ที่มาและความสําคัญของปัญหา คือ

ความเป็นมาและความสําคัญของปัญหาวิจัยเขียนบรรยายโดยแสดงให้เห็นถึงภาพรวม ความสําคัญของเรื่อง ว่าทําไมถึงต้องการศึกษาปัญหาดังกล่าว สามารถนําข้อมูลที่เกี่ยวข้องมาแสดง ใส่สถิติคํากล่าวของนักวิชาการ หรือผู้เชี่ยวชาญได้เขียนบทความในประเด็นนั้นไว้ หรือข่าวสารที่เป็นปัจจุบัน ซึ่งได้กล่าวถึงเรื่องดังกล่าว โดยมีแหล่งอ้างอิงที่ชัดเจนนําเสนอความสําคัญของประเด็นปัญหาวิจัย เชื่อมโยงกับสถานการณ์โลก สถานการณ์ของประเด็นวิจัยปัจจุบัน ความก้าวหน้า  ของวิทยาการต่างๆ

เขียนเข้าสู่ประเด็นปัญหา อธิบายสภาพที่คาดหวัง (มาตรฐานคุณภาพ ประสิทธิภาพ) กับสภาพที่เป็นจริงมีการวิเคราะห์ปัญหาและสถานการณ์ของปัญหาในบริบทของผู้วิจัยองค์ความรู้ที่ผ่านมา (Previous Research) ต่อประเด็นปัญหาวิจัยคําตอบที่ผ่านมาแนวทางการหาคําตอบ วิธีการวิจัย วิธีการแก้ปัญหาที่หลากหลาย “การเขียนความสำคัญของปัญหา เป็นส่วนที่เกริ่นนำทำให้ผู้อ่านเข้าใจปัญหาที่จะทำการศึกษาว่า ปัญหาคืออะไร มีความสำคัญในแง่มุมไหนหรือประเด็นไหนบ้าง สามารถเห็นความต่อเนื่องและความรุนแรงของปัญหาที่เกิดขึ้นจำเป็นที่จะต้องศึกษา เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหานั้น”

การเชื่อมโยงระหว่างปัญหา วัตถุประสงค์ และสมมติฐาน

การกำหนดปัญหาการวิจัยมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงใกล้ชิดกันมากกับการกำหนดวัตถุประสงค์และสมมติฐาน โดยอาศัยวิธีการทบทวนทฤษฎี แนวคิดและผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกระบวนการดังกล่าวเป็นการสร้างแนวคิดตามที่กล่าวมาแล้วข้างต้นนั่นเอง การบอกปัญหาและความสำคัญของปัญหานั้นสำคัญอย่างไร ทำให้นักวิจัยจะเผชิญกับปรากฏการณ์ธรรมชาติ แล้วเกิดความอยากรู้อยากเห็นว่าทำไมจึงเกิดเหตุการณ์หรือปัญหาเช่นนั้น ในขั้นเริ่มต้นนักวิจัยมักจะประสบกับอุปสรรค ในการทำความเข้าใจกับปรากฏการณ์ดังกล่าว

ซึ่งนักวิจัยอาจจะสังเกตได้หรือไม่สามารถสังเกตได้ บางครั้งอาจเข้าใจลางเลือน หรือคลาดเคลื่อน ดังนั้น ขั้นตอนสำคัญ ก็คือ นักวิจัยจะพยายามสร้าง “ความคิด” (idea) ให้เกิดขึ้นว่า ปัญหาเกี่ยวข้องคืออะไร ในขั้นนี้ ปัญหาที่ได้คงเป็นแค่ภาพลางเลือน และกว้าง จึงเป็นการยากมากที่จะได้ปัญหาที่ชัดเจน นักวิจัยจะต้องใช้ความเพียร พยายาม คิดทบทวนเกี่ยวกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น โดยอาศัยความรู้และประสบการณ์ที่มีอยู่ช่วย นักวิจัยอาจอาศัยการค้นคว้าจากเอกสารและรายงานวิจัยที่เกี่ยวข้องด้วย หลังจากนั้น ความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาจะเริ่มชัดเจนมากขึ้นเป็นลำดับ ในที่สุดนักวิจัยจะสามารถกำหนดข้อความ ปัญหาที่ชัดเจนได้

ปัญหาการวิจัย คือ ประเด็นที่นักวิจัยสงสัยและต้องการดำเนินการเพื่อหาคำตอบที่ถูกต้อง ตรงกับความเป็นจริง ทำให้มีลักษณะข้อสงสัยของผู้วิจัยต่อสถานการณ์ทั้งที่เป็นความแตกต่างและไม่แตกต่างระหว่างสิ่งที่เป็นจริงกับสิ่งที่คาดหวัง และที่สำคัญปัญหานั้นไม่สามารถหาคำตอบด้วยสามัญสำนึก มีความแตกต่างจากปัญหาทั่วไปคือปัญหาทั่วไป หมายถึง สภาพที่เป็นความขัดแย้งระหว่างสิ่งที่เป็นจริงกับสิ่งที่คาดหวัง แต่ปัญหาการวิจัยอาจเป็นเรื่องที่ใช่ความแตกต่างหรือไม่แตกต่างระหว่างสิ่งที่เป็นจริงกับสิ่งที่คาดหวังก็ได้ และต้องไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยสามัญสำนึก

ถ้าปัญหาใดที่สามารถแก้ไขได้ด้วยสามัญสำนึกก็ไม่จำเป็นต้องทำการวิจัย ดังนั้น การกำหนดปัญหาการวิจัยจึงเป็นเรื่องที่ไม่ง่ายนักสำหรับนักวิจัยที่จะกำหนดปัญหาการวิจัยที่ง่าย ชัดเจน และครบถ้วนสมบูรณ์ นักวิจัยส่วนมากอาจมีแนวความคิดที่สลับซับซ้อน บางคนอาจใช้ระยะเวลายาวนานในการสร้างแนวคิด และวิเคราะห์ ก่อนที่จะสามารถตัดสินใจได้ว่า ปัญหาการวิจัยที่เขาต้องการจะหาคำตอบที่แท้จริงคืออะไร สามารถวิเคราะห์ปัญหาแยกระหว่างปัญหาการวิจัยและปัญหาทั่วไปได้ ตัวอย่างปัญหาวิจัย และผู้วิจัยต้องมีความเข้าใจความแตกต่างของปัญหาการวิจัยในเรื่องนั้นๆ ต้องคำนึงถึงลักษณะปัญหาที่ดี เพื่อเป็นแนวทางในการตัดสินใจเลือกตัวปัญหามาทำวิจัย ลักษณะของปัญหาที่ดีนั้นมีดังนี้

          1. เป็นปัญหาที่สำคัญ มีประโยชน์  ทำให้เกิดความรู้ใหม่หรือใช้ปรับปรุงแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้

          2. เป็นปัญหาที่สามารถหาคำตอบได้ด้วยวิธีการวิจัย

          3. เป็นปัญหาที่สามารถหาข้อมูลมาตรวจสอบสมมุติฐาน เพื่อหาข้อสรุป

          4. เป็นปัญหาที่สามารถให้ค่านิยามปัญหาได้

          5. เป็นปัญหาที่สามารถวางแผนการดำเนินงานตามขั้นตอนไว้ล่วงหน้าได้

          6. เป็นปัญหาที่สามารถใช้วิชาการ และขั้นตอน หรือเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการเก็บข้อมูลได้

การกำหนดปัญหาการวิจัยมีความสำคัญอย่างมาก นอกจากจะช่วยให้เรื่องที่จะทำการวิจัยแคบลง มีเป้าหมายแน่นอนแล้ว ยังช่วยชี้แนะแนวทางในการกำหนดวัตถุประสงค์และสมมติฐาน การเก็บข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล และการสรุปผลวิจัยอีกด้วย  อีกนัยหนึ่ง ปัญหาการวิจัยเป็นเครื่องบ่งชี้แนวทางการวิจัย ซึ่งจะนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์  หากกำหนดปัญหาการวิจัยถูกต้องชัดเจน การวิจัยย่อมจะประสบผลสำเร็จในการแก้ไขปัญหา แต่หากปัญหาการวิจัยผิดพลาด การวิจัยยอมจะล้มเหลวตามไปด้วยแหล่งที่มาของปัญหาการวิจัย ซึ่งจะมาจากการค้นพบหรือค้นคว้าจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ดังนี้

1.  การอ่านตำรา บทความต่าง ๆ ที่ผู้วิจัยสนใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การอ้างอิงทฤษฎีที่เกี่ยวข้องในเรื่องที่ตนเองสนใจทำวิจัย เพราะทฤษฎีจะช่วยชี้นำว่ามีสิ่งใดที่ควรทำวิจัย หรือบางครั้งทฤษฎีทำให้ผู้ทำวิจัยจะต้องทำการพิจารณาและวิเคราะห์ก่อนนำไปใช้ด้วย

2. จากการวิจัยที่มีผู้อื่นได้ทำไว้แล้ว เช่นวารสารวิจัย หรือปริญญานิพนธ์  ซึ่งทำให้ได้แนวความคิดที่จะเลือกหัวข้อปัญหาของงานวิจัยได้ และยังทราบได้ว่ามีผู้เคยทำวิจัยแล้วหรือไม่ ขาด และจะต้องเพิ่มเติมอย่างไร และเพื่อมิให้เกิดความซ้ำซ้อนในงานวิจัยอีกด้วย

3. จากประสบการณ์ และข้อคิดของผู้อื่น ๆ ที่เคยคลุกคลีกับงานวิจัย

4. จากการจัดสัมมนา และมีการอภิปรายในหัวข้อต่าง ๆ ถ้าผู้วิจัยสนใจ

5. จากข้อโต้แย้ง หรือข้อวิพากวิจารณ์ของบุคคลที่อยู่ในวงการวิชาชีพนั้น ๆซึ่งตรงกับเรื่องที่ผู้วิจัยสนใจ

6. จากสถาบัน หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งอาจจะทำให้ได้แนวคิดในหัวข้อของการวิจัย

หลักเกณฑ์ของการกำหนดปัญหาวิจัย ปัญหาการวิจัยที่ดีควรจะเป็นอย่างไร  แม้ว่าการเขียนปัญหาการวิจัยจะไม่มีหลักเกณฑ์ตายตัวที่แน่นอน แต่การตั้งปัญหาการวิจัยควรมีหลักเกณฑ์ที่นำพิจารณา 3 ประการ คือ

            1. ปัญหาควรปรากฏใ “ความสัมพันธ์” ระหว่างตัวแปรสองตัว หรือเกินกว่าสองตัว

            2. ปัญหาต้องกำหนดให้ชัดเจน  ไม่กำกวม โดยกำหนดในรูป “คำถาม” การตั้งคำถามมีข้อดีทำให้สามารถสื่อให้เห็นปัญหาได้โดยตรง

            3. การกำหนดปัญหาควรเขียนในรูปที่สามารถทดสอบเชิงประจักษ์ หรือ จากสภาพความเป็นจริงได้ ปัญหาการวิจัยนอกจากแสดงความสัมพันธ์ แล้ว ตัวแปรที่สัมพันธ์กันต้องสามารถนำไปวัดได้  (measured)

ปัญหาในการกำหนดปัญหาวิจัย

            การกำหนดปัญหาการวิจัยเป็นเรื่องยาก โดยเฉพาะสำหรับนักวิจัยที่เพิ่งเริ่มต้น ปัญหาที่พบบ่อยที่สุดคือ

          1. ปัญหานักวิจัยทำการรวบรวมข้อมูลมาก่อน  แล้วมาตั้งปัญหาภายหลัง  ผลคือข้อมูลที่ได้มานั้นไม่ครบถ้วนหรือไม่เพียงพอที่จะตอบปัญหาที่ตั้งไว้ได้ วิธีแก้ก็คือควรกำหนดปัญหา วัตถุประสงค์ของการวิจัยให้แน่นอน เสร็จแล้วจึงลงมือเก็บข้อมูล ควรจำไว้ว่า ปัญหาการวิจัย เป็นตัวชี้แนะในการเก็บข้อมูล ไม่ใช้ข้อมูลเป็นตัวชี้นำการตั้งปัญหา

          2. การตั้งปัญหาไม่ชัดเจน  ไม่เอื้ออำนวยให้เก็บข้อมูลได้ ปัญหาที่ดีจะต้องอยู่ในรูปของคำถามซึ่งประกอบไปด้วยตัวแปรอย่างน้อยสองตัว โดยที่ตัวแปรเหล่านั้นแสดงความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันด้วย เช่น X มีความสัมพันธ์กับ Y ใช่หรือไม่?, X  และ Y มีความสัมพันธ์กับ Z อย่างไร?, X  สัมพันธ์กับ  Y ภายใต้เงื่อน A และ B อย่างไร?

          3.  ปัญหากว้าง  ความยากลำบากอย่างหนึ่งที่นักวิจัยเผชิญคือปัญหามีลักษณะกว้างเกินไป  ถ้าปัญหามีลักษณะกว้างมักจะครุมเครือ ไม่อาจทดสอบได้ จึงไม่มีประโยชน์ถึงแม้จะน่าสนใจก็ตาม ปัญหาที่กว้างและครุมเครือเกินไป จะพบเห็นได้ในสังคมศาสตร์ เช่น  “การศึกษาประชาธิปไตยส่งเสริมการเรียนรู้ทางสังคมและการเป็นพลเมืองดี”  “ลัทธิการใช้อำนาจในห้องเรียนขัดขวางความคิดเชิงสร้างสรรค์ของเด็ก”  ปัญหาเหล่านี้น่าสนใจแต่กว้างเกินไปจนไม่อาจนำไปทดสอบได้

          4.ปัญหาที่ไม่ได้มาจากผลการวิจัย การตั้งปัญหาไม่ได้อาศัยพื้นฐานจากผลการวิจัย แบบจำลองและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องแต่ประการใดวิธีแก้ก็คือ จะต้องสร้างปัญหาโดยอาศัยพื้นฐาน แนวคิดจากผลการวิจัย แบบจำลองและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องเสมอ        

          การวิจัยเป็นสิ่งสําคัญ ที่ผู้วิจัยต้องกําหนดคําถามขึ้น (problem identification) และให้นิยามปัญหานั้นอย่ํางชัดเจนเพราะปัญหาที่ชัดเจนจะช่วยให้ผู้วิจัยกําหนดวัตถุประสงค์ตั้งสมมติฐาน ให้นิยามตัวแปรที่สําคัญๆ ตลอดจนการวัดตัวแปรเหล่ํานั้นได้ถ้ําผู้วิจัยตั้งคําถามที่ไม่ชัดเจนสะท้อนให้เห็นว่ําแม้แต่ตัวก็ยังไม่แน่ใจว่ําจะศึกษาอะไรทําให้การวางแผนในขั้นต่อไปเกิดความสับสนได้คำถามของการวิจัยต้องเหมาะสม (relevant)หรือสัมพันธ์กับเรื่องที่จะศึกษา โดยควรมีคําถามที่สําคัญที่สุดซึ่งผู้วิจัยต้องการคําตอบมากที่สุดเพื่อคําถามเดียวเรียกว่ําคําถามหลัก (primary research question)

ซึ่งคําถามหลักนี้จะนํามาใช้เป็นข้อมูลในการคํานวณขนาดของตัวอย่ําง(sample size)แต่ผู้วิจัยอาจกําหนดให้มีคําถามรอง (secondary research question) อีกจํานวนหนึ่งก็ได้ซึ่งคําถามรองนี้เป็นคําถามที่เราต้องการคําตอบเช่นเดียวกันแต่มีความสําคัญรองลงมาโดยผู้วิจัยต้องระลึกว่ําผลของการวิจัยอาจไม่สามารถตอบคําถามรองนี้ได้ทั้งนี้เพราะการคํานวณขนาดตัวอย่ํางไม่ได้คํานวณเพื่อตอบคําถามรองเหล่ํานี้ได้รวบรวมและกล่ําวถึงคําถามของการวิจัยไว้ว่ําคําถามวิจัยคือข้อความที่เป็นประโยคคําถามซึ่งแสดงให้เห็นถึงสิ่งที่ผู้วิจัยต้องการค้นคว้ําหาคําตอบทั้งนี้คําถามการวิจัยควรเป็นคําถามที่ยังไม่มีคําตอบหรือไม่สามารถหาคําตอบได้จากตําราหรือความรู้เดิมที่มีอยู่ก่อนแล้ว

ที่มา :

เอมอร  จังศิริพรปกรณ์. (มมป). การกำหนดปัญหา วัตถุประสงค์ สมมติฐานและตัวแปรในการวิจัย. สืบค้นจาก //pioneer.netserv.chula.ac.th/~jaimorn/re4.htm

พรรณี เสมอภาค. (มมป). การเขียนความสำคัญและวัตถุประสงค์การวิจัย. สืบค้นจาก //www.ubu.ac.th/web/files_up/08f2016052410342324.pdf

หลักการเขียนความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาคืออะไร

1. เขียนให้ตรงประเด็น เหตุผลที่นำเสนอควรเป็นเหตุผลที่นำไปสู่จุดเป็นปัญหาที่จะทำการวิจัย และช่วยชี้ให้เห็นความสำคัญของสิ่งที่จะวิจัย 2. ควรใช้ข้อมูลอ้างอิงเพื่อให้เหตุผลนั้นดูมีน้ำหนักสมควรที่จะทำการวิจัย 3. ควรเขียนให้เข้าใจง่ายโดยนำเสนอเป็นประเด็นๆ เป็นลำดับต่อเนื่อง

แหล่งที่มาของปัญหาการวิจัยมาจากแหล่งใดบ้าง

ปัญหาการวิจัย ได้จากการค้นพบหรือค้นคว้าจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ได้ดังนี้ 1. จากการอ่านตำรา บทความต่าง ๆ ที่ผู้วิจัยสนใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การอ้างอิงทฤษฎีที่เกี่ยวข้องในเรื่องที่ตนเองสนใจทำวิจัย เพราะทฤษฎีจะช่วยชี้นำว่ามีสิ่งใดที่ควรทำวิจัย หรือบางครั้งทฤษฎีทำให้ผู้ทำวิจัยจะต้องทำการพิจารณาและวิเคราะห์ก่อนนำไปใช้ด้วย

การเขียนที่มาและความสำคัญของโครงงานมีความสำคัญอย่างไร

การเขียนที่มาและความสำคัญของโครงงาน คือ การอธิบายให้กระจ่างชัดว่าทำไม ต้องทำ ทำแล้วได้อะไร หากไม่ทำจะเกิดผลเสียอย่างไร ซึ่งมีหลักการเขียนคล้ายการเขียนเรียงความ ทั่ว ๆ ไป คือ มีคำนำ เนื้อเรื่อง และสรุป ส่วนที่ 1 คำนำ : เป็นการบรรยายถึงนโยบาย เกณฑ์ สภาพทั่ว ๆ ไป หรือปัญหาที่มีส่วนสนับสนุนให้ริเริ่มทำโครงงานวิทยาศาสตร์

วิธีการเขียนความสำคัญของปัญหาหรือภูมิหลัง มีวิธีการเขียนอย่างไร

1. ควรเขียนเล่าเรื่องราว ประวัติ ความเป็นมาของปัญหาที่ ท าวิจัย 2. ควรเขียนในลักษณะวิเคราะห์ปัญหา ชี้ให้เห็นความส าคัญ ของปัญหา ให้ผู้อ่านเข้าใจอย่างชัดเจนว่าปัญหาของการวิจัยเรื่องนั้นคือ อะไร ท าไมผู้วิจัยจึงสนใจศึกษาค้นคว้าเรื่องนั้น

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง