การเคลื่อนที่ของตะกอนธารน้ําแข็ง ทฤษฎี

พบว่ารูปร่างของทวีปสามารถรวมเข้ากันได้อย่างพอเหมาะแต่ไม่สมบูรณ์ เนื่องจากผลของการกัดเซาะชายฝั่งและการสะสมของตะกอนทำให้ทวีปเปลี่ยนไป

2. หลักฐานจากความคล้ายคลึงกันของกลุ่มหินและแนวภูเขา

รูปที่ 7 รูปแสดงกลุ่มหินและแนวภูเขา

//www.rmutphysics.com/charud/naturemystery/sci3/geology/6/index_ch_6-1.htm

 

กลุ่มหินที่พบในทวีปอเมริกาใต้ ทวีปแอนตาร์กติการ์ ทวีปแอฟริกาและอนุทวีปอินเดีย เป็นกลุ่มกินที่เกิดในช่วง 359-146ล้านปี และมีการระเบิดของภูเขาไฟเหมือนกัน

 

3. หลักฐานจากหินที่เกิดจากการสะสมตัวของตะกอนจากน้ำแข็ง

 

 

รูปที่ 8 รูปแสดงการสะสมตัวของตะกอนธารน้ำแข็ง

//www.google.co.th/imgres?imgurl=//elearning.stkc.go.th/

 

ในช่วงประมาณ 280 ล้านปี ที่ผ่านมา (ปลายของมหายุคพาลีโอโซอิก) พบหลักฐานว่าแผ่นดินบริเวณที่เคยเป็นส่วนประกอบของกอนด์วานา (Gondwana) ถูกปกคลุมด้วยแผ่นน้ำแข็ง และเมื่อนำหลักฐานเกี่ยวกับหินตะกอนซึ่งเกิดจากตัวกลางที่เป็นน้ำแข็งอายุเดียวกันและทิศทางการเคลื่อนที่ของธารน้ำแข็งพบว่ามีความสอดคล้องกันซึ่งสังเกตได้จากรอยขูดหินที่พบในทวีปต่างๆ จึงเป็นหลักฐานว่าทวีปต่างๆเคยต่อเป็นทวีปเดียวกัน

นักวิทยาศาสตร์เรียกสมัยน้ำแข็งที่เกิดขึ้นในช่วงปลายมหายุคพาลีโอโซอิกว่า สมัยน้ำแข็งคะรู (Karoo Ice Age)

4. หลักฐานจากซากบรรพชีวิน

 

 

รูปที่ 9รูปแสดงการค้นพบฟอสซิลของสัตว์ต่างๆในทวีปต่างๆ

//www.thaichristians.net/today/index.php?option=com_content&view=article&id=347:-continental-drift&catid=45:latest-news&Itemid=218

 

มีการพบซากบรรพชีวินชนิดเดียวกันในหลายทวีป ในขณะที่ทวีปต่างๆยังรวมติดกันอยู่สิ่งมีชีวิตเหล่านี้ได้แพร่กระจายและเมื่อทวีปแยกตัวออกจากกันดังเช่นปัจจุบันจึงทำให้พบซากบรรพชีวินนี้กระจายอยู่ตามทวีปต่างๆ

 

2.2 หลักฐานและข้อมูลทางธรณีวิทยา ที่สนับสนุนการเคลื่อนที่ของทวีป

 

2.2.1 เทือกเขาใต้สมุทร (mid-oceanic ridge)

 

 

รูปที่ 10 รูปแสดงเทือกสันเขาใต้สมุทรแอตแลนติก

//www.google.co.th/imgres?imgurl

 

ลักษณะที่โดดเด่นของพื้นมหาสมุทร คือ ลักษณะเทือกสันเขาใต้สมุทรที่มีฐานกว้างมากเมื่อเปรียบเทียบกับความสูง เช่นเทือกสันเขาใต้มหาสมุทรแอตแลนติกเป็นเทือกเขาจากตอนเหนือถึงตอนใต้ของหมาสมุทร แนวเทือกเขาขนานไปตามรูปร่างของทวีปโดยด้านหนึ่งขนานไปกับชายฝั่งของทวีปอเมริกา และอีกด้านหนึ่งขนานกับชายฝั่งของทวีปยุโรปและแอฟริกา

 

2.2.2ร่องลึกก้นสมุทร(trench)

รูปที่ 11รูปแสดงร่องลึกก้นสมุทร

//www.google.co.th/imgres?imgurl=//upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb

e/e2/Atlantic-trench.JPG/300px-Atlantic-

 

ร่องลึกก้นสมุทรเกิดเป็นแนวแคบแต่ลึกมาก เช่น ร่องลึกก้นสมุทรมาเรียนา (Mariana trench) มีความลึกประมาณ11กิโลเมตร ร่องลึกก้นสมุทรพบอยู่บริเวณขอบของทวีปบางทวีป เช่น บริเวณด้านตะวันตกของทวีปอเมริกากลาง และอเมริกาใต้ หรือเกิดใกล้กับแนวหมู่เกราะภูเขาไปรุปโค้ง เช่นหมู่เกาะญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์และเกาะสุมาตรา

 

2.2.3อายุหินบริเวณพื้นสมุทร

รูปที่ 12 รูปแสดงอายุหินบะซอลต์บริเวณรอยแยกกลางมหาสมุทรแอตแลนติก

//www.maceducation.com/e-knowledge/2502201100/02.htm

 

จากการสำรวจมหาสมุทรแปซิฟิก มหาสมุทรแอตแลนติก และมหาสมุทรอินเดีย รวมทั้งทะเลใกล้เคียงพบหินบะซอลต์ที่บริเวณหุบเขาทรุดหรือรอยแยกบริเวณสันเขาใต้สมุทร ซึ่งหิน
บะซอลต์ที่อยู่ไกลจากรอยแยกมีอายุมากกว่าหินบะซอลต์ที่อยู่ใกล้หุบเขาทรุด

นักวิทยาศาสตร์อธิบายได้ว่า เมื่อแผ่นธรณีเกิดรอยแยก แผ่นธรณีจะเกิดการเคลื่อนตัวออกจากกันช้าๆ ตลอดเวลา ในขณะเดียวกันเนื้อของหินบะซอลต์จากส่วนล่างจะแทรกเสริมขึ้นมาตรงรอยแยกเป็นชั้นธรณีภาคใหม่ ทำให้บริเวณรอยแยกเกิดหินบะซอลต์ใหม่เรื่อยๆ ดังนั้นแผ่นธรณีบริเวณเทือกสันเขาใต้สมุทร จึงมีอายุอ่อนที่สุดและแผ่นธรณีใกล้ขอบทวีปจะมีอายุมากกว่า นักวิทยาศาสตร์ตั้งข้อสังเกตว่า โลกมีการสร้างชั้นธรณีภาคบริเวณเทือกสันเขาใต้สมุทรขึ้นมาใหม่ตลอดเวลา

 

2.2.4 ภาวะแม่เหล็กโลกบรรพกาล (palaeomagnetism)

รูปที่ 13 รูปแสดงการกลับขั้วของสนามแม่เหล็กโลก

//beebeedome.myfri3nd.com/blog/2010/11/16/entry-1

ภาวะแม่เหล็กโลกบรรพกาล หมายถึง ร่องรอยสนามแม่เหล็กโลกในอดีตมักศึกษาจากหินบะซอลต์ที่มีแร่แมกนีไทต์ (Fe3O4) เป็นองค์ประกอบ ในขณะที่ลาวาบะซอลต์ไหลบนผิวโลกอะตอมของธาตุเหล็กที่อยู่ในแร่แมกนีไทต์จะถูกเหนี่ยวนำโดยสนามแม่เหล็กโลกทำให้มีการเรียงตัวในทิศทางเดียวกับเส้นแรงแม่เหล็กโลก

ภาวะของสนามแม่เหล็กโลกบรรพกาลในบางช่วงเวลาทางธรณีวิทยาเป็นสนามแม่เหล็กแบบกลับขั้ว (Reverse Magnetism) หมายถึง ขั้วเหนือของแม่เหล็กโลกจะอยู่บริเวณใกล้ขั้วโลกใต้และขั้วใต้ของแม่เหล็กโลกจะอยู่บริเวณใกล้ขั้วโลกเหนือ

ความเป็นแม่เหล็กอย่างอ่อนของหิน ซึ่งอาจมีตั้งแต่ตะกอนสะสมตัวหรือขณะหินหนืดกำลังแข็งตัว ในขณะที่เกิดสารแม่เหล็กในเนื้อหินจะวางตัวตามทิศทางสนามแม่โลก ด้วยคุณสมบัติดังกล่าวจึงถูกนำไปใช้หาทิศของขั้วแม่เหล็กโลกในช่วงเวลาต่าง ๆ ของหินและเป็นหลักฐานสำคัญที่สนับสนุนทฤษฎีการขยายตัวของพื้นมหาสมุทร

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง