ผลกระทบที่เกิดจาก disruptive technology ภาคการผลิต

กรุงเทพฯ--28 ม.ค.--คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ประเทศไทยยังขาดการเตรียมความพร้อมในการรับมือความท้าทายจากเทคโนโลยีพลิกผัน หรือ Disruptive Technology และ แรงสั่นสะเทือนจาก Digital Disruption ทั้งในภาครัฐ ภาคธุรกิจอุตสาหกรรม ภาคการศึกษาและตลาดแรงงาน หวั่นกระทบประสิทธิภาพของภาครัฐ ความถดถอยของการแข่งขันของภาคเอกชน กระทบต่อภาวะการมีงานทำในอนาคต ยังไม่สามารถนำความก้าวหน้าเทคโนโลยีและ Big Data มาใช้ในการแก้ปัญหาต่างๆได้อย่างมีประสิทธิภาพและเต็มศักยภาพ เช่น รัฐบาลต้องบูรณาการฐานข้อมูลของหน่วยราชการต่างๆเพื่อแก้ปัญหาความไม่เป็นธรรมทางเศรษฐกิจ และ ยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขัน หรือ กกต สามารถใช้เทคโนโลยี Blockchain เพื่อให้การเลือกตั้งมีความโปร่งใสมากขึ้นและสามารถสอบถามประชามติจากประชาชนในเรื่องต่างๆได้ ประเทศไทย 4.0 ไม่บรรลุเป้าหมายและไม่สามารถตอบสนองต่อการเร่งตัวของการเปลี่ยนแปลงของนวัตกรรมเทคโนโลยี คาดหวังพรรคการเมืองต่างๆและรัฐบาลหลังเลือกตั้งมีนโยบายและแนวทางที่ชัดเจน ไม่ใช่มีเพียงนโยบายมุ่งหาคะแนนนิยมโดยไม่ใส่ใจต่อนโยบายปฏิรูปและนโยบายเพื่อความยั่งยืน ต้องมีนโยบายสร้างโอกาสและเตรียมรับมือกับโลกในอนาคตด้วย 17.00 น. 27 ม.ค. 2562 ที่ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต และ ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจเพื่อการปฏิรูป ผศ. ดร. อนุสรณ์ ธรรมใจ คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต เปิดเผยว่า ขณะนี้ประเทศไทยยังขาดการเตรียมความพร้อมในการรับมือความท้าทายจากเทคโนโลยีพลิกผัน หรือ Disruptive Technology และ แรงสั่นสะเทือนจาก Digital Disruption ทั้งในภาครัฐ ภาคธุรกิจอุตสาหกรรม ภาคการศึกษาและตลาดแรงงาน ประสิทธิภาพของระบบราชการ การให้บริการของภาครัฐและรัฐวิสาหกิจจะดีขึ้นหากมีการปรับเปลี่ยนสู่ระบบดิจิทัลมากขึ้น นอกจากนี้นวัตกรรมเทคโนโลยีใหม่ยังจะทำให้ระบบของรัฐบาลมีความโปร่งใสและได้รับการตรวจสอบถ่วงดุลจากประชาชนและภาคธุรกิจมากขึ้น อย่างไรก็ตาม การดำเนินการใน เรื่อง Digital Transformation ในหลายภาคส่วนของภาครัฐยังมีความล่าช้าไม่เท่าทันต่อการพลิกผันเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว หวั่นกระทบประสิทธิภาพของภาครัฐทั้งระบบ ระบบกฎหมาย กฎระเบียบต่างๆ รวมทั้งระบบภาษีก็ไม่สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปมีกิจการจำนวนไม่น้อยในไทยที่ไม่สามารถปรับตัวรับมือกับเทคโนโลยีพลิกผันทำให้ต้องปิดกิจการไปนอกจากนี้เอกชนที่ไม่สามารถปรับใช้เทคโนโลยีใหม่ๆในกระบวนการทำงานและกระบวนการการผลิตจะประสบภาวะถดถอยของขีดความสามารถในการแข่งขัน มีความท้าทายและข้อจำกัดต่อการพัฒนานวัตกรรมในกิจการ SMEs ภาครัฐจึงต้องส่งเสริมด้านแหล่งเงินทุน การส่งเสริมการแบ่งปันองค์ความรู้และการถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรม รวมทั้งการส่งเสริมทีมผู้เชี่ยวชาญ นอกจากนี้ ประเทศไทยจำเป็นต้องมีมาตรการเตรียมรับมือกับผลกระทบของเทคโนโลยีใหม่ๆที่มีต่อภาวะการมีงานทำในอนาคต ระบบการศึกษายังไม่สามารถผลิตแรงงานให้มีทักษะและความรู้สอดคล้องกับพลวัตของการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี ผู้สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญามีการว่างงานสูงขึ้นจากคุณภาพด้อยลงไม่สามารถทำงานได้ ขณะนี้ ธุรกิจเอกชนจึงเข้ามาร่วมจัดการการศึกษาในรูปแบบการเรียนรู้อิงการทำงาน (Work-based Learning) มากขึ้น เรายังไม่สามารถนำความก้าวหน้าเทคโนโลยีและ Big Data มาใช้ในการแก้ปัญหาต่างๆได้อย่างมีประสิทธิภาพและเต็มศักยภาพ เช่น รัฐบาลต้องบูรณาการฐานข้อมูลของหน่วยราชการต่างๆเพื่อแก้ปัญหาความไม่เป็นธรรมทางเศรษฐกิจ และ ยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขัน หรือ กกต สามารถใช้เทคโนโลยี Blockchain เพื่อให้การเลือกตั้งมีความโปร่งใสมากขึ้นและสามารถสอบถามประชามติจากประชาชนในเรื่องต่างๆได้ ประเทศไทย 4.0 ไม่บรรลุเป้าหมายและไม่สามารถตอบสนองต่อการเร่งตัวของการเปลี่ยนแปลงของนวัตกรรมเทคโนโลยี คาดหวังพรรคการเมืองต่างๆและรัฐบาลหลังเลือกตั้งมีนโยบายและแนวทางที่ชัดเจน ไม่ใช่มีเพียงนโยบายแบบมุ่งหาคะแนนนิยมโดยไม่ใส่ใจต่อแนวทางการปฏิรูปประเทศไทยในด้านต่างๆ ต้องมีนโยบายสร้างความยั่งยืน ต้องมีนโยบายสร้างโอกาสและมียุทธศาสตร์ในเตรียมรับมือกับโลกในอนาคตด้วย

11. เทคโนโลยีบล็อกเชน (Blockchan) เป็นเทคโนโลยีในการเก็บและจัดการฐานข้อมูลแบบกระจาย (Distributed Ledger Technology) ที่มีผู้ใช้งานร่วมกันหลายฝ่ายและมีกลไกในการตรวจสอบร่วมกันเพื่อป้องกันการปลอมแปลงข้อมูล บล็อกเชนมีข้อได้เปรียบกว่าฐานข้อมูลแบบรวมศูนย์คือ มีความปลอดภัยสูงและไม่จำเป็นต้องมีตัวกลางในระบบ บล็อกเชนจึงเหมาะกับการทำธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับหลายฝ่าย และเป็นธุรกรรมที่เกี่ยวกับทรัพย์สินดิจิทัล ที่ต้องการป้องกันการปลอมแปลง

ในยุคที่เทคโนโลยีมีอิทธิพลต่อการดำรงชีวิต คงไม่มีใครไม่เคยได้ยินคำว่า “Disruptive Technology”  แต่จะเข้าใจหรือไม่ว่า Disruptive Technology คืออะไร? และในส่วนของภาคอุตสาหกรรมไทย Disruptive Technology ส่งผลอย่างไร หรือจะต้องเข้าใจและมองเห็นเรื่องนี้ในมุมไหน เพื่อเตรียมความพร้อม และไม่ใช่ความพร้อมเพียงเพื่อจะอยู่รอด แต่ต้องเป็นความพร้อมเพื่อที่จะสร้างโอกาสบนเส้นทางสายอุตสาหกรรม  

คุณเกรียงไกร เธียรนุกุล รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ได้กล่าวถึงวิธีดิสรัปชั่นตัวเองเพื่อความอยู่รอดในภาคอุตสาหกรรมเอาไว้อย่างน่าสนใจ ในโครงการฝึกอบรมหลักสูตร “นักประชาสัมพันธ์ดิจิทัล ยุคอุตสาหกรรม 4.0” รุ่นที่ 1 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ว่า “ปัจจุบันภาคอุตสาหกรรมไทยมีความแข็งแกร่ง เนื่องจากประเทศไทยเป็นฐานการผลิตหลักในอุตสาหกรรมหลาย ๆ ประเภท แต่หากมองยาวไกลไปในอนาคต อุตสาหกรรมไทยอาจตกอยู่ในความเสี่ยง เสี่ยงต่อเทคโนโลยีสมัยใหม่ เสี่ยงต่อนวัตกรรม และเสี่ยงต่อพฤติกรรมมนุษย์ในยุคดิจิทัล ดังนั้น เราจะต้องรู้เท่าทัน และพร้อมที่จะดิสรัปตัวเองสู่สิ่งที่ดีกว่า เพราะอุตสาหกรรมไทยเป็นภาคส่วนซึ่งมีความพร้อมที่สุด”

Disruptive Technology คืออะไร ?
Disruptive Technology คือ นวัตกรรมหรือเทคโนโลยีที่สร้างตลาดและมูลค่าให้กับตัวผลิตภัณฑ์ที่ใช้เทคโนโลยี และส่งผลกระทบอย่างรุนแรง เกิดดิสรัปชั่นต่อตลาดของผลิตภัณฑ์เดิม รวมทั้งอาจจะทำให้ธุรกิจที่ใช้เทคโนโลยีแบบเดิม ๆ ล้มหายตายจากไป ซึ่งต่างจากนวัตกรรมทั่วไปที่อาจจะเพียงช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ เพิ่มคุณภาพของสินค้า หรือลดต้นทุนกระบวนการผลิตแบบเดิมๆ เทคโนโลยีใหม่เหล่านี้ อาจจะไม่ใช่นวัตกรรมใหม่ล่าสุด อาจจะเป็นสิ่งที่มีอยู่แล้ว แต่มีการเปลี่ยนแปลงในองค์ประกอบบางอย่าง เช่น คุณภาพ ประสิทธิของกระบวนการผลิต ต้นทุน หรือราคา ที่ทำให้เทคโนโลยีเหล่านี้มีเงื่อนไขที่เหมาะสมจนเป็นที่นิยมของตลาด 

 

และแน่นอนว่าการมาถึงของเทคโนโลยีอย่างหนึ่งอาจทำให้สินค้าในตลาดบางอย่างหายไป หากธุรกิจนั้น ๆ ดิสรัปตัวเองได้ไม่ทันคู่แข่งรายอื่น ๆ  

ตัวอย่างของกระแส Disruptive Technology ที่ยกให้เป็นคลาสสิคเคสที่ทั่วโลกต่างพูดถึง คือ เคสกล้องถ่ายรูปโกดัก (Kodak) ซึ่งในปี 1975 โกดักเป็นบริษัทแรกในโลกที่ค้นพบเทคโนโลยีการถ่ายภาพด้วยระบบดิจิทัล โดยฝ่าย R&D ของบริษัท แต่ด้วยในขณะนั้น บริษัทโกดักเป็นบริษัทที่ครอง Market sharing ในตลาดกล้องฟิล์มที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยในปี 1976  โกดักมีสัดส่วนยอดขายฟิล์มถ่ายรูปกว่า 90% รวมถึงกล้องฟิล์ม 85% ของตลาดสหรัฐอเมริกา แต่ถึงกระนั้น บริษัทมีความตระหนักว่า หากกล้องดิจิทัลเข้ามาแทนที่ จะทำให้สัดส่วนของตลาดกล้องฟิล์มของตนเองหายไป จึงได้พับโครงการการผลิตกล้องดิจิทัลลง แต่หลังจากนั้นไม่นานคู่แข่งบริษัทอื่น ๆ ของโกดักเห็นว่า ไม่สามารถแข่งขันกับโกดักที่เป็นรายใหญ่ได้ในตลาดกล้องฟิล์ม จึงทำให้ Sony และ Fuji ได้มีการนำเทคโนโลยีกล้องดิจิทัลออกสู่ตลาด ทำให้โกดักยอดขายตกตั้งแต่ปี 2001 เรื่อยมาจนต้องออกจากตลาดหลักทรัพย์ในปี 2004 และในปี 2011 โกดักได้ยื่นแผนเข้าสู่ขบวนการล้มละลาย หรือ Chapter 11 ในที่สุด

นอกจากนี้ ตั้งแต่ปี 2003 เป็นต้นมา ถือได้ว่าเป็นยุคทองของกล้องดิจิทัล ซึ่งมียอดขายสูงขึ้นเรื่อยๆ แต่ในที่สุด การมาถึงของสมาร์ทโฟนก็ทำให้ตลาดกล้องดิจิทัลถูกดิสรัปอีกครั้ง จนทำให้ยอดขายกล้องตกลงในปี 2011 เป็นต้นมา

Autonomous Vehicle ระบบขับขี่ไร้คนขับ
และในปัจจุบัน เทคโนโลยี Autonomous Vehicles หรือ ยานยนต์ไร้คนขับ  เป็นอีกหนึ่งเทคโนโลยีที่ถูกจับตามอง จากการดิสรัปของอุตสาหกรรมยานยนต์  ซึ่งระบบนี้จะเคลื่อนที่ด้วย GPS และ Sensor ส่งผลให้ในอนาคตอุบัติเหตุบนท้องถนนจะลดลง  และทำให้อาชีพบางอย่าง เช่น คนขับรถบรรทุกจะหายไป  หรือปั้มน้ำมัน ร้านอาหาร ร้านสะดวกซื้อ ตามปั๊มน้ำมันก็จะลดลงเช่นเดียวกัน


FinTech  ทำธุรกรรมทางการเงินไม่ง้อธนาคาร
FinTech (Financial Technology) คือ กลุ่มธุรกิจที่ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเข้ามาทำให้การบริการที่เกี่ยวข้องกับการเงินและการลงทุนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เช่น การทำธุรกรรมรับ-จ่าย-โอนเงินออนไลน์ของธนาคาร หรือการวิเคราะห์ข้อมูลหุ้นเพื่อช่วยการตัดสินใจของนักลงทุน โดยบริการเหล่านี้มักจะอยู่ในรูปแบบของบริการออนไลน์แทบทั้งสิ้น การมาถึงของฟินเทคจะทำให้เกิดการดิสรัปแก่พนักงานธนาคารที่อาจจะต้องตกงาน เมื่อธุรกรรมต่างๆ สามารถทำได้ผ่านช่องทางออนไลน์ 


อีลอน มัสก์ Mr. Disruptor ที่จะมาปฏิวัติโลกอย่างน้อย 8 อุตสาหกรรม

อีลอน มัสก์ คือ อัจฉริยะคนหนึ่งของโลกที่คิดค้นเทคโนโลยีสำคัญมากมายเพื่อเปลี่ยนแปลงโลก ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งบริษัท Space Exploration Technologies หรือสเปซเอ็กซ์ บริษัทเอกชนบริษัทแรกที่ปล่อยจรวดสู่อวกาศ นอกจากนี้เป็นผู้ก่อตั้ง Tesla Motors ซึ่งเป็นบริษัทผลิตรถยนต์ไฟฟ้า และหลายๆ บริษัทที่มีเทคโนโลยีล้ำสมัย  ด้วยเจตนารมณ์ที่ชัดเจนของมัสก์ คือ ต้องการเปลี่ยนโลกด้วยพลังงานสีเขียว มัสก์ได้คิดค้นเทคโนโลยีสำคัญมากมายที่จะสามารถทำให้เกิดกระแสการเปลี่ยนแปลงถึง 8 อุตสาหกรรม  เช่น
 
เทสล่ามอเตอร์ (Tesla Motor)
เป็นบริษัทของสหรัฐอเมริกาที่ออกแบบ ผลิตและจำหน่ายรถพลังงานไฟฟ้าและส่วนประกอบระบบส่งกำลังของยานพาหนะไฟฟ้า โดยบริษัทมีภารกิจหลักคือการกระตุ้นให้เกิดการเข้าสู่ยุคของการเดินทางที่ยั่งยืน 
 
สเปซเอ็กซ์ (Space X)
บริษัทเอกชนด้านการขนส่งทางอวกาศที่ก่อตั้งขึ้นในปี 2002 โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปยังอวกาศ และมีแผนระยะยาวคือการตั้งอาณานิคมบนดาวอังคาร ความโดดเด่นคือจรวจฟอลคอนของมัสก์ที่สามารถลงจอด และนำกลับมาใช้ได้ใหม่อีก ซึ่งต่างจากจรวดอื่นๆ ที่ไม่สามารถนำจรวดกลับมาใช้ได้อีก ปัจจุบันสเปซเอ็กซ์รับหน้าที่ขนส่งสินค้าและอุปกรณ์ไปยังสถานีอวกาศนานาชาติ ส่วนยานขนส่งผู้โดยสารจริงนั้นยังคงอยู่ระหว่างการพัฒนา
 
Paypal
บริการธนาคารออนไลน์ที่ก่อตั้งขึ้นในปี 1999 คือ ธนาคารออนไลน์ ทำหน้าที่เปนตัวกลาง คอยรับ-ส่งเงินออนไลน์จากผู้ใช้ทั่วโลก ที่นำบัญชีธนาคารของตัวเองไปผูกไว้กับบัญชี PayPal นอกจากนี้แล้วล่าสุด PayPal ยังเปิดช่องทางใหม่ ให้ผู้ใช้สามารถรับเงินจากคนที่ไม่ใช่ผู้ใช้ PayPal แต่มีบัตรเครดิตหรือบัตรเดบิต ได้ด้วย Paypal นั้นเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่สังคมไร้เงินสดยังไม่เป็นที่นิยมมากนัก และในปัจจุบัน มัสก์ได้ขายบริษัทนี้ให้แก่อีเบย์ในจำนวนเงินถึง 5,775 ล้านบาท
 
Hyperloop
ไฮเปอร์ลูป คือ ระบบการขนส่งแบบใหม่ที่ภายในขบวนขนส่งเป็นท่อสูญญากาศ ช่วยให้ขับเคลื่อนได้เร็วเท่ากับความเร็วเสียง หรืออยู่ที่ 1,200 กม. ต่อชั่วโมง ซึ่งย่นระยะเวลาการเดินทางเดิมจากเป็นชั่วโมงเหลือเพียงไม่กี่นาที ปัจจุบันโครงการนี้กำลังอยู่ระหว่างการทดสอบเส้นทางในสหรัฐฯ และเชื่อกันว่าจะเป็นอนาคตของระบบขนส่งมวลชนที่มีศักยภาพมากที่สุด  ส่งผลให้เราสามารถเดินทางไปที่ไหนก็ได้ในโลกใช้เวลาไม่ถึง 60 นาที!
 
SolarCity
มัสก์ตองการสร้างผังเมืองใหม่ ให้ดำเนินไปด้วยพลังงานสะอาด จึงมีบริษัทโซลาร์ซิตี้ที่มีเป้าหมายในการดำเนินการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์สำหรับบ้าน และสำนักงาน เพื่อลดปริมาณการใช้พลังงานจากถ่านหิน หรือน้ำมันไปผลิตกระแสไฟฟ้า และปัจจุบันเป็นบริษัทผลิตแผงโซลาร์เซลล์ที่ใหญ่ที่สุดของสหรัฐฯ
 
Web-based Phone Calls
ระบบสำหรับการติดต่อสื่อสาร ที่มีความซับซ้อนกว่า Skype เล็กน้อย เกิดจากไอเดียที่ต้องการให้คอมพิวเตอร์สามารถโทรหากันได้ ในปี 2002 และเขาต้องการให้ทุกอย่างสามารถดำเนินการได้ผ่านเว็บไซต์ โดยผู้ใช้เพียงแค่กรอกเบอร์ลงไป จากนั้นกดปุ่มโทร ระบบจะต่อสายไปยังคอลเซนเตอร์ให้ทันที


 
กระแสดิสรัปกับอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย
ประเทศไทยเราถือเป็นประเทศที่มีฐานการผลิตรถยนต์ที่แข็งแกร่ง ติด 1 ใน 10 ของโลก เราส่งออกรถ โดยเฉพาะรถกระบะเป็นอันดับหนึ่งของโลก  แต่ในไม่ช้าอุตสาหกรรมยานยนต์จะเปลี่ยนไป ชิ้นส่วนอะไหล่หลาย ๆ อย่างที่เราเป็นผู้ผลิตนั้นเป็นชิ้นส่วนสำหรับรถยนต์พลังงานสันดาป  ซึ่งในอนาคตชิ้นส่วนภายในรถยนต์จะต้องถูกเปลี่ยน จาก 2,000 กว่าชิ้น เหลือเพียง 18 ชิ้นที่ใช้ในรถยนต์ไฟฟ้า  นอกจากนี้ค่าบำรุงรักษาของยานยนต์ไฟฟ้านั้นถูกกว่า 10-100 เท่า ดังนั้น ซัพพลายเชนของไทยควรปรับตัวอย่างไรจึงจะตามทันเทคโนโลยี จะต้องการดิสรัปให้สามารถทำการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าที่เป็นเทรนด์ถัดไปของอุตสาหกรรมยานยนต์ได้
 

ในปี 2030 หรือ แรงงาน 800 ล้านคน  จะตกงานเพราะหุ่นยนต์มาแทนที่!!!

นอกจากกระแสดิสรัปจะส่งให้อนาคตเราจะมีการดำเนินชีวิตที่สะดวกสบายมากขึ้น แต่อีกแง่มุมหนึ่งการใช้เทคโนโลยีเหล่านี้จะส่งผลให้แรงงานในกลุ่มผู้ปฏิบัติการกว่า 800 ล้านคน จะอยู่ในภาวะตกงาน เนื่องจากเทคโนโลยีบางอย่างจะสามารถทำหน้าที่แทนบุคคลเหล่านั้นได้ และนี่คือบางหนึ่งของนวัตกรรมที่เป็นจุดเริ่มต้นไปสู่สถานการณ์ดังกล่าว 

The Q System One คอมพิวเตอร์เชิงพาณิชย์ตัวแรก ที่ใช้ระบบ Quantum มาประมวลผล 

ในงาน CES 2019 ที่ผ่านมา  IBM ได้นำระบบงานวิจัยจาก  Google Quantum Artificial Intelligence Lab เผยแพร่ โดยระบุว่า ระบบดังกล่าวจะนำเทคโนโลยีควอนตัมมาใช้งานในเครื่องคอมพิวเตอร์ นั่นคือ "The Q System One" ซึ่งจะทำงานได้เร็วกว่าคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันถึง 100 ล้านเท่า กล่าวถือจะประมวลผลเป็นเสี้ยววินาที  ซึ่งแต่เดิมเครื่องคอมพิวเตอร์ระบบนี้มีการใช้งานอยู่แล้วในบริษัทยักษ์ใหญ่ต่างๆ  แต่ในปัจจุบันนั้นระบบนี้จะสามารถนำมาใช้งานได้ทั่วไปใน PC ของเราเอง

Watson Ai Doctor 

ระบบ Watson Ai Doctor  ของ IBM ได้รับการทดลองโดยให้วิเคราะห์กรณีการรักษาโรคมะเร็ง 1,000 กรณี และค้นพบมีความแม่นยำ 99% อีกทั้งยังบอกได้ว่าหมอทั่วไปมีความผิดพลาดถึง 30%  นวัตกรรมนี้จะมาดิสรัปในวิชาชีพแพทย์บางสาขา

มาเลเซียเตรียมนำ AI   มาใช้ช่วยในการตัดสินคดีความ

ในส่วนของกระบวนการยุติธรรมที่หลายๆ ประเทศกำลังประสบคือความล่าช้าในการกระบวนการทางกฎหมาย ซึ่งอาจเกิดจากการขาดแคลนบุคลากรในกลุ่มวิชาชีพ  มาเลเซียจึงได้คิดค้น AI มาใช้ช่วยในการตัดสินคดีความ โดยอาศัยการเก็บข้อมูลจากเคสในคดีเก่าๆ และประมวลผลออกมา ให้ผู้พิพากษาสามารถตัดสินความได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น

หุ่นยนต์พยาบาล / บุรุษพยาบาล

นักวิทยาศาสตร์จากสถาบัน RIKEN และบริษัท Sumitomo Riko ภายในประเทศญี่ปุ่น ได้พัฒนาหุ่นยนต์พยาบาลนามว่า "Robear" มาเพื่อคอยทำหน้าที่ดูแลรักษาคนไข้ โดยหุ่นยนต์  Robear จะคอยทำหน้าที่อุ้มผู้ป่วยที่ไม่สามารถขยับตัวเองได้ ลงจากเตียง หรือ เก้าอี้วิลแชร์ และยังช่วยประคองผู้ป่วยหากต้องการจะยืนขึ้น ด้วยความนุ่มนวล อ่อนโยน


Automation and Robotic in Manufacturing

ในอนาคตฟากการผลิตจะเป็นส่วนที่ถูกดิสรัปได้ง่ายที่สุด อันเป็นผลพวงจากการนำหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติมาใช้ทำงานในกระบวนการผลิตสินค้า อะไรก็ตามที่เป็นกระบวนการที่ต้องทำซ้ำ ๆ และต้องการความรวดเร็ว ความแม่นยำ การนำหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติมาใช้งานนั้นจะทำให้ลดต้นทุนด้านการใช้จ่ายแรงงาน เช่น  Adidas Speed Factory มีเครื่องจักรที่นำมาใช้ในโรงงาน เครื่องหนึ่งสามารถทำการผลิตได้ถึง 500,000 คู่ต่อปี  

เกษตรกรรมยุค 4.0

นอกเหนือจากอุตสาหกรรมการผลิตแล้วนั้น ฝั่งอุตสาหกรรมเกษตรกรรมก็มีการนำนวัตกรรมมาใช้มากมาย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและผลผลิตที่มากกว่า ตัวอย่างนวัตกรรมรถแทรกเตอร์อัจฉริยะ ของ จอน เดียร์ ที่เป็นรถแทรกเตอร์ระบบอัตโนมัติ ไม่ต้องมีคนขับ โดยรถจะมีการป้อนโปรแกรม และติดเซนเซอร์ ที่จะช่วยเก็บข้อมูลดิน ข้อมูลความชื้นของอากาศ ข้อมูลแร่ธาตุ เพื่อให้เรามีข้อมูลที่ถูกต้องและสามารถทำการเกษตรได้อย่างถูกต้อง นอกจากนี้ในประเทศจีน มีการทดลองการปลูกข้าวในแปลงปลูกข้าวน้ำเค็มที่ชายหาดทะเลเหลือง เมืองฉิงเตา ประเทศจีน และในอนาคตจะสามารถทำการผลิตข้าวได้ถึง 50 ล้านตัน ซึ่งจะสามารถชุบเลี้ยงประชากรในแถบนั้นกว่า 200 ล้านคน โดยสถานการณ์นี้จะส่งผลกระทบมาสู่ประเทศไทย ซึ่งประเทศจีนถือเป็นตลาดสำคัญในการส่งออกข้าว


ธุรกิจสื่อไทย ปี 2562 โตไม่ง่าย แต่อยู่ยาก

ในปัจจุบันอุตสาหกรรมสื่อสิ่งพิมพ์ เป็นวงการที่ได้รับผลกระทบจากกระแสดิสรัปมากเป็นอันดับต้น ๆ ด้วยหนังสือพิมพ์ นิตยสาร และสถานีวิทยุ จำนวนมากต้องปิดตัวลงจากการเปลี่ยนแปลงของยุคที่ทุกวันนี้ผู้คนต่างเสพสื่อทางช่องทางออนไลน์ เลยทำให้แบรนด์ต่าง ๆ ในปัจจุบันเลือกที่จะใช้งบกับสื่อออนไลน์ถึง 50% ในการสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายในกรุงเทพฯ   

ประเทศไทย 3.0 สู่ ความเป็น 4.0 

เป้าหมายของรัฐบาลไทยในปัจจุบัน คือการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมในประเทศไทย 3.0 สู่ความเป็น 4.0 ด้วยนวัตกรรม เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศที่มีมรดกทางเศรษฐกิจคือเป็นฐานการผลิตที่แข็งแรง แต่วันหนึ่งเราต้องถูกดิสรัปด้วยเทคโนโลยีอย่างแน่นอน เพราะฉะนั้นเราต้องรู้จักปรับตัวไปสู่ Industry 4.0 โดยประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการผลิต อาทิ IoT, 5G, Automation, Robotics, ทั้งนี้ทั้งนั้นปัจจัยสำคัญที่จะขับเคลื่อนอุตสาหกรรมไทยไปอยู่ในจุดที่มีความเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืน คือ Peopleware, Hardware และ Software  ซึ่งก็คือพัฒนากำลังคนให้มีทักษะ  พัฒนาเครื่องจักรรวมถึงกระบวนการผลิต และพัฒนาระบบภายในให้มีความทันสมัยมากขึ้น

และในปี 2562 อุตสาหกรรมในประเทศไทยจะถูกขับเคลื่อนด้วยนโยบายต่าง ๆ ที่หน่วยงานภาครัฐให้ความสำคัญ เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมและภาพรวมของเศรษฐกิจในประเทศ แต่สิ่งเหล่านี้จะไม่สามารถเกิดขึ้นได้เลย หากแม้แต่ศักยภาพบทบาทของอุตสาหกรรมตนเองเรายังไม่รู้จัก แล้วเราจะเรียนรู้เพื่อเพิ่มเติมต่อยอด นำอุตสาหกรรมเข้าถึงจุดที่เรียกว่าดิสรัปตัวเองได้อย่างไร เพราะฉะนั้นสิ่งสำคัญที่อุตสาหกรรมไทยจะสามารถรับมือกับกระแสดิสรัปได้ก็คือ การหันมาทบทวนบทบาทแนวคิดขั้นพื้นฐานของอุตสาหกรรมตนให้ชัดเจน และมองให้เห็นถึงพฤติกรรมตอบสนองในยุคดิจิทัล เหล่านี้อาจจะเป็นการปรับตัว และเตรียมความพร้อมต่อกระแสดิสรัปของอุตสาหกรรมไทย 

Disruptive Technology ส่งผลกระทบอย่างไร

ผลกระทบจาก Disruptive Technology - สมาร์ทโฟน หรือ โทรศัพท์มือถือรูปแบบเก่า ๆ - กล้องดิจิทัล ล้มล้าง กล้องฟิลม์ - บริการสตรีมมิ่ง ล้มล้าง อุตสาหกรรมการเช่าหนัง - Paypal ล้มล้าง การจ่ายเงินรูปแบบเก่า

ข้อใดคือผลของการเปลี่ยนแปลงในยุค Disruptive Technology

ผลกระทบจาก Disruptive Technology สมาร์ทโฟน ล้มล้าง โทรศัพท์มือถือรูปแบบเก่าๆ กล้องดิจิทัล ล้มล้าง กล้องฟิลม์ บริการสตรีมมิ่ง ล้มล้าง อุตสาหกรรมการเช่าหนัง Paypal ล้มล้าง การจ่ายเงินรูปแบบเก่า

Disruption Technology มีอะไรบ้าง

10 เทรนด์ DISRUPTIVE TECHNOLOGY ในปี 2021!!.
1. 5G Will Go Mainstream. ... .
2. Growing Demand for Ethical AI. ... .
3. Integration of AR Glasses. ... .
4. Reevaluation of Automation Roadmaps. ... .
5. Customer Data Platforms (CDP) ... .
6. Driver Monitoring Systems (DMS) ... .
7. Cloud-native Technologies. ... .
8. Cybersecurity Mesh..

เทคโนโลยีอะไรที่จะสามารถมา Disruption ธุรกิจในอนาคตได้

ทำไมองค์กรถึงควรโฟกัสที่ Disruptive Technology ?.
1. Cloud by Default. ... .
2. Hybrid Workplace. ... .
3. Cyber Security Focus. ... .
4. Data & AI Maturity. ... .
5. Edge Computing & IoT. ... .
6. Blockchain cross Industries. ... .
7. Web 3.0, Metaverse. ... .
8. Augmented/Virtual/Mixed Reality & Wearables..

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง