บทบาทของคอมพิวเตอร์ในด้านธุรกิจ

ผลกระทบที่มีต่อสังคมในทางที่บวก

1. ช่วยส่งเสริมงานค้นคว้าด้านเทคโนโลยี

2. ช่วยส่งเสริมด้านความสะดวกสบายของมนุษย์

3. ช่วยส่งเสริมสติปัญญาของมนุษย์

4. ช่วยส่งเสริมประชาธิปไตย

5. ช่วยส่งเสริมสุขภาพ

6. ช่วยให้เศรษฐกิจเจริญรุ่งเรือง

บทบาทคอมพิวเตอร์ธุรกิจ

บทบาทคอมพิวเตอร์ในงานธุรกิจ


การนำคอมพิวเตอร์มาประยุกต์ใช้ในงานธุรกิจต่างๆ

   กิจการทางธุรกิจที่นิยมนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการดำเนินงานหลายด้านด้วยกัน เช่น

  1. ด้านสถาบันการศึกษา ใช้คอมพิวเตอร์ในการรับสมัครนักศึกษาเข้าเรียน
  2. ด้านสื่อสิ่งพิมพ์ ใช้คอมพิวเตอร์ในการหาข้อมูลข่าวสาร การออกแบบรูปเล่ม เป็นต้น
  3. ด้านการธนาคาร ใช้คอมพิวเตอร์ในการให้บริการกับลูกค้า การฝากเงิน การถอนเงิน และการชำระค่าบริการต่างๆ
  4. ด้านโรงแรม ใช้คอมพิวเตอร์ในการบันทึกข้อมูลการเข้าพัก เป็นต้น
  5. ด้านธุรกิจสายการบิน ใช้คอมพิวเตอร์ในการตรวจดูตารางการบิน การจองตั๋วเครื่องบิน
  6. ด้านการแพทย์ ใช้คอมพิวเตอร์ในการค้นหาประวัติของคนไข้
  7. ด้านอุตสาหกรรม ใช้คอมพิวเตอร์ในการเพิ่มผลผลิตสินค้าให้มีปริมาณมากขึ้น และเพียงพอกับความต้องการของตลาด
  8. ด้านบันเทิง ใช้คอมพิวเตอร์ในการออกแบบและตัดต่อภาพ การควบคุมคุณภาพของเสียง
  9. ด้านการสื่อสาร เช่น การนำอินเทอร์เน็ตเข้ามามีส่วนร่วมในงาน เป็นต้น
  10. ด้านการตลาดหลักทรัพย์ ใช้คอมพิวเตอร์ในการซื้อ-ขายหุ้น เป็นต้น

ประโยขน์ในการนำเอาคอมพิวเตอร์ เข้ามาประยุกต์ใช้ในงานด้านธุรกิจ มีดังนี้

  1. ใช้ในการเก็บบันทึกข้อมูล เช่น ใช้ในการเก็บบันทึกเกี่ยวกับประวัติของพนักงาน ซึ่งทำให้ประหยัดเนื้อที่ในการจัดเก็บ
  2. ให้บริการลูกค้า คือสามารถให้บริการลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว และต่อเนื่องซึ่งสามารถให้บริการลูกค้าที่มาขอใช้บริการได้อย่างทันทีที่ลูกค้ามาเข้ารับการบริการ
  3. ใช้ในด้านการศึกษา เช่น การลงทะเบียนเรียน การบันทึกผลการเรียน และการประกาศผลการเรียน เป็นต้น
  4. ใช้หาค่าของตัวเลขที่มีความสลับซับซ้อนในงานด้านการวิจัย ซึ่งสามารถคำนวณได้อย่างแม่นยำและมีความรวดเร็วมากยิ่งขึ้น
  5. การเก็บรักษาสินค้า ทำให้สามารถควบคุมอุณหภูมิของสินค้าภายในโกงดังได้ ว่าสินค้าประเภทใดต้องการอุณหภูมิประมาณกี่องศา
  6. สามารถป้อนข้อมูลสินค้าลงในเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อตรวจสอบคุณภาพของสินค้า ซึ่งจะทำให้ทราบได้ทันทีว่าข้อมูลของสินค้ายังมีสภาพดีอยู่หรือไม่
  7. ในเรื่องของการคำนวณเงินเดือนและค่าแรงงานของพนักงาน สามารถคำนวณเงินเดือนและค่าแรงของพนักงาน
  8. สามารถนำโปรแกรมสำเร็จรูปทางบัญชีเข้ามาช่วยในเรื่องต่างๆ เช่น การลงบันทึกรายการทางด้านบัญชี การลงสต็อกสินค้า

ส่งอีเมลข้อมูลนี้BlogThis!แชร์ไปที่ Twitterแชร์ไปที่ Facebookแชร์ใน Pinterest

ความหมายเกี่ยวกับธุรกิจ

ความหมายของธุรกิจ (Meaning of business)
1 ธุรกิจ หมายถึง องค์การ หรือกิจการที่ก่อให้เกิดสินค้า และบริการ ธุรกิจเป็นกระบวนการทั้งหมดของการนำเอาทรัพยากรธรรมชาติมาเปลี่ยนสภาพตามกรรมวิธีการผลิตด้วยแรงคน และเครื่องจักรให้เป็นสินค้า เพื่อประโยชน์แก่ผู้ที่ต้องการ กิจกรรมของธุรกิจจึงรวมทั้งการผลิต การซื้อ ขาย การจำแนกแจกจ่ายสินค้า การขนส่ง การธนาคาร การประกันภัย และอื่น ๆ
2 ธุรกิจ หมายถึง กิจกรรมต่างๆ ที่ทำให้มีการผลิตสินค้า และบริการ มีการซื้อขายแลกเปลี่ยน จำหน่าย และกระจายสินค้าและมีประโยชน์หรือกำไรจากกิจกรรมนั้น ธุรกิจมีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตของมนุยษ์ในสังคมปัจจุบันมากเพราะนอกจากจะเป็นองค์การที่ผลิตสินค้า หรือบริการที่เป็นปัจจัยพื้นฐานของการดำรงชีวิต หรือปัจจัย4 การประกอบธุรกิจต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นขนาดเล็ก หรือใหญ่แค่ไหนก็ตาม สิ่งที่สำคัญ คือ กำไร เพราะเป็นแรงจูงใจของการดำเนินการทางธุรกิจ ก่อให้เกิดการแข่งขันและการขยายตัวทางธุรกิจให้เจริญก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น
3 ธุรกิจ หมายถึง ความพยายามที่เป็นแบบแผนของนักธุรกิจในการผลิต และขายสินค้า หรือบริการ เพื่อสนองความต้องการของสังคมโดยมุ่งหวังกำไร

จุดมุ่งหมายในการประกอบธุรกิจ (Objective of business)
1. เพื่อให้บริการแก่ผู้บริโภค และผู้อุปโภค
2. นำผลกำไรมาสู่ผู้ลงทุน
3. รักษาสัมพันธภาพระหว่างกิจการกับ พนักงาน ผู้บริโภค และสภาพแวดล้อมภายนอก
4. เพื่อความอยู่รอด และเจริญเติบโตของธุรกิจนั้น ๆ ให้บริการแก่ท้องถิ่น และเสริมสร้างความเจริญแก่สังคม

ทรัพยากรที่สำคัญในการดำเนินธุรกิจ (Resources)
1. คน รวมถึงผู้บริหาร และพนักงานทั้งหมด (Human resources)
2. วัตถุดิบ (Material resources)
3. ข่าวสารข้อมูล (Information resources)
4. เงินลงทุน (Financial resources)
5. เครื่องมือ (Tool resources)

ระบบย่อยของธุรกิจ (Sub-agent of business)
1.ระบบย่อยทางการจัดการ (Management)
2.ระบบย่อยทางการบันทึกข้อมูล (Data recording)
3.ระบบย่อยทางการตลาด (Marketing)
4.ระบบย่อยทางการผลิต (Production)
5.ระบบย่อยทางการเงิน (Financial)

ประเภทของการก่อตั้งองค์การ (Type of organization)
1. การประกอบการโดยเจ้าของคนเดียว (Owner’s management)
2. ห้างหุ้นส่วน (Partnership) : 2 คนขึ้นไป หนี้สินไม่จำกัด
3. บริษัทจำกัด (Company limited) : ผู้ถือหุ้น 7 คนขึ้นไป รับผิดชอบหนี้เฉพาะมูลค่าหุ้น
4. รัฐวิสาหกิจ (State enterprise)
5. บริษัทข้ามชาติ (Multinational corporations)
6. สหกรณ์ (Co-operative)

ประเภทของธุรกิจ (Type of business)
1. ธุรกิจการผลิต (Manufacturing)
2. ธุรกิจเหมืองแร่ (Mining)
3. ธุรกิจค้าส่ง (Wholesaling)
4. ธุรกิจค้าปลีก (Retailing)
5. ธุรกิจบริการ (Service)

การประมวลผลข้อมูลทางธุรกิจ Business Data Processing

การประมวลผลข้อมูล (Data Processing)
          การประมวลผลข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้มาผ่านกระบวนการต่างๆ เพื่อแปรสภาพข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่ต้องการเรียกว่าข้อสนเทศหรือสารสนเทศ (Information)

วิธีการประมวลผลข้อมูล      อาจจำแนกได้ 3 วิธีโดยจำแนกตามอุปกรณ์ที่ใช้ในการประมวลผล ได้แก่


1.การประมวลผลด้วยมือ (Manual Data Processing) เป็นวิธีการที่ใช้มาตั้งแต่อดีตโดยใช้อุปกรณ์ง่าย ๆ สามารถจำแนกตามอุปกรณ์ที่ใช้ได้เป็น 3 ประการ คือ
– อุปกรณ์ที่อำนวยความสะดวกในการเก็บรักษา และค้นหาข้อมูล ได้แก่ บัตรแข็ง แฟ้ม ตู้เก็บเอกสาร
– อุปกรณ์ที่ช่วยในการนับและคิดคำนวณเป็นอุปกรณ์ที่ง่ายต่อการใช้ ได้แก่ ลูกคิด เครื่องคิดเลข เป็นต้น
– อุปกรณ์ที่ใช้ในการคัดลอกข้อมูล ได้แก่ กระดาษ ปากกา ดินสอ เครื่องอัดสำเนา เป็นต้น
การประมวลผลแบบนี้เหมาะกับธุรกิจขนาดเล็กที่มีข้อมูลปริมาณไม่มากนัก และการคำนวณไม่ยุ่งยากซับซ้อน
2. การประมวลผลข้อมูลด้วยเครื่องจักรกล (Mechanical Data Processing) เป็นวิวัฒนาการมาจากการประมวลผลด้วยมือ แต่ยังต้องอาศัยแรงคนบ้าง เพื่อทำงานร่วมกับเครื่องจักรกล ในการประมวลผลทางธุรกิจ เครื่องที่ใช้กันมากที่สุด คือ เครื่องทำบัญชี (Accounting Machine) และเครื่องที่ใช้ในการประมวลผลทั่วไปเป็นเครื่องกึ่งอิเล็กทรอนิกส์ เรียกว่า เครื่อง Unit Record
3. การประมวลผลข้อมูลด้วยเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ (EDP : Electronic Data Processing) หมายถึงการประมวลผลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ นั้นเอง  ลักษณะงานที่เหมาะสมต่อการประมวลผลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์  คือ
– งานที่มีปริมาณมาก ๆ
– ต้องการความถูกต้องรวดเร็ว
– มีขั้นตอนในการทำงานซ้ำ ๆ กัน เช่น งานบัญชี งานการเงิน งานทะเบียนประวัติและงานสถิติ เป็นต้น
– มีการคำนวณที่ยุ่งยากและสลับซับซ้อน เช่น งานวิจัยและวางแผน งานด้านวิศวกรรมศาสตร์ เป็นต้น

การประมวลผลข้อมูล สามารถแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน ดังนี้
1. ขั้นเตรียมข้อมูล (lnput) เป็นการจัดเตรียมข้อมูลที่รวบรวมมาแล้วให้อยู่ในลักษณะที่สะดวกต่อการประมวลผล แบ่งเป็นขั้นตอนย่อย ๆ ดังนี้
ก. การลงรหัส(Coding) คือ การใช้รหัสแทนข้อมูลจริง ทำให้ข้อมูลอยู่ในรูปแบบที่สะดวกแก่การประมวลผล ทำให้ประหยัดเวลาและเนื้อที่ รหัสอาจเป็นตัวเลขหรือตัวอักษรก็ได้ เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับเพศ ให้รหัส 1 แทนเพศชาย รหัส 2 แทนเพศหญิง เป็นต้น
ข. การตรวจสอบแก้ไขข้อมูล (Editing) เป็นการตรวจสอบความถูกต้องและความเป็นไปได้ของข้อมูล และปรับปรุงแก้ไขเท่าที่จะทำได้หรือคัดข้อมูลที่ไม่ต้องการออกไป เช่น คำตอบบางคำตอบขัดแย้งกันก็อาจดูคำตอบจากคำถามข้ออื่น ๆ ประกอบ แล้วแก้ไขตามความเหมาะสม
ค. การแยกประเภทข้อมูล (Classifying) คือการแยกประเภทข้อมูลออกตามลักษณะงานเพื่อสะดวกในการประมวลผลต่อไป เช่น แยกตามคณะวิชา แยกตามเพศ แยกตามอายุ เป็นต้น
ง. การบันทึกข้อมูลลงสื่อ (Media) ที่เหมาะสม หมายถึง การจัดเตรียมข้อมูลให้อยู่ในสื่อ หรืออุปกรณ์ที่อยู่ในรูปที่เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจ และนำไปประมวลได้ เช่น บันทึกข้อมูลลงในจานแม่เหล็ก หรือเทปแม่เหล็ก เพื่อนำไปประมวลผลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ต่อไป

2. ขั้นตอนการประมวลผล (Processing) เป็นวิธีการจัดการกับข้อมูล โดยนำข้อมูลที่เตรียมไว้แล้วเข้าเครื่อง แต่ก่อนที่เครื่องจะทำงานต้องมีโปรแกรมสั่งงาน ซึ่งโปรแกรมเมอร์(Processing) เป็นผู้เขียน เครื่องคอมพิวเตอร์จะทำการประมวลผลจนกระทั่งได้ผลลัพธ์ออกมาและยังคงเก็บไว้ในเครื่องขั้นตอนต่าง ๆ อาจเป็นดังนี้
ก. การคำนวณ (Calculation) ได้แก่ การคำนวณทางคณิตศาสตร์ เช่น การบวก ลบ คูณ หาร และทางตรรกศาสตร์ เช่น การเปรียบเทียบค่าต่าง ๆ
ข. การเรียงลำดับข้อมูล(Sorting) เช่น เรียงข้อมูลจากน้อยไปมาก หรือมากไปน้อยหรือเรียงตามตัวอักษร A ถึง Z เป็นต้น
ค. การดึงข้อมูลมาใช้(Retrieving) เป็นการค้นหาข้อมูลที่ต้องการเพื่อนำมาใช้งาน เช่น ต้องการทราบยอดหนี้ของลูกค้าคนหนึ่ง หรือต้องการทราบยอดขายของพนักงานคนหนึ่ง เป็นต้น
ง. การรวมข้อมูล (Merging) เป็นการนำข้อมูลตั้งแต่ 2 ชุด ขึ้นไปมารวมเป็นชุดเดียวกัน เช่น การนำเอาเงินเดือนพนักงาน รวมกับเงินค่าล่วงเวลา จะได้เป็นเงินที่ต้องจ่ายให้แก่พนักงาน
จ. การสรุป (Summarizing) เป็นการรวบรวมข้อมูลที่มีอยู่ทั้งหมดให้อยู่ในรูปแบบสั้น ๆ กะทัดรัดตามต้องการ เช่น การสรุปรายรับรายจ่าย หรือ กำไรขาดทุน
ฉ. การสร้างข้อมูลชุดใหม่ (Reproducing) เป็นการสร้างข้อมูลชุดใหม่ขึ้นมาจากข้อมูลเดิม
ช. การปรับปรุงข้อมูล (Updating) คือ การเพิ่มข้อมูล (Add) การลบข้อมูล (Delete)  และการเปลี่ยนค่า (change) ข้อมูลที่มีอยู่ให้ทันสมัยอยู่เสมอ

3. ขั้นตอนการแสดงผลลัพธ์ (Output) เป็นงานที่ได้หลังจากผ่านการประมวลผลแล้วเป็นขั้นตอนในการแปลผลลัพธ์ที่เก็บอยู่ในเครื่อง ให้ออกมาอยู่ในรูปที่สามารถเข้าใจง่ายได้แก่ การนำเสนอในรูปแบบรายงาน เช่น แสดงผลสรุปตารางรายงานการบัญชี รายงานทางสถิติ รายงานการวิเคราะห์ต่าง ๆ หรืออาจแสดงด้วยกราฟ เช่น แผนภูมิ หรือรูปภาพสรุปขั้นตอนการประมวลผลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์

ความหมายและสมบัติของคอมพิวเตอร์

คุณสมบัติของคอมพิวเตอร์

โดยทั่วไปที่เราพบเห็นกันในปัจจุบัน จะมีคุณสมบัติที่เป็นพื้นฐาน ซึ่งพอจะแบ่งออกได้ดังนี้                                  ความเป็นอัตโนมัติ ( Self Acting) คอมพิวเตอร์ประดิษฐ์ขึ้นด้วยอุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์ มีการจัดเก็บหรือแปลงข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบของสัญญาณไฟฟ้าเพื่อให้คอมพิวเตอร์เข้าใจ การประมวลผลของคอมพิวเตอร์จะทำงานแบบอัตโนมัติภายใต้คำสั่งที่ได้ถูกกำหนดไว้ การทำงานดังกล่าวจะเริ่มตั้งแต่การนำข้อมูลเข้าสู่ระบบ การประมวลผลและแปลงผลลัพธ์ออกมาให้อยู่ในรูปแบบที่มนุษย์สามารถเข้าใจได้
ความเร็ว ( Speed) คอมพิวเตอร์จะประมวลผลงานด้วยความเร็วสูง ต่างจากการประมวลผลงานในอดีตที่อาศัยแรงงานของมนุษย์ซึ่งให้ผลลัพธ์ที่ล่าช้ากว่ามาก งาน ๆ หนึ่งหากใช้แรงงานคนอาจเสียเวลาหลายวันหรือหลายสัปดาห์ในการคิดและประมวลผล แต่หากนำเอาคอมพิวเตอร์มาใช้อาจลดเวลาและให้ผลลัพธ์ได้เพียงไม่กี่นาที ความรวดเร็วในการประมวลผลดังกล่าวมีความจำเป็นอย่างมากต่อการดำเนินงานธุรกรรมในปัจจุบัน ผลลัพธ์ที่ได้จากการคำนวณด้วยคอมพิวเตอร์ ช่วยให้ผู้บริหารนำเอาไปใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจหรือดำเนินงานได้อย่างรวดเร็ว
ความถูกต้อง แม่นยำ ( Accuracy) คอมพิวเตอร์จะให้ผลลัพธ์ที่ถูกต้อง แม่นยำและมีความผิดพลาดน้อยที่สุด การใช้แรงงานคนเพื่อประมวลผลเป็นเวลานาน อาจเกิดการผิดพลาดได้ เนื่องมาจากความอ่อนล้า เช่น ลงรายการผิด หรือบันทึกข้อมูลผิดประเภท ตรงกันข้ามกับคอมพิวเตอร์ที่สามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่องและซ้ำ ๆ แบบเดิมได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการป้อนข้อมูลเข้าที่ถูกต้องด้วย เนื่องจากคอมพิวเตอร์ไม่สามารถทราบได้ว่าข้อมูลที่ผู้ใช้ป้อนเข้ามานั้นเป็นอย่างไร ผิดหรือถูก หากมีการป้อนข้อมูลผิด โปรแกรมหรือชุดคำสั่งอาจประมวลผลตามที่ได้รับข้อมูลมาเช่นนั้น ซึ่งความไม่ถูกต้องดังกล่าวไม่ใช่เป็นความผิดพลาดของคอมพิวเตอร์ หากเป็นความผิดพลาดของฝั่งผู้ใช้เอง เป็นต้น
ความน่าเชื่อถือ ( Reliability) ข้อมูลที่ได้จากการประมวลผลของคอมพิวเตอร์ จะมีความน่าเชื่อถือและสามารถนำไปใช้ประโยชน์อื่น ๆ ต่อไปได้ โดยเฉพาะในปัจจุบันมีฮาร์ดแวร์ที่ผลิตขึ้นด้วยอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ใหม่ มีการคิดค้นและพัฒนาให้ดีกว่ายุคสมัยก่อนที่มีการใช้เพียงแค่หลอดสุญญากาศ การประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันจึงมีความผิดพลาดต่ำมากหรือแทบไม่เกิดขึ้นเลย นั่นคือการมีความน่าเชื่อถือสูงนั่นเอง
การจัดเก็บข้อมูล ( Storage Capability) คอมพิวเตอร์สามารถจัดเก็บข้อมูลได้หลากหลายรูปแบบ ทั้งข้อมูลที่เป็นข้อความธรรมดาหลาย ๆ ล้านตัวอักษร เพลง ภาพถ่าย วิดีโอ หรือไฟล์ข้อมูลขนาดใหญ่จำนวนมาก โดยมีหน่วยเก็บข้อมูลเฉพาะเป็นของตนเอง ช่วยให้การจัดเก็บและถ่ายเทข้อมูลเป็นไปได้โดยสะดวกมากยิ่งขึ้น ปัจจุบันมักพบเห็นหน่วยเก็บข้อมูลที่จุข้อมูลได้มากขึ้นและมีราคาที่ถูกลงกว่าแต่ก่อนมาก
ทำงานซ้ำ ๆ ได้ ( Repeatability) คอมพิวเตอร์สามารถทำงานซ้ำ ๆ กันได้หลายรอบ ช่วยลดปัญหาเรื่องความอ่อนล้าจากการทำงานของแรงงานคน นอกจากนั้นยังลดความผิดพลาดต่าง ๆ ได้ดีกว่าด้วย ข้อมูลที่ประมวลผลแม้จะยุ่งยากหรือซับซ้อนเพียงใดก็ตาม จะสามารถคำนวณและหาผลลัพธ์ได้อย่างรวดเร็ว การคิดหาผลลัพธ์ของงานที่มีลักษณะซ้ำ ๆ แบบเดิม เช่น การบันทึกรายการบัญชีประจำวัน การลงรายการสินค้าเข้า – ออกในระบบสินค้าคงคลังที่เกิดขึ้นเป็นประจำ จึงเหมาะอย่างยิ่งต่อการนำเอาคอมพิวเตอร์ไปใช้งาน
การติดต่อสื่อสาร ( Communication) คอมพิวเตอร์ในปัจจุบันสามารถเชื่อมโยงเข้าหากันเป็นเครือข่ายมากยิ่งขึ้น แต่เดิมอาจเป็นแค่เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลธรรมดา แต่ด้วยเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าไปมาก เราสามารถเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์หลาย ๆ เครื่องเข้าหากันเป็นเครือข่ายได้ ไม่ว่าจะเป็นเครือข่ายภายในองค์กรเล็ก ๆ หรือระดับเครือข่ายใหญ่ ๆ เช่น อินเทอร์เน็ต ทำให้การประมวลผลงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และไม่จำกัดอยู่แค่พื้นที่หนึ่งอีกต่อไป คุณสมบัติเหล่านี้อาจพบเห็นได้ในคอมพิวเตอร์แบบใหม่ ๆ ทั่วไป

การประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ในงานธุรกิจ

การประยุกต์์ใช้คอมพิวเตอร์ในงานธุรกิจ
คำนำ
คอมพิวเตอร์ ในยุคปัจจุบันได้มีวิวัฒนาการก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งได้เข้ามามีบทบาทและส่วนร่วมไปกับทุกองค์กรไม่ว่าจะเป็น งานทางด้านการศึกษา ทางด้านการสื่อสาร ทางด้านสื่อสิ่งพิมพ์ ทางด้านโทรคมนาคม ทางด้านบันเทิง ทางด้านอุตสาหกรรม ทางด้านการธนาคาร ทางด้านธุรกิจโรงแรม ทางด้านตลาดหลักทรัพย์ ทางด้านธุรกิจสายการบิน และยังรวมไปถึงทางด้านการแพทย์ด้วย ธุรกิจทุกด้านที่ได้กล่าวมาในข้างต้นนี้ ล้วนแล้วแต่เป็นส่วนหนึ่งของการนำคอมพิวเตอร์มาประยุกต์ใช้ในงานด้านธุรกิจ แทบทั้นสิ้น เพราะงานทุกประเภทก็มุ่งแสวงหาผลประโยชน์ และผลกำไรด้วยกันทั้งนั้น จึงถือว่างานทุกประเภทก็เป็นงานทางด้านธุรกิจเช่นเดีวยกัน เพราะฉนั้นการนำคอมพิวเตอร์เข้ามาประยุกต์ใช้ในงานทางด้านธุรกิจจึงมีความ สำคัญเป็นอย่างมา และยังช่วยอำนวยความสะดวกในการทำงาน ในการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในงานธุรกิจนั้นทำให้ธุรกิจมีความเจริญก้าวหน้า มากขึ้น และยังช่วยเพิ่มศักยภาพและประสิทธิภาพในการดำเนินงานให้กับบุคลากรภายใน องค์กรได้อีด้วย ทั้งนี้ก็ทำให้ธุรกิจมีการเจริญเติบโตและมีความก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น สามารถทัดเทียมกับคู่แข่งขันทางการค้าและการพาณิชย์ต่าง ๆ ได้ และยังเป็นโอกาศที่ดีที่ธุรกิจจะได้นำเอาความสามารถของคอมพิวเตอร์มาช่วยใน การพัฒนางานทางด้านต่าง ๆ ให้กับองค์กร ไม่ว่าจะเป็นการนำเอาโปรแกรมต่าง ๆ เข้ามาช่วยในเรื่องของการจ่ายเงินเดือน การพิมพ์ใบสั่งสินค้า การพิมพ์ใบเสร็จรับเงิน ด้านสินค้าคงคลัง การคำนวณค่าแรงของพนักงาน การเพิ่มผลผลิตของสินค้า การควบคุมอุณหภูมิภายในโกดังเก็บสินค้า การตรวจสอบคุณภาพของสินค้า การลงรายการประจำวันต่างๆ ทางด้านบัญชี การจัดทำงบการเงิน เป็นต้น
ความหมายเกี่ยวกับธุรกิจ
ธุรกิจ หมายถึง กิจกรรมใด ๆ ที่ทำให้เกิดสินค้าหรือบริการความคิด แล้วมีการแลกเปลี่ยน ซื้อขายกันและมีวัตถุประสงค์ ได้ประโยชน์จากกิจกรรมนั้น ๆ (www.mis.nu.ac.th) ธุรกิจ หมายถึง องค์การหรือกิจการที่ทำให้เกิดสินค้า และบริการ ธุรกิจเป็นกระบวนการทั้งหมดของการนำเอาทรัพยากรธรรมชาติมาเปลี่ยนไปตาม กรรมวิธีการผลิตด้วยแรงคน และเครื่องจักรให้เป็นสินค้า เพื่อประโยชน์เป็นสินค้า เพื่อประโยชน์แก่ผู้ที่ต้องการ กิจกรรมทางธุรกิจจึงรวมทั้งการผลิต การซื้อ การขาย การจำแนกแจกจ่ายสินค้า การขนส่ง การประกันภัย และอื่น ๆ (www.thaiall.com/business./syllabus.htm) ธุรกิจ หมายถึง กิจกรรมต่าง ๆ ที่ทำให้การผลิตสินค้า และบริการมีการซื้อขายแลกเปลี่ยน จำหน่าย และมีการกระจายสินค้าและมีประโยชน์ได้กำไรจากกิจการนั้น ธุรกิจมีความจำเป็นต่อชีวิตมนุษย์ ในสังคมปัจจุบันมาก เพราะนอกจากจะเป็นองค์การที่ผลิตสินค้า หรือบริการที่เป็นปัจจัยพื้นฐานของการดำรงค์ชีวิต หรือปัจจัยสี่ การประกอบธุรกิจต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นขนาดเล็ก หรือใหญ่แค่ไหนก็ตาม สิ่งสำคัญก็คือกำไร เพราะกำไรเป็นสิ่งจูงใจที่สำคัญในทางธุรกิจ ก่อให้เกิดการแข่งขันและขยายตัวกันมากในทางธุรกิจทำให้เกิดความเจริญก้าว หน้ากันมากขึ้น (www.thaiall.com/business./syllabus.htm) ธุรกิจ หมายถึง ความพยายามที่เป็นแบบแผนของนักธุรกิจในการผลิต และขายสินค้า หรือบริการ เพื่อสนองความต้องการของสังคมโดยมุ่งกำไร(www.thaiall.com/business. /syllabus.htm) เพราะฉนั้นคอมพิวเตอร์ในงานธุรกิจ หมายถึง การนำคอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาทในงานธุรกิจ เพื่อทำให้เกิดผลกำไร และมีประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจมากยิ่งขึ้นการนำอินเตอร์เน็ตเข้ามามีส่วนร่วมในงานธุรกิจมีประโยชน์เป็นอย่างมาก คือ ช่วยในการสนับสนุนการทำงานของพนักงานในฝ่ายต่าง ๆ ช่วยทำให้การสื่อสารมีความสะดวกและรวดเร็ว และยังมาความสามารถในการลดต้นทุนของการสื่อสารให้ต่ำลงได้ จึงทำให้เกิดจดหมายอิเล็คทรอนิกส์ขึ้นในปัจจุบันทำให้สามารถติดต่อกับลูกค้า ได้ตลอดเวลา และช่วยให้สามารถพัฒนารูปแบบใหม่ ๆ ได้ตลอดเวลา

ตัวอย่างในการนำอินเตอร์เน็ตเข้ามาใช้ในงานธุรกิจ
การนำอินเตอร์เน็ตเข้ามามีส่วนร่วมในงานธุรกิจมีประโยชน์เป็นอย่างมาก คือ ช่วยในการสนับสนุนการทำงานของพนักงานในฝ่ายต่าง ๆ ช่วยทำให้การสื่อสารมีความสะดวกและรวดเร็ว และยังมาความสามารถในการลดต้นทุนของการสื่อสารให้ต่ำลงได้ จึงทำให้เกิดจดหมายอิเล็คทรอนิกส์ขึ้นในปัจจุบันทำให้สามารถติดต่อกับลูกค้า ได้ตลอดเวลา และช่วยให้สามารถพัฒนารูปแบบใหม่ ๆ ได้ตลอดเวลา การใช้อินเตอร์เน็ตในการสนับสนุนการทำงานของพนักงานในฝ่ายต่าง ๆ สามารถนำอินเตอร์เข้ามาติดต่อและช่วยประสานงานในฝ่ายต่าง ๆ ได้ ทั้งในองค์กรและนอกองค์กร และยังมีความสามารถในด้านการส่งเสริมการขายได้ และยังช่วยให้บริษัทสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว การลดต้นทุนในการสื่อสาร ทำให้สามารถใช้อินเตอร์เน็ตติดต่อกับลูกค้าในการสื่อสารและมีต้นทุนต่ำได้ อย่างไร้พรมแดน จดหมายอิเล็คทรอนิกส์สามารถรองรับวัตถุประสงค์ในการติดต่อธุรกิจทั้งกับ ลูกค้าปัจจุบันและลูกค้าใหม่ เนื่องจากสามารถยืนยันคำสั่งซื้อขายได้ทันทีและลูกค้าสามารถลงทะเบียนกับทาง องค์กร เพื่อขอรับจดหมายอิเล็คทรอนิกส์ สำหรับการแนะนำสินค้าที่มีอยู่และสินค้าใหม่ ๆ การพัฒนารูปแบบใหม่ อินเตอร์เน็ตเป็นสื่อกลางทางการค้าที่ทันสมัย ซึ่งทำให้ธุรกิจสามารถแข่งขันกับธุรกิจอื่นได้โดยการสร้างชื่อเสียงให้เป็น ที่ยอมรับของลูกค้า หนทางหนึ่งที่อินเตอร์เน็ตสามารถช่วยธุรกิจ ก็คือ ธุรกิจสามารถเข้าถึงระบบการแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็คทรอนิคส์ และระบบเครือข่ายที่มีต้นทุนสูงได้โดยตรงอย่างที่ไม่สามารถ กระทำได้ในอดีต ในยุคของอินเตอร์เน็ต ความเร็วกลายเป็นสิ่งที่มีความสำคัญที่สุด เป้าหมายสำคัญข้อแรกในกระบวนการวางแผนธุรกิจคือ แผนงานในการสร้างความเร็วให้ระบบ โดยแผนงานดัง
กล่าวจะประสบความสำเร็จได้จะต้องวางกรอบการทำงานเพื่อตอบสนองคำถามพื้นฐานต่อไปนี้

องค์กรมีวิธีการที่จะนำสินค้าเข้าสู่ตลาดให้รวดเร็วได้อย่างไร? คู่แข่งขององค์กรมีวิธีการที่จะนำสินค้าของเขาเข้าสู่ตลาดให้รวดเร็วได้อย่างไร? องค์กรสามารถพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพให้กับสินค้าที่มีอยู่ได้อย่างรวดเร็วมากน้อยแค่ไหน? อินเตอร์เน็ตสามารถเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมขององค์กรได้รวดเร็วแค่ไหน?
การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ควรใช้เทคโนโลยีอินเตอร์เนตเพื่อเป็นช่องทางทางการตลาดโดยเฉพาะอย่างยิ่ง สำหรับธุรกิจการส่งออก โดยที่จะต้องคำนึงถึงความต้องการของผู้บริโภค สินค้าและการบริการ การทำธุรกิจบนเครือข่ายอินเตอร์เนตนั้นสามารถทำการค้าได้ทุกวันและทุกเวลา ตลอด 24 ชั่วโมง เพราะหน้าร้านทางอินเตอร์เน็ต จะเปิดอยู่ตลอดเวลาแม้ในขณะที่เรานอนหลับในตอนกลางคืน การพัฒนาเว็บไซด์ เพื่อขายสินค้าบนอินเตอร์เน็ตจะเป็นอีกช่องทางหนึ่งให้ลูกค้าหรือผู้ที่สนใจ สินค้าเข้ามาดูรายละเอียดของสินค้าและราคาผ่านทางหน้าเว็บไซด์ได้ รวมถึงสามารถสั่งซื้อสินค้าได้โดยผ่านระบบชำระเงินผ่านทางบัตรเครดิต หรือโอนเงินผ่านทางธนาคาร ก็ได้
ความสำคัญและความสามารถในงานด้านต่าง ๆ ที่นำคอมพิวเตอร์มาประยุกต์ใช้ในงานธุกิจ มีดังนี้ I. การนำคอมพิวเตอร์มาประยุกต์ใช้ในงานด้านการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ เช่น
– การรับสมัครนักศึกษาเข้าเรียน
– การชำระค่าลงทะเบียนเรียนผ่านทางธนาคาร เป็นต้น
II. การนำคอมพิวเตอร์มาประยุกต์ใช้ในงานทางด้านการธนาคารที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ เช่น
– การให้บริการกับลูกค้า
– การฝากเงิน และการถอนเงิน
– การชำระค่าบริการต่าง ๆ เป็นต้น

III. การนำคอมพิวเตอร์มาประยุกต์ใช้ในงานด้านโรงแรมที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ เช่น

– การบันทึกข้อมูลการเข้าพัก และการแจ้งคืนห้องพักของลูกค้า
– การชำระค่าห้องพัก เป็นต้น
IV. การนำคอมพิวเตอร์มาประยุกต์ใช้ในงานด้านธุรกิจสายการบินที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ เช่น
– การตรวจดูตารางการบิน
– การจองตั๋วเครื่องบิน
– การยกเลิกเที่ยวบิน
– การสำรองที่นั่งล่วงหน้า เป็นต้น
V. การนำคอมพิวเตอร์มาประยุกต์ใช้ในงานด้านการแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ เช่น
– การค้นหาประวัติของคนไข้
– การวินิจฉัยโรค
– การเอ็กซเรย์
– การชำระเงินค่ารักษา เป็นต้น
VI. การนำคอมพิวเตอร์มาประยุกต์ใช้ในงานด้านอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ เช่น
– การเพิ่มผลผลิตสินค้าให้มีปริมาณมากขึ้น และเพียงพอกับความต้องการของตลาด
– ตรวจสอบคุณภาพของสินค้า
– การออกแบบการบรรจุหีบห่อให้สวยงาม เป็นต้น
VII. การนำคอมพิวเตอร์มาประยุกต์ใช้ในงานด้านบันเทิงที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ เช่น
– การนำภาพยนตร์ออกมาฉาย
– การออกแบบและตัดต่อภาพ
– การควบคุมคุณภาพของเสียง
– การออกแบบท่าทางเต้น
– การโฆษณา เป็นต้น

VIII. การนำคอมพิวเตอร์มาประยุกต์ใช้ในงานด้านการสื่อสาร เช่น

– การนำอินเตอร์เน็ตเข้ามามีส่วนร่วมในงาน เป็นต้น
IX. การนำคอมพิวเตอร์มาประยุกต์ใช้ในงานด้านตลาดหลักทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ เช่น
– การซื้อ-ขายหุ้น เป็นต้น
X. การนำคอมพิวเตอร์มาประยุกต์ใช้ในงานด้านสื่อสิ่งพิมพ์ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ เช่น- การหาข้อมูลข่าวสาร
– การออกแบบรูปเล่ม
– การตัดต่อข้อมูล
– การส่งไปตีพิมพ์ เป็นต้น
ประโยชน์ในการนำเอาคอมพิวเตอร์เข้ามาประยุกต์ใช้ในงานด้านธุรกิจ มีดังนี้

I. ประโยชน์ในเรื่องของการเก็บบันทึกข้อมูล เช่น
– ใช้ในการเก็บบันทึกเกี่ยวกับประวัติของพนักงานว่า ชื่อสกุลอะไร อายุเท่าไหร่ จบการศึกษามาจากที่ไหน เคยทำงานมาแล้วหรือไม่ เป็นต้น ซึ่งทำให้ประหยัดเนื้อที่ในการจัดเก็บ และสะดวกในการใช้ระยะเวลาในการค้นหามากกว่าที่จะใช้กระดาษในการเขียนบันทึก ข้อมูล
– ใช้ในบันทึกเกี่วยกับข้อมูลและรายละเอียดเกี่ยวกับสินค้าว่าเป็นประเภทอะไร ชื่อสินค้าอะไร สีอะไร มีลักษณะรูปแบบเป็นอย่างไร ผลิตเมื่อไหร่ และมีวันหมดอายุวันไหน เป็นต้น

II. ประโยชน์ในเรื่องของการให้บริการลูกค้า คือสามารถให้บริการลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว และต่อเนื่องซึ่งสามารถให้บริการลูกค้าที่มาขอใช้บริการได้อย่างทันทีที่ ลูกค้ามาเข้ารับการบริการ เช่น
– ใช้ในด้านงานธนาคาร เช่น การฝากถอนเงินในธนาคาร เป็นต้น
– ใช้ในด้านการศึกษา เช่น การลงทะเบียนเรียน การบันทึกผลการเรียน และการประการผลการเรียน เป็นต้น
III. ประโยชน์ในเรื่องของงานวิจัย เช่น

– ใช้ในการคำนวณ คือ ใช้หาค่าของตัวเลขที่มีความสลับซับซ้อน เช่น การหาค่าของสมการ การถอดราก และยกกำลังของตัวเลข เป็นต้น ซึ่งสามารถคำนวณได้อย่างแม่นยำ และมีความรวดเร็วมากยิ่งขึ้น
– ใช้ในการประมวลผลข้อมูลในการทดลอง และทำการสรุปผลของการวิจัย เป็นต้น
IV. ประโยชน์ในเรื่องของการเก็บรักษาสินค้า เช่น
– ทำให้สามารถควบคุมอุหภูมิของสินค้าภายในโกดังได้ ว่าสินค้าประเภทไหนต้องการอุหภูมิประมาณกี่องศา ชอบอากาศแบบไหน เป็นต้น จึงมีส่วนช่วยในการเก็บรักษาสินค้าได้เป็นเวลานาน และทำให้เกิดการเสียหายของสินค้าลดน้อยลงอีกด้วย

V. ประโยชน์ในเรื่องของการตรวจสอบคุณภาพของสินค้า เช่น

– เมื่อป้อนข้อมูลสินค้าลงในเครื่องคอมพิวเตอร์ก็สามารถทราบได้ทันทีเลยว่า ข้อมูลของสินค้ายังมีสภาพดีอยู่หรือไม่ และทำให้สามารถทราบวันผลิต และวันหมดอายุได้อีกด้วย
VI. ประโยชน์ในเรื่องของการคำนวณเงินเดือนและค่าแรงงานของพนักงาน เช่น

– ในการคำนวณเงินเดือนและค่าแรงของพนักงาน ได้มีการนำโปรแกรมสำเร็จรูปขึ้นมาใช้เฉพาะในการคำนวณเงินเดือนและค่าแรงของ พนักงาน ทำให้มีความสะดวกและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น VII. ประโยชน์ในเรื่องของการทำบัญชี คือ สามารถนำโปรแกรมสำเร็จรูปทางบัญชีเข้ามาช่วยในเรื่องต่าง ๆ เช่น – ในเรื่องของการลงบันทึกรายการทางด้านบัญชี – ในเรื่องของการลงสต็อกสินค้า – ในเรื่องของการจัดทำงบการเงินไม่ว่าจะเป็นงบทดลอง งบกระแสเงินสด งบ

คอมพิวเตอร์ธุรกิจมีบทบาทในด้านใดบ้าง

คอมพิวเตอร์ถูกนำมาใช้กับงานด้านธุรกิจ ทั้งการจัดทำเอกสาร นำเสนองาน โดยนำโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่นิยมใช้กันทั่วไป เช่น Microsoft office มาใช้กันอย่างแพร่หลาย และเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า เช่น ห้างสรรพสินค้าใช้คอมพิวเตอร์ในการทำระบบบัญชีสำเร็จรูป เพื่อทำรายการซื้อและขายสินค้า การตรวจสอบยอดคงเหลือของสินค้า ธุรกิจ ...

บทบาทของคอมพิวเตอร์มีอะไรบ้าง

(2.1) ช่วยประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการติดต่อสื่อสาร (2.2) เป็นสื่อกลางในการรับและส่งข้อมูลจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง (2.3) ช่วยกระจายข้อมูลจากแหล่งข้อมูลหนึ่งไปยังผู้ใช้ทุกคน 3. ด้านการบริหารประเทศ รัฐบาลได้นำคอมพิวเตอร์มาใช้ในประโยชน์ต่างๆเพื่อส่งเสริมการบริหารประเทศ ดังนี้

บทบาทของคอมพิวเตอร์ในด้านความต้องการเฉพาะบุคคลมีอะไรบ้าง

1. คอมพิวเตอร์ช่วยตอบสนองความต้องการเฉพาะบุคคล เช่น ใช้คอมพิวเตอร์ชมภาพยนต์ ฟังเพลง เล่นเกม ส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์หรืออีเมล (E-mail) สนทนาบนเครือข่ายอินเทอร์เนตหรือแชต (chat) สืบค้นข้อมูล แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารความรู้ผ่านกระทานสนทนา หรือเว็บบอร์ด (webboard)ตรวจผลสอบในเว็บไซต์เครืองข่ายอินเทอร์เนตเป็นต้น

ข้อใดเป็นธุรกิจด้านคอมพิวเตอร์ *

ธุรกิจบริการด้านคอมพิวเตอร์ คือ การให้บริการหลากหลายที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ เช่น รับซ่อมเครื่องคอมพิวเตอร์ รับประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ รับทำเว็ปไซด์ E-Commerce รับออกแบบงาน IT ติดตั้งและปรับปรุงโปรแกรม ให้บริการเช่าเล่น Internet เป็นต้น วิธีการจัดตั้งและเริ่มต้นธุรกิจ การจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจ ประเภทบุคคลธรรมดา

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง