หลักการ มี ภูมิคุ้มกัน ที่ ดี

การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีให้ชีวิต  คือ การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึงการเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นได้ของสถานการณ์ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล เป็นคุณลักษณะที่สามในปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง นอกเหนือจากคุณลักษณะด้านความพอประมาณและด้านความมีเหตุผล  การมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี หมายถึงการจัดองค์ประกอบของการดำเนินงานให้มีสภาพพร้อม รองรับต่อผลกระทบใด ๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายในได้เป็นอย่างดี

��ѡ 3 ��ǧ 2 ���͹�

 �繺���ػ�ͧ���ɰ�Ԩ����§ ����ͧ ��� ��ػ������������� �ѧ���仹��

 3 ��ǧ ��� �ҧ��¡�ҧ ��Сͺ仴��� �ѧ���
           ��ǧ��� 1 ��� �ͻ���ҳ ���¶֧ �ͻ���ҳ㹷ء���ҧ �����ʹ�����ҡ������ҹ��¨��Թ��µ�ͧ�����´��¹���ͧ ���ͼ����������ʹ��͹
           ��ǧ��� 2 ��� ���˵ؼ� ���¶֧ ��õѴ�Թ�����ǡѺ�дѺ�ͧ��������§��� �е�ͧ������ҧ���˵ؼ��¾Ԩ�óҨҡ�˵ػѨ��·������Ǣ�ͧ ��ʹ���ӹ֧�֧�ŷ��Ҵ��Ҩ��Դ��鹨ҡ��á�зӹ��� ���ҧ�ͺ�ͺ
           ��ǧ��� 3 ��� �����Ԥ����ѹ����㹵���ͧ ���¶֧ �������������������Ѻ�š�з���С������¹�ŧ��ҹ��õ�ҧ� �����Դ����¤ӹ֧�֧���������ͧʶҹ��ó��ҧ� ���Ҵ��Ҩ��Դ����͹Ҥ������������


  2 ���͹� ��������ɰ�Ԩ����§ ����
            ���͹䢷�� 1 ���͹䢤������ ��� �դ����ͺ�������ǡѺ �Ԫҡ�õ�ҧ�������Ǣ�ͧ���ҧ�ͺ��ҹ �����ͺ�ͺ���йӤ����������ҹ���ҾԨ�ó����������§�ѹ ���ͻ�Сͺ��� �ҧἹ ��Ф������Ѵ���ѧ㹢�鹵͹��Ժѵ� �س������Сͺ���� �դ������˹ѡ㹤س���� �դ��������ѵ���ب�Ե ����դ���ʹ�� �դ������� ��ʵԻѭ��㹡�ô��Թ���Ե
            ���͹䢷�� 2 ���͹䢤س���� ��� �դ������˹ѡ㹤س���� �դ��������ѵ���ب�Ե����դ���ʹ�� �դ������� ��ʵԻѭ��㹡�ô��Թ���Ե


  “���ɰ�Ԩ����§��ԧ� ��� ��ѡ��ô��Թ���Ե����ԧ�����ش ��ͺ�ǤԴ�ͧ��ѡ��Ѫ������鹤�����蹤���Ф�������׹�ͧ��þѲ�� �ѹ�դس�ѡɳз���Ӥѭ ��� ����ö����ء����㹷ء�дѺ ��ʹ���������Ӥѭ�Ѻ����Ҥ�������§ ����Сͺ���� �����ͻ���ҳ �������˵��ռ� �����Ԥ����ѹ����㹵�� ��������͹䢢ͧ��õѴ�Թ���С�ô��Թ�Ԩ��������ͧ��������͹䢤������������͹䢤س����”


  “�ҡ�ء�������㨡�ͺ�ǤԴ �س�ѡɳ� �ӹ�����ͧ���ɰ�Ԩ����§���ҧ����Ѵ���� ��Ч��¢��㹡�ù�任���ء�������Ƿҧ��Ժѵ� ��Шй�����ŷ��Ҵ��Ҩ����Ѻ ��� ��þѲ�ҷ��������������׹ ������Ѻ��͡������¹�ŧ㹷ء��ҹ ��駴�ҹ���ɰ�Ԩ �ѧ�� ����Ǵ���� ����������෤�����”

�����: //���ɰ�Ԩ����§.net/

 


การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในธุรกิจ
การมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี เป็นคุณลักษณะที่สามในปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง นอกเหนือจากคุณลักษณะด้านความพอประมาณและด้านความมีเหตุผล การมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี หมายถึง การจัดองค์ประกอบของการดำเนินงาน ให้มีสภาพพร้อมรองรับต่อผลกระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายในได้เป็นอย่างดี

จากหลักความมีเหตุผลในธุรกิจที่คำนึงถึงการบริหารจัดการความสัมพันธ์ระหว่างมุมมองต่างๆ ในแบบองค์รวมที่เป็นเหตุเป็นผลซึ่งกันและกันนั้น สมควรที่จะพิจารณาต่อไปว่า ความสัมพันธ์ระหว่างแต่ละมุมมองนั้น มีกิจกรรมใดที่เป็นเหตุและปรากฏการณ์ใดที่เป็นผล ตัวอย่างเช่น ระดับความยั่งยืนของกิจการหนึ่งๆ จะปรากฏเป็นผลให้เห็นได้ อาจต้องรอให้เวลาผ่านพ้นไปแล้วระยะหนึ่ง ในขณะที่กิจกรรมหรือตัวบ่งชี้ที่เป็นเหตุของความยั่งยืน เช่น การผลิตที่เหมาะสม การลงทุนที่ไม่เกินตัว การใช้เทคโนโลยีที่ประหยัด การไม่เน้นกำไรระยะสั้น เป็นกิจกรรมหรือวัตถุประสงค์ที่กำลังดำเนินอยู่ในกิจการ ทั้งนี้ การพิจารณาตัวบ่งชี้ที่เป็นเหตุ จะทำให้ทราบถึงผลการดำเนินงานในปัจจุบันและปัจจัยที่จะส่งผลต่อการดำเนินงานในระยะยาว ส่วนการพิจารณาตัวบ่งชี้ที่เป็นผล จะทำให้ทราบถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีตหรือสิ่งที่เกิดขึ้นมาแล้ว

ด้วยเหตุนี้ การพิจารณาแยกแยะความสัมพันธ์ของตัวบ่งชี้ทั้งที่เป็นเหตุและเป็นผล จะทำให้สามารถคาดการณ์ได้ถึงโอกาสและอุปสรรคที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และส่งผลให้กิจการสามารถวางแผนรับมือกับผลกระทบและความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น ด้วยการประเมินจุดแข็งและจุดอ่อนภายในองค์กรเป็นข้อพิจารณาประกอบ ถือเป็นการสร้างระบบภูมิคุ้มกันที่ดีในธุรกิจนั่นเอง

ผลกระทบหรือการเปลี่ยนแปลงสามารถเกิดขึ้นจากปัจจัยภายนอกซึ่งควบคุมไม่ได้ เช่น ในด้านเศรษฐกิจ ได้แก่ ความผันผวนของตลาด ฯลฯ ในด้านสังคมหรือรัฐ ได้แก่ นโยบายสาธารณะต่อธุรกิจที่ดำเนินอยู่ (หรือที่ธุรกิจมักเรียกว่า License to Operate) ฯลฯ ในด้านสิ่งแวดล้อม ได้แก่ ภัยธรรมชาติ พลังงานในฐานะที่เป็นปัจจัยการผลิต ฯลฯ และในด้านวัฒนธรรม ได้แก่ วิถีชีวิตของแต่ละภูมิสังคม ฯลฯ ส่วนผลกระทบที่เกิดขึ้นจากปัจจัยภายในซึ่งสามารถควบคุมและแก้ไขได้ อาทิ ปัจจัยด้านทุน ด้านเทคโนโลยี และด้านการบริหารจัดการ เป็นต้น

โดยธรรมชาติองค์กรจะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากปัจจัยภายใน เช่น การโยกย้ายผู้บริหาร การเปลี่ยนผู้ถือหุ้น การปรับโครงสร้างทางธุรกิจ จะส่งผลต่อความก้าวหน้าของกิจการ ความได้เปรียบในการแข่งขัน ตลอดจนความสามารถในการปรับตัวให้ทันและเข้ากับสภาวการณ์ภายนอก การสร้างภูมิคุ้มกันในส่วนแรกนี้ จึงเป็นการจัดองค์ประกอบของการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยภายในเพื่อให้ทันและเข้ากับสิ่งภายนอก ส่วนการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากปัจจัยภายนอก เช่น การเปลี่ยนรัฐบาล การเปลี่ยนนโยบายทางเศรษฐกิจ การเกิดขึ้นของตลาดใหม่ จะส่งผลให้เกิดทั้งโอกาสและความเสี่ยงหรือความผันผวนทางธุรกิจ การสร้างภูมิคุ้มกันในส่วนที่สองนี้ จึงเป็นการจัดองค์ประกอบของการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยภายนอกเพื่อป้องกันไม่ให้สิ่งภายในได้รับความกระทบกระเทือนเสียหาย

การสร้างระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี จึงสามารถแบ่งได้เป็นสองกรณี คือ การสร้างจากภายในและการสร้างที่ภายนอก การสร้างภูมิคุ้มกันจากภายใน ได้แก่ การพิจารณาและจัดองค์ประกอบต่างๆ ในองค์กรให้เอื้อต่อการปรับตัวเมื่อมีการเปลี่ยนแปลง เช่น โรงงานไม่ควรสร้างภาระหนี้มากจนเกินทุน เมื่อเวลาที่เจ้าหนี้ทวงถาม กิจการก็สามารถจะชำระหนี้ได้ ถือเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันในด้านการเงิน หรือโรงงานควรเลือกใช้เทคโนโลยีที่สามารถบริหารจัดการได้เอง เมื่อเวลาที่มีปัญหากับเทคโนโลยี กิจการก็สามารถจะซ่อมแซมแก้ไขได้ โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งเจ้าของเทคโนโลยีทั้งหมด ถือเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันในด้านเทคโนโลยี หรือการที่กิจการมีโครงการถ่ายทอดทักษะและความรู้เกี่ยวกับงานที่ทำ ฝึกอบรมให้พนักงานอยู่อย่างสม่ำเสมอ และเปิดโอกาสให้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ รวมถึงการให้ผลตอบแทนที่เป็นธรรม กิจการก็จะสามารถเติบโตได้อย่างต่อเนื่องมั่นคง ถือเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันในด้านทรัพยากรบุคคล

การสร้างภูมิคุ้มกันที่ภายนอก ได้แก่ การพิจารณาและจัดองค์ประกอบที่อยู่รายรอบองค์กรให้เอื้อต่อการดำเนินงาน เช่น การส่งเสริมและสนับสนุนคู่ค้าเพื่อให้สามารถจัดส่งวัตถุดิบและปัจจัยในการผลิตหรือการบริการที่มีคุณภาพให้แก่กิจการด้วยการให้ความรู้และทรัพยากรที่จำเป็นต่างๆ เพราะหากกิจการได้วัตถุดิบที่ไม่มีคุณภาพเข้าโรงงาน ผลผลิตแปรรูปที่ออกจากโรงงานก็จะไม่มีคุณภาพตามไปด้วย การช่วยเหลือผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องถือเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันแบบหนึ่งที่มักถูกละเลยหรือไม่ได้ให้ความสำคัญ กิจการส่วนใหญ่มัวแต่คิดถึงตนเอง คิดว่าทำแล้วจะได้อะไร กำไรปีนี้จะได้เท่าไร ค่าใช้จ่ายส่วนเกินตรงไหนที่ตัดออกได้อีก โดยที่ไม่ได้คิดถึงการให้หรือการช่วยเหลือผู้อื่นก่อน ในทางธรรมชาตินั้น การกระทำใดๆ ย่อมต้องได้รับการตอบสนองเป็นผลแห่งการกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดเสมอ ซึ่งในกรณีนี้ คือ “ได้ให้” ก็จะ “ได้รับ” ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่มีความเฉียบขาดอยู่ในตัวเอง ฉะนั้น การที่กิจการเอาใจใส่ดูแลชุมชน สิ่งแวดล้อม หรือคู่ค้าของตนเอง ผลแห่งการกระทำนี้ก็จะหวนกลับมาจุนเจือกิจการในภายหลัง ถือเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับผู้มีส่วนได้เสียนอกองค์กร

กระบวนการปรับตัว (Adaptive Process) ในธุรกิจเป็นสิ่งจำเป็นต่อการตอบสนองภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลงท่ามกลางกระแสโลกาภิวัตน์ เห็นได้จากวัฏจักรของธุรกิจหรือรอบอายุของผลิตภัณฑ์โดยส่วนใหญ่ มีคาบเวลาที่สั้นลง ในขณะที่มีความผันผวนเพิ่มขึ้น ทำให้ความยืดหยุ่นและการปรับตัวอย่างรวดเร็วได้กลายเป็นคุณลักษณะที่กิจการต้องสร้างให้เกิดขึ้น สอดคล้องกับคุณลักษณะด้านการมีระบบภูมิคุ้มกันที่ดีในปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

ประโยชน์ในระยะสั้นของกิจการ อาจมาจากการดำเนินธุรกิจโดยใช้กลยุทธ์ด้านราคา เพื่อการกระตุ้นยอดขายหรือการเพิ่มผลกำไรเฉพาะหน้า ใช้วิธีการรณรงค์เรื่องประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงาน เพื่อการลดค่าใช้จ่ายในส่วนที่สามารถประหยัดได้ตามวาระที่จำเป็น เช่นเมื่อเกิดวิกฤตด้านพลังงาน เป็นต้น

ประโยชน์ในระยะปานกลางของกิจการ อาจมาจากการดำเนินธุรกิจโดยใช้กลยุทธ์ด้านลูกค้า เป็นการปลูกสร้างสายสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มเป้าหมายและลูกค้า เพื่อหวังผลในการปลี่ยนกลุ่มเป้าหมายให้กลายมาเป็นลูกค้าใหม่ของกิจการ ดูแลรักษาลูกค้าเดิมของกิจการให้คงอยู่ เพื่อหวังผลในการเพิ่มปริมาณการขาย (Up-Selling) หรือขยายสายผลิตภัณฑ์ (Cross-Selling) จำหน่ายให้แก่ลูกค้ารายเดิม และแม้กระทั่งการเปลี่ยนลูกค้าในอดีตที่ยุติการซื้อผลิตภัณฑ์ไปแล้ว ให้กลับมาเป็นลูกค้าของกิจการดังเดิม

ประโยชน์ในระยะยาวของกิจการ อาจมาจากการดำเนินธุรกิจโดยใช้กลยุทธ์ด้านวิจัยและพัฒนา เพื่อการสร้างนวัตกรรมในผลิตภัณฑ์ ทั้งการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เพื่อรองรับความต้องการของตลาดที่จะเกิดขึ้นในอนาคต รวมถึงการแก้ไขและปรับปรุงผลิตภัณฑ์เดิม ให้มีคุณสมบัติเพิ่มขึ้น คุณภาพดีขึ้น คุณประโยชน์สูงขึ้น และแม้แต่การซื้อทรัพย์สินทางปัญญาหรือการซื้อกิจการอื่น เพื่อให้ได้มาซึ่งนวัตกรรมที่จะสร้างคุณค่าให้แก่กิจการในระยะยาว

จากที่กล่าวแล้วว่า องค์กรธุรกิจสามารถประยุกต์ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้ในสองระดับ คือ เศรษฐกิจพอเพียงระดับพื้นฐาน และเศรษฐกิจพอเพียงระดับก้าวหน้า ซึ่งมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้เสียภายในองค์กรและภายนอกองค์กรตามลำดับ การดำเนินธุรกิจตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงระดับพื้นฐาน มุ่งเน้นที่การสร้างกิจการเพื่อให้อยู่รอดในธุรกิจและการพัฒนาศักยภาพเพื่อการเจริญเติบโตของกิจการ เป็นบันไดขั้นที่หนึ่ง ในขณะที่การดำเนินธุรกิจตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงระดับก้าวหน้า จะให้ความสำคัญกับการแบ่งปันหรือการใช้ทรัพยากรร่วมกันหรือการรวมกลุ่มในแนวดิ่งตามสายอุปทาน (Supply Chain) เป็นบันไดขั้นที่สอง จนพัฒนามาสู่ความร่วมมือระหว่างกลุ่มธุรกิจต่างๆ ในแนวราบ ในลักษณะของเครือข่ายวิสาหกิจ (Cluster) เพื่อสร้างให้เกิดความยั่งยืนของกิจการ เป็นบันไดขั้นที่สาม

การประยุกต์ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงทั้งสามขั้นข้างต้น ชี้ให้เห็นถึงการพัฒนาที่เริ่มต้นจากหลักของการพึ่งพาตนเองให้ได้ก่อน (Self-Reliance) แล้วจึงพัฒนาเป็นการรวมกลุ่มช่วยเหลือกัน (Cooperation) จนนำไปสู่การร่วมมือกัน (Collaboration) อย่างเป็นขั้นตอน

[Original Link]



Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง