สงครามฝิ่นระหว่างจีนกับอังกฤษ



เรามาดูชนวนสงครามฝิ่น ปี ค.ศ.1840 (ปีรัชกาลที่ 20 จักรพรรดิเต้ากวาง) รัฐบาลอังกฤษใช้ข้ออ้างว่า จีนเผาทำลายฝิ่นที่เมืองหู่เหมิน (Destruction of opium at Humen) มณฑลกว่างตง ซึ่งเกิดขึ้นก่อนหน้านี้ 1 ปี จึงมีมติยกทัพมารุกรานจีน เดือนมิถุนายนปีเดียวกัน เรือรบกองทัพอังกฤษ 47 ลำพร้อมทหารบก 4,000 นาย เดินทางมาถึงบริเวณนอกปากแม่น้ำจูเจียง มณฑลกว่างตง ทำการปิดล้อมทางทะเล และส่งเรือรบยิงถล่มบริเวณแม่น้ำจูเจียง ถือเป็นการเริ่มต้นสงคราม

ผลการสู้รบปรากฏว่า จีนแพ้อังกฤษ และต้องชำระค่าปฏิกรรมสงครามและยกที่ดินให้อังกฤษ ตามสนธิสัญญาหนานจิงระหว่างจีนกับอังกฤษ ซึ่งลงนามวันที่ 29 สิงหาคม ปี ค.ศ.1842 โดยกำหนดว่า

1. ยกเกาะฮ่องกงให้อังกฤษ (จีนสูญเสียอธิปไตยเหนือดิน)

2. เปิดกว่างโจว เซี่ยเหมิน ฝูโจว หนิงโป และเซี่ยงไฮ้ให้เป็นเมืองท่าค้าขาย อนุญาตให้ชาวอังกฤษตั้งสถานกงสุลในเมืองท่าที่ทำการค้าขาย (จีนสูญเสียอธิปไตยทางการค้า)

3. จีนชำระค่าปฏิกรรมสงครามแก่อังกฤษจำนวน 21,000,000 หยวน เงินดังกล่าวประกอบด้วยค่ายาฝิ่น 600,000 หยวน หนี้สินทางการค้ากับนักธุรกิจอังกฤษ 300,000 หยวน และงบประมาณทหารแก่กองทัพอังกฤษ 12,000,000 หยวน (เงินทองของจีนไหลสู่เมืองนอกก้อนมหึมา)

4. การเก็บภาษีสินค้านำเข้า-ส่งออกในจีนของอังกฤษ จีนต้องร่วมหารือกับอังกฤษก่อน (จีนสูญเสียอธิปไตยด้านภาษีศุลกากร)

5. นักธุรกิจสามารถทำการค้าขายกับนักธุรกิจจีนอย่างเสรี ไม่ต้องถูกจำกัดจาก “กงหาง” หรือ “หน่วยงานทางหลวง” (ระบบผูกขาดตามเมืองค้าขายสำคัญของจีนได้ถูกทำลายลง, จีนสูญเสียอธิปไตยด้านการค้า)

สนธิสัญญาหนานจิงระหว่างจีนกับอังกฤษเป็นสนธิสัญญาที่ไม่เสมอภาคเท่าเทียมกันฉบับแรกในประวัติศาสตร์จีน หลังจากนั้น ยังมีการลงนามสนธิสัญญาที่ไม่เสมอภาคเท่าเทียมกันอีกหลายฉบับ เช่น สนธิสัญญากับสหรัฐ ฝรั่งเศส เบลเยี่ยม และสวีเดน เป็นต้น จีนเริ่มยกที่ดิน ชำระค่าปฏิกรรมสงคราม และร่วมกำหนดภาษีศุลกากรกับต่างประเทศ ถือเป็นการทำลายอธิปไตยของจีนอย่างร้ายแรง พร้อมกันนี้ สงครามฝิ่นยังถือเป็นจุดเริ่มต้นประวัติศาสตร์การต่อต้านการรุกรานของต่างชาติในยุคใกล้

สนธิสัญญาที่ไม่เสมอภาคดังกล่าว ทำให้อธิปไตยของจีนถูกทำลายมากขึ้น ทำให้จีนเริ่มตกทุกข์ได้ยากมากขึ้น ประชาชนจีนต้องต่อสู้อย่างทรหดอดทนกว่าเดิม

การแพ้สงครามฝิ่น ทำให้ชาวจีนรู้จักโลกมากขึ้น มีวิสัยทัศน์ต่อโลกมากขึ้น เริ่มหาทางสร้างประเทศให้เข้มแข็งเพื่อต่อต้านการรุกรานจากต่างชาติ เริ่มหันไปเรียนรู้กับโลกตะวันตก เพื่อนำมาใช้พัฒนาประเทศ

มีข้อสังเกตประการหนึ่งคือ ถึงสงครามจะจบไปแล้ว แต่ภายในทศวรรษที่ 19 คนจีนไม่น้อยกว่า 13 ล้านชีวิตที่ยังคงติดฝิ่นอยู่ เศรษฐกิจจีนถูกทำลายลงอย่างย่อยยับ และราชวงศ์ชิงก็เข้าสู่สภาวะแห่งการล่มสลายในช่วงเวลานั้น

การลงนามสัญญาหนานจิงระหว่างจีนกับอังกฤษ โดยเปิดเสรีกว่างโจว ฝูโจว เซี่ยเหมิน หนิงโป และเซี่ยงไฮ้ให้เป็นเมืองท่าที่ทำการค้าขาย ประเทศต่างๆ ก็เริ่มตั้งสถานกงสุลในเมืองเหล่านี้ มีต่างชาติมาพำนักและค้าขายในเมืองเหล่านี้มากขึ้น สถาปัตยกรรมแบบตะวันตกยังคงมีให้เห็นในเมืองเหล่านี้ เช่น สถาปัตยกรรมแบบตะวันตกในเขตซาเมี่ยนของเมืองกว่างโจว ในเกาะกู่ล่างอี่ว์ของเมืองเซี่ยเหมิน และในเขตว่ายทานของนครเซี่ยงไฮ้ สถาปัตยกรรมแบบตะวันตกดังกล่าวล้วนมีประวัติเก่าแก่กว่าร้อยปี และเป็นแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยมในปัจจุบัน

จากปี “เกินจื่อเหนียน” ปีชวด ปี ค.ศ.1840 มาถึงปี “เกินจื่อเหนียน” ปีชวด ปี ค.ศ.2020 ในปีนี้ เวลาผ่านไป 180 ปี สถานการณ์โลกเกิดการเปลี่ยนแปลงไปมาก จีนทำการต่อสู้อย่างทรหดอดทนมาเป็นเวลา 180 ปี สามารถสร้างความเจริญรุ่งเรืองและความเข้มแข็งเกรียงไกรยิ่งขึ้นในทุกวันนี้ มองวิสัยทัศน์สากลจากมุมกว้าง จีนเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาและสันติภาพของโลก จนเป็นที่ชื่นชมของประชาคมโลกมากขึ้นทุกวัน

(TIM/LING)

เป็นที่รู้กันดีในปัจจุบันว่าจีนมีเป้าหมายที่จะยกระดับประเทศขึ้นเป็นมหาอำนาจอันดับหนึ่งของโลก ซึ่งก็ไม่ใช่แค่ความฝัน เพราะในปัจจุบันเศรษฐกิจของจีนมีขนาดใหญ่จนสามารถไล่ขึ้นมาตีคู่แข่งกับแชมป์เก่าอย่างสหรัฐอเมริกาใกล้เข้ามาทุกที

        จุดเริ่มต้นของความยิ่งใหญ่นี้คือเหตุการณ์ไหน?

        บางคนวิเคราะห์ว่าหลังจากฝ่ายอักษะพ่ายแพ้สงครามโลกครั้งที่ 2 และญี่ปุ่นถอนทัพออกจากจีน บ้างว่าหลังจากก๊กมินตั๋งปฏิวัติระบบฮ่องเต้ บ้างก็ว่าตอนที่เหมาเจ๋อตงก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์จนชนะสงครามภายในและก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีนสำเร็จ หรือบ้างก็ว่าเป็นช่วงหลังจากที่เติ้งเสี่ยวผิงดำเนินนโยบายเปิดประเทศ

        แต่หากถามผม ขอตอบว่าเหตุการณ์ที่ทำให้ชาติจีนยิ่งใหญ่ในทุกวันนี้คือ ‘สงครามฝิ่น’ ต่างหาก

        สงครามฝิ่นเริ่มต้นปลายยุคสมัยราชวงศ์ชิง อันเป็นราชวงศ์สุดท้ายในระบบการปกครองแบบฮ่องเต้ ในยุคนั้นจีนทำการค้ากับชาวตะวันตกโดยการใช้ระบบผูกขาดโดยกงหาง หรือพ่อค้าจีน และจำกัดการค้าขายแค่ในเมืองกว่างโจว ทำให้ชาวตะวันตกไม่สามารถเข้าไปทำการค้าได้อย่างอิสระเสรี ในทางกลับกัน ใบชาจีนกลับเป็นสินค้าที่ได้รับความนิยมอย่างยิ่งในยุโรป โดยเฉพาะในอังกฤษ ทำให้อังกฤษนำเข้าใบชาจากจีนเป็นจำนวนมหาศาล การที่อังกฤษไม่สามารถเข้าไปทำการค้าได้อย่างเสรี ทำให้ต้องเสียดุลการค้ามหาศาลในระยะแรก

        จนกระทั่งในทศวรรษ 1820 อังกฤษนำสินค้าตัวใหม่เข้ามาเปิดตลาดในจีน

        คือฝิ่น!

        พืชที่ปลูกในประเทศอินเดียขณะเป็นอาณานิคมของอังกฤษ กลายเป็นสินค้านำเข้าที่ทำกำไรมหาศาล การค้าฝิ่นส่งผลให้สภาพการเสียดุลการค้าของอังกฤษฟื้นฟูขึ้นอย่างรวดเร็ว

        ในขณะเดียวกัน พิษภัยของฝิ่นบ่อนทำลายวิถีชีวิตของชาวจีนอย่างรวดเร็ว ภายในแค่ 10 ปีมีชาวจีนติดฝิ่นแล้วกว่า 10 ล้านคน และจีนก็ได้ก้าวเข้าสู่ “ยุคป่วยไข้” การเสพติดฝิ่นของคนจีนในทุกชนชั้นทำให้รัฐบาลราชวงศ์ชิงตระหนักถึงภัยคุกคามต่างๆ ทั้งความเกียจคร้านของชนชั้นแรงงาน ที่เอาเวลาทำงานไปดูดฝิ่น ข้าราชการมากมายที่มึนเมาและหันมากระทำการทุจริตฉ้อฉล

        ผลที่เลวร้ายจากการที่คนในชาติมึนเมา ทำให้ราชสำนักเกรงกลัวว่าจะต้องถึงคราวล่มสลาย จึงจำเป็นที่จะต้องสั่งห้ามให้มีการนำเข้าฝิ่น หากพบว่าผู้ใดครอบครองฝิ่น โทษนั้นคือปรหาร

        แล้วคิดว่าอังกฤษจะยอมหรือ?

        เพิ่งจะกลับมาได้ดุลการค้าอยู่หมาดๆ อยู่ดีๆ คิดจะห้ามก็ห้ามแบบนี้ ยอมให้ง่ายๆ ไม่ได้

        เป็นไปได้ว่าอังกฤษกำลังมองมาตรการปราบปรามฝิ่นของจีนเป็นโอกาสที่จะสำแดงอำนาจเรือรบและยุทโธปกรณ์ล้ำสมัยของพวกเขา โดยใช้คำว่า ‘การค้าเสรี’ เป็นข้ออ้างในการทำสงคราม เพื่อให้จีนยอมถอยมาตรการปราบปรามฝิ่น และยอมให้มีการค้าฝิ่นเช่นเคย

        สำหรับคนจีน เมื่อมีใครถืออาวุธเข้ามารุกล้ำ ก็ต้องสู้กันให้ตายไปข้างหนึ่ง สงครามจึงยืดเยื้ออยู่หลายปี เกิดเป็นสงคราม 2 ระลอกใหญ่ คือช่วงระหว่างปี ค.ศ. 1834-1843 และปี ค.ศ.1856-1860

        ภาพของสงครามก็จะประมาณว่าเรือสำเภาชนเรือรบติดปืนใหญ่ ทหารอังกฤษไว้หนวดเคราสวยงาม ใสชุดเครื่องแบบสุดเท่ รองเท้าหนังพร้อมหมวกทรงสูง มือถือปืนยาว ปลายกระบอกติดดาบ ต่อแถวกันเป็นระเบียบ ยิงปืนแม่นยำ และใส่กระสุนอย่างเชี่ยวชาญ ในขณะที่ทหารจีนถักเปียยาว ใส่หมวกฟางทรงสามเหลี่ยม ชุดเก่าๆ มีปืนแค่เฉพาะบางหน่วย ปืนก็ดีไม่เท่าอังกฤษ ยิงก็ไม่ค่อยแม่น กระสุนก็น้อย หน่วยที่ไม่มีปืนก็ต้องจับหอกจับดาบวิ่งเข้าไปสู้กับห่ากระสุน

        แค่นี้ไม่ต้องเดาผลแพ้ชนะแล้ว…

        สงครามฝิ่นในมุมมองอังกฤษเป็นแค่เรื่องการค้าเท่านั้น ชาวอังกฤษเรียกสงครามครั้งนี้ว่าสงครามการค้า (Trade War) ซึ่งค่อนข้างชัดเจนว่าพวกเขามองข้ามประเด็นมนุษยธรรมว่าด้วยการเป็นผู้ค้ายาเสพติด แต่ให้ความสำคัญกับเสรีภาพทางการค้า เมื่อมีอุปสงค์ก็ย่อมต้องมีอุปทาน ทั้งยังมองว่าการติดฝิ่นในจีนเป็นเพราะตัวคนจีนไร้วินัยเอง จีนไม่ควรมาห้ามเราค้าขายแบบนี้ การใช้กองกำลังเข้ามาบุกรุกก็เพียงเพื่อข่มขวัญ หวังผลต่ออายุการค้า หาได้ต้องการทำลายล้างจีนให้สิ้นซากไม่

        ส่วนในมุมมองคนจีน การคุกคามด้วยการเอาทหารถือปืนเข้ามาคือการประกาศสงครามต่อราชวงศ์ของแผ่นดินที่มีประวัติศาสตร์มายาวนานนับพันปี เป็นดินแดนที่เป็นไปด้วยสุสานของบรรพบุรุษ การมารุกรานโดยอารยชนตะวันตกถือเป็นการรบกวนวิญญาณบรรพบุรุษทั้งหลายและวิญญาณฮ่องเต้องค์เก่า ซึ่งล้วนเป็นสิ่งที่สำคัญต่อจิตใจคนจีนเป็นอย่างมาก ที่สำคัญ หากวันนี้เราเลือกที่จะถอยมาตรการปิดกั้นพื้นที่ค้าขายชาวอังกฤษ วันหน้าเขาจะมาล้มล้างราชวงศ์ขึ้นมา เราต้องถอยให้เขาอีกไหม

        สงครามจบลงเมื่อทัพอังกฤษยกมาประชิดกรุงหนานจิงซึ่งเป็นเมืองหลวง ณ ขณะนั้น จีนเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ และต้องยอมเซ็น ‘สนธิสัญญาหนานจิง’ และสัญญาอื่นๆ ที่ทำให้จีนต้องเปิดเมืองท่าตามชายฝั่งเพื่อปล่อยให้ชาวอังกฤษเข้าไปค้าขายได้อย่างอิสระ โดยมีสิทธิพิเศษมากมาย หนึ่งในนั้นคือ หากชาวอังกฤษกระทำผิดกฎหมาย ก็ไม่จำเป็นต้องขึ้นศาลในจีน

        โดยในภายหลัง ‘สิทธิสภาพนอกอาณาเขต’ เหล่านั้นก็กลายเป็นประเด็นที่พ่อค้าจากตะวันตกชาติอื่นเรียกร้อง และเข้ามากอบโกยเงินทองและผลประโยชน์มหาศาล ที่ร้ายแรงที่สุด คือการที่จีนต้องเสียเอกราชในส่วนของเกาะฮ่องกง นับเป็นช่วงเวลาที่น่าอัปยศที่สุดในประวัติศาสตร์จีน

        ถามว่าทำไมผมถึงมองว่านี่คือจุดเริ่มต้นสู่จุดสูงสุดของประเทศจีน?

        สงครามครั้งนี้ทำให้คนจีนได้เรียนรู้ว่าแท้จริงแล้วยังมีประเทศอื่นข้างนอกที่มีวิทยาการล้ำสมัยกว่า ยุทโธปกรณ์ดุดันกว่า และมีหัวทางการค้ามากกว่า ประเทศจีนก็ไม่ใช่ศูนย์กลางของจักรวาลอย่างที่บรรพบุรุษปลูกฝังให้เชื่อ และบารมีของ ‘โอรสสวรรค์’ อย่างฮ่องเต้ก็ไม่สามารถคุ้มครองชาวจีนจากภัยคุกคามภายนอกได้จริง

        คนจีนจึงเริ่มละทิ้งความเชื่อเก่า การปกครองด้วยระบบฮ่องเต้กลายเป็นสิ่งที่ไม่ใช่อีกต่อไปแล้ว เมื่อประเทศขาดจุดศูนย์รวมทางจิตใจจากภายในประเทศ จึงมีคนบางกลุ่มนำเข้าแนวคิดจากนอกประเทศมา ไม่ว่าจะเป็นหลักการประชาธิปไตยที่เน้นสิทธิเสรีภาพ หรือหลักการสังคมนิยมที่เน้นความเท่าเทียม อันแนวคิดเหล่านี้ก็นำพามาซึ่งจุดจบของราชวงศ์ชิง

        ประเทศจีนยุคหลังราชวงศ์ชิงเป็นยุคที่สับสน เหมือนคนตาบอดที่กำลังพยายามคลำหาทางเดินต่อ เพราะนอกจากเศรษฐกิจที่พังย่อยยับ ยังมีการรุกรานจากประเทศญี่ปุ่นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศจีนต้องลองผิดลองถูกกับระบอบประชาธิปไตยที่ล้มเหลวเพราะควบคุมกองทัพไม่ได้ ระบบคอมมิวนิสต์แบบเหมาเจ๋อตงก็ล้มเหลวทั้งในด้านเศรษฐกิจและด้านมนุษยธรรม

        หลังจากการเสียชีวิตของเหมาเจ๋อตง การปฏิวัติวัฒนธรรมถึงคราวสิ้นสุด เติ้งเสี่ยวผิงที่ขึ้นมาเป็นผู้นำรุ่นที่ 2 ก็ให้ความสำคัญกับทุนนิยมมากขึ้น และทำการปฏิรูปเปิดประเทศ ให้โอกาสต่างชาติเข้ามาลงทุนในระดับที่ควบคุมได้อีกครั้ง อันเป็นจุดสิ้นสุดของ ‘จีนยุคป่วยไข้’ อย่างแท้จริง

        เห็นได้ชัดเจนว่าหลังยุคสงครามฝิ่น ประเทศจีนแม้ยังคงถูกพายุพัดโถมเข้ามาอย่างไม่หยุดหย่อน ทั้งสงครามภายนอกและภายใน สังเวยชีวิตคนไปเป็นหลายสิบล้าน ประชาชนอดอยาก แต่ที่สุดก็กลับมาตั้งหลักได้อีกครั้ง จนตอนนี้ ด้วยเวลาเพียงไม่ถึงร้อยปี จีนกลับมาผงาดอีกครั้ง

        หากไม่ใช่เพราะสงครามฝิ่น จีนอาจยังคงยังจมอยู่ในระบบความคิดเก่าๆ ความภาคภูมิใจในประวัติศาสตร์ที่ทำให้ไม่เห็นภาพจริงในปัจจุบัน

        สงครามฝิ่นไม่ใช่จุดที่ทำให้ชาติพัฒนาโดยตรง แต่เป็นความเจ็บปวดที่ในที่สุดทำให้คนจีนเห็นว่าประเทศที่เราภูมิใจนักหนา แท้จริงแล้วยังมีจุดอ่อน ที่ต้องพัฒนาแก้ไขอีกมากมายเลยทีเดียว

        …หรือว่า …สิ่งใหม่จะเกิดขึ้นมาได้ สิ่งเก่าต้องจากไปเสียก่อนเสมอ?

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง