ระบบประสาทพาราซิมพาเทติก คือ


ความเครียดไม่ใช่เรื่องไร้สาระหรอกครับ ความจริงแล้วความเครียดคือสัญญาณเตือนภัยเพื่อช่วยให้ร่างกายเตรียมพร้อมต่อภัยอันตรายที่สมองคาดการณ์ว่ามันอาจจะเกิดขึ้นได้ในช่วงเวลาขณะนั้น 

.

ซึ่งกลไกที่ว่ามานี้มันมีประโยชน์อย่างยิ่งในยุคสมัยที่มนุษย์ยังคงใช้ชีวิตอยู่ในป่า

.

ลองนึกถึงวันหนึ่งขณะที่บรรพบุรุษของเรากำลังเดินหาอาหาร ทันใดนั้นสมองก็รับรู้ถึงสัญญาณไม่น่าไว้วางใจบางอย่าง (เช่นเสียงแปลกๆ ตรงกอหย้าที่ห้างออกไปไม่ใกลนัก) 

.

ถึงแม้ในขณะนั้นสมองอาจจะยังไม่สามารถทราบได้อย่างแน่ชัดว่าสัญญาณผิดปรกตินั้นแท้จริงแล้วมคืออะไร (อาจจะเป็นเสือหิวโซซักตัวหนึ่งที่กำลังซุ่มรอเราอยู่ หรืออาจจะไม่ใช่ก็ได้) แต่อย่างไรก็ตาม เพื่อความไม่ประมาทในการเอาชีวิตรอด สมองของเราจึงสั่งให้ระบบประสาททั่วร่างกายผลิตความเครียดขึ้นมาเตรียมรับมือในทันที

.

เพื่อการนี้ระบบประสาทซิมพาเทติก (Sympathetic system) ซึ่งเกี่ยวข้องกับการตุ้นความตื่นตัวของร่างกายจะทำงานอย่างเต็มที่ ดังนั้นหัวใจจึงเต้นเร็วขึ้นเพื่อเร่งการสูบฉีดเลือดให้เพียงพอต่อการลำเลียงพลังงานไปแจกจ่ายกับกล้ามเนื้อทุกส่วน ม่านตาและต่อมเหงื่อก็ขยายตัวออก การตอบสนองของระบบประสาทก็จะเพิ่มความฉับไวมากยิ่งขึ้น 

.

ทั้งหมดนี้ก็เพื่อจุดประสงค์สำคัญเพียงหนึ่งเดียวคือ “การเอาชีวิตรอด”

.

แต่เนื่องจากมนุษย์เปลี่ยนมาใช้ชีวิตแบบสังคมเมืองกันมาได้หลายพันแล้ว โดยไม่ได้อาศัยอยู่ในป่าดงดิบแบบยุคดึกดำบรรพ์อีกต่อไป (ทุกวันนี้เรากังวลกับค่าผ่อนรถผ่อนบ้านรวมถึงหนี้สินบัตรเครดิตมากกว่ากังวลเรื่องเสือที่คอยจะจับเรากินอยู่ตามพุ่มไม้) 

.

ก็อย่างที่เคยกล่าวอยู่เป็นประจำว่าสมองของเราวิวัฒนาการตามสังคมและเทคโนโลยีไม่ทัน ดังนั้นกลไกของความเครียดที่ดูเหมือนว่าจะเคยมีประโยชน์จึงกลายมาเป็นของล้าสมัยที่แทบไม่มีประโยชน์อะไรเลยในยุคนี้

.

ถามว่าตอนนี้อะไรคือศัตรูตัวฉกาจโดยเฉพาะกับชีวิตของชาวเมืองมากที่สุด คำตอบคงไม่ใช่เสือหรือจระเข้ หากแต่จะเป็น “ความเครียด” เองนี่แหละที่เป็นตัวก่อเกิดปัญหาได้อย่างร้ายกาจที่สุด ไม่ว่าจะเป็นปัญหาสุขภาพจิต สุขภาพกาย หรือปัญหาการอยู่ร่วมกันเป็นสังคมก็ตาม

.

เนื่องจากสมองของเรายังเป็นสมองรุ่นโบราณ กว่าจะวิวัฒนาการให้สอดคล้องกับรูปแบบชีวิตสมัยใหม่ได้ก็คงจะยังอีกนาน (ไม่น่าจะรอกันไว้) ดังนั้นการไปคาดหวังให้สมองไม่ผลิตความเครียดขึ้นมานั้นคงเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ 

.

แต่อย่างไรก็ตามเราก็สามารถที่จะจัดการกับความเครียดที่เกิดขึ้นได้อย่างแน่นอน

.

ในเมื่อสมองของเรามีระบบประสาทซิมพาเทติก (Sympathetic nervous system) สำหรับการกระตุ้นความตื่นตัวของร่างกายแล้ว สมองของเราก็ยังมีระบบประสาทอีกชุดหนึ่งที่เรียกว่า พาราซิมพาเทติก 

(Parasympathetic system) ที่ทำหน้าที่ในการทำให้เกิดการคลายตัวลงด้วย

.

พาราซิมพาเทติกนี่แหละที่เป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยให้เราสามารถจัดการกับความเครียดได้อย่างมีประสิทธิภาพ

.

เราจะสามารถทำให้ระบบประสาท พาราซิมพาเทติก ในร่างกายทำงานได้อย่างไร? 

.

ความจริงแล้วมีวิธีการมากมายที่จะทำให้ พาราซิมพาเทติกทำงาน (เพื่อคลายการทำงานให้กับส่วนต่างๆของร่างกาย) 

.

“วิธีการที่ง่ายที่สุดก็เช่นการหายใจลึกๆ”

.

โดยหายใจเข้าให้ลึกที่สุดเท่าที่จะสามารถทำได้ กลั้นลมหายใจไว้สักประมาณ 2-3 วินาที จากนั้นก็หายใจออกช้าๆ โดยผ่อนคลายร่างกายไปด้วย การหายใจเข้าลึกๆ ช่วยขยายปอดและทำให้เราจำเป็นที่จะต้องหายใจออกยาวๆ ตามไปด้วยโดยปริยาย 

.

ระบบประสาทพาราซิมพาเทติกนั้นเกี่ยวข้องโดยตรงกับการหายใจออก ดังนั้นการที่เราจะต้องหายใจออกยาวๆ ช้าๆ แบบนี้จึงมีส่วนกระตุ้นให้พาราซิมพาเทติกทำงานไปด้วยโดยอัตโนมัติ

.

นอกจากนี้เราก็ยังสามารถใช้การจินตนาการในการสร้างความผ่อนคลายได้ด้วย

.

เคยมีคนพูดว่า “ถ้าการจับเจ่าอยู่ตรงนี้มันทำให้รู้สึกเครียดมากแล้วล่ะก็ ทำไมเราจึงไม่ลองออกไปเดินเล่นข้างนอกดูบ้างล่ะ?” 

.

อย่าลืมว่าสมองของเราตอบสนองไปตามสิ่งที่มันกำลังรับรู้ นี่คือกฎพื้นฐานที่สำคัญ ดังนั้นหากสิ่งที่กำลังรับรู้ทำให้เกิดความเครียด เราก็เพียงแต่เปลี่ยนสิ่งที่กำลังรับรู้เสียก็สิ้นเรื่อง

.

แล้วเราจะสามารถเปลี่ยนสิ่งที่กำลังรับรู้ได้อย่างไร? ง่ายที่สุดก็คือการอาศัยเครื่องมือที่เรียกว่า “จิตนาการ”

.

เพียงแต่หาที่สงบๆ นั่งหรือนอนแล้วหลับตาลง จากนั้นก็จินตนาการว่าเรากำลังอยู่ในสถานที่ที่สวยงามและเงียบสงบแห่งหนึ่ง อาจจะเป็นภูเขา ทะเล สวนดอกไม้ หรือที่ไหนก็ได้ที่คิดว่าหากเราได้ไปอยู่ที่นั่นจริงๆ แล้วล่ะก็ จิตใจของเราก็คงจะสงบและผ่อนคลายลงได้อย่างรวดเร็ว 

.

ขอให้จินตนาการถึงภาพ (รวมถึงเสียงและความรู้สึก) เช่นนี้ไปสักครู่หนึ่ง ใช้เวลาไม่นานนักระบบประสาทก็จะเริ่มตอบสนองต่อสิ่งที่มันกำลังรับรู้ ทำไห้ร่างกายและจิตใจของเราสามารถผ่อนคลายลงได้อย่างรวดเร็ว

.

และวิธีการสุดท้ายที่จะขอกล่าวถึงก็คือการกำหนดความรู้สึกผ่อนคลายตามร่างกายไปทีละส่วน วิธีการแบบนี้เป็นการบังคับให้ระบบพาราซิมพาเทติกทำงานโดยตรง วิธีการนี้ได้ผลดีเสียจนแม้แต่หน่วยรบพิเศษยังต้องบรรจุเอาไว้เป็นเทคนิคสำหรับใช้ในการนอนหลับพักผ่อนในสนามรบกันเลยทีเดียว 

.

โดยหาที่นอนพักผ่อนสบายๆ สักที่หนึ่ง หลับตาลงผ่อนคลายร่างกาย แล้วกำหนดความรู้สึกว่ากล้ามเนื้อแต่ละส่วนในร่างกายกำลังคลายตัวออกทีละส่วน (โดยหลักนิยมแล้วเรามักเริ่มต้นจากอวัยวะที่อยู่ด้านบนเช่นศีรษะหรือใบหน้าก่อนแล้วจึงค่อยๆ ไล่ลำดับ

ลงไปหาอวัยวะที่อยู่เบื้องล่างเช่นปลายเท้าหรือฝ่าเท้า) ใจเย็นๆ ค่อยๆ สร้างความรู้สึกผ่อนคลายไปทีละส่วน ใช้เวลาไม่นานนักทั้ง

ร่างกายและจิตใจก็จะรู้สึกผ่อนคลายได้อย่างน่าอัศจรรย์

.

วิธีการนี้นอกจากจะช่วยคลายความเครียดที่สะสมมาตลอดทั้งวันได้อย่างยอดเยี่ยมแล้ว มันยังช่วยทำให้เราสามารถเข้าสู่สภาวะ

หลับลึกได้อย่างรวดเร็ว จึงเป็นวิธีการที่เหมาะสมอย่างมากโดยเฉพาะกับคนที่มีความเครียดสะสมเสียจนนอนไม่หลับ

.

วิธีการต่างๆ ที่ได้กล่าวไปแล้วนี้เป็นกลยุทธ์พื้นฐานง่ายๆ ที่เราสามารถนำไปใช้กับการจัดการความเครียดที่กำลังเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ขอให้ทุกท่านได้นำไปทดลองใช้ดูสักวิธีการหนึ่ง (หรือมากกว่านั้น) ที่คิดว่าเหมาะสมต่อตัวท่านเองมากที่สุด

ข้อใดคือระบบประสาทพาราซิมพาเทติก

- ระบบประสาทพาราซิมพาเทติก (Parasympathetic Nervous System) มีหน้าที่ควบคุมการสะสมพลังงาน ควบคุมระดับการทำงานของอวัยวะภายใน หลอดเลือดส่วนต่างๆให้อยู่ในสภาพพร้อมที่จะทำงานได้ ระบบประสาทพาราซิมพาเทติก มักทำงานได้ดีในช่วงกลางคืนขณะนอนหลับพักผ่อนโดยร่างกายจะทำการส่งอาหารไปยังเซลล์ต่างๆ โดยเฉพาะในช่วง 4ทุ่ม ถึงตี 2.

ข้อใดเป็นผลจากการทำงานของระบบประสาทพาราซิมพาเทติก

ทํางานของเซลล์ประสาทสั่งการพาราซิมพาเทติก การใช้คำว่าภายใต้อำนาจใจ ที่นำคำสั่งอิสระนอกอำนาจใจ ไปยัง กล้ามเนื้อเรียบ กล้ามเนื้อหัวใจ และต่อต่าง ๆ ทั่วร่างกาย ทำให้เกิดการควบคุมอัตราหัวใจเต้น ความดันเลือด อัตราการหายใจ การหลั่งเหงื่อและฮอร์โมน และพวกอวัยวะที่ไม่มีประสาทสั่งการมาเลี้ยง

เหตุการณ์ใดที่จะทำให้ระบบประสาทซิมพาเทติกทำงาน

ระบบประสาทซิมพาเทติก (Sympathetic Nervous System) มีศูนย์กลางอยู่บริเวณไขสันหลัง เป็นระบบที่ถูกนำมาใช้ในสภาวะฉุกเฉิน เมื่อร่างกายถูกกระตุ้นอย่างรุนแรงจากสิ่งเร้าภายนอก เพื่อให้ร่างกายเกิดการตื่นตัวและทำการตอบสนอง (สู้ หรือ หนี) โดยร่างกายจะเกิดปฏิกิริยาที่อยู่นอกเหนือการควบคุม เช่น ขนลุก มีอัตราการเต้นของหัวใจเร็วขึ้น ...

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง