ร่างกายของมนุษย์จะต้องรักษาค่าความเป็นกรด

����ѡ������Ţͧ�ô - �����ҧ�� 
           �������¹�ŧ����繡ô���ҡ� �ռ�����͹���ӧҹ�������ҧ��¨֧���繵�ͧ����ѡ�Ҵ����Ҿ�ͧ�ô����餧��� 3� �Ըդ�͠
          1.� �����������Ŵ�ѵ�ҡ������� ��� CO2� �ҡ� �蹠 ����͡���ѧ��¨��ռ�����ٹ��Ǻ���������㨠 ��͠ ��������ͺ�ͧ�ҵҠ �觡���ʻ���ҷ��������������͡кѧ����С���������ִ��д١����ç�ӧҹ�ҡ��鹠 ���ͨ��������͡����鹠 CO2 ����ʹ��Ŵŧ
          ��Ҡ CO2 ����¨���Ѻ�����������ͺ�ͧ�ҵ������ռŤǺ�����������ʹѧ����ǹ���ŧ
           ��䡴ѧ����Ǩ���䢤����繡ô��������ʹ����§ 50-70 %�
          2. �к��ѿ����� ��� �к����������������� � �դ�� �pH� ��ͺ����� �����Ҩ�������÷����ķ����繡ô������ŧ仡����
          �������ºѿ���� ����
               1.� �����źԹ�������ʹᴧ
               2.� �õչ㹾����Ҡ �蹠 ��ź��Թ� �ź��Թ
               3.� �Ѵ��ǹ�ͧ� H2CO3 ��� HCO3
          3.���äǺ����ô����ʢͧ��� �����ö��Ѻ�дѺ�ô�������͡�ҧ��ӻ���������ҡ �к����֧�ա�÷ӧҹ�ҡ� ����ö��� ��Ҿ pH �������¹��ҡ ����Ѻ��ҷ���� �������ҹҹ

 

�к��ѿ����

��������

1.�� ���
��ԡ����ҷҧ���
���Ŵ��������
����͹��͡䫴� ��âѺ�ô���ʹ�ҧ
�ͧ������� 2. ���ѧ
��÷ӧҹ ���·���ش �ҹ��ҧ 2 ��Ңͧ
��ǹ������ �ҡ����ش 3. �����Ǵ���� ���Ƿ���ش ��§��ǹ�ͧ �Թҷ�
�ҹ��ҧ� �������繹ҷ� ��ҷ���ش� �繪������ 4. ��ʹ�   �����Ǵ���� �������
�����ҧ����� pH ����¹��ҡ
�����Ҩ���ѹ���� �ӧҹ���Ǵ���ǻҹ��ҧ
�繡�ê��������
������Թ���ѧ�ͧ�ѿ���� �ա��ѧ�ҡ ����ö��� pH �������¹��ҡ����Ѻ��ҷ���� 5. ������� �ա��ѧ���� ��������� pH ��Ѻ������
(��������� pH ��ͺ��������
���ǨТҴ��ǡ�е��) ��ͧ���������ҡ

ในร่างกายของมนุษย์เรามีกลไกควบคุมความเป็นกรด-ด่างในกระแสเลือดให้อยู่ที่ประมาณ 7.4 เมื่อร่างกายมีสภาวะเป็นกรดจะเกิดกลไกการละลายแคลเซียมออกจากระดูกเพื่อที่จะสะเทินความเป็นกรด กลไกนี้เกิดขึ้นเพื่อที่จะพยายามรักษาความเป็นด่างไว้ให้ร่างกาย แต่ถ้าร่างกายต้องอยู่ในสภาพเป็นกรดนานๆ กลไกการควบคุมสมดุลก็จะสูญเสียไป ทำให้เกิดกรดสะสมในร่างกาย ซึ่งเป็นสาเหตุของความเจ็บป่วย ซึ่งมีสาเหตุมาจากการรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสมเป็นเวลานานๆ โดยที่เราไม่รู้ตัว

ในเลือดจะมีค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) ในช่วง 7.35-7.45 โดยจะมีสารหลายๆตัว ไม่ว่าจะเป็นเกลือแร่ (เช่น โซเดียม โปตัสเซียม แคลเซียม คลอไรด์ ฯลฯ) บัฟเฟอร์ (ได้แก่สารไบคาร์บอเนตทั้งหลาย) และสารอื่นๆ เช่น กรดอะมิโน อัลบูมิน และฮีโมโกลบิน ฯลฯ เป็นตัวสำคัญในการช่วยปรับสมดุลกรด-ด่างในเลือดหากมีการเปลี่ยนแปลง pH ในเลือดเพียงเล็กน้อย(ย้ำ เพียงเล็กน้อย) ก็จะมีผลต่อการทำงานและอาการที่ผิดปกติไปของร่างกาย เมื่อ pH ลดต่ำลงกว่า 7.35 ทางการแพทย์ก็จะถือว่า ร่างกายอยู่ในสภาวะกรด และถ้าสูงกว่า 7.45 ก็ จะอยู่ในสภาวะด่าง ซึ่งจะเห็นว่าความแตกต่างระหว่างสภาวะปกติ สภาวะกรด หรือสภาวะด่าง เป็นเพียงค่าเล็กน้อยเท่านั้นสำหรับในเลือด จึงต้องมีการควบคุมอย่างเข้มงวด มิฉะนั้นความผิดปกติทางร่างกายก็จะเกิดขึ้นตามมา

ร่างกายมนุษย์มีวิธีในการรักษาสมดุลกรด-ด่างอยู่หลายทาง เช่น ในระดับเซลล์จะใช้ปฏิกิริยาทางเคมีในการเพิ่มหรือลดความเป็นกรด-ด่าง ในเลือดก็จะใช้สารต่างๆดังที่กล่าวมาแล้วในการปรับสมดุล และท้ายที่สุดก็คือการปรับระดับการหายใจ เพื่อปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์จากปอด (H+ + HCO3- H2CO3- CO2 + H2O) รวมทั้งขับกรดต่างๆในร่างกายออกจากไตทางปัสสาวะ เป็นต้น

อาหารที่เรารับประทานอยู่ทุกวันนี้ ส่งผลให้ร่างกายมีสภาวะเป็นกรดมากขึ้น แม้แต่ปัสสาวะที่ขับออกมาจากร่างกายก็ยังมีความเป็นกรดมากขึ้นอีกด้วย สาเหตุอีกประการหนึ่งก็คือ ความสามารถในการทำงานของไตลดลงเรื่อยๆ เมื่อเรามีอายุมากขึ้น ความสามารถของไตที่ลดลงหมายถึงปริมาณเลือดที่มาเลี้ยงไตลดลง ความสามารถในการกรองของเสียลดลง และความสามารถในการขับกรดออกจากร่างกายก็ลดลงด้วย เมื่อ รวมทั้งสองอย่างเข้าด้วยกัน ก็ยิ่งทำให้ปริมาณกรดสะสมอยู่ในร่างกายมากขึ้น ซึ่งสภาวะกรดที่สูงขึ้นนี้จะส่งผลอะไรต่อร่างกายบ้าง ตามผมมา

"อายุยิ่งมาก เลือดก็ยิ่งมีกรดเพิ่มมากขึ้น” ผลที่เกิดกับร่างกายนี้เป็นสิ่งที่นักวิทยาศาสตร์เรียกกันว่า สภาวะกรดในระดับต่ำอย่างเรื้อรัง (Chronic Low-Grade Metabolic Acidosis) ซึ่งเป็นสภาวะที่ร่างกายเป็นกรดในระดับอ่อนๆ ซึ่งเราๆท่านๆ จะไม่ได้สังเกตอาการผิดปกติใดๆในระยะเริ่มต้น แต่ถ้าทิ้งให้ร่างกายอยู่ในสภาพนี้นานๆ อาจทำให้เป็นโรคหรือมีอาการต่างๆที่พบได้ ดังนี้ (ใครชอบอ่านวิจัยหาอ่านของ Yuen,2006 เอาเองนะ)

• โรคกระดูกพรุน 
• โรคไตและกระเพาะปัสสาวะ รวมทั้งโอกาสเกิดนิ่ว
• อาการทางหัวใจและหลอดเลือด • เบาหวาน • โรคอ้วน
• ต่อมไธรอยด์ทำงานได้ไม่เต็มที่• ระบบภูมิคุ้มกันมีประสิทธิภาพลดลง
• ระบบต้านอนุมูลอิสระมีประสิทธิภาพลดลง • มีสภาวะดื้อต่อฮอร์โมนเพื่อการเจริญเติบโต
• ปวดเมื่อยข้อและกล้ามเนื้อ• มีอาการอ่อนเพลีย ไม่มีแรง 
• โรคลมชักเรื้อรัง• เป็นโรคติดเชื้อจากเชื้อราได้ง่าย

ไต ต้องทำงานหนักขึ้นเพื่อขับแคลเซียมและแมกนีเซียมออกจากร่างกายทางปัสสาวะในจำนวนมาก นอกจากนี้ ไตก็ยังสร้างสารต่างๆออกมาด้วย เช่น สารไบคาร์บอเนต เพื่อช่วยในการปรับสมดุลกรด-ด่างของร่างกายอีกทางหนึ่ง เมื่อต้องทำงานหนักเป็นเวลานานๆ ไตก็จะเสื่อมลงเร็วกว่าเวลาอันควร สมเหตุสมผลมั๊ย วิปัสสนาดูนะ

วงจรที่สุดแสนจะอันตรายต่อเราๆท่านๆที่เกิดขึ้นนี้สามารถหยุดยั้งได้ เพียงแค่รู้ว่าควรรับประทานอาหารชนิดใด ในปริมาณที่เหมาะสมเพียงใด ก็สามารถที่จะแก้ปัญหาได้ที่ต้นเหตุ แต่ก่อนที่จะทราบว่าควรรับประทานอะไร เราก็ควรจะทราบเกี่ยวกับค่าสำคัญสักเล็กน้อย ค่าที่สำคัญนี้คือ ค่าที่เรียกว่า

ปริมาณกรดที่มีต่อไต [Potential Renal Acid Load (PRAL)] เป็นค่าเฉพาะของอาหาร ซึ่งบ่งชี้ถึงปริมาณกรดที่จะเกิดขึ้นกับไตหลังการบริโภคอาหารชนิดนั้นๆ (เพื่อความสะดวกในการเปรียบเทียบกับค่าอื่นๆ ค่าที่นำมานี้จะมีหน่วยเป็น mEq ต่อปริมาณอาหาร 100 กรัม) เพื่อความง่ายต่อการปฏิบัติ การทราบเพียงค่านี้ค่าเดียวก็เพียงพอแล้ว ค่า PRAL เป็นค่าที่เกิดจากผลรวมของโปรตีนกับฟอสเฟต แล้วลบด้วยผลรวมของโปตัสเซียม แมกนีเซียม และแคลเซียม ซึ่งมีสูตรดังนี้

PRAL = [0.49 x โปรตีน (กรัม)] + [0.037 x ฟอสฟอรัส(กรัม)] – [0.021 x โปตัสเซียม (กรัม)] – [0.026 x แมกนีเซียม(กรัม)] – [0.013 x แคลเซียม (กรัม)]

การคำนวณได้ค่าบวกแสดงว่า จะก่อให้เกิดสภาวะกรดต่อร่างกาย ส่วนค่าลบจะก่อให้เกิดสภาวะด่างต่อร่างกาย

และหลังจากที่ได้ทำการค้นคว้ามานาน ก็มีแค่เพียงกลุ่มผัก-ผลไม้เท่านั้น ที่จะให้ค่า PRAL เป็น ลบ ซึ่งหมายถึงทำให้ร่างกายเป็นด่าง ส่วนกลุ่มที่เหลือไม่ว่าจะเป็นกลุ่มเนื้อสัตว์ นม เนย ไข่ ธัญพืช เป็นต้น ล้วนแล้วแต่มีผลที่จะก่อให้เกิดสภาวะกรดต่อร่างกายทั้งสิ้น

ทุกวันนี้เราต้องกินอาหารเป็นประจำ วันละ 2-3 มื้อ เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารและพลังงานที่เพียงพอ แต่เชื่อหรือไม่ว่าอาหารที่เรากินกันอยู่นั้นสามารถทำให้เราอ่อนล้าและหมดแรงได้ ผมแบ่งอาหารตามผลทางปฏิกิริยาเคมีที่เกิดขึ้นหลังจากขบวนการย่อยครับ ซึ่งจะแบ่งได้เป็นได้เป็นอาหารที่เป็นกรดต่อร่างกาย กับ อาหารที่เป็นด่างต่อร่างกาย ซึ่งค่าความเป็นกรด-ด่างนั้นไม่ได้วัดจากความเปรี้ยวหรือรสชาติของอาหารที่ลิ้นเราสัมผัสได้ แต่หมายถึง สิ่งที่หลงเหลืออยู่ขั้นสุดท้ายหลังจากขบวนการย่อย ยกตัวอย่างเช่น ผลไม้ซึ่งมีรสเปรี้ยวเช่น ส้ม มะนาว สับปะรด (เปรี้ยวนะ) เมื่อเรารับประทานเข้าไปแล้ว หลังจากย่อยเสร็จสิ้นส่วนที่เหลือจะมีค่าเป็นด่าง เราจึงจัดให้ผลไม้เหล่านี้อยู่ในกลุ่มอาหารที่ทำให้ร่างกายเป็นด่าง ทั้งนี้เราจะจำแนกให้อาหารชนิดนั้นอยู่ในจำพวกไหนขึ้นอยู่กับผลสุดท้ายที่เกิดขึ้นหลังจากอาหารเหล่านั้นผ่านขบวนการย่อยเรียบร้อยแล้ว

ขบวนการต่างๆในร่างกาย ทั้งการหายใจ การย่อยอาหาร การไหลเวียนโลหิต การผลิตฮอร์โมน โดยทุกระบบจะทำงานประสานกันเพื่อควบคุมสมดุลกรด-ด่าง(pH) ภายในร่างกาย เราสามารถทดสอบได้ง่ายๆว่าอาหารชนิดใดเป็นกรด หรือเป็นด่างได้ง่ายๆ โดยนำอาหารนั้นไปเผา(เปรียบได้กับการเผาผลาญอาหารในร่างกาย) แล้วจึงนำขี้เถ้าที่เหลือจากการเผามาเติมน้ำ จากนั้นนำไปวัดค่า pH กลุ่มอาหารที่มีแคลเซียม โพทัสเซียม เหล็ก แมกนีเซียม โซเดียม แมงกานีสในปริมาณสูง จะให้ค่า pH เป็นด่าง ในขณะทีอาหารที่ประกอบด้วยฟอสฟอรัสอาทิ โซดา น้ำอัดลม คลอรีน ซัลเฟอร์ ซิลิกอน ไอโอดีน ฟลูออไรด์สูงจะให้ค่า pH เป็นกรด

อาหารที่ดีต่อสุขภาพคืออาหารที่ทำให้เกิดของเสียที่มีค่าเป็นกรดน้อยที่สุด หรือประกอบด้วยสารที่สามารถลดความเป็นกรดได้ในปริมาณมาก อาหารที่ปรุงขายทั่วไป อาหารสำเร็จรูปที่ขายกันอยู่ส่วนใหญ่ล้วนแล้วแต่ทำให้ร่างกายเกิดสภาวะเป็นกรด และถ้าประกอบกับการบริโภคผัก-ผลไม้ในปริมาณน้อยด้วยแล้วยิ่งทำให้ภาวะกรดในร่างกายมากขึ้น ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของความเจ็บปวดตามส่วนต่างๆของร่างกาย ตลอดจนโรคเรื้อรังต่างๆ

ภาวะที่ร่างกายเป็นกรดมากเกินไปจะส่งผลทำให้ปริมาณออกซิเจนที่เซลล์ควรได้รับน้อยลงไปด้วย เมื่อเซลล์ขาดออกซิเจนนานๆจะก่อให้เกิดความผิดปกติในร่างกายส่วนต่างๆ ทำให้ไม่สบาย ก่อให้เกิดความเสื่อม จนถึงการเกิดมะเร็ง (เซลล์ในร่างกายที่แข็งแรงจะมีค่าเป็นด่างเล็กน้อย ในขณะที่เซลล์มะเร็งจะทำงานได้ดีในสภาพที่มีค่าเป็นกรด)

• เมื่อร่างกายมีภาวะเป็นด่าง เซลล์ต่างๆจะแข็งแรงเนื่องจากเซลล์จะได้รับสารอาหารที่จำเป็นและออกซิเจนอย่างเพียงพอ

• เมื่อร่างกายมีภาวะเป็นกรด เซลล์จะอ่อนแอเนื่องจากขาดออกซิเจนและสารอาหาร ทำให้เกิดการการคั่งของของเหลวและสารพิษรอบๆเซลล์ ทำให้เกิดภาวะความเจ็บปวดและโรคต่างๆ ซึ่งในภาวะดังกล่าวจะทำให้ร่างกายเหนื่อยล้า และต้องการการพักผ่อน เพื่อสงวนพลังงานไว้ใช้สำหรับกำจัดสารพิษดังกล่าวออกจากร่างกาย เมื่อร่างกายกำจัดของเสียซึ่งเป็นกรดออกจากร่างกายได้แล้ว เซลล์จะมีค่าpHเป็นด่าง ทำให้การทำงานของเซลล์กลับสู่สภาพปกติ สามารถดูดซึมสารอาหารและแลกเปลี่ยนออกซิเจนได้ดีขึ้น

ร่างกายเราเปรียบเสมือนธนาคาร สามารถสะสมสารอาหาร ตลอดจนแร่ธาตุไว้ใช้ เมื่อเรากินอาหารที่มีส่วนประกอบของแร่ธาตุที่เป็นด่างในปริมาณมากกว่าความต้องการใช้ในขณะนั้น ร่างกายจะเก็บแร่ธาตุเหล่านี้ไว้สำหรับใช้ต่อไป แต่เราๆ ท่าน ๆ ชอบเผาธนาคารโดยไม่รู้ตัว

อาหารที่ทำให้ร่างกายเกิดภาวะเป็นด่าง ได้แก่ ต้นงอก ผัก(โดยเฉพาะหน่อไม้ฝรั่ง วอเตอร์เครส แตงกวา ถั่ว ผักกาด ผักชีฝรั่ง เครื่องเทศ หัวหอม คึ่นฉ่าย แครอท) ผลไม้ (โดยเฉพาะ มะนาว ส้ม สับปะรด กีวี เชอรี่ สตรอเบอร์รี แตง แอปเปิ้ล แอพริคอท อโวคาโด) คีเฟอร์ โยเกิร์ต(วันละไม่เกิน 1 ช้อนโต๊ะ) ชาสมุนไพร นอกจากอาหารแล้วความคิดในแง่บวก เช่น ความสุข สมหวังก็ทำให้ร่างกายมีค่าเป็นด่างด้วย ผมเลยบอกให้ฟังเพลงที่ชอบ คราวนี้เข้าใจกันแล้วนะ

อาหารที่ทำให้ร่างกายเกิดภาวะเป็นกรด ได้แก่ พวกแป้งและโปรตีน (พวกเนื้อสัตว์และแป้ง น้ำตาลขัดสี) ชา กาแฟ น้ำอัดลม สุรา เบียร์ เกลือ น้ำตาล อาหารสำเร็จรูป ผงชูรส และความเครียด ตลอดจนความคิดในแง่ลบ( โกรธ เกลียด ซึมเศร้า) ก็ส่งผลทำให้ร่างกายเกิดสภาวะเป็นกรด

หมายเหตุ : เมล็ดธัญพืชทุกชนิด รวมถึงถั่ว ที่เป็นโปรตีน มีคุณสมบัติเป็นกรด ยกเว้นเมื่อนำมาปลูกเป็นต้นงอก จะมีคุณสมบัติเป็นด่าง

มีวิธีการทดสอบสภาวะกรด-ด่างของเราอย่างไร? (Minich&Bland,2007) มี วิธีการตรวจที่ได้รับการยอมรับกันทั่วไปในการทดสอบดูว่า ในเวลานี้ร่างกายของเรามีสภาวะเป็นกรดหรือด่าง? และเป็นวิธีที่ทำได้ง่ายๆ ไม่เจ็บตัว สะดวกเพราะทำได้เอง จะทำกี่ครั้งก็ได้แล้วแต่ความสะดวก ไม่ว่าจะเป็นรายวัน รายสัปดาห์ หรือรายเดือนก็ตามที นั่นก็คือการวัดค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) ของปัสสาวะด้วยกระดาษวัดค่ากรด-ด่าง (Litmus Test) หาซื้อก็ไม่ยากนะ โดยกระดาษที่ใช้วัดเรียกว่ากระดาษลิตมัส (Litmus Paper) ทำได้ง่ายๆโดยเก็บปัสสาวะใส่ภาชนะแล้วจุ่มด้วยการดาษลิตมัส ซึ่งกระดาษจะเปลี่ยนสีตาม pH ของปัสสาวะ เราสามารถทราบ pH ของ ปัสสาวะ โดยการเปรียบเทียบสีที่ได้กับสีมาตรฐานที่มีมาให้ แค่นี้เราก็จะทราบสภาวะของร่างกายว่า ณ เวลานั้นเป็นกรดหรือด่าง วิธีตรวจสอบนี้สามารถเห็นความแตกต่างในการวัดในเวลาตั้งแต่ 2 ชั่วโมงหลังรับประทานอาหาร ดังนั้นจึงควรมีกระดาษลิตมัสติดไว้ที่บ้าน เราสามารถหาซื้อกระดาษลิตมัสได้ตามร้านขายอุปกรณ์วิทยาศาสตร์ หรือร้านขายหนังสือเรียนก็น่าจะมี ราคาก็ไม่แพง

ขอเพิ่มเติมถึงเรื่อง pH อีกนิดหนึ่ง เพื่อให้ผู้ที่ไม่คุ้นเคยจะได้รู้จักกับค่า pH (หรือ Power of H+) ซึ่งคือค่าแสดงความเป็นกรด-ด่าง และ pH ที่แสดงความเป็นกลางคือ 7 สูงกว่านั้นจะเป็นด่าง และต่ำกว่า 7 จะเป็นกรด ค่า pH ของปัสสาวะในคนปกติ ตามรายงานทางการแพทย์ จะอยู่ระหว่าง 4.5-8.0 ดังนั้นการที่จะทำให้ร่างกายมีสภาวะด่าง ก็ควรจะอยู่ในช่วงที่ pH เกิน 7.0 แต่ไม่ควรเกิน 8.0 ซึ่งยังอยู่ในช่วงที่เป็นค่าปกติของปัสสาวะ ปัสสาวะที่มี pH เกินกว่า 8.0 แสดงถึงสภาวะด่างที่แสดงอาการ (Metabolic Alkalosis) เช่น หายใจลำบาก กระสับกระส่าย สับสน หัวใจเต้นผิดปกติ มีอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ เป็นต้น

อีกเรื่องหนึ่งที่ควรทราบก็คือ การศึกษาพบสภาวะที่ร่างกายมีความเป็นกรดในระดับที่แสดงอาการ (Metabolic Acidosis) ปัสสาวะจะมี pH อยู่ในช่วง 5.0-5.5 ดังนั้นหากพบว่าปัสสาวะมี pH ต่ำกว่า 5.5 จึงไม่ดีแน่ แม้ว่าจะมีการระบุว่าปัสสาวะที่ปกติสามารถมี pH ได้ต่ำถึง 4.5 ก็ตาม และยังพบอีกด้วยว่า pH ที่ต่ำกว่า 6.5 เป็นต้นไป ร่างกายเริ่มต้องใช้ความเป็นด่างจากแหล่งอื่น เช่น กระดูก หรือกล้ามเนื้อมาชดเชย เนื่องจากระบบการควบคุมกรด-ด่างในเลือด เริ่มจะไม่เพียงพอที่จะควบคุมให้ pH อยู่ในระดับปกติได้

โดยสรุปแล้วควรควบคุมให้ pH ในปัสสาวะอยู่ในช่วง 7.0-8.0ช่วง pH ที่แนะนำขอแสดงตัวอย่างการใช้วิธีทดสอบปัสสาวะนี้ให้ดูซักอัน การศึกษานี้ใช้ผักรวม ซึ่งเป็นส่วนผสมของแครอท ดอกกะหล่ำ และ บร็อคลี จำนวน 200 กรัมให้แก่อาสาสมัครจำนวน 5 คน แล้ววัดค่าความเป็นกรด-ด่างหลังอาหารเป็นเวลา 4 ชั่วโมง ปรากฏว่า pH ของปัสสาวะเพิ่มขึ้นเฉลี่ยจาก 6.2 เป็น 6.91 (Nho&Jeffrey,2001) เริ่มอยากกินผักกันรึยังล่ะ

ประโยชน์ของการมีสภาวะร่างกายเป็นด่าง ทางการแพทย์รู้จักกันดี ในกระบวนการที่เรียกว่า Ion Trapping (Garrettson&Geller,1990) เป็นการทำให้ปัสสาวะมี pH มากกว่า 7.5 โดย การฉีดโซเดียมไบคาร์บอเนตเข้าไปในกระแสเลือด ใช้สำหรับผู้ที่ได้รับพิษอย่างเฉียบพลัน โดยจะช่วยให้ร่างกายสามารถขับสารแปลกปลอมออกมาได้ดีขึ้น โดยอาศัยหลักที่ว่าปัสสาวะที่เป็นด่างจะเป็นการป้องกันการดูดกลับของสารแปลก ปลอมโดยท่อไต (Renal Tubules) วิธีนี้ได้รับการเห็นชอบจากสถาบันพิษวิทยาทางคลีนิคของสหรัฐอเมริกา (American Academy of Clinical Toxicology) และพบว่าวิธีนี้สามารถเพิ่มการขับสารออกมาในปัสสาวะได้มากขึ้น
โดย สรุปแล้วการรับประทานอาหารที่เหมาะสม นอกจากจะทำให้ร่างกายหลีกเลี่ยงจากการเป็นโรคเรื้อรัง และอาการไม่พึงประสงค์ต่างๆ แล้ว ยังทำให้ร่างกายสามารถขับสารที่ไม่ต้องการออกจากร่างกายได้เร็วขึ้น ทำให้ร่างกายไม่มีสารตกค้างที่เป็นอันตรายอีกด้วย และการกินอย่างเหมาะสมในกรณีนี้ก็ไม่มีอะไรยากหรอกครับ เพียงแค่ทานผัก-ผลไม้ที่ไม่หวานให้มากขึ้นก็เท่านั้นเอง ในกรณีที่รับประทานอาหารประเภทที่ทำให้ร่างกายเป็นกรดสูงติดต่อกันหลายครั้ง เช่น อาหารที่มีส่วนประกอบของชีสหรือเนื้อสัตว์จำนวนมาก เช่น พิซซ่า เนื้อย่างเกาหลี ฯลฯ และมีการรับประทานผัก-ผลไม้ไม่มากพอ หรือบางท่านที่ไม่ชอบทานผัก-ผลไม้ สามารถรับประทานอาหารเสริมประเภทที่มีโปตัสเซียม ซึ่งมีคุณสมบัติเป็นด่างแทนได้

โปตัสเซียมอาหารส่วนใหญ่ที่เรารับประทานในปัจจุบัน มีปริมาณโปตัสเซียมค่อนข้างต่ำ Food and Nutrition Board of the Institute of Medicine และ Linus Pauling Institute ได้กำหนดปริมาณโปตัสเซียมที่ควรได้รับอย่างเพียงพอในแต่ละวัน (Adequate Intake เรียกย่อๆว่า AI) ไว้ที่ 4.7 กรัม โครงการ Dietary Approaches to Stop Hypertension (Ref 7) ก็ ได้แนะนำให้ร่างกายได้รับโปตัสเซียมในปริมาณเช่นเดียวกันนี้ เพื่อลดความดันโลหิต ป้องกันการเกิดนิ่ว และลดการสูญเสียมวลกระดูกลง แต่อย่างไรก็ตามสำหรับผู้ป่วยโรคไต ความดันโลหิตสูง และหัวใจ ตลอดจนถึงผู้ที่ได้รับยาที่มีผลต่อการเพิ่มปริมาณของโปตัสเซียมในร่างกาย ไม่ควรรับประทานอาหารที่มีโปตัสเซียมในปริมาณสูง เนื่องจากอาจส่งผลเสียต่อร่างกายได้ อาการที่อาจพบได้คือ ท้องเสีย คลื่นไส้ อาเจียน หายใจลำบาก กระสับกระส่าย สับสน หัวใจเต้นผิดปกติ มีอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ เป็นต้น ดังนั้นหากจะบริโภคโปตัสเซียมในปริมาณที่แนะนำไว้ ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญอย่างใกล้ชิด

ดังนั้นเราสามารถช่วยกำจัดภาวะกรดดังกล่าวได้โดยรับประทานอาหารที่ทำให้ร่างกายเกิดสภาพเป็นด่าง(โดยเฉพาะพวกต้นงอก ผลไม้รสเปรี้ยว) โดยสัดส่วนแล้วอาหารที่เรารับประทาน75-80% ควรเป็นอาหารที่ทำให้ร่างกายเกิดสภาวะเป็นด่าง ดื่มน้ำเยอะๆ หายใจลึกๆยาวๆ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ฟังเพลง ออกกำลังกาย แค่นี้เราก็ได้เป็นเพื่อนกันไปอีกนานแสนนาน

รักทุกคนครับ สวัสดี

Cr:ดร.สุมิตร มณีวรรณกุลPh.D. in Biology
Yuen,2006 
Minich&Bland,2007
Nho&Jeffrey,2001
Garrettson&Geller,1990
American Academy of Clinical Toxicology
และอีกมากมายที่ผมได้อ่านมา

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง