โครงสร้างของสถานประกอบการ คือ

             


            การจัดโครงสร้างขององค์การมีหลายแบบซึ่งแต่ละแบบมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกัน ฉะนั้น การที่ผู้บริหารจะวางแนวทางในการจัดโครงสร้างนั้น อาจจะต้องพิจารณาจากหลาย ๆ ปัจจัยด้วยกัน อย่างไรก็ตามการจัดโครงสร้างขององค์การสามารถแบ่งแยกออกเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ 5 ประเภท ดังนี้

             1.6.1 โครงสร้างองค์การตามหน้าที่การงาน (Functional Organization Structure) 

                   โครงสร้างองค์การตามหน้าที่การงาน หมายถึง โครงสร้างที่จัดตั้งขึ้นโดยแบ่งไปตามประเภท หรือหน้าที่การงาน เพื่อแสดงให้เห็นว่าในแต่ละแผนกนั้นมีหน้าที่ต้องกระทําอะไรบ้าง ซึ่งผลดีก่อให้เกิดการ ได้คนมีความสามารถทํางานในแผนกนั้น ๆ ทั้งยังฝึกบุคคลในแผนกนั้น ๆ ให้มีความเชี่ยวชาญกับหน้าที่ของ งานนั้นอย่างลึกซึ้ง สําหรับฝ่ายบริหารระดับสูงนั้นก็เป็นเพียงแต่กําหนดนโยบายไว้กว้าง ๆ เพราะมีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านคอยป้อนข้อมูลที่ถูกต้องให้พิจารณาตัดสินใจและให้มีความผิดพลาดได้น้อยมาก อีกประการหนึ่งในแต่ละแผนกนั้น เมื่อทุกคนมีความเชี่ยวชาญงานในหน้าที่ชนิดเดียวกัน ย่อมก่อให้เกิด การประสานงานได้ง่ายเนื่องจากแต่ละคนมีความสนใจในงานและใช้ภาษาเดียวกัน ทําให้สามารถสร้าง บรรยากาศการทํางานที่ดีได้ง่ายและการบริหารงานก็เกิดความประหยัดด้วย อย่างไรก็ตาม การจัดรูปแบบ องค์การแบบนี้มีผลเสียในทางการบริหารหลายประการ อาทิเช่น การแบ่งงานออกเป็นหลายแผนกและมีผู้เชี่ยวชาญหลายคน ทําให้การวางแผนงานยุ่งยากขึ้น อาจมีการปัดความรับผิดชอบได้ นอกจากนั้นการจัดองค์การรูปแบบนี้มักเน้นที่การรวมอํานาจไว้ ณ จุดที่สูงที่สุด ไม่มีการกระจายอํานาจในการบริหารให้ลดหลั่นลงไป


            1.6.2 โครงสร้างองค์การตามสายงานหลัก (Line Organization Structure) 

                  โครงสร้างองค์การตามสายงานหลัก หมายถึง การจัดรูปแบบโครงสร้างให้มีสายงาน มีการบังคับบัญชาจากบนลงล่างลดหลั่นเป็นชั้น ๆ จะไม่มีการสั่งการแบบข้ามขั้นตอนในสายงาน สิ่ง โครงสร้างแบบนี้เหมาะสมสําหรับองค์การต่าง ๆ ที่ต้องการให้มีการขยายตัวในอนาคตได้ เพราะเพียง เพิ่มเติมโครงสร้างในบางสายงานให้มีการควบคุมบังคับบัญชาลดหลั่นลงไปอีกได้ การจัดองค์การแบบนี้ อาจจะคํานึงถึงสภาพของงานที่เป็นจริง เช่น แบ่งตามลักษณะของผลิตภัณฑ์ หรือแบ่งตามอาณาเขต หรือ แบ่งตามประเภทของลูกค้า หรือแบ่งตามกระบวนการ ผลดีของโครงสร้างแบบนี้ คือ การจัดโครงสร้างด้วย รูปแบบที่เข้าใจง่าย การบังคับบัญชาตามสายงานเป็นขั้นตอน ฉะนั้นจุดใดที่มีการปฏิบัติงานล่าช้า สามารถตรวจสอบได้รวดเร็ว จากผู้บังคับบัญชาในระดับนั้นได้ง่าย ผู้ปฏิบัติงานได้คลุกคลีกับสภาพของ ปัญหาที่เป็นจริงและเกิดขึ้นเสมอ ทําให้การตัดสินใจต่าง ๆ มีข้อมูลที่แน่นอน และสามารถตัดสินใจได้ ถูกต้องรวดเร็ว ซึ่งส่งผลสะท้อนให้มีการปกครองบังคับบัญชาที่อยู่ในระเบียบวินัยได้ดี การติดต่อสื่อสารและ การควบคุมการทํางานทําได้ง่าย ประการสุดท้าย องค์การนี้เหมาะสําหรับการจัดรูปแบบองค์การขนาดเล็ก แต่ไม่เหมาะที่จะจัดในลักษณะองค์การขนาดใหญ่ที่มีการปฏิบัติงานสลับซับซ้อน ส่วนข้อเสีย ประการแรก ไม่ได้สนับสนุนให้ผู้ทํางานมีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ปริมาณของงานมีมาก จนต้องใช้เวลาทํางาน ประจําให้เสร็จ ไม่มีเวลาที่จะมาศึกษาถึงระบบการทํางานที่ดีกว่า และอีกประการ คือ ผู้บริหารระดับสูง อาจจะไม่ยอมมอบหมายงานให้ผู้บริหารงานระดับรอง ๆ ลงมา ทําให้ขวัญของผู้ปฏิบัติงานในระดับรอง ๆ ไม่ดี หมดกําลังใจในการปฏิบัติงาน เนื่องจากโครงสร้างแบบนี้ให้อํานาจควบคุมโดยตรงต่อผู้บังคับบัญชาระดับสูงเท่านั้น

            1.6.3 โครงสร้างองค์การแบบคณะที่ปรึกษา (Staff Organization Structure) 

                  โครงสร้างองค์การแบบคณะที่ปรึกษา หมายถึง การจัดโครงสร้างโดยการให้มีที่ปรึกษาเข้ามา ช่วยการบริหารงาน เช่น ที่ปรึกษา นายกฯ ที่ปรึกษาผู้ว่าฯ กทม. เป็นต้น เพราะว่าที่ปรึกษามีความรู้ความชํานาญเฉพาะด้าน โดยเฉพาะการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ ซึ่งต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญมาช่วยหรือคอยแนะนำ ทําให้องค์การมองเห็นความสําคัญของการมีที่ปรึกษาขึ้น อย่างไรก็ตาม พวกที่ปรึกษาไม่มีอํานาจใน สั่งการใด ๆ นอกจากคอยป้อนข้อมูลให้ผู้บริหารเป็นผู้ชี้ขาดอีกชั้นหนึ่ง ซึ่งการจัดองค์การรูปแบบนี้มีผลดี ทําให้การดําเนินงานต่าง ๆ มีการวางแผนและประเมินสถานการณ์ล่วงหน้าได้ มีที่ปรึกษาคอยให้ความ กระจ่างและประสานงานกับหน่วยงานอื่น ๆ และทําให้การทํางานใช้หลักเหตุและผลมากขึ้น มีการใช้ เครื่องมือที่ทันสมัย และคนมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น แต่ผลเสียของการใช้ที่ปรึกษาอาจมีการปีนเกลียวกัน เนื่องจากความเห็นไม่ลงรอยกัน และฝ่ายคณะที่ปรึกษาอาจท้อถอยในการทํางานได้ เพราะมีหน้าที่เพียงเสนอแนะแต่ไม่มีอํานาจสั่งการ


            1.6.4 โครงสร้างองค์การแบบคณะกรรมการบริหาร (Committees Organization Structure) 

                  โครงสร้างองค์การแบบคณะกรรมการบริหาร หมายถึง การจัดโครงสร้างองค์การโดยให้มีการ บริหารงานในลักษณะคณะกรรมการ เช่น คณะกรรมการบริหารงานรถไฟแห่งประเทศไทย คณะกรรมการ อสมท. และคณะกรรมการบริหารบริษัทเจริญโภคภัณฑ์ เป็นต้น ผลดีจะช่วยขจัดปัญหา การบริหารงานแบบผูกขาดของคนคนเดียว หรือการใช้แบบเผด็จการเข้ามาบริหารงาน นอกจากนั้น การตั้งคณะกรรมการซึ่งประกอบด้วยบุคคลมาจากหลาย ๆ ฝ่ายจะทําให้ทุกคนเข้าใจปัญหาและก่อให้เกิดการยอมรับในปัญหาที่ฝ่ายอื่นเผชิญอยู่ทําให้การประสานงานเป็นไปได้ง่ายขึ้น ข้อเสีย คือ เกิดการสูญเสียทรัพยากรโดยใช่เหตุเนื่องจากเวลาส่วนใหญ่ใช้ไปในการประชุมถกเถียงกัน หรืออาจเกิดการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ในระดับ คณะกรรมการหรือยอมประนีประนอมกันเพื่อให้ได้ข้อยุติที่รวดเร็วทําให้การตั้งคณะกรรมการไร้ผล

            1.6.5 โครงสร้างองค์การงานอนุกรม (Auxiliary)

                  โครงสร้างองค์การงานอนุกรม คือ หน่วยงานช่วย หรือเรียกว่า หน่วยงานแม่บ้าน (House Keeping Agency) ซึ่งเป็นงานเกี่ยวกับธุรการ และอํานวยความสะดวก เช่น งานเลขานุการ และงานตรวจสอบภายใน เป็นต้น

โครงสร้างขององค์กรคืออะไร

โครงสร้างองค์การ (Organizational structure) หมายถึง งานกันทำ และการประสานการทำงานกันของสมาชิกในองค์กรให้ “ ว่าใครจะต้องรายงานการทำงานให้กับใคร (Robbins, 1990: 5) ตามแนวคิดห่วงโซ่คุณค่า ที่ได้กล่าว105) 4 ว่า กิจการประกอบด้วยกิจกรรม ต่าง ๆ ที่ต่อกันเป็นลูกโซ่ กิจกรรมหนึ่งจะทำการเปลี่ยนสิ่งที่เป็นปัจจัยนำเข้าให้กลายเป็น ๆ

การจัดโครงสร้างองค์กรอย่างไร

การจัดโครงสร้างขององค์กร (ธุรกิจ)ก็คือการจัดรูปแบบการทำงานของกิจการหรือธุรกิจนั้นนั่นเอง เป็นการกำหนดงานที่แต่ละคนต้องทำ งานที่หน่วยงานแต่ละหน่วยงานรับผิดชอบ กำหนดสายการบังคับบัญชาว่าใครจะขึ้นตรงกับหัวหน้าคนไหนเพื่อให้เกิดความชัดเจนในการทำงานของธุรกิจนั้นๆ กิจการขนาดใหญ่ทุกแห่งจะมีการจัดโครงสร้างองค์กรที่ชัดเจนโดยออกมา ...

โครงสร้างของบริษัท มีอะไรบ้าง

1. โครงสร้างองค์กรแบบลำดับขั้น (Hierarchical Structure) ... .
2. โครงสร้างองค์กรตามหน้าที่ (Functional Structure) ... .
3. โครงสร้างองค์กรแนวนอนหรือแบน (Horizontal / Flat Structure) ... .
4. โครงสร้างองค์กรตามหน่วยงาน (Divisional Structure) ... .
5. โครงสร้างองค์กรแบบแมททริกซ์ (Matrix Structure).

การจัดโครงสร้างองค์การมีประโยชน์ต่อพนักงานอย่างไร

1. ทำให้รู้อำนาจหน้าที่และขอบข่ายการทำงานของตนว่ามีเพียงใด 2. แก้ปัญหาการทำงานซ้ำซ้อนได้ง่าย 3.หากมีงานคั่งค้าง จุดใด สามารถติดตามแก้ไขได้ง่าย 4. การมอบอำนาจทำได้ง่าย ขจัดปัญหาการเกี่ยวกันทำงานหรือปัดความรับผิดชอบ

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง