์สยามกัมมาจล ทุนจำกัด” โปรดเกล้าฯ ให้ใช้ตราอาร์มแผ่นดิน มีข้อความว่า “ตั้งโดยพระบรมราชานุญาต” ติดหน้าธนาคารเป็นแห่งแรก 

ธนาคารแห่งนี้จึงได้กำเนิดขึ้นจากพระบรมราชานุญาตของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้ดำเนินการเป็นธุรกิจธนาคารพาณิชย์แห่งแรกของประเทศไทยอย่างเป็นทางการ ในวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2449 เป็นต้นมา และได้ยกย่องพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย เป็น “พระบิดาแห่งการธนาคารไทย” (ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 6 มีการเปลี่ยนตราอาร์มเป็นตราครุฑ) จากวันนั้นจนถึงวันนี้ "SCB" ก็มีอายุร่วม 114 ปีแล้ว

  • "สยามกัมมาจล" จากบันทึกชาวเดนมาร์ก

จากความเชื่อของนักประวัติศาสตร์ชาวเดนมาร์ก มีบันทึกไว้ว่าการก่อตั้ง "แบงค์สยามกัมมาจล" ไม่ได้ราบรื่นนัก เนื่องจากพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย ได้ก่อตั้งบุคคลัภย์ในฐานะห้องสมุด แต่มีบริการรับฝากและยืมเงินเหมือนธนาคาร

ทำให้ถูกกล่าวหาว่าใช้อำนาจในฐานะเสนาบดีกระทรวงการคลัง ย้ายเงินของสยามจากธนาคารของอังกฤษ มายังบุคคลัภย์ซึ่งเป็นธนาคารแฝง ทำให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย จำใจบังคมทูลลาออก

  • ที่ตั้ง "แบงก์สยามกัมมาจล" และสถาปัตยกรรม

ที่ตั้งเดิมของ บุคคลัภย์ คือที่ตำบลบ้านหม้อ อำเภอพระนคร จังหวัดพระนคร ได้ใช้เป็นที่ทำการชั่วคราวของ แบงก์สยามกัมมาจล เมื่อกิจการขยายตัว ทำให้ต้องมีการขยายออฟฟิศ จึงย้ายที่ตั้งของธนาคารไปอยู่ที่ "ตลาดน้อย" เพราะมีทำเลดี เนื่องจากติดแม่น้ำเจ้าพระยา อยู่ใกล้แหล่งค้าขายใหญ่ๆ อย่างเยาวราชและสำเพ็ง อีกทั้งยังมีคนไทยและจีนอาศัยอยู่บริเวณนั้นเป็นจำนวนมาก

โดยอาคารหลังใหม่นี้ เป็นอาคารสถาปัตยกรรมแบบตะวันตก ออกแบบโดย Anibale Rigotti และ Mario Tamagno ชาวอิตาเลียน โดยใช้ทุนสร้างราว 300,000 บาท จนเสร็จสมบูรณ์และย้ายมาในปี พ.ศ. 2451

  • จาก "สยามกัมมาจล" สู่ "ไทยพาณิชย์"

เมื่อวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2482 "บริษัท แบงก์สยามกัมมาจล ทุนจำกัด" (The Siam Commercial Bank, Limited) ได้เปลี่ยนชื่อเป็น "ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด" ( The Thai Commercial Bank, Limited ) ตามการเปลี่ยนแปลงชื่อประเทศจาก สยาม เป็น ไทย และยกเลิกคำว่า กัมมาจล (แปลว่าการกระทำไม่เคลื่อนไหว) ซึ่งไม่ตรงกับลักษณะของธนาคารที่มีการหมุนเวียนตลอดเวลา และภายหลัง ปีพ.ศ. 2489 ได้เปลี่ยนชื่อภาษาอังกฤษกลับมาเป็น The Siam Commercial Bank, Limited ดังเดิม

ต่อมาในวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2514 ธนาคารไทยพาณิชย์ ได้ย้ายสำนักงานไปอยู่สำนักงานใหม่ที่ถนนเพชรบุรี โดยแต่เดิมสำนักงานใหม่นี้ เป็นบ้านพักของมหาอำมาตย์โทพระยามหินทรเดชานุวัตน์ สร้างขึ้นสมัยรัชกาลที่ 7 โดยธนาคารไทยพาณิชย์ซื้อต่อเมื่อปี พ.ศ. 2509 และปรับปรุงอีกครั้งเมื่อปี พ.ศ. 2538

ช่วงปลายปี พ.ศ. 2547 ธนาคารไทยพาณิชย์ มีนโยบายอนุรักษ์อาคารโบราณอันทรงคุณค่าในรูปแบบสาขา "Modern Thai Heritage Branch"  ซึ่งปัจจุบันมีอยู่ด้วยกัน 3 สาขาคือ สาขาถนนเพชรบุรี สาขาตลาดน้อย และสาขาเฉลิมนคร 

----------------------

อ้างอิง :

scb.co.th/th

หอจดหมายเหตุ กรุงเทพฯ

thaibankmuseum.or.th

thesiamcommercialbanklimited.blogspot.com

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง