เหตุผล ใน การ เขียน ใบลา ออก

7 เหตุผลที่พนักงานลาออก


1.งานหรือที่ทำงานไม่เป็นไปตามที่วาดภาพไว้ 
ผู้ตอบแบบสำรวจกว่า 35% ลาออกภายในหกเดือนแรกที่เข้าทำงาน  ทั้งนี้เพราะพนักงานเข้าใหม่จำนวนมากเข้าทำงานกับบริษัทโดยพกพาความคาดหวังที่เกินจริง กับความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับงานและองค์กร ส่วนหนึ่งเกิดจากการที่ผู้สัมภาษณ์วาดภาพที่สวยหรูขององค์กรจนเกินคจริง หรือไม่ได้ฉายสภาพงานที่เป็นจริงให้กับผู้เข้าสัมภาษณ์ทราบ
หลังเข้างานพนักงานบางคนก็สามารถปรับเปลี่ยนความเข้าใจกับความคาดหวังได้ และอยู่ทำงานต่อได้ บางคนก็อยู่ต่อไปอย่างผิดหวังและไม่มีความรักผูกพันกับงานเลย บางคนก็อยู่อย่างผิดคลาดพลาดหวังและลาออกไปในที่สุด 


2.งานกับคนไม่เหมาะกัน 
ความรู้ความสามารถของพนักงานไม่เหมาะสมกับงานโดยอาจเกิดจากการรีบว่าจ้างเข้าทำงานเพื่อเติมตำแหน่งที่ว่างลง หรือเชื่อว่าแม้ผู้สมัครอาจขาดคุณสมบัติที่เหมาะสมกับงาน แต่บริษัทสามารถจะฝึกอบรมในภายหลังได้ 


3.ไม่มีการสอนงาน และไม่มีการป้อนกลับผลการทำงาน 
ผู้จัดการส่วนมากโค้ชงานและให้ feedback พนักงานปีละครั้งหรือสองครั้งตามที่องค์กรกำหนดเพื่อไปผูกกับการขึ้นเงินเดือนเท่านั้น ซึ่งความจริงผู้จัดการจะต้องสอนงานและ feedback ถี่ๆ บ่อยๆ เป็นระยะๆ  


4.ไม่ค่อยมีโอกาสเติบโตและก้าวหน้าในสายงาน 
ในการสำรวจความเห็นพนักงานเกี่ยวกับลำดับ competency 67 อย่างที่ผู้นำของตัวเองมีอยู่นั้น ผลปรากฏว่า  "การพัฒนาผู้ใต้บังคับบัญชา" เป็น competency ที่ผู้นำมีน้อยที่สุดเป็นอันดับสุดท้าย
ปัญหาข้อนี้มีเกิดจากการที่ผู้จัดการไม่ค่อยหาเวลามาพูดคุยเรื่องสายอาชีพกับพนักงาน, นโยบายอายุงานที่ขัดขวางการเลื่อนตำแหน่ง และการที่หัวหน้างานหวงพนักงานที่มีความสามารถไว้ในแผนกตัวเองทำให้ปิดกั้นโอกาสการขึ้นตำแหน่งในแผนกงานอื่นๆ


5.รู้สึกถูกตีค่าต่ำไป และผลงานที่ดีไม่ได้การตอบสนอง 
พนักงานรู้สึกว่าไม่ได้รับการชื่นชมผลงานที่ทำได้ดี, ไม่ได้รับเงินเดือนที่ยุติธรรมในตำแหน่งงานที่เหมือนกัน, หัวหน้าปฏิบัติต่อเขาอย่างไม่ให้เกียรติ, ไม่ได้รับเครื่องไม้เครื่องมือหรือทรัพยากรที่เหมาะสมในการทำงาน หรือต้องทำงานในสภาพแวดล้อมที่แย่ยอมรับไม่ได้ 


6.เครียดจากงานมากเกินและขาดสมดุลระหว่างงานกับชีวิต 
พนักงานกว่า 40% บอกว่า งานที่ทำเป็นงานที่หนักและกดดันมาก 70% บอกว่าไม่มีสมดุลระหว่างงานกับชีวิตถึงขนาดที่ 60% บอกว่า ยอมลดเงินเดือนลงให้มีเวลาอยู่กับครอบครัวได้มากขึ้น 


7.หมดศรัทธาและความเชื่อมั่นในผู้บริหารระดับสูง 
พนักงานรู้สึกว่า ผู้บริหารองค์กรใส่ใจแต่ผลประโยชน์เฉพาะหน้าของตัวเอง ไม่ได้ใส่ใจในความอยู่ดีกินดีของพนักงานโดยแท้จริง, ไม่ทำตามนโยบาย หลักปฏิบัติ หรือค่านิยมที่ประกาศไว้ ทำให้พนักงานขาดความเลื่อมใส เกิดข้อกังขาในนโยบายและหลักปฏิบัติขององค์กร ทำให้ตัวพนักงานหมดความกระตือรืนร้นในการทำงาน

ที่มา HR สภากาแฟ

เนื้อหาอื่นที่น่าสนใจ

8 ขั้นตอนพื้นฐานที่ HR ต้องกระทำ เมื่อพนักงานลาออก

3 สิ่งที่จะได้รับจากนายจ้าง เมื่อโดนไล่ออก

7 เรื่องที่ต้องรู้ เกี่ยวกับการลาออก

“ขอลาออกตอนสิ้นเดือน” แต่อนุมัติให้ออกทันที ต้องจ่ายค่าเสียหายให้ลูกจ้างหรือไม่ ?

HR สามารถตอบคำถามที่ทำงานใหม่ของอดีตลูกจ้างโทรมาสอบถามถึงสาเหตุการลาออกได้หรือไม่

ลาออกไม่ได้บอกล่วงหน้า นายจ้างจะไม่ให้เงินในส่วนที่ทำงานไปแล้ว ได้ไหม?

พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของหัวหน้าที่ทําให้พนักงานตัดสินใจลาออกจากองค์กร

องค์กรควรทำการสัมภาษณ์พนักงานตอนลาออกไหม ?

ลูกจ้างถูกกดดันให้เขียนใบลาออก สามารถฟ้องเรียกค่าชดเชยได้

7 ความผิดร้ายแรง ที่ทำให้นายจ้างไล่ออกได้ทันที

7 เหตุผลที่คุณควรลาออก แล้วมองหางานใหม่

ธันวาคม 21, 2563 คำแนะนำด้านอาชีพ


หากคุณเป็นคนหนึ่งที่กำลังคิดเรื่องลาออกเพราะไม่มีความสุขกับการทำงาน ไม่แน่ใจว่าจะลาออกดีไหม เพราะหากทนต่อไปก็ไม่มีอะไรรับประกันว่าจะรุ่ง ขณะเดียวกันหากจะลาออกก็กลัวจะตัดสินใจผิดพลาด Adecco ได้รวบรวมเช็คลิสต์ 7 ข้อ มาให้คุณลองทบทวนกันค่ะว่าถึงเวลาแล้วหรือยังที่คุณจะหางานใหม่ หากเหตุผลเหล่านี้ตรงกับสาเหตุที่คุณอยากลาออกหลายข้อ นี่อาจเป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่าได้เวลาที่คุณต้องรีบหางานใหม่แล้ว

1. เป้าหมายของเรากับองค์กรไม่ตรงกัน


หากคุณทำงานแล้วรู้สึกว่า “ฉันมาทำอะไรที่นี่?” นั่นอาจเป็นเพราะเป้าหมายองค์กรกับเป้าหมายการทำงานของคุณอาจไม่ตรงกันแล้ว ซึ่งส่วนหนึ่งอาจมาจากวิสัยทัศน์ของผู้บริหารที่เป็นตัวกำหนดทิศทางการบริหารขององค์กร หากเราไม่ได้เชื่อในวิสัยทัศน์ของผู้บริหาร ก็จะยิ่งเกิดความขัดแย้งในใจไม่รู้จะทำงานไปเพื่ออะไร และขาดแรงจูงใจในการทำงาน รู้สึกว่าไม่สามารถแสดงศักยภาพในการทำงานได้เต็มที่ และเสียโอกาสในการพัฒนาตัวเองตามเป้าหมายอาชีพที่เราวางไว้

2. ไม่มีอะไรให้เรียนรู้อีกต่อไป


หากถึงจุดหนึ่งที่คุณทำงานมาสักพัก แล้วงานเริ่มจำเจ ไม่ได้เรียนรู้อะไรใหม่ๆ การทำงานเดิมต่อไปอาจจะทำให้คุณขาดโอกาสในการพัฒนาตัวเอง ทางที่ดีควรปรึกษาหัวหน้าถึงโอกาสในการรับผิดชอบงานหรือโปรเจกต์ใหม่ๆ ที่ท้าทายขึ้น แต่หากลองดูแล้วไม่ได้ผลก็อาจจะต้องลองพิจารณางานใหม่เพื่อความก้าวหน้าในอาชีพ

3. ขาดโอกาสในการเติบโต


ชีวิตพนักงานออฟฟิศเมื่อทำงานไปได้สักระยะหนึ่งแล้ว แน่นอนว่าย่อมแสวงหาโอกาสในการเติบโต หากองค์กรของคุณไม่ได้มีการดูแลเรื่อง career path อย่างจริงจัง เงินเดือนคุณไม่ขึ้นหรือขึ้นในอัตราที่ต่ำมาก หรือใช้วิธีเลื่อนขั้นตามระบบอาวุโสมากกว่าความสามารถ ยิ่งมีการเมืองในองค์กรด้วยแล้วละก็ การทนอยู่ที่เดิมก็เหมือนการย่ำอยู่กับที่ การออกไปโตที่อื่นน่าจะเป็นทางเลือกทีดีสำหรับคุณมากกว่า

4. งานที่ทำไม่ตรงกับทักษะความสามารถ


หากคุณทำงานแล้วรู้สึกว่างานที่ทำไม่ตรงกับทักษะความสามารถ แม้จะอาศัยเวลาในการฝึกฝนและพัฒนาตัวเองอย่างจริงจังแล้วก็ยังได้รับการประเมินผลที่ไม่ดีหรือยิ่งรู้สึกไม่ชอบในงานที่ทำ และไม่สามารถขอย้ายแผนกหรือปรับหน้าที่รับผิดชอบได้ อาจถึงเวลาที่คุณต้องกลับมาทบทวนตัวเองอีกครั้งว่าอาชีพไหนหรือองค์กรแบบไหนที่จะเหมาะกับความสามารถและสไตล์การทำงานของคุณแล้วเริ่มมองหางานใหม่อย่างจริงจัง

5. มีปัญหากับหัวหน้า


หากคุณมีปัญหากับหัวหน้าทางที่ดีควรเปิดใจพูดคุยและหาวิธีแก้ไขร่วมกัน ลองทำใจให้เป็นกลางและทบทวนตัวเองก่อนว่าสามารถปรับปรุงหรือปรับตัวเข้าหากันได้ไหม แต่ถ้าไม่ได้จริงๆ หรือเจอหัวหน้าประเภทรับชอบไม่รับผิด ใส่ร้าย เอาเปรียบ ขโมยผลงาน เลือกที่รักมักที่ชัง ระบายอารมณ์ใส่ทุกวัน ไม่รักษาคำพูด ก็อย่าทนเป็นดาวพระศุกร์ให้เขากดขี่เราต่อไปเลย รีบมองหางานใหม่จะดีกว่า เพราะหากเจอหัวหน้าที่ไม่ดีแล้ว โอกาสที่จะทำงานอย่างเป็นสุขหรือเติบโตในองค์กรเดิมจะเป็นไปได้ยากมาก

6. สุขภาพทรุดโทรม


หากงานที่ทำอยู่หนักและกดดันจนทำให้สมดุลชีวิตคุณหายไป และส่งผลกระทบให้สุขภาพคุณทรุดโทรม ไม่ว่าจะเป็นสุขภาพกายหรือสุขภาพใจแล้วล่ะก็ คุณอาจต้องกลับมาโฟกัสที่ตัวเองเป็นอันดับแรกเพราะสุขภาพคือสิ่งที่สำคัญที่สุด อาจลองหาวิธีในการแบ่งเวลาพักผ่อนให้มากขึ้นหรือปรับสไตล์การทำงานใหม่ แต่หากเนื้องานทำให้เราไม่สามารถมี work life balance ได้จริงๆ หรือสภาพแวดล้อมในการทำงานไม่ดีมีแต่เพื่อนร่วมงานที่ toxic ก็อาจถึงเวลาที่คุณต้องพิจารณาโอกาสงานใหม่ๆ แล้ว

7. บริษัทมีปัญหาด้านการเงิน


หากบริษัทที่คุณทำอยู่ในช่วงขาลง ผลประกอบการไม่ดี อยู่ในภาวะขาดทุนเป็นเวลานาน และเริ่มส่งสัญญานว่ามีปัญหาทางการเงิน เช่น เริ่มเห็นคนมาทวงถามหนี้ที่บริษัท เงินเดือนจ่ายไม่ตรงหรือไม่ครบ ก็ควรมองหางานใหม่เผื่อไว้บ้าง เพราะหากไม่หาเผื่อไว้แล้วถูกเลิกจ้างยุบแผนกหรือเลิกกิจการกะทันหันขึ้นมาอาจจะหางานใหม่ได้ไม่ทัน


ข้อแนะนำ

การตัดสินใจลาออกควรพิจารณาให้ถี่ถ้วนก่อน ให้แน่ใจว่าไม่ได้เป็นเพียงอารมณ์ชั่ววูบ หรือเป็นแค่อาการเบื่อคนหรือเบื่องานชั่วครั้งชั่วคราวเท่านั้น อย่าลืมว่าที่ทำงานทุกที่ต่างก็มีปัญหาที่แตกต่างกันออกไป ฉะนั้นควรพิจารณาให้ความสำคัญกับเนื้องานและเป้าหมายการทำงานของคุณมากที่สุด Adecco แนะนำว่าหากตัดสินใจจะเปลี่ยนงาน ควรหางานใหม่ให้ได้ก่อนที่จะลาออกจากที่เก่า เพราะจะทำให้คุณพิจารณาเลือกงานใหม่ที่ตอบโจทย์ความต้องการทางอาชีพของตัวเองได้อย่างถี่ถ้วน โดยไม่ถูกกดดันด้วยเรื่องเวลาและรายได้ที่อาจขาดหายไปในช่วงว่างงาน โดยอาจมองหางานจากเว็บไซต์ต่างๆ รวมถึงการ ฝากประวัติไว้กับ Adecco ซึ่งเป็น Recruitment Agency ก็จะช่วยเพิ่มโอกาสในการหางานได้มากขึ้นค่ะ เนื่องจากบางบริษัทก็ไม่ได้มีการประกาศรับสมัครโดยตรง อีกทั้ง recruitment consultant ยังสามารถช่วยให้คำปรึกษาและนำเสนองานที่ตรงกับทักษะและความสามารถของคุณได้ ทำให้คุณไม่พลาดโอกาสงานดีๆ ที่อาจกำลังเข้ามาหาคุณค่ะ

เขียนเหตุผลในการลาออกยังไงดี

เหตุผลที่ดีที่สุดในการลาออกจากงาน ควรเป็นอย่างไร?.
1. ต้องการเปลี่ยนอาชีพ เพราะเป้าหมายและความฝันของทุกคนสามารถปรับเปลี่ยนไปได้ตามกาลเวลาและสถานการณ์ที่ได้พบเจอ เมื่อเราต้องการเปลี่ยนอาชีพ เช่น ... .
2. การเปลี่ยนแปลงภายในองค์กร ... .
3. สถานการณ์ครอบครัวหรือเหตุผลด้านสุขภาพ ... .
4. ได้รับโอกาสที่ดีกว่า.

ใบลาออก ต้องเขียนอะไรบ้าง

ในวันที่คุณตัดสินใจแจ้งลาออก คุณควรเขียนใบลาออกอย่างเป็นทางการ หลายบริษัทอาจมีแบบฟอร์มเฉพาะ หรือคุณอาจจะลองเตรียมมาเองก็ได้ สิ่งนี้จะเป็นเหมือนการบอกกล่าวอย่างเป็นทางการในจุดประสงค์ของคุณ รวมถึงหลักฐานว่าคุณได้แจ้งความต้องการในการลาออกแล้วจริงๆ โดยในเนื้อหาควรระบุ ชื่อ ตำแหน่ง วันที่เขียน เหตุผลที่จะลาออกสั้นๆ คำขอบคุณ ...

สาเหตุการออกจากงาน มีอะไรบ้าง

HR ควรรู้ ... สาเหตุที่พนักงานลาออก จากงานที่ทำอยู่ "ความเบื่อหน่ายกับงานที่ทำอยู่ และต้องการหาประสบการณ์ใหม่ ที่ท้าทายความสามารถมากกว่า" เป้นสาเหตุส่วนใหญ่ที่ทำให้พนักงานลาออก

ลาออกไม่เขียนเหตุผลได้ไหม

ตามกฏหมายแรงงานคุ้มครองลูกจ้างที่ต้องการลาออกเอาไว้อยู่แล้ว ไม่ต้องรออนุมัติครับ แต่ขอให้มีหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษรก็พอ เพราะตามข้อกฏหมายมาตรา 17 ลูกจ้างแสดงเจตนาบอกเลิกสัญญาจ้างเอาไว้ในใบลาออกแล้วว่าต้องการจะให้การจ้างมีผลสิ้นสุดเมื่อไหร่ จากนั้น .

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง